การศึกษาไทยในอนาคต
ริยธรรม และวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต, สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข เป็นคนไทยที่มองกว้าง คิดไกล ใฝ่สูง มุ่งทำงาน และชาญชีวิต, เป็นผู้ที่คิดเป็น ทำเป็น คิดสร้างสรรค์และรักการเรียนรู้ตลอดชีวิต, เป็นผู้ที่สามารถสร้างความรู้ใหม่ ประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ รักการทำงาน และมีพลวัตในตนเองสูง, และเป็นคนไทยที่มาตรฐานสากล คือ เป็นผู้มีความสามารถทางด้านภาษาสากล เทคโนโลยีสื่ออิเล็กทรอนิกส์, มีความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมนานาชาติ, มีค่านิยมสากล และสามารถบูรณาการวิถีชีวิตไทยกับสังคมสากลได้อย่างมีความสุข การศึกษาไทยยุคใหม่ เพื่อให้มีการพัฒนาคนไทยยุคใหม่ เพื่อมีชีวิตที่มีคุณภาพในสังคมไทยยุคใหม่ ภายใต้บริบสังคมโลกใหม่, การศึกษาไทยยุคใหม่มีลักษณะที่สำคัญ ดังนี้ 1. การศึกษาไทยยุคใหม่ เป็นการศึกษาที่มุ่งสร้างคน สร้างงาน และสร้างชาติ, เป็นการศึกษาแบบองค์รวมและบูรณาการ เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ศาสนา และการเมือง เพื่อพัฒนาประเทศยั่งยืน 2. การศึกษาไทยยุคใหม่ ต้องมุ่งสั่งสมทุนปัญญาไทยและทุนปัญญาโลก 3. การศึกษาไทยยุคใหม่ ต้องเน้นผลต่อผู้เรียน ทั้งในระดับนโยบายและระดับการเรียนการสอนโดยกำหนดนโยบายการศึกษาที่คำนึงถึงประโยชน์ของผู้เรียนเป็นสำคัญ, เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามวิถีที่ถนัดและสนใจ เรียนอย่างสนุก เล่นให้ได้ความรู้ และมีความสุขกับการเรียน, ครูสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้คิดวิเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ เกิดความเชื่อมั่นในตนเองและมีความสุขกับการทำงาน 4. การศึกษาไทยยุคใหม่ ต้องมุ่งยกระดับงาน ให้เป็นแรงงานคุณภาพ (Knowledge workers) ที่เข้มแข็ง และแข่งขัน ในมาตรา ๘ ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้ยึดหลักสามประการในการจัดการศึกษา คือเป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง, อีกทั้งมาตรา ๙ ได้กำหนดหลักการสำคัญในการจัดระบบโครงสร้างและกระบวนการจัดการศึกษาไว้ ๖ ประการ คือ (ก) มีเอกภาพด้านนโยบายและมีความหลากหลายในการปฏิบัติ (ข) มีการกระจายอำนาจสู่เขตพื้นการศึกษา สถานศึกษา และองค์ปกครองส่วนท้องถิ่น (ค) มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษา และจัดระบบประกันคุณภาพการศึกษาทุกระดับ และประเภทการศึกษา (ง) มีหลักการส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา และการพัฒนาครูคณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง (จ) ระดมทรัพยากรจากแหล่งต่างๆ มาใช้ในการจัดการศึกษา (ฉ) การมีส่วนร่วมของบุคคลครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น.จะเห็นได้ว่า หลักการจัดการศึกษาในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๒ สอดคล้องกับหลักการจัดการศึกษายุคใหม่ เพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นคนไทยยุคใหม่ที่มีคุณภาพ คุณธรรม และคุณค่าแก่สังคมไทย และสังคมโลก มีชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ระบบการจัดการศึกษาไทยยุคใหม่ การศึกษาปฐมวัยในอนาคต ประเทศที่มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจให้ความสำคัญกับเงินและมนุษย์เป็นอย่างมากโดยเฉพาะมนุษย์ที่สามารถพัฒนาศักยภาพของตนเองให้มีประสิทธิภาพเพื่อปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลกได้ ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันว่าศักยภาพของมนุษย์ในสังคมนั้นจะบอกถึงสถานภาพความมั่นคงของสังคมนั้น ศักยภาพของมนุษย์อยู่ที่การทำงานของสมองประเทศใดให้ความสำคัญในการพัฒนาสมองของคนหรือการคิดของคนในประเทศนั้นจะได้รับการพัฒนา ช่วงระยะเวลาที่สำคัญที่สุดสำหรับการเรียนรู้ของมนุษย์คือ แรกเกิดถึง 7 ปี หากส่งเสริมภายหลังจากวัยนี้แล้วถือได้ว่าสายเสียแล้ว เพราะการพัฒนาสมองของมนุษย์ในช่วงวัยนี้สามารถพัฒนาไปถึง 70 % ควรจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับวัยของเด็ก ให้เด็กเรียนรู้ผ่านการเล่น เรียนรู้อย่างมีความสุข จัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม ดูแลด้านสุขนิสัยและโภชนาการเหมาะสม เด็กจึงจะพัฒนาศักยภาพสมองของเขาได้อย่างเต็มความสามารถ สมองของเด็กเรียนรู้มากกว่าสมองของผู้ใหญ่เป็นพันๆเท่า เด็กเรียนรู้ทุกอย่างที่เข้ามาปะทะ สิ่งที่เข้ามาปะทะล้วนเป็นข้อมูลเข้าไปกระตุ้นสมองเด็กทำให้เซลล์ต่างๆเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายเส้นใยสมองและจุดเชื่อมต่อต่างๆอย่างมากมายซึ่งจะทำให้เด็กเข้าใจและเรียนรู้สิ่งต่างๆที่เกิดขึ้น สมองจะทำหน้าที่นี้ไปจนถึงอายุ 10 ปีจากนั้นสมองจะเริ่มขจัดข้อมูลที่ไม่ได้ใช้ในชีวิตประจำวันทิ้งไปเพื่อให้ส่วนที่เหลือทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด การศึกษาปฐมวัยมีการปรับเปลี่ยนและพัฒนามาจากทฤษฎีและแนวคิดของนักทฤษฎีผู้ที่ศึกษาและเข้าใจในธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กวัยแรกเกิดถึง 8 ปี มานานนับศตวรรษ ต่อมาได้มีความคิดใหม่เกิดขึ้น และมีหลายแนวคิดที่สอดคล้องและมีความเห็นในหลักการพัฒนาเด็กตามที่เคยเชื่อถือและเคยปฏิบัติมาแต่เดิม จะเห็นได้ว่าการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เกิดขึ้นเนื่องจากอิทธิพลทางสังคม ความคาดหวังต่างๆ ที่ทำให้นักการศึกษาหลายกลุ่มได้พยายามแสวงหาแนวคิดและสร้างองค์ความรู้ใหม่ โดยอาศัยหลักความเชื่อ หลักทฤษฎีที่ว่าด้วยพัฒนาการเด็กและการเรียนรู้เป็นฐาน นักการศึกษาหลายกลุ่มได้นำรูปแบบการสอนตามความเชื่อและเหตุผลเชิงทฤษฎีไปปฏิบัติติดตามผล มีรายงานการวิจัยเผยแพร่ในวงการศึกษาปฐมวัยซึ่งกระตุ้นให้หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนตื่นตัวในการจัดการศึกษาเพื่อให้เด็กได้รับการพัฒนาด้านต่างๆมากขึ้น การจัดการศึกษาปฐมวัยมีองค์ประกอบสำคัญ คือ เด็กปฐมวัย ผู้ปกครอง ชุมชนและสังคม ครูปฐมวัย การจัดหลักสูตร การจัดการเรียนรู้ การบริหารจัดการ การศึกษาปฐมวัยในอนาคตเกี่ยวข้องกับศึกษาอดีต ปัจจุบันและมองภาพข้างหน้าว่าจะเป็นอย่างไรที่จะทำให้การจัดการศึกษาปฐมวัยมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพในทุกด้าน ผู้เขียนขอแสดงความคิดเห็นส่วนตัวในแต่ละด้านดังนี้ เด็กปฐมวัย เด็กปกติและเด็กที่มีความต้องการพิเศษต้องได้รับการพัฒนาอย่างเหมาะสมตั้งแต่ใน ครรภ์มารดา จนถึงอายุ 6 ปี เด็กได้รับการดูแลและส่งเสริมพัฒนาการทุกด้านคือ พัฒนาการทางสติปัญญา ร่างกาย อารมณ์ สังคม คุณธรรมจริยธรรม เรียนรู้วัฒนธรรมและภูมิปัญญา เน้นสิทธิเด็กเพื่อให้เด็กได้รับการดูแลช่วยเหลือ ได้รับการปกป้องคุ้มครองความปลอดภัยทั้งกายและจิตใจ ส่งเสริมให้ได้รับการพัฒนาเต็มศักยภาพ พ่อแม่และครอบครัวมีส่วนร่วมดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปีที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลจากสถานรับเลี้ยงเด็ก โดยผู้ทำหน้าที่ดูแลเด็กจะต้องมีความรู้ทางการศึกษาปฐมวัย ส่วนเด็กอายุ 3 – 5 ปีที่ได้รับการพัฒนาจากสถานศึกษา/ศูนย์พัฒนาเด็กกำหนดให้ผู้ทำหน้าที่ดูแลและให้การศึกษาแก่เด็กต้องมี ความเป็นมืออาชีพและมีความรู้ทางการศึกษาปฐมวัย เด็กดำเนินชีวิตในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมและเอื้อต่อการเรียนรู้ ได้รับบริการที่มีคุณภาพด้านสุขภาพทางกายและจิตใจอย่างสม่ำเสมอ ได้รับการแก้ปัญหาข้อบกพร่องอย่างถูกต้องและทันต่อสถานการณ์ ผู้ปกครอง ชุมชนและสังคม(ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย) ได้รับความรู้ความเข้าใจและมีทักษะในการอบรมดูแล จัดประสบการณ์และจัดสภาพแวดล้อมในเด็กอย่างเหมาะสมกับระดับพัฒนาการ โดยสามารถเข้าถึงความรู้จากสื่อสิ่งพิมพ์ นิตยสาร โปสเตอร์ แผ่นพับ รายการวิทยุโทรทัศน์ Website โรงเรียนมีบทบาทสำคัญในการจัดกิจกรรมการให้การศึกษาแก่พ่อ แม่และผู้ปกครองในรูปแบบ การประชุมกลุ่มใหญ่ กลุ่มเล็ก กิจกรรมสัมพันธ์บ้านกับโรงเรียน แผ่นพับและจัดกิจกรรมแนะแนวความรู้ทางการศึกษาปฐมวัยแก่ผู้ปกครอง ชุมชนและสังคม ส่งเสริมให้ผู้ปกครองร่วมประเมินผลพัฒนาการเด็ก ผู้ปกครอง ชุมชนและสังคมมีส่วนร่วมสนับสนุนกิจกรรมการเรียนการสอนและพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา สถานพัฒนาเด็กและโรงเรียนระดับปฐมวัยมีชมรมหรือสมาคมผู้ปกครองร่วมมือกับโรงเรียนเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็ก นอกจากนี้สื่อมวลชนมีบทบาทสำคัญในการปกป้องคุ้มครองสิทธิ เฝ้าระวังและร่วมพัฒนาเด็กโดยวิธีเผยแพร่ความรู้และทักษะในการอบรมเลี้ยงดูเด็ก กระตุ้นในสังคมเห็นความสำคัญของการพัฒนาเด็ก ผู้ปกครองทำหน้าที่เป็นแกนหลักในการดูแลและส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญาร่างกาย อารมณ์ สังคม คุณธรรมจริยธรรม เรียนรู้วัฒนธรรมและภูมิปัญญา เน้นสิทธิเด็กทำให้เด็กได้รับการดูแลช่วยเหลือ ได้รับการปกป้องคุ้มครองความปลอดภัยทั้งกายและจิตใจส่งเสริมให้ได้รับการพัฒนาเต็มศักยภาพ พ่อแม่และครอบครัวมีส่วนร่วมดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด มีบทบาทในการช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กโดยการให้เด็กได้เรียนรู้สิ่งต่างๆด้วยการลงมือกระทำโดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการทำกิจกรรม 1 กิจกรรมพยายามให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสหลายอย่างร่วมกัน ให้เด็กได้พูดในสิ่งที่เขาคิด และได้ลงมือกระทำ ถ้าไม่ได้พูดสมองไม่ พัฒนา ต้องฝึกให้เด็กใช้สมองมากๆอย่างมีความสุข ไม่ให้เครียด ผู้ใหญ่ต้องรับฟังในสิ่งที่เด็กพูดด้วยความตั้งใจ และพยายามเข้าใจเด็ก ครูปฐมวัยจำนวนร้อยละ 100 มีความรู้ทางการศึกษาปฐมวัยหรือสำเร็จการศึกษาทางการศึกษาปฐมวัย และได้รับการอบรม/สัมมนาปีละไม่น้อยกว่า 2 ครั้ง ผู้ทำงานในสถานศึกษาต้องมีใบประกอบวิชาชีพครู มีคุณสมบัติความเป็นนักวิจัย/ครูนักวิจัย มีชมรม/สมาคมสำหรับครูปฐมวัย มีศูนย์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัยให้บริการวิชาการได้ตลอดเวลา ปรับเปลี่ยนบทบาทของตนได้ทันทีโดยรวดเร็วจากครูแบบเดิมกับแนวทางใหม่ผู้สอนต้องเข้าใจว่าแนวคิดทางการศึกษาปฐมวัยเกิดจากการบูรณาการทฤษฎีที่เกี่ยวข้องเข้า ด้วยกัน ครูมีวิสัยทัศน์ในการจัดการศึกษาปฐมวัยที่สามารถสร้างพลังการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นภายในตัวผู้เรียน กลุ่มแนวคิดที่นำเสนอในที่นี้มีความเห็นที่ชัดเจนและชี้ประเด็นสำคัญที่เกี่ยวกับการจัดกระบวนการเรียนรู้ 4 ประการคือ หลักการเรียนรู้ บทบาทของครู บทบาทเด็กและการจัดสภาพการเรียนรู้ การเรียนรู้ในแนวใหม่ต่างจากการสอนแบบเดิมที่เน้นการเรียนเนื้อหาวิชาที่ครูสอนหรือถ่ายทอดให้ เด็กปฐมวัยโดยตรง แนวทางใหม่เน้นให้เด็กที่ได้รับประสบการณ์การเรียนรู้อย่างเป็นกระบวนการ พัฒนากระบวนการคิดและทักษะการคิด การใช้ภาษา การแสดงออกทางสร้างสรรค์ การปรับตัวได้ดี มีความเชื่อมั่นและมีความรู้สึกที่ดีต่อตัวเองสูง พัฒนาทักษะทางสังคมและเด็กอายุ 4 ปีขึ้นไปได้รับการส่งเสริมพฤติกรรมความร่วมมือ แนวคิดใหม่ปรับเปลี่ยนมโนคติ ทัศนคติและแนวปฏิบัติในเรื่องการจัดกระบวนการเรียนการสอน ได้นำแนวคิดและทฤษฎีต่างๆมาสนับสนุนและชี้นำแนวการสอนที่จะส่งผลดีต่อการพัฒนาเด็กตามที่เราต้องการ การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยมีลักษณะเฉพาะตัวและจำเป็นต้องเรียนรู้ผ่านการเล่นและกิจกรรมที่เหมาะสมกับวัย การส่งเสริมศักยภาพของเด็กโดยเน้นการสร้างองค์ความรู้ และการรับความรู้ให้ผลต่างกัน ผลจากการให้เด็กเรียนรู้จากการสร้างองค์ความรู้เป็นการสร้างพลังการเรียนรู้ที่แท้จริงอันจะนำไปสู่การศึกษาที่ช่วยให้เด็กเป็นคนเก่ง คนดี มีความสุข พัฒนาการจัดการเรียนรู้บนพื้นฐานการวิจัย จัดการศึกษาให้เด็กได้รับการพัฒนารอบด้านอย่างสมดุล เต็มตามศักยภาพสนับสนุนการบูรณาการทฤษฎีต่างๆตลอดจนการนำผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องไปใช้จริงการที่เราพูดกันเสมอมาว่า ครูควรใช้แนวคิดในการจัดการ เรียนรู้โดยเน้นเด็กเป็นศูนย์กลาง จัดการเรียนรู้โดยการบูรณาการทฤษฎีที่เกี่ยวข้องเข้าด้วยกัน เช่น ทฤษฎีการพัฒนาทางจิตและสังคม (Psychosocial Stages) ของ Erikson ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา(Cognitive Theory) ของ Piaget ทฤษฎีการเรียนรู้เชิงสังคม (Social Cognitive Theory) ของ Bandura ทฤษฎีมนุษยนิยม (Humanistic Theories) ที่ว่าด้วยความต้องการจำเป็นของมนุษย์(Theory of Human Motivation) ของ Maslow และการพัฒนาเหตุผลเชิงคุณธรรม (Stages of Moral Reasoning) ของ Kohlberg เป็นต้น กำหนดกรอบของหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะกับวัยของเด็กสอดคล้องกับนโยบายและแผนพัฒนาการศึกษาปฐมวัยของประเทศ การจัดหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้คำนึงถึงความสนใจของเด็กและตอบสนองความต้องการของเด็ก ความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กรายบุคคล และรายกลุ่ม (Developmentally Appropriate Curriculum) ใช้วิธีประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริง (authentic assessment) และใช้ระบบสะท้อนข้อมูลการสอนจากการสังเกตบันทึกพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กเพื่อการวางแผนการสอนในครั้ง นำนวัตกรรมใหม่ๆหรือสร้างนวัตกรรมใหม่ด้านการจัดการเรียนรู้มาพัฒนาเด็กอย่างเหมาะสม จัดการเรียนรู้หรือจัดสิ่งกระตุ้นให้มากพอที่สมองจะทำงานเป็นกระบวนการ กิจกรรมที่เด็กปฐมวัยได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเองคือ กิจกรรมที่จะต้องใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก โดยการให้เด็กได้ฝึกฝนการใช้มือ หยิบ จับ สัมผัส ซึ่งปลายนิ้วมือจะรับรู้การสัมผัสส่งผลให้สมองสร้างเครือข่ายเส้นใยสมองและจุดเชื่อมต่อและสร้างไขมันล้อมรอบเส้นใยสมอง เด็กคนใดมีทักษะในการใช้สายตาประสานกับการทำงานของมือให้เกิดความคล่องแคล่ว แสดงว่าเซลล์สมองทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อมัดเล็กได้มาก สมองของเด็กจึงจะพัฒนา จัดให้เด็กได้ทำกิจกรรมต่างๆ ดังนี้ กิจกรรมศิลปะ ประกอบด้วย การปั้นดินน้ำมัน/ดินเหนียว/แป้งโดว์ การวาดภาพระบายสี อาจเป็นสีน้ำหรือสีเทียนสลับกับไป การตัด ฉีก ปะ งานประดิษฐ์ต่างๆ เป็นต้น การเล่นเครื่องเล่นสัมผัสต่างๆ ประกอบด้วย พลาสติกต่อลักษณะต่างๆ การร้อยลูกปัด การร้อยดอกไม้ การผูกเชือก การติกกระดุม การแป้นหมุด การต่อภาพ เป็นต้น กิจกรรมการทดลอง ประกอบด้วย การทดลองการจมการลอย การเล่นน้ำ การเล่นทราย การปรุงอาหารง่ายๆ การต่อสร้างด้วยบล็อกขนาดต่างๆ เป็นต้น กิจกรรมการไปทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู่ในชุมชน จัดหาและดัดแปลงสื่อโดยใช้วัสดุในท้องถิ่น ส่งเสริมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยด้วยทฤษฎีพหุปัญญาซึ่งเด็กแต่ละคนมีฐานการเรียนรู้และสภาพแวดล้อมแตกต่างกัน ทำให้มีความสามารถในทางสมองแตกต่างกัน แต่ทุกคนก็สามารถพัฒนาศักยภาพสูงสุดของตนได้ เด็กวัยนี้ควรเรียนรู้ในด้านต่างๆดังนี้ 1. การเคลื่อนไหวของร่างกาย ฝึกการยืน เดิน วิ่ง จับ ขว้าง กระโดด การเคลื่อนไหวไปในทิศทางต่างๆที่เราต้องการ หรือพวกนักกีฬาต่างๆ 2. ภาษาและการสื่อสาร เป็นการใช้ภาษาสื่อสารโดยการปฏิบัติจริง จากการพูด การฟัง การอ่านและการเขียน เช่น ให้เด็กเล่าสิ่งที่เขาได้พบเห็น ได้ลงมือกระทำ ฟังเรื่องราวต่างๆที่เด็กต้องการเล่าให้ฟังด้วยความตั้งใจ เล่านิทานให้ลูกฟังทุกวัน เล่าจบตั้งคำถามหรือสนทนากับลูกเกี่ยวกับเรื่องราวในนิทาน อ่านคำจากป้ายประกาศต่างๆที่พบเห็น ให้เด็กได้วาดภาพสิ่งที่เขาได้พบเห็นหรือเขียนคำต่างๆที่เขาได้พบเห็น 3. การรู้จักการหาเหตุผล ฝึกให้เด็กเป็นคนช่างสังเกต การเปรียบเทียบ จำแนกแยกแยะสิ่งต่างๆ จัดหมวดหมู่สิ่งของที่มีอยู่ในชีวิตประจำวัน เรียนรู้ขนาด ปริมาณ การเพิ่มขึ้นลดลง การใช้ตัวเลข 4. มิติสัมพันธ์และจินตนาการจากการมองเห็น ให้เด็กได้สัมผัสวัตถุต่างๆที่เป็นของจริง เรียนรู้สิ่งต่างๆจากประสบการณ์ตรง เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่าง ระยะ ขนาดตำแหน่งและการมองเห็น สังเกตรายละเอียดของสิ่งต่างรอบตัว เข้าใจสิ่งที่มองเห็นได้สัมผัส สามารถนำสิ่งที่เข้าใจออกมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ 5. ดนตรีและจังหวะ ให้เด็กได้ฟังดนตรี แยกแยะเสียงต่างๆ ร้องเพลง เล่นเครื่องดนตรี ฝึกให้เด็กรู้จักจังหวะดนตรี 6. การมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น ฝึกให้เด็กอยู่ร่วมกับผู้อื่นในด้านการช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อแบ่งปัน เข้าใจผู้อื่น เรียนรู้การทำงานร่วมกับผู้อื่น ปฏิสัมพันธ์ในสังคมของมนุษย์เป็นรากฐานสำคัญของการเรียนรู้และสติปัญญา 7. การรู้จักตนเอง รับรู้อารมณ์ความรู้สึกของตนเอง เข้าใจตนเอง จะทำให้ดูแลกำกับพฤติกรรมตนเองได้อย่างเหมาะสม 8. การปฏิสัมพันธ์กับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การอยู่ร่วมกับธรรมชาตินอกจากกิจกรรมที่กล่าวมาแล้ว จัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสมองโดยพยายามให้เด็กนำความรู้เดิมไปผสมผสานกับประสบการณ์ใหม่ ให้เด็กได้ใช้สมองผสมผสานกันทั้งซีกซ้ายและซีกขวาโดยการปฏิบัติผ่านการเล่น ให้เด็กเรียนรู้อย่างมีความสุข การบริหารจัดการทางการศึกษาปฐมวัย โรงเรียน/ศูนย์จะต้องพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการให้ได้มาตรฐานตามเกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษา หรือเป็นการพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ วิธีการพัฒนาการศึกษาปฐมวัยอย่างก้าวกระโดดคือการเทียบเคียงสมรรถนะเป็นรูปแบบหนึ่งที่มีกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์และวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศจากโรงเรียนที่จัดการศึกษาปฐมวัยอื่นๆภายใต้กฎกติกาสากล โดยมีแนวคิดที่ว่า โรงเรียนนั้นไม่ได้เก่งทุกเรื่อง ยังมีโรงเรียนที่จัดการศึกษาปฐมวัยเก่งมากกว่าโรงเรียนของเราในบางเรื่องการศึกษาจากประสบการณ์ตรงของโรงเรียนอื่นๆแล้วนำมาประยุกต์ให้เหมาะสม จะช่วประหยัดเวลาและลดการลองผิดลองถูก การเรียนรู้จากแชมป์จึงเป็นเส้นทางลัดสู่ความเป็นเลิศอย่างก้าวกระโดด การศึกษาปฐมวัยในอนาคตให้ความสำคัญในการพัฒนาสมองเพราะวัยนี้สมองมนุษย์จะพัฒนาไปถึง 70 % ต้องจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับวัยของเด็กโดยจัดกิจกรรมการเรียนจากประสบการณ์ตรง เด็กได้ลงมือกระทำและมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลและสิ่งแวดล้อม ให้เด็กเรียนรู้ผ่านการเล่น เรียนรู้อย่างมีความสุข จัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม ดูแลด้านสุขนิสัยและโภชนาการเหมาะสม เด็กจึงจะพัฒนาเต็มตามศักยภาพ การจัดการศึกษาปฐมวัยแสดงประสิทธิผลและประสิทธิภาพอย่างชัดเจนในด้าน การพัฒนาเด็ก การมีส่วนร่วมและการสร้างความรู้เข้าใจทางการศึกษาปฐมวัยแก่ผู้ปกครอง ชุมชนและสังคม การปรับเปลี่ยนบทบาทครูปฐมวัยและการพัฒนาครูอย่างต่อเนื่องและมีคุณสมบัติความเป็นครูนักวิจัย การจัดหลักสูตรให้เหมาะสมกับระดับพัฒนาการของเด็กสอดคล้องกับนโยบายและแผนพัฒนาการศึกษาปฐมวัยของประเทศ การจัดการเรียนรู้แนวทางใหม่อยู่บนฐานแนวคิดและทฤษฎีเน้นให้เด็กที่ได้รับประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยการลงมือกระทำ พัฒนากระบวนการคิดและทักษะการคิด การใช้ภาษา การแสดงออกทางสร้างสรรค์ การปรับตัวได้ดี มีความเชื่อมั่นและมีความรู้สึกที่ดีต่อตัวเองสูง พัฒนาทักษะทางสังคม ส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยทฤษฎีพหุปัญญา พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการให้ได้มาตรฐานตามเกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษา หรือเป็นการพัฒนาสู่ความเป็นเลิศด้วยวิธีการพัฒนาการศึกษาปฐมวัยอย่างก้าวกระโดดคือการเทียบเคียงสมรรถนะ เป็นรูปแบบหนึ่งที่มีกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์และวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ การศึกษาขั้นพื้นฐานในอนาคต อุดมการณ์ของการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นการจัดการศึกษาเพื่อปวงชนโดยรัฐต้องจัดให้มีการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อพัฒนาเยาวชนไทยทุกคนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ทั้งในฐานะที่เป็นพลเมืองไทยและพลเมืองของโลก เพื่อเป็นรากฐานที่พอเพียงสำหรับการใฝ่รู้ใฝ่เรียนตลอดชีวิต รวมทั้งเพื่อการพัฒนาหน้าที่การงานและการพัฒนาคุณภาพชีวิตส่วนตนและครอบครัว และเพื่อสร้างรากฐานที่แข็งแกร่งสำหรับการสร้างสรรค์สังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ เพื่อการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืนในอนาคต หลักการสำคัญของการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ยึดหลักที่สอดคล้องกับอุดมการณ์ ดังนี้ 1. หลักการพัฒนาผู้เรียนอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม เป็นผู้ที่มีจริยธรรมในการดำเนินชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ใฝ่รู้ มีทักษะในการแสวงหาความรู้ที่พอเพียงต่อการพัฒนางานอาชีพและคุณภาพชีวิตส่วนตน สามารถเผชิญความเปลี่ยนแปลงได้อย่างเท่าทันและชาญฉลาด และมีความเป็นประชาธิปไตย 2. หลักการจัดการศึกษาเพื่อความเป็นไทย ให้มีความรัก และภาคภูมิใจในท้องถิ่นและประเทศชาติ มีความรู้และทักษะพื้นฐานสำหรับการประกอบอาชีพสุจริต มีความมุ่งมั่น ขยัน ซื่อสัตย์ ประหยัด อดทน มีลักษณะนิสัยและทัศนคติที่พึงประสงค์ เพื่อเป็นสมาชิกที่ดีทั้งของครอบครัว ชุมชน สังคมไทย และสังคมโลก 3. หลักแห่งความเสมอภาค คนไทยทั้งปวงต้องมีสิทธิ์เสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ไม่น้อยกว่า 12 ปี อย่างทั่วถึงเท่าเทียม ควบคู่ไปกับความมีคุณภาพ โดยไม่แบ่งชนชั้นหรือความแตกต่างทางสังคมวัฒนธรรม 4. หลักการมีส่วนร่วม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการบริหารและการจัดการศึกษา ร่วมกับคณะกรรมการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาเพื่อเสริมสร้างเอกลักษณ์ศักดิ์ศรีและตอบสนองความต้องการของท้องถิ่นตามนัยของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เกี่ยวกับการกระจายอำนาจ 5. หลักแห่งความสอดคล้อง อุดมการณ์และมาตรฐานในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานต้องสอดคล้องกับสาระบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545 นโยบายการศึกษาของรัฐบาลที่แถลงต่อรัฐสภา สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาของชาติ และสัมพันธ์เชื่อมโยงกับมาตรฐานการอาชีวศึกษา และมาตรฐานการอุดมศึกษา มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน มาตรฐานด้านคุณภาพผู้เรียน 1. ผู้เรียนมีสุขภาวะที่ดีและมีสุนทรียภาพ 2. ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ 3. ผู้เรียนมีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รักเรียนรู้ และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง 4. ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบ คิดสร้างสรรค์ ตัดสินใจแก้ปัญหาได้อย่างมีสติสมเหตุผล 5. ผู้เรียนมีความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตร 6. ผู้เรียนมีทักษะในการทำงาน รักการทำงาน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต มาตรฐานด้านการจัดการศึกษา 7. ครูปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล 8. ผู้บริหารปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล 9. คณะกรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครอง ชุมชนปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล 10. สถานศึกษามีการจัดหลักสูตร กระบวนการเรียนรู้ และกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียนอย่างรอบด้าน 11. สถานศึกษามีการจัดสภาพแวดล้อมและการบริการที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาเต็มศักยภาพ 12. สถานศึกษามีการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาตามที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรฐานด้านการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ 13. สถานศึกษามีการสร้าง ส่งเสริม สนับสนุน ให้สถานศึกษาเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ มาตรฐานด้านอัตลักษณ์ของสถานศึกษา 14. การพัฒนาสถานศึกษาให้บรรลุเป้าหมายตามวิสัยทัศน์ ปรัชญา และจุดเน้นที่กำหนดขึ้น มาตรฐานด้านมาตรการส่งเสริม 15. การจัดกิจกรรมตามนโยบาย จุดเน้น แนวทางการปฏิรูปการศึกษาเพื่อพัฒนาและส่งเสริมสถานศึกษาให้ยกระดับคุณภาพสูงขึ้น ..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/479616.%20
เข้าชม : 1413
|