[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 
 
ข้อมูลพื้นฐานของ กศน.ตำบลคอหงส์
บริบทของตำบลคอหงส์
สภาพทั่วไปของตำบล :
ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของนครหาดใหญ่ ห่างจากที่ว่าการอำเภอ 2.5 กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดสงขลาประมาณ 30 กิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 1,125 กิโลเมตร
อาณาเขตตำบล :
ทิศเหนือ ติดต่อกับ เทศบาลเมืองคลองแหและเทศบาลตำบลน้ำน้อย
ทิศใต้ ติดต่อกับ เทศบาลเมืองบ้านพรุและเทศบาลตำบลบ้านไร่
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อง๕การบริหารส่วนตำบลทุ่งใหญ่ และองค์การบริหารส่วนตำบลนาหม่อม
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ เทศบาลนครหาดใหญ่และเทศบาลเมืองควนลัง
จำนวนประชากรของตำบล :
จำนวนประชากรทั้งสิ้น 45,353 คน เป็นชาย 21,332 คน เป็นหญิง 24,021 คน
จำนวนครัวเรือน 21,915 ครัวเรือน (ข้อมูล ณ เดือนมีนาคม 2555) แบ่งเป็น 30 ชุมชน
ร้อยละ 40 ประกอบอาชีพรับจ้าง
ร้อยละ 30 ประกอบอาชีพค้าขาย
ร้อยละ 25 ประกอบอาชีพทางการเกษตร
ร้อยละ 5 ประกอบอาชีพรับราชการและอื่นๆ
ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธร้อยละ 98 ศาสนาอื่นๆ ร้อยละ 2
ลักษณะภูมิประเทศ
เทศบาลเมืองคอหงส์ มีขนาดพื้นที่ 34.57 ตารางกิโลเมตร หรือ 21,606.3 ไร่ พื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่ราบเชิงเขาคอหงส์ลาดลงไปสู่คลอง อู่ตะเภา เป็นเส้นแนว ของเขตตำบลควนลังกับตำบลคอหงส์ สภาพดินส่วนใหญ่เป็นดินลูกรังและดินร่าวนปนทรายมีบางแห่งเป็นดินเหนียว
ลักษณะภูมิอากาศ
เทศบาลเมืองคอหงส์ตั้งอยู่ในเขตอิทธิพลของลมมรสุมเมืองร้อนมีลมมรสุม พัดผ่านประจำทุกปี คือ ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงกลางเดือนมกราคมและลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม จากอิทธิพลของลมมรสุมดังกล่าว ส่งผลให้มีฤดูกาลเพียง 2 ฤดู คือ ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนกรกฎาคม และฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนสิงหาคมถึงเดือนมกราคม
การจัดตั้งถิ่นฐานชุมชน
พื้นที่ชุมชนโดยรอบพื้นที่เทศบาลเมืองคอหงส์มีลักษณะการตั้งถิ่นฐานชุมชนในพื้นที่ที่อยู่ระหว่างที่ราบลุ่ม(ทางน้ำหลาก) กับพื้นที่ภูเขาสูงด้านทิศตะวันออกของชุมชน เช่น ถนนสายปุณณกัณฑ์ซึ่งเป็นลักษณะของการพักอาศัยที่รองรับกลุ่มนักเรียน นักศึกษาเนื่องจากพื้นที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์อยู่ข้างเคียงจึงถือเป็นชุมชนที่ มีอายุการตั้งถิ่นฐานไม่นานมาก
ลักษณะย่านกิจกรรมในชุมชน
1.กิจกรรมย่านพื้นที่อาศัย
ประกอบด้วยย่านพักอาศัยที่เป็นกลุ่มพักอาศัยดั้งเดิม ที่มีการก่อตั้งชุมชนควบคู่กับการพัฒนาชุมชนเมืองหาดใหญ่ รวมทั้งพื้นที่พักอาศัยบางบริเวณที่เป็นที่ชุมชนขยายตัวรองรับกลุ่มแรงงานระดับกลาง
2.กิจกรรมย่านพาณิชยกรรม
ส่วนใหญ่เป็นกิจกรรมพาณิชยกรรมบริการชุมชนพักอาศัยในพื้นที่ส่วนต่างๆ ลักษณะจะเป็นร้านค้าขนาดย่อม เช่นพื้นที่บริเวณชุมชนบ้านทุ่งรี โดยเฉพาะส่วนที่ติดกับมหาวิทยาลัยกลุ่มกิจกรรมพาณิชยกรรมจะมีความเข้มแข็ง มากกว่าบริเวณอื่น เนื่องจากกลุ่มผู้ใช้พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มนักศึกษาที่มีพักอยู่ในบริเวณ ดังกล่าว การบริการจะเน้นที่ร้านอาหาร เครื่องดื่ม ร้านถ่ายเอกสารอละอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการเรียน เป็นต้น
3.กิจกรรมย่านราชการและสถาบันการศึกษา
กิจกรรมย่านราชการและสถาบันการศึกษาในพื้นที่เทศบาลเมืองคอหงส์ ถือเป็นย่านที่มีความสำคัญต่อแนวทางการขยายตัวเมืองเป็นอย่างมา กิจกรรมด้านสถาบันที่สำคัญในพื้นที่ ได้แก่ สถาบันการศึกษากับมหาวิทยาลัย (มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ , วิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่, กศน.ตำบลคอหงส์)
4.กิจกรรมอุตสาหกรรม
ลักษณะพื้นที่กิจกรรมอุตสาหกรรมในพื้นที่ยังไม่มีการกระจายตัว ส่วนใหญ่จะเกาะกลุ่มตั้งอยู่บริเวณพื้นที่รับถนนหลวงแผ่นดินสาย 43 ซึ่งเป็นเส้นทางสำคัญเชื่อมต่อไปสู่พื้นที่จังหวัดปัตตานี ที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ กิจกรรมของโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นโรงงานที่กิจการเกี่ยวกับการแปรรูปอาหารต่างๆ
   ข้อมูลสถานที่สำคัญของตำบลคอหงส์
1.อ่างเก็บน้ำแก้มลิง
2.ปุณกัณณ์ ยามราตรี
3.ตลาดเกษตร มอ.
4.มูลนิธิโรงเจ เต๋าบ้อเก็ง หาดใหญ่ (เทศกาลกินเจ)
5.ศาลเจ้าเทพนาจาหาดใหญ่
6.พิพิธภัณฑ์เมืองหาดใหญ่ ศูนย์ประณีตศิลป์
7.เส้นทางศึกษาธรรมชาติ เขาคอหงส์
8.เจ้าทะเลหมอก เขาคอหงส์
9.พ่อคอหงส์
10.มหาธาตูเจดีย์ ไตรภพ ไตรมงคล
11.พิพิธภัณฑ์สถานธรรมชาติวิทยา หนึ่งเดียวในภาคใต้
12.พระบรมธาตุทักษิณเจดีย์ศรีโสภณ


เข้าชม : 1828
 
 

กศน. ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ถนนกาญจนวานิชย์ซอย4  ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90110
เบอร์โทรศัพท์  074-219316

ตั้งอยู่ ณ ศรช.กศนอำเภอหาดใหญ่(โรงเรียนบ้านคลองเปล)
 
ต.คอหงส์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

พิกัด 7-11 หน้าสวนสาธารณะ

Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05