[x] ปิดหน้าต่างนี้
 

 

  

บทความสุขภาพ
กินอาหารอย่างไร เมื่อเป็น “เบาหวาน” จาก www.sanook.com

พุธ ที่ 12 เดือน มกราคม พ.ศ.2565

คะแนน vote : 35  

 กินอาหารอย่างไร เมื่อเป็น “เบาหวาน”

ที่มา https://www.sanook.com/health/32209/  12 ม.ค. 65 (06:00 น.)  

เพื่อช่วยควบคุมระดับน้ำตาลให้เป็นปกติ อาหารการกินของผู้ป่วยเบาหวานจึงสำคัญ และอาจต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ Sanook Health มีข้อมูลดีๆ จาก ผศ.ดร.ณัติพร นกแก้ว คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาฝากกัน

รู้จัก ค่า Glycemic Index (GI) เพื่อการเลือกอาหาร สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน

ค่า Glycemic Index (GI) หรือค่าดัชนีน้ำตาล เป็นค่าความเร็วของการดูดซึมน้ำตาลและแป้งเข้าสู่กระแสเลือดหลังรับประทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตหรือประเภทแป้งและน้ำตาล หากรับประทานอาหารที่มีค่า GI สูง จะส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงอย่างรวดเร็ว การอ่านค่า GI จึงอาจเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน

ค่า GI แบ่งเป็น 3 ระดับ คือ 

  • สูง (70-100) 
  • กลาง (56-69)
  • ต่ำ (0-55) 

ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรรับประทานอาหารที่มีค่า GI ต่ำ เพราะจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดค่อยๆ เพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ และไม่เป็นอันตราย ขณะที่หากรับประทานอาหารที่มีค่า GI สูง จะทำให้น้ำตาลพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็วหลังจากการรับประทานจนอาจเกิดอันตรายได้

อาหารดัชนีน้ำตาลต่ำ ที่เหมาะกับผู้ป่วยเบาหวาน

อาหารที่มีค่า GI ต่ำ ส่วนใหญ่จะเป็นอาหารที่มีปริมาณไฟเบอร์สูง เพราะไฟเบอร์จะช่วยชะลอการดูดซึมน้ำตาลในเลือดและช่วยให้รู้สึกอิ่มท้องได้เร็ว นอกจากมีประโยชน์สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานแล้ว ยังไม่ทำให้อ้วนอีกด้วย 

อาหารที่มีค่า GI ต่ำ ได้แก่ 

  • ผักผลไม้ 
  • ธัญพืช 
  • ข้าวกล้อง 
  • ข้าวไรซ์เบอร์รี่ 
  • พืชตระกูลถั่ว 
  • กล้วย 
  • องุ่น 
  • ลูกแพร์ 
  • เชอร์รี่ 
  • ลูกพีช 
  • กีวี 
  • แอปเปิ้ล 
  • สตรอเบอรี่ 
  • ส้ม 
  • สาลี่ 
  • ฝรั่ง 
  • ชมพู่ 
  • แก้วมังกร 
  • แครอท 
  • มะเขือเทศ 
  • ข้าวโพด 
  • บรอกโคลี 
  • ดอกกะหล่ำ 

เป็นต้น 

และยังรวมถึงผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวทุกชนิดอีกด้วย 

อาหารที่มีโปรตีนสูง ก็เป็นอาหารที่มีค่า GI ต่ำเช่นกัน เช่น 

  • นม 
  • โยเกิร์ต 
  • นมถั่วเหลือง 
  • นมอัลมอนด์ 
  • โปรตีนที่ได้จากถั่ว 
  • ปลาและเนื้อสัตว์ที่มีไขมันน้อยมาก

อย่างไรก็ตาม การรับประทานอาหารในแต่ละมื้อ น้ำตาลในเลือดจะเพิ่มขึ้นหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับอาหารอื่นๆ ที่ได้รับประทานควบคู่กันไปด้วยเช่นกัน เช่น หากมื้อไหนที่จำเป็นต้องทานอาหารที่มีค่า GI สูง ก็ควรรับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์ควบคู่ไปด้วย ก็จะสามารถรักษาระดับน้ำตาลในเลือดได้ในระดับหนึ่ง

ขอขอบคุณ

ข้อมูล :ผศ.ดร.ณัติพร นกแก้ว คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ภาพ :iStock



เข้าชม : 343


บทความสุขภาพ 5 อันดับล่าสุด

      เช็กสัญญาณเตือน “โรควิตกกังวล” จาก sanook. 10 / ก.ค. / 2566
      ประโยชน์ดีๆ ของ “กะเพรา” จากwww.sanook.com 8 / มิ.ย. / 2566
      \"ยาแก้แพ้\" มีกี่ชนิด และควรเลือกอย่างไรดี? จาก sanook 27 / เม.ย. / 2566
      พฤติกรรมเสี่ยง “มะเร็งปอด” แม้ไม่สูบบุหรี่ จาก sanook.com 16 / มี.ค. / 2566
      \"ไขมันพอกตับ\" ภัยเงียบ กว่าจะรู้ตัวอาจสายเกินไป จาก sanook 24 / ก.พ. / 2566


 

ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอควนเนียง
ถนนศรีสว่าง อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา 90220
    โทร 
0-7438-6636 โทรสาร 0-7438-6636
knsk01.nfe@gmail.com

Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05