[x] ปิดหน้าต่างนี้
 



 

  

บทความทั่วไป
พลังงานนิวเคลียร์คืออะไร?

พฤหัสบดี ที่ 13 เดือน กรกฏาคม พ.ศ.2560

คะแนน vote : 66  

 พลังงานนิวเคลียร์  ในบทความนี้จะเป็นข้อมูลของการนำไปใช้งานในด้านประยุกต์ที่ใช้ปัจจุบันหลายประเทศที่นิยมใช้คือการผลิตกระแสไฟฟ้า  ไม่ได้กล่าวถึงในเชิงลึกเพื่อให้บุคคลทั่วไปรับทราบข้อมูลที่ได้จากนิวเคลียร์เท่านั้น  โดยเฉพาะการนำมาเป็นพลังงานที่สันติเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน

              สำหรับพลังงานที่เรื่องที่จำเป็นว่าจะขาดแคลนในอนาคตเพราะมีความจำเป็นในชีวิตประจำวันของคนเรามาก  ไม่ว่าจะนอน  ตอนกิน  ตอนทำงาน  เดินทาง  อ่านหนังสือ   ใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดต่างๆ  พลังงานเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบในชีวิตประจำวันให้มีความสะดวกสบายมากขึ้นและมีความต้องการพลังงานมากขึ้นทุกวันมนุษย์จึงต้องพยายามหาแหล่งพลังงานต่างๆเพิ่มขึ้น  ให้เพียงพอต่อการดำรงชีวิต  ไม่ว่าจะเป็นพลังงานที่ได้จากปฏิกิริยาทางเคมี  พลังงานที่ได้จากธรรมชาติ  เช่น  น้ำ  ลม  แสงแดด  แร่ธาตุ  ถ่านหิน  น้ำมัน  ก๊าซธรรมชาติ  แต่หลายอย่างต่างมีข้อจำกัดของตัวเอง  ซึ่งพลังงานนิวเคลียร์เป็นซึ่งเกิดได้สองลักษณะคือ  การรวมตัวหรือฟิวชัน  และการแตกตัวฟิชชั่น  ทำให้ได้พลังงานที่มากมายสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้มากกว่าพลังงานชนิดอื่นทำให้หลายประเทศได้นำเอานิวเคลียร์มาผลิตกระแสไฟฟ้า  แต่สำหรับประเทศไทยยังมีปัจจัยหลายอย่างที่ต้องตระหนักเลยยังไม่ได้สร้างแค่อยู่ในระหว่างการศึกษาเท่านั้น
                 สำหรับพลังงานนิวเคลียร์เป็นพลังงานที่สะอาด  เพราะเป็นพลังงานที่ไม่ทำให้เกิดมลพิศของอากาศ  แต่มีกากกัมมันตรังสีที่เหลือจากเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์  ซึ่งทำให้ใครหลายคนวิตกกังวลในการกำจัดที่ถูกต้องจนทำให้นิวเคลียร์เป็นอุปสรรคหากจะนำมาใช้งานโดยเฉพาะการผลิตไฟฟ้า  จะใช้ปฏิกิริยาฟิวชันคือการแตกตัว  โดยยิงอนุภาคให้เข้าไปชนนิวเคลียสของธาตุหนัก  แล้วนิวเคลียสก็แตกตัวเป็นสองส่วนทำให้เกิดพลังงานมหาศาลขึ้นมา  โดยปฏิกิริยานั้นจะทำภายในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียส  โดยให้ความร้อนไปผลิตไอน้ำแล้วนำหลักเหมือนกับรถไฟไอน้ำ  ทำให้ไอน้ำมีแรงดันไปหมุนกังหันผลิตกระแสไฟฟ้า  ขั้นตอนในการทำจะต้องมีความรอบคอบและปรอดภัยมีการป้องกันที่ดี  ดังนั้นเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ต้องออกแบบมาอย่างดี
                สำหรับพลังงานนิวเคลียร์   ในอดีตได้นำไปใช้ในทางที่ไม่ดี  อย่างเช่นอาวุธสงครามที่มีการทำลายล้างสูงในสงครามโลกครั้งที่สองสหรัฐอเมริกาได้ทิ้งระเบิดปรมาณูสองลูกที่เกาะโอซินาวาและนางาซากิ  สร้างความเสียหายมากมาย  ผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก  บาดเจ็บ  และมีผู้คนที่ได้รับผลจากกัมมันตรังสี  ที่พิการและอากาศบริเวณนั้นเป็นพิษไปนานหลายปีจึงทำให้ใครหลายคนมีทิศนคติที่ไม่ดีต่อนิวเคลียร์  หลังจากนั้นมีการนำไปประยุกต์ใช้งานในด้านดีบ้าง  อย่างเช่นการผลิตกระแสไฟฟ้า  ในทางการแพทย์  เป็นพลังงานขับเคลื่อนต่างๆ  ในประเทศไทยเองก็มีหน่วยงาน  สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ – กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

โรงงานไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์
                  โรงไฟฟ้านิวเคลียร์คือเป็นสิ่งใหม่ที่มนุษย์นำมาใช้และใช้สร้างเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า  ในปัจจุบันมีการเดินเครื่องไปมากกว่า 500 โรงและกำลังก่อสร้างในอีกหลายประเทศ  เริ่มแรกที่ประเทศอเมริกานำไปใช้ในยุคแรกต่อมาประเทศอังกฤษก็สร้างต่อมา  และหลายประเทศในยุโรปโดยเฉพาะที่ฝรั่งเศสมีจำนวนโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์มากกว่าเพื่อน  ทางเอเชียเราเองที่สร้างโรงไฟฟ้าที่ได้มาตรฐานที่ประเทศญี่ปุ่น  ต่อมาก็จะเป็นเกาหลีใต้และใต้หวันได้เดินเครื่องไปแล้ว  ประเทศจีนมีการพัฒนาขึ้นได้เพียงทดลองเท่านั้นเพราะว่าทางประเทศจีนมีทรัพยากรอื่นอย่างเช่นถ่านหินที่ใช้ผลิตไฟฟ้าเป็นหลักจึงไม่ค่อยเดือดร้อนเรื่องพลังงานไฟฟ้า  เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็จะมีทางอินโดเนียเชียที่คาดว่าในไม่กี่ปีก็สามารถเดินเครื่องได้

coal-fired-power-plant-499908_640

                ความปลอดภัยในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์  บ่อยครั้งที่มีการถูกตั้งคำถามว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์นั้นมีความปลอดภัยมากน้อยเพียงใด  ถึงแม้หลายครั้งในอดีตที่ผ่านมานั้นมีการรั่วของกัมมันตรังสีออกมาแต่เป็นเพียงแค่เล็กน้อยไม่ได้เป็นอันตราย  และการออกแบบโรงงานให้พัฒนาด้านความปลอดภัยมากขึ้นจนไม่ได้รั่วออกมาอีกไม่เป็นอันตรายอีกได้  แต่มีปัจจัยภานอกที่ต้องระวัง  อย่างเช่นอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในเซอร์โนบิล  หรือการเกิดสึนามิในประเทศญี่ปุ่นเองซึ่งทางประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ออกแบบโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ได้รับมาตรฐานสูงเมื่อเกิดขึ้นก็มีการรั่วไหลของกัมมันตภาพรังสีออกมา

กากจากปฏิกิริยานิวเคลียร์
                 เมื่อผ่านพ้นไป 1 ปี  ปฏิกิริยาก็จะหยุดไม่สามารถเดินเครื่องอีกต่อไปได้  จะเหลือยูเรเนียม 1 % โดยต่อน้ำหนัก  หลังจากนั้นเครื่องจะทำการเปลี่ยนเอาเชื้อเพลังใหม่เข้าไป  โดยยูเรเนียมที่ใช้ไม่ได้มาพักเพื่อให้ความร้อนนั้นลดลงโดยใช้เวลานานหลายเดือน  หลังจากนั้นจะเอาไปแยกยูเรเนียมและพลูโตเนียมออกจากกันบางส่วนจะนำเอาใช้ได้ใหม่  ส่วนที่ใช้ไม่ได้จะถูกกำจัดในหลายวิธีที่ปลอดภัยที่สุด  โดยทั่วไปจะมีการรวมเป็นผนึกเดียวกันฝังใว้ใต้ดินไปเป็นกิโลเมตร



เข้าชม : 382


บทความทั่วไป 5 อันดับล่าสุด

      ทำอย่างไรเมื่อเจออุบัติเหตุ 13 / ก.ค. / 2560
      วิธีการตรวจวัด แรงดันลมยาง 13 / ก.ค. / 2560
      วิธีกําจัดกลิ่นในรถ 13 / ก.ค. / 2560
      การแก้ไขปัญหาแอร์รถยนต์ 13 / ก.ค. / 2560
      การหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุในการใช้รถ 13 / ก.ค. / 2560


 

กศน.ตำบลบ้านพรุ  ตั้งอยู่ อาคารเอนกประสงค์วัดพระบาท ตำบลบ้านพรุ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 074-219316 fax 074-219318 patchara_kaladirak@ yahoo.co.th

Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05