วันสำคัญและประเพณีไทยอิสลามทางภาคใต้ของไทย
อาชูรอ
การกวนขนมอาซูรออ์ออ์
อาชูรออ์ แปลว่า วันที่ 10 เป็นวันไว้อาลัยโศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นต่ออิมามฮุเซนบิน อะลีย์ บินอะบีฏอลิบ เนื่องจากถูกสังหารในสงคราม อัฏฏ็อฟ ในอิรัก เมื่อวันที่ 10 มุฮัรรอม ฮ.ศ. 61 ซึ่งตรงกับวันที่ 10 ตุลาคม ค.ศ. 680 มุสลิมในประเทศไทย มีการทำอาหารชนิดหนึ่งเรียกว่า บูโบร์อาชูรอ เป็นคำในภาษา
มลายูปาตานี - กลันตัน เป็นชื่อขนมกวนชนิดหนึ่ง เป็นคำที่เพี้ยนมาจากคำว่า บูบูรอาชูรออ์ ในภาษามลายูมาตรฐานที่แปลว่า ขนมกวนวันที่สิบนั่นเอง อาชูรออ์ เป็นคำที่ยืมจากภาษาอาหรับอาชูรออ์ แปลว่าวันที่ 10 ซึ่งในอิสลามหมายถึงวันที่ 10 แห่งเดือน มุฮัรรอม แห่งปฏิทินอิสลาม ชาวมลายูในภาคใต้
จะมีการทำบุญร่วมกัน โดยการทำขนมที่มีชื่อว่า บูโบซูรอ วิธีการทำก็คือ โดยการ กวนข้าว น้ำตาล
มะพร้าว กล้วย ผลไม้อื่นๆ และวัตถุดิบต่างๆ ที่ชาวบ้านนำมา เอามาผสมกันในกะทะใหญ่ และช่วยกัน
กวนคนละไม้คนละมือ จนกระทั่งทุกอย่างเละจนกลายเป็นเนื้อเดียวกัน มีการปรุงรส ให้มีรสชาติหวาน ตัดด้วยรสเค็มนิดหน่อย จนกระทั่งว่า ได้ที่แล้วจึงตักใส่ถาดรอให้ขนมเย็นเอาไปเลี้ยงคน หรืออาจจะเก็บ ไว้กินวันต่อไปก็จะมีรสชาติอร่อยไปอีกแบบ ผู้รู้เชื่อว่าประเพณีการกวนขนมในวันนี้ เป็นประเพณีของชีอะหฺ แม้ว่า จะมีการอ้างว่ารำลึกถึงเหตุการณ์อื่นๆ ก็ตาม มุสลิมซุนนีย์บางพวกจะถือศีลอดงดอาหารในวันอาชูรออ์
เมาลิด
เมาลิด เป็นคำนามเกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งจะแปลความหมายเป็นเวลา หรือสถานที่นั้นย่อมขึ้นอยู่กับ ส่วนขยายภายในประโยค ดังนั้น เมาลิด หมายถึง สถานที่เกิดของท่านนบีอย่างแน่นอน
เมาลิดนบีตรงกับวันอะไร
นักวิชาการต่างมีความเห็นตรงกันว่า นบีมุฮัมหมัด (ซ.ล.) เกิดในวันจันทร์เดือน รอบีอุลเอาวัล ปีช้าง เพราะท่าน อิมามมุสลิมได้บันทึกหะดีษไว้ในหนังสือ ซ่อเฮียหของท่านจาก อบีกอตาดะฮรฎิฯ ว่าท่านร่อซูลศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ถูกถามเกี่ยวกับ การถือศีลอดในวันจันทร์ ท่านกล่าวว่า “นั่นคือวันที่ฉันเกิด วันที่ฉันได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนบี และเป็นวันที่อัลกรุอานได้ถูกประทาน มายังฉัน” แต่จะตรงกับวันที่เท่าไหร่นั้น นักวิชาการมีความเห็นแตกต่างกัน ท่านอิบนุอิสหาก ผู้บันทึกชีวประวัติของท่านนบีคนแรกมีความเห็นว่า ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ.ล.) เกิดในวันที่ 12 เดือนรอบีอุลเอาวัล ท่านอิบนุฮิชาม ได้รายงานอยู่ในหนังสือชีวประวัติของท่านนบีมุฮัมหมัด (ซีเราะฮ.อิบนิฮิชาม)
การย่อย่องวันเกิดของท่านนบีมุฮัมหมัด
ท่านนบีมูฮัมหมัด (ซ.ล.) ได้ให้แบบอย่างในการย่อย่องวันเกิดของท่าน ดังปรากฎในหะดีษ ซึ่งรายงาน โดยท่านอิมานมุสลิม ซึ่งได้หยิบยกมากล่าวแล้วข้างต้น คือ การถือศีลอดในวันจันทร์ ขณะเดียวกัน ท่านหญิงอาอิซะฮ. ท่านอบูฮุรอยเราะฮ. และท่านอุซามะฮ อิบนุเซด ได้กล่าวว่า ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ.ล.) ชอบถือศีลอดในวันจันทร์เมื่อท่านถูกถามเกี่ยวกับการนี้ ท่านกล่าวว่า “นั่นเป็นวันที่ฉันเกิด และได้มีการ แต่งตั้งการเป็นนบีแก่ฉัน” นอกจากนั้นท่านอบูฮุรอยเราะฮฺ ยังได้รายงานหะดีษจากท่านรอซูล (ซ.ล.) ว่าท่านได้ถือศีลอดในวันจันทร์และวันพฤหัส เมื่อท่านได้ถูกถาม เกี่ยวกับการนี้ ท่านกล่าวว่า “ การงานจะถูกนำเสนอ ยังอัลลอฮฺ ในวันจันทร์และวันพฤหัส ดังนั้นฉันจึงชอบที่จะให้การงานของฉันถูกนำ เสนอขณะที่ฉันถือศีลอด” บันทึกโดย อัตติรมีซียฺ และท่านกล่าวว่าเป็นหะดีษหะซัน การให้เกียรติและ การมีความรักต่อท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ.ล.) ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ.ล.) เป็นผู้ที่สมควรจะ ได้รับการให้เกียรติ ยกย่อง เนื่องจากว่าท่านเป็นศาสดา ที่มีความสำคัญของโลก ในขณะเดียวกันท่านได้รับากรย่อย่อง จากผู้ที่ไม่ใช่มุสลิมว่า เป็นผู้ที่มีความยิ่งใหญ่ คนหนึ่งของโลก ดังนั้นหน้าที่ของมุสลิม ก็จำเป็นจะต้อง ให้เกียรติยกย่องท่าน รำลึกคุณงามความดีของท่าน อัลลอฮฺ (ซ.บ.) และท่านนบี (ซ.ล.) ได้ให้แบบอย่าง ในการให้เกียรติยกย่องท่านไว้ในหลายรูปแบบด้วยกันคือ
วันอีด
วันตรุษ ในอิสลามมี 2 วันคือ วันอีดฟิฎร และ วันอีดอัฎฮา จะตรงกับวันที่ 1 เดือนเชาวาล และวันอีดอัฎฮาจะตรงกับวันที่ 10 ของเดือนซุลฮิจญะฮ วันตรุษทั้ง 2 นี้ อัลลอฮได้ทรงกำหนดให้เป็นวันรื่นเริงของมุสลิม ดังหะดิษที่รายงาน โดยท่านนะซาอียจากท่านอนัส อิบนิมาลิก รฎิฯ กล่าวว่า ท่านร่อซูล (ซ.ล.) ได้เดินทางมาถึงเมืองมะดีนะฮ ก็พบว่าชาวเมืองมีวันรื่นเริงอยู่ 2 วัน ท่านร่อซูล(ซ.ล.) จึงถามว่า วันทั้ง 2 นี้เป็นวันอะไร พวกเขาตอบว่า พวกเราได้เคยรื่นเริงสนุกสนานกันใน 2 วันนี้ ในสยัมญาฮิลียะฮ. ท่านร่อซูลจึงกล่าวว่า “ แท้จริงอัลลอฮฺ ได้ทรงเปลี่ยนวันทั้ง 2 ให้แก่พวกท่าน ด้วยวันที่ดีกว่า คือ วันอีดฟิฎร และวันอีดอัฎฮา” แม้ว่าวันอีดทั้ง 2 จะเป็นวันรื่นเริงก็ตาม แต่ท่านนบีก็ได้กำหนดแบบอย่างในการปฏิบัติอิบาดะฮฺ ต่ออัลลอฮฺไว้ด้วยคือ การกล่าวตักบรี การละหมาดอีด และ การรื่นเริงนั้น จะต้องอยู่ในขอบข่ายของศาสนบัญญัติ
การปฏิบัติตนในวันอีด
1. ห้ามถือศีลอดในวันอีดอมัร อิบนุ อัล – ศ็อฏฏอบ กล่าวในคุฎบะฮดีดว่า “ โอ้ พวกท่านทั้งหลายแท้จริงท่านรอซูล (ซ.ล.) ได้ห้ามพวกท่านไม่ให้ถือศีลอดในสองวันอีดวันแรกเป็นวันที่พวกท่านออกจากการถือศีลอด และอีกวันหนึ่งเป็นวันที่พวกท่านกินเนื้อกรุบาน
2. กล่าวตักบีรฺ ตักบีรฺเป็นคํากล่าวหลักของวันอีดทั้งสอง ดังนั้นจึงต้องกล่าวตักบีรฺให้มากๆ ในคืนวันอีดทั้งสอง ทั้งที่บ้าน ในมัสญิด และตามถนนหนทาง เพื่อเป็นการป่าวประกาศไปทั่วทุกซอกซอ ซึ่งชัยชนะและความต้อนรับการมาเยือนของวันอีด
3. จ่ายซะกาตฟิฏเราะฮฺและเชือดสัตว์กุรบาน
4. อาบน้ำชําระร่างกาย
ซุนนะฮฺให้อาบน้ำชําระร่างกายช่วงเช้าตรู่ของวันอีด และขจัดสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ออกจากร่างกาย ( เช่น ขจัดขนลับ ตัดเล็บ ตกแต่งหนวด และทรงผมเป็นต้น)
การถือศีลอด
การถือศีลอด มาจากภาษาอาหรับว่า "อัศ-เศาม" หรือ "อัศ-ศิยาม" ในทางภาษาหมายถึง การละ
การงด การระงับยับยั้ง การควบคุม ครองตน เช่น การละความชั่ว ยับยั้ง สิ่งต่างๆ ที่เกิดจากอารมณ์ฝ่ายต่ำ ส่วนความหมายในทางศาสนา หมายถึง การละเว้นการบริโภคอาหาร เครื่องดื่ม การร่วมสังวาส
ระหว่างรุ่งสาง จนตะวันลับขอบฟ้า งดเว้นการพูดจาโกหก เหลวไหล ไร้สาระ เว้นจากการประพฤติชั่ว ทั้งโดยลับ และเปิดเผย ถือปฏิบัติตามแบบอย่างที่ท่านศาสดามุฮัมหมัด (ซ .ล.) ได้ทรงกำหนดไว้โดยให้ควบคุม พร้อมทั้งมือ เท้า หู ตา ใจ ลิ้น และอวัยวะทุกส่วน มิให้ใช้ไปในทางไร้สาระ โองการในอัลกุรอาน มีปรากฏว่า “โอ้ บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย การถือศีลอดนั้น ได้ถูกกำหนดแก่สูเจ้าดั่งที่ได้ถูกกำหนด แก่เขาเหล่านั้น ก่อนหน้าสู เจ้ามาแล้ว เพื่อว่าสูเจ้าจะได้สำรวมตนจากความชั่ว” จากโองการนี้แสดงว่า การถือศีลอดนั้น ได้เคยมีมาแล้วใน ประชาชาติก่อนๆ เราได้ทราบจากประวัติศาสตร์ว่า ชาวอียิปต์โบราณนิยมถือศีลอด กันมาเป็นประจำ ต่อมาแพร่หลาย ไปยัง ชาวกรีกและโรมัน โดยเฉพาะชาวกรีก ยังได้นำการถือศีลอดนี้ ไปใช้เป็นบทบังคับสตรี และชาวอินเดียยังคงนิยม การถือศีลอด ตราบเท่าทุกวันนี้ ท่านนบีมูซาศาสดาของ ชาวยิวได้ถือศีลอดเป็นเวลา 40 วัน ชาวยิวถือศีลอดเป็นเวลา 1 สัปดาห์ เพื่อระลึกถึงวันที่กรุงยะรุสลิม (เยรูซาเล็ม) ได้ถูกทำลายโดยกษัตริย์บาบิโลน ก่อน ค.ศ. 587 และถูกทำลายซ้ำ โดยชาวโรมันใน ค.ศ.70 การถือศีลอดได้ปฏิบัติกันมาในรูปแบบต่างๆ กัน บางพวกอดอาหารตลอดวัน บางพวกงดเพียงครึ่งวัน บางพวกบริโภคอาหารหนัก แต่ไม่ดื่มน้ำหรือเครื่องดื่มอื่นๆ และบางพวกงดบริโภคเนื้อสัตว์ แต่สำหรับอิสลาม การถือศีลอด หมายถึง การอดอาหารเครื่องดื่ม การเสพเมถุน อดกลั้นทำความชั่วทุกชนิด แม้เพียงนึกคิด ตั้งแต่รุ่งสางจนตะวันลับขอบฟ้าในเดือนรอมฎอน (เดือนที่ 9 ตามปฏิทินทางจันทรคติของอิสลาม) ของทุกปี เป็นเวลาประมาณ 29 ถึง 30 วัน บทบัญญัตินี้ ถูกกำหนดบังคับใช้สำหรับมุสลิมทุกคน ซึ่งถูกบัญญัติ ใน เดือน ซะอบาน (เดือนที่ 8) หลังจาก ท่านศาสดามุฮัมหมัด (ซ.ล.) อพยพจาก มักกะฮสู่มาดีนะฮได้ 2 ปี (ปีฮิจเราฮที่ 2) และได้ ปฏิบัติกันมาจนตราบเท่า ทุกวันนี้ การถือศีลอดเป็นการทดลอง และฝึกหัดร่างกาย ให้รู้จักอดกลั้น ให้รู้จักสภาพอันแท้จริงของผู้ที่อัตคัดขัดสน ทำให้เกิดความเห็นอกเห็นใจกัน เป็นการ ขัดเกลาจิตใจ ให้บริสุทธิ์ผ่องแผ้วพ้นจากอำนาจ ใฝ่ต่ำ และมีคุณธรรม
กฏเกณฑ์ในการถือศีลอดและหลักปฏิบัติ
1. ผู้ถือศีลอด มุสลิมที่บรรลุศาสนภาวะ คือมีอายุ 15 ปี และหญิงที่เริ่มมีประจำเดือนทุกคนต้องถือศีลอด ถ้าจะแบ่งประเภทของผู้ถือศีลอดโดยทั่วไป พอจะแบ่งได้ดังนี้
- ผู้ต้องถือ ได้แก่ผู้มีร่างกายสมบูรณ์ ไม่เจ็บป่วย ไม่อยู่ในระหว่างการเดินทาง
- ผู้ได้รับการผ่อนผัน เมื่อมีเหตุการณ์เฉพาะหน้าอันได้แก่ ผู้ที่เจ็บไข้ได้ป่วย จะไม่สามารถ ถือศีลอดได้หรืออยู่ในระหว่าง เดินทาง แต่เมื่อเหตุการณ์เฉพาะหน้านั้นหมดไป คือ หายป่วย หรือกลับจากเดินทางแล้ว ก็ต้องถือใช้ให้ครบตาม จำนวนวันที่ขาดไป โดยจะถือชดใช้ในวันใด เดือนไหน ในรอบปีนั้นก็ได้
- ผู้ได้รับการยกเว้น คือ
1. คนชรา
2. คนป่วยเรื้อรังที่แพทย์วินิจฉัยว่ารักษาไม่หาย
3. หญิงมีครรภ์แก่และแม่ลูกอ่อนที่ให้นมทารก ซึ่งเกรงว่าการถือศีลอดอาจเป็นอันตรายแก่ทารก
4. บุคคลที่สุขภาพไม่สมบูรณ์ ซึ่งเมื่อเขาถือศีลอดจะเป็นภัยต่อสุขภาพเสมอ
5. บุคคล ที่ทำงานหนัก เช่น ในเหมืองหรืองานอื่นๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจและศรัทธาของเขาเองว่าจะสามารถถือศีลอดได้หรือไม่ โดยไม่ต้องลวงตัวเอง บุคคลทั้ง 5 ประเภทนี้ ได้รับการยกเว้นโดยไม่ต้องถือเลย แต่ต้องชดใช้ด้วยการจ่าย ซะกาต (อาหาร) เป็นทานแก่คนยากจน ด้วยอาหารที่มีคุณภาพตามที่ตนใช้บริโภคตลอดทั้งเดือน หรือจะจ่ายเป็นค่าอาหาร แทนวันต่อวัน โดยการบริจาคทานให้ต่างบุคคลก็ได้ "อัลลอฮฺ ทรงยกเว้นการถือศีลอด และนมาซส่านหนึ่ง ให้แก่ผู้เดินทาง และยกเว้นการถือศีลอดสำหรับหญิงมีครรภ์แก่ และที่ให้นมทารก" (อัส-สุนัน ของ อิมามอะหมัด)
2. กำหนดเวลาการถือศีลอด ข้อนี้มีปรากฏอย่างชัดเจนในอัลกุรอาน"จงกินและจงดื่มจนกระทั่งความขาว ของกลางวันกระจ่างจากความดำของกลางคืนในรุ่งสาง แล้วจงถือศีลอดจนกระทั่ง พลบค่ำ" กล่าว คือ ให้เริ่มถือศีลอดตั้งแต่แสงอรุณขึ้น จนตะวันลับฟ้าในช่วง ดังกล่าว นี้ห้ามการกินการดื่มทุกประเภท ห้ามร่วมสังฆวาส แต่นอกเหนือเวลาดังกล่าวนี้ ก็ไม่เป็นที่ห้าม
เข้าชม : 8640
|