[x] ปิดหน้าต่างนี้
 

ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอสิงหนคร (สกร.ตำบลสทิงหม้อ) ยินดีต้อนรับ โทร0640388338
 

  

ภูมิปัญญาชาวบ้าน
พืชและสมุนไพร

พุธ ที่ 21 เดือน ธันวาคม พ.ศ.2559

คะแนน vote : 54  

 

วิธีทำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยชีวภาพ เพื่อประโยชน์สูงสุดตามวิถีเกษตรอินทรีย์

วิธีทำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยชีวภาพ เพื่อประโยชน์สูงสุดตามวิถีเกษตรอินทรีย์

ปัจจุบัน ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยชีวภาพ ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะได้รับการยอมรับว่าสามารถช่วยให้ผลผลิตดีขึ้น และไม่เป็นอันตรายเหมือนกับปุ๋ยเคมี อีกทั้งยังสามารถทำได้เองอีกต่างหาก ปุ๋ยชีวภาพสามารถแบ่งออกได้เป็นสองประเภทคือ

  1. ปุ๋ยน้ำที่เกิดจากขยะเปียกต่างๆ เช่น เศษอาหาร เศษผัก เศษผลไม้ พืชสมุนไพร
  2. ปุ๋ยที่เกิดจากการผลิตจากสัตว์ เช่นปลา หรือหอยเชอรี่

 


 

สำหรับวิธีการทำปุ๋ยชีวภาพนั้น สามารถทำได้ดังต่อไปนี้

1. ปุ๋ยที่เกิดจากพืชหรือขยะเปียก ขั้นแรกให้เราหาวัสดุต่างๆ ที่จำเป็นต้องใช้ดังนี้

  • เศษวัสดุเหลือใช้ เช่นเศษพืช เศษผัก/ผลไม้ หรือเศษอาหาร จำนวนประมาณครึ่งถัง
  • กากน้ำตาลประมาณ 1 ลิตร
  • น้ำที่เกิดจากการหมักจุลินทรีย์จำนวน 1 ลิตร
  • น้ำสะอาดประมาณครึ่งถัง

เมื่ออุปกรณ์ต่างๆ ครบ ให้เราเริ่มนำ น้ำสะอาดเติมลงในถัง และเติมส่วนผสมอื่นๆ เช่นหัวเชื้อจุลินทรีย์หรือน้ำหมักจุลินทรีย์ พร้อมกับกากน้ำตาลลงไปผสมให้เข้ากัน ข้อแนะนำก็คือไม่ควรเติมกากน้ำตาลมากจนเกินไปเพราะจะส่งผลให้เกิดกลิ่นที่รุนแรงตามมาได้ จากนั้นเมื่อทุกอย่างเข้ากันดีแล้วให้เทส่วนผสมที่ออกมาลงในถุงปุ๋ยแล้วนำไปเก็บไว้ในที่ร่มประมาณ 7 วัน ก็จะได้ปุ๋ยชีวิภาพสูตรพืชตามที่ต้องการ

2. ปุ๋ยที่เกิดจากสัตว์ ขั้นแรกเราต้องเตรียมวัสดุดังต่อไปนี้

  • ปลา หรือหอยเชอรี่ที่ต้องการนำมาทำปุ๋ยประมาณ ครึ่งถัง
  • กากน้ำตาลประมาณ 1 ลิตร
  • น้ำที่เกิดจากการหมักจุลินทรีย์สำหรับเป็นหัวเชื้อประมาณ 1 ลิตร
  • น้ำสะอาดประมาณครึ่งถัง
  • ถังพลาสติกเปล่าๆ ที่มีฝาปิดมิดชิดพร้อมไม้สำหรับคน

เมื่ออุปกรณ์ต่างๆ ครบแล้วให้เราเริ่มลงมือได้โดยการนำ ปลา หอยเชอรี่ ลงในถัง แล้วเทส่วนกากน้ำตาล น้ำหมักหัวเชื้อ น้ำสะอาดลงไปในถังเปล่าที่เตรียมไว้ จากนั้นให้ใช้ไม้คนวัสดุให้เข้ากัน แล้วปิดฝาทิ้งไว้ประมาณ 1-2 เดือนโดยระหว่างการหมักนั้น ให้คนส่วนผสมต่างๆ ในถังอย่างสม่ำเสมอเพื่อเร่งหรือกระตุ้นให้เกิดการย่อยสลายได้ดีขึ้น เมื่อผ่านไปประมาณ 2 เดือนก็สามารถนำปุ๋ยหมักชีวิภาพขึ้นมาใช้งานได้

สำหรับประโยชน์คร่าวๆ ของปุ๋ยหมักทั้งสองสูตรนั้น สามารถช่วยในการกำจัดน้ำเน่าเสีย (อย่างที่เคยเห็นใช้กันในระหว่างเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่) ใช้ในการบำบัดกลิ่นเหม็นต่างๆ รวมไปถึงใช้ในการทำความสะอาดคอกสัตว์หรือกิจการปศุสัตว์ นอกจากนั้นในภาคการเกษตรยังนำไปใช้งานเพื่อเร่งผลผลิตแทนปุ๋ยเคมีได้อีกด้วย นับว่ามีประโยชน์รอบด้านจริงครับ ที่สำคัญยังเป็นปุ๋ยที่ผลิตขึ้นมาได้เอง โดยใช้วัสดุราคาถูกที่หาได้ทั่วไปอีกด้วย



เข้าชม : 328


ภูมิปัญญาชาวบ้าน 5 อันดับล่าสุด

      พืชและสมุนไพร 21 / ธ.ค. / 2559




ชื่อ/Email :
ใส่รหัสที่ท่านเห็นลงในช่องนี้ [กด F5 ถ้ารหัสไม่ชัดเจน]
ไอคอน : ย่อหน้า จัดซ้าย จัดกลาง จัดขวา ตัวหนา ตัวเอียง เส้นใต้ ตัวยก ตัวห้อย ตัวหนังสือเรืองแสง ตัวหนังสือมีเงา สีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน สีส้ม สีชมพู สีเทา
อ้างอิงคำพูด เพิ่มเพลง เพิ่มวีดีโอคลิป เพิ่มรูปภาพ เพิ่มไฟล์ Flash เพิ่มลิงก์ เพิ่มอีเมล์
ความคิดเห็น :


กรุณาใช้คำพูดที่สุภาพ และอย่าใช้คำพูดที่พาดพิงถึงบุคคลอื่นให้เสียหาย ขอขอบคุณที่ให้ความร่วมมือ


ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของระบบไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม กรุณาแจ้งที่ mocyc@hotmail.com เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

 
สกร.ตำบลทิงหม้อ อาคารเรียนธรรมะ วัดธรรมโฆษณ์   หมู่  3  ตำบลทิงหม้อ อำเภอสิงหนคร    จังหวัดสงขลา  90280
เบอร์ 0640388338
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05