ข้อมูลพื้นฐาน กศน.ตำบลป่าขาด
ที่ตั้ง
หมู่ที่ ๒ ตำบลป่าขาด อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา
หมายเลขโทรศัพท์ ๐๙๗-๓๕๔๖๘๖๓, ๐๘๙-๖๕๔๒๐๒๒
E-Mail b.nattapol11@gmail.com
เว็ปไซต์ http://sk.nfe.go.th/singha08/
Fanpage https://www.facebook.com/กศนตำบลป่าขาด
บทบาทหน้าที่ภารกิจ กศน.ตำบล
กศน. ตําบล มีบทบาทสำคัญในการจัดและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชน และสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ในชุมชน โดยมีหัวหน้า กศน. ตำบล เป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนและมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงาน กศน. ตำบล ดังนี้
๑. บทบาทหน้าที่ของหัวหน้า กศน. ตำบล
๑. การวางแผน
๑.๑ จัดทําฐานข้อมูลชุมชน
๑.๒ จัดทําแผนพัฒนา กศน. ตําบล
๑.๓ จัดทําแผนปฏิบัติการประจําปี
๒. การจัดและส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
๒.๑ จัดและส่งเสริมการศึกษานอกระบบ ดังนี้
- การส่งเสริมการรู้หนังสือ
- การศึกษานอกระบบ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ระดับประถมศึกษา
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
- การศึกษาต่อเนื่อง
การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต
การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน
การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ
การศึกษาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
๒.๒ จัดและส่งเสริมการศึกษาตามอัธยาศัย
- ส่งเสริมการอ่าน
- จัดและพัฒนาแหล่งเรียนรู้
- บริการข่าวสารข้อมูล และสื่อทุกประเภท
- จัดและส่งเสริมกิจกรรมห้องสมุดประชาชนตำบล ห้องสมุดชุมชน มุมหนังสือบ้าน
๓. บริการการเรียนรู้ในชุมชนร่วมกับภาคีเครือข่าย
๓.๑ ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล
๓.๒ ชมรมผู้สูงอายุ
กิจกรรมหลักของ กศน. ตำบล
การจัดตั้ง กศน. ตำบล มีความมุ่งหมายที่จะเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับประชาชนในชุมชน ดังนั้นจึงอาจแบ่งกิจกรรมหลักของ กศน. ตำบล ได้ดังนี้
๑) ศูนย์เรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ประจำตำบล เป็นศูนย์กลางการส่งเสริม จัดกระบวนการเรียนรู้ และหน่วยประสานงานแหล่งเรียนรู้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงภายในชุมชน ดำเนินงานร่วมกับกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.)
๒) ศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยประจำตำบล เพื่อสร้างการเรียนรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข โดยเฉพาะสิทธิและหน้าที่ในระบอบประชาธิปไตย บูรณาการความร่วมมือกับคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และภาคประชาสังคม
๓) ศูนย์ดิจิทัลชุมชน ซึ่งบริหารจัดการฐานข้อมูลที่จำเป็นสำหรับ กศน. และชุมชน เพื่อให้มีความรู้และรับรู้ที่เท่าทัน ปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกยุคดิจิทัล
๔) ศูนย์การศึกษาตลอดชีวิตชุมชน เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาในระบบการศึกษา นอกระบบการศึกษา และการศึกษาตามอัธยาศัย ให้มีคุณภาพที่สอดคล้องกับนโยบายทางการศึกษา โดยยึดชุมชนเป็นฐานในการดำเนินงาน โดย กศน.ตำบล มีบทบาทเป็นผู้ประสานงานและอำนวยความสะดวกกิจกรรมของ กศน.ตำบลเหล่านี้จึงมีครู กศน.ตำบล ซึ่งเป็นพนักงานราชการในสังกัดสำนักงาน กศน. เป็นผู้ดำเนินงานจัดให้มีกิจกรรมเหล่านี้ขึ้น โดยเป็นการทำงานร่วมกันกับภาคีเครือข่ายต่างๆ ทั้ง อบต., อบจ., เทศบาล ตลอดจนหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน รวมทั้งมีอาสาสมัครต่างๆ ในชุมชน เช่น อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.)อาสาสมัคร กศน.อาสาสมัครส่งเสริมการอ่านตลอดจนภูมิปัญญาท้องถิ่น ข้าราชการบำนาญ เยาวชนผู้นำท้องถิ่นต่างๆ เข้ามาร่วมกันทำงานเพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตในชุมชน
เข้าชม : 682 |