จำนวนประชากรทั้งสิ้น 45,353 คน เป็นชาย 21,332 คน เป็นหญิง 24,021 คน
จำนวนครัวเรือน 21,915 ครัวเรือน (ข้อมูล ณ เดือนมีนาคม 2555) แบ่งเป็น 30 ชุมชน
ร้อยละ 40 ประกอบอาชีพรับจ้าง
ร้อยละ 30 ประกอบอาชีพค้าขาย
ร้อยละ 25 ประกอบอาชีพทางการเกษตร
ร้อยละ 5 ประกอบอาชีพรับราชการและอื่นๆ
ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธร้อยละ 98 ศาสนาอื่นๆ ร้อยละ 2
ลักษณะภูมิประเทศ
เทศบาลเมืองคอหงส์ มีขนาดพื้นที่ 34.57 ตารางกิโลเมตร หรือ 21,606.3 ไร่ พื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่ราบเชิงเขาคอหงส์ลาดลงไปสู่คลอง อู่ตะเภา เป็นเส้นแนว ของเขตตำบลควนลังกับตำบลคอหงส์ สภาพดินส่วนใหญ่เป็นดินลูกรังและดินร่าวนปนทรายมีบางแห่งเป็นดินเหนียว
ลักษณะภูมิอากาศ
เทศบาลเมืองคอหงส์ตั้งอยู่ในเขตอิทธิพลของลมมรสุมเมืองร้อนมีลมมรสุม พัดผ่านประจำทุกปี คือ ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงกลางเดือนมกราคมและลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม จากอิทธิพลของลมมรสุมดังกล่าว ส่งผลให้มีฤดูกาลเพียง 2 ฤดู คือ ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนกรกฎาคม และฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนสิงหาคมถึงเดือนมกราคม
การจัดตั้งถิ่นฐานชุมชน
พื้นที่ชุมชนโดยรอบพื้นที่เทศบาลเมืองคอหงส์มีลักษณะการตั้งถิ่นฐานชุมชนในพื้นที่ที่อยู่ระหว่างที่ราบลุ่ม(ทางน้ำหลาก) กับพื้นที่ภูเขาสูงด้านทิศตะวันออกของชุมชน เช่น ถนนสายปุณณกัณฑ์ซึ่งเป็นลักษณะของการพักอาศัยที่รองรับกลุ่มนักเรียน นักศึกษาเนื่องจากพื้นที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์อยู่ข้างเคียงจึงถือเป็นชุมชนที่ มีอายุการตั้งถิ่นฐานไม่นานมาก
ลักษณะย่านกิจกรรมในชุมชน
1.กิจกรรมย่านพื้นที่อาศัย
ประกอบด้วยย่านพักอาศัยที่เป็นกลุ่มพักอาศัยดั้งเดิม ที่มีการก่อตั้งชุมชนควบคู่กับการพัฒนาชุมชนเมืองหาดใหญ่ รวมทั้งพื้นที่พักอาศัยบางบริเวณที่เป็นที่ชุมชนขยายตัวรองรับกลุ่มแรงงานระดับกลาง
2.กิจกรรมย่านพาณิชยกรรม
ส่วนใหญ่เป็นกิจกรรมพาณิชยกรรมบริการชุมชนพักอาศัยในพื้นที่ส่วนต่างๆ ลักษณะจะเป็นร้านค้าขนาดย่อม เช่นพื้นที่บริเวณชุมชนบ้านทุ่งรี โดยเฉพาะส่วนที่ติดกับมหาวิทยาลัยกลุ่มกิจกรรมพาณิชยกรรมจะมีความเข้มแข็ง มากกว่าบริเวณอื่น เนื่องจากกลุ่มผู้ใช้พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มนักศึกษาที่มีพักอยู่ในบริเวณ ดังกล่าว การบริการจะเน้นที่ร้านอาหาร เครื่องดื่ม ร้านถ่ายเอกสารอละอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการเรียน เป็นต้น
3.กิจกรรมย่านราชการและสถาบันการศึกษา
กิจกรรมย่านราชการและสถาบันการศึกษาในพื้นที่เทศบาลเมืองคอหงส์ ถือเป็นย่านที่มีความสำคัญต่อแนวทางการขยายตัวเมืองเป็นอย่างมา กิจกรรมด้านสถาบันที่สำคัญในพื้นที่ ได้แก่ สถาบันการศึกษากับมหาวิทยาลัย (มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ , วิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่, กศน.ตำบลคอหงส์)
4.กิจกรรมอุตสาหกรรม
ลักษณะพื้นที่กิจกรรมอุตสาหกรรมในพื้นที่ยังไม่มีการกระจายตัว ส่วนใหญ่จะเกาะกลุ่มตั้งอยู่บริเวณพื้นที่รับถนนหลวงแผ่นดินสาย 43 ซึ่งเป็นเส้นทางสำคัญเชื่อมต่อไปสู่พื้นที่จังหวัดปัตตานี ที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ กิจกรรมของโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นโรงงานที่กิจการเกี่ยวกับการแปรรูปอาหารต่างๆ
|