ประวัติความเป็นมาของ กศน.ตำบลน้ำน้อย
กศน.ตำบลน้ำน้อย ตั้งอยู่เลขที่ 193 หมู่ที่ 7 บ้านท่าจีน ตำบลน้ำน้อย อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา
ในปี 2542 เดิม กศน.ตำบลน้ำน้อย คือ ศรช. (ศูนย์การเรียนชุมชน)ตำบลน้ำน้อย โดยมี นางทัศนีย์ บัวคีรี เป็นครู ศรช.ในครั้งนั้น และได้เปลี่ยนสถานเป็น กศน.ตำบลน้ำน้อย เมื่อปี พศ.2552 ปัจจุบันมีครูประจำ กศน.ตำบลน้ำน้อย จำนวน 3 คน คือ 1.นายสญชัย กาญจนเพ็ญ ตำแหน่งครูอาสาสมัครฯ 2.นางสาวปั้นแก้ว ไพโรจน์ ตำแหน่ง ครู กศน.ตำบล 3.นางสาวสใจ สระหมาน ตำแหน่งครู กศน.ตำบล
คำขวัญ
น้ำน้อยน่าอยู่ ภูเขากั้นกลาง ขนาบข้างสองถนน ผู้คนมีศักดิ์ศรี มากมีวัฒนธรรม
ประวัติความเป็นมา
ชุมชนน้ำน้อย เป็นชุมชนเก่าชุมชนหนึ่ง มีราษฎรเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่แล้วในสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี เดิมชาวบ้านเรียกว่า “บ้านน้ำย้อย” เพราะตรงหลักกิโลเมตรที่ 19 มีภูเขา และต้นไม้ใหญ่มากมาย ภายในภูเขาแห่งนี้มีธารน้ำไหลตลอดทั้งปี ต่อมาทางราชการได้ชื่อใหม่ว่า “บ้านน้ำน้อย “ ตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน ปัจจุบันมีสถานภาพเป็นตำบล ๆ หนึ่งในจำนวน 12 ตำบลของอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ซึ่งเดิมก่อนที่จะมีการแบ่งเขต การปกครอง ตาม พรบ. ลักษณะการปกครองท้องถิ่น พ.ศ. 2457 ถ้ากล่าวถึงชุมชน น้ำน้อยในอดีตนั้นก็จะหมายรวมถึงพื้นที่ซึ่งติดเขตตำบลข้างเคียงกับตำบลน้ำน้อยในปัจจุบันด้วย เช่น หมู่ที่ 1 บ้านหัวนอนถนน หมู่ที่ 2 บ้านหลักสิบเก้า และบ้านทุ่งใหญ่ บางส่วนในตำบลทุ่งใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ พื้นที่ หมู่ที่ 1 บ้านแม่เตย ตำบลท่าข้าม อำเภอหาดใหญ่ และ หมู่ที่ 3 บ้านควนหิน ตำบลพะวง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา
วิถีชีวิต ของชาวชุมชนน้ำน้อย อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ตั้งแต่กรุงรัตนโกสินทร์ จนถึงสร้างทางรถไฟสายหาดใหญ่ – สงขลา (พ.ศ. 2325 – 2456)
ชุมชนน้ำน้อย นั้นอุดมสมบูรณ์เป็นอย่างมากในอดีต ชาวบ้านมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน อาศัยอยู่เป็นครอบครัวใหญ่ ประกอบด้วยปู่ยาตายาย พ่อแม่ ลูก หลาน ผู้สูงอายุมีหน้าที่เลี้ยงดูบุตรหลานจึงมักร่วมกลุ่มกันให้ปู่ยาตายายเล่านิทานให้ฟังเสมอ และนิทานซึ่งเล่าสืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคนในชุมชนน้ำน้อยเรื่องหนึ่ง ก็คือ ตำนานเรื่อง “นางผมหอม” แห่งเขาบันไดนาง สาระของนิทานกล่าวถึงประวัติการตั้งถิ่นฐานะของชุมชน บอกให้ทราบว่าชุมชนน้ำน้อย ได้มีการตั้งถิ่นฐานเกิดขึ้นท่ามกลางชุมชมที่อยู่รอบ ๆ หลายชุมชนมานานแล้ว กระจายอยู่ตามพื้นที่ราบรอบ ๆ ภูเขา การเดินทางใช้ทางเรือมากกว่าบก มีทางรถไฟ เมื่อ พ.ศ. 2456 มีการศึกษาเฉพาะผู้ชาย ประชาชนนับถือตลาดพุทธทั้งหมด มีความเชื่อในสิ่งเหนือธรรมชาติสูงมีคนเชื้อสายจีนเข้ามาตั้งถิ่นฐาน ทำแร่เหล็ก และแร่ดีบุก
วิธีชีวิตของชาวชุมชนน้ำน้อย หลังจากสร้างทางรถไฟสายสงขลา – หาดใหญ่ถึงประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (พ.ศ. 2456 – 2503)
หลังจากที่มีการสร้างเส้นทางรถไฟ ทำให้การสัญจรระหว่างชุมชน และตัวเมืองสะดวกรวดเร็ว ชาวบ้านในชุมชนจึงมีโอกาสสัมพันธ์ กับคนต่างถิ่นมากขึ้น คนจีนที่เข้ามาสร้างการรถไฟได้มาตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่ในชุมชนน้ำน้อย ทางรถไฟสร้างเสร็จเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2456 โดยมีพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัวทรงเสด็จมาตรวจเยี่ยมและทำพิธีเปิดสะพานโค้งรถไฟข้ามคลองน้ำน้อย มีสถานีจอด 2 สถานี คือ สถานีควนหิน และ สถานีน้ำน้อย จนกระทั้ง พ.ศ. 2470 มีการก่อสร้างถนนลาดยางสายกาญจนวนิช ลักษณะของบ้านเรือนที่สร้าง นำวัสดุจากธรรมชาติในท้องถิ่นมาสร้างที่อยู่อาศัย บ้านทำด้วยไม้โดยเสาตั้งบนฐานหิน มีความสูงจากพื้น 2 เมตร หลังคามุงด้วยใบตาล ใบเหรง ใบมะพร้าว ส่วนฝาทำด้วยกระดาษ หรือ จากสำหรับบ้านคนที่มีฐานะเริ่มหันมาสร้างบ้านสองชั้น รูปทรงครึ่งปูนครึ่งไม้ ก่อเสาและผนังด้วยอิฐและปูนซิเมนต์ ฝากและฝาจะปูและกั้นด้วยกระดานไม้อย่างดีหลังคามุงด้วยกระเบื้อง เนื่องจากในชุมชนน้ำน้อยมีโรงอิฐ โรงกระเบื้องหลายโรง อาชีพส่วนใหญ่ทำนาเลี้ยงสัตว์ ปลูกยางพารา อาชีพทำตาลโตนด ทำน้ำตาลเมา และหัตถกรรมตีเหล็ก ช่างตีเหล็กส่วนใหญ่เป็นคน หมู่ที่ 3 , 7 , 8 , 9 ซึ่งเป็นคนจีนเข้ามาทำแร่เหล็กได้ถ่ายทอดวิชาให้ อาชีพทำอิฐและกระเบื้องดินเผา ที่ตั้งของโรงอิฐริมคลองพะวง คลองท่านางหอม ริมทะเลสาบสงขลา สำหรับบริโภค ชาวบ้านบริโภคข้าวเจ้าและข้าวเหนียว ตามเทศกาลและประเพณี ใช้หนังวัว หนังควาย และเสื่อสานด้วยใบเตย สำหรับนวดข้าวจากเลียงข้าว และตากข้าว จากนั้นจึง นำมาสีด้วยครกสี ส่วนคนที่ไม่มีครกสีก็ตำด้วยครกตำข้าวผัดด้วยกระดังฝัดข้าวสานจากไม้ไผ่ สีสุก เป็นข้าวซ้อมมือไว้บริโภค
วิถีชีวิตของชาวชุมชนน้ำน้อย เปลี่ยนไปเมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ในวันจันทร์ ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2484 ตรงกับวันมีตลาดนัดน้ำน้อย กองทัพญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกที่สงขลา ทำการยึดรถไฟสายสงขลา – หาดใหญ่ เพื่อบรรทุกกำลังพล และได้ปะทะกับทหารไทยที่บริเวณหลักกิโลเมตรที่สิบเก้า เชิงเขาน้ำน้อย เขาบันไดนางยิงกับประมาณ 1 ชั่วโมงจนกระทั้งทางการประกาศให้ทหารไทยหยุดยิง เพื่อทางการทราบว่าญี่ปุ่นขอใช้เมืองไทยเป็นทางผ่านไปตีประเทศมาเลเชีย ซึ่งทำให้ชาวน้ำน้อยเสียชีวิตหลายคน ทหารญี่ปุ่นได้มาตั้งค่ายในชุมชนน้ำน้อย 3 แห่ง ที่โคกสูง สถานีรถไฟ ที่เขาบันไดนางเป็นเวลากว่า 2 ปี ทำให้ที่ส่วนที่นาของชาวบ้านกลางเป็นที่ซ่อมรถ
วิถีชีวิตชาวชุนชมน้ำน้อย หลังจากประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 จนถึงปัจจุบัน ( พ.ศ. 2504 – 2549)
เริ่มปรากฏชัดว่าวัฒนธรรมต่างถิ่นและสมัยใหม่กำลังเข้าสู่ชุมชนน้ำน้อยมากขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากการคมนาคม การสื่อสาร โทรคมนาคมเจริญมากขึ้น การตั้งถิ่นฐานของครอบครัวที่เกิดใหม่จึงนิยมสร้างที่อยู่อาศัยตามแนวเส้นทางคมนาคมทางบกมากขึ้น และได้มีโรงงานอุตสาหกรรมเกิดขึ้นในชุมชนน้ำน้อย ส่งผลให้เกิดการตั้งถิ่นฐานขึ้นมากบริเวณใกล้โรงงาน แนวเส้นทางเข้าสู่โรงงานและเข้าสู่ตัวเมืองทั้งในรูปของธุรกิจบ้านเช่า บันจัดสรร ก่อให้เกิดมลพิษ
ลักษณะที่อยู่อาศัย ได้ก่อสร้างเน้นความสายงาม ลักษณะความเหมาะสมกับการประกอบธุรกิจ บ้านนิยมสร้างด้วยอิฐและปูนซีเมนต์ โครงหลังคา ทำด้วยเหลักกระเบื้องซีแพ็ค กระเบื้องลอน รูปทรงเป็นแบบสากล ด้านอาชีพทำนาและสวนยางพาราทำกระเบื้องดินเผา มีการตัดถนนสายสำคัญผ่านหมู่บ้านต่าง ๆ เช่น ถนนสายน้ำน้อย - ท่านางหอม ถนนหลายวัดเนินไศล - ท่าจีน ถนนลพบุรีราเมศวร์ ประชาชนยังคงนับถือศาสนาพุทธ
เทศบาลตำบลน้ำน้อยได้จัดตั้งโดยการยกฐานะจากองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นเทศบาลตำบล เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2550
ที่ตั้ง
ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของอำเภอหาดใหญ่ ห่างจากที่ว่าการอำเภอหาดใหญ่ ประมาณ 10 กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดสงขลาประมาณ 30 กิโลเมตร
ทิศเหนือ ติดต่อกับ เทศบาลตำบลพะวง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา
ทิศใต้ ติดต่อกับ เทศบาลเมืองคลองแห และองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ องค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม และองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ เทศบาลตำบลคลองแห และตำบลคูเต่า อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
เนื้อที่ ตำบลน้ำน้อย มีเนื้อที่ประมาณ 47.20 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 29,500 ไร่
ลักษณะภูมิประเทศ
มีสภาพภูมิประเทศเป็นภูเขาและเป็นที่ราบทุ่งนา พื้นที่ลาดเชิงเขา และลาดเอียงจากภูเขาน้ำน้อยไปจดทะเลสาบ ตามแนวคลองน้ำน้อย และคลองวง ดินมีลักษณะเป็นดินลูกรังบริเวณภูเขาและดินปนทรายบริเวณที่ราบลุ่ม มีคลองที่สำคัญ จำนวน 6 สาย คลองพะวง คลองน้ำน้อย คลองกำนัน คลองใหญ่ คลองขุด คลองพานหาน
เข้าชม : 1580 |