[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ระดับอำเภอหาดใหญ่ ยินดีต้อนรับ เลขที่ 64 ถนนกาญจนวนิชซอย 4 ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90110 โทร 074-219316 โทรสาร 074-219318
 

  
ดัชนีมวลกาย Body Mass Index (BMI)
โดย : K. Somboon   เมื่อวันที่ : เสาร์ ที่ 20 เดือน พฤษภาคม พ.ศ.2560   


การวัดดัชนีมวลร่างกาย Body Mass Index (BMI) คือ อัตราส่วนระหว่างน้ำหนักต่อส่วนสูง ที่ใช้บ่งว่าอ้วนหรือผอม ในผู้ใหญ่ตั้งแต่อายุ 20 ปีขึ้นไป ความสำคัญของการรู้ค่าดัชนีมวลร่างกาย เพื่อดูอัตราการเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ ถ้าค่าที่คำนวนได้ มากหรือน้อยเกินไป เพราะถ้าเป็นโรคอ้วนแล้ว จะมีภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจขาดเลือด และโรคนิ่วในถุงน้ำดี แต่ในขณะเดียวกัน ผู้ที่ผอมเกินไป ก็จะเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ประสิทธิภาพในการทำงานของร่างกายลดลง ดังนั้นควรรักษาระดับน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

วิธีคำนวณดัชนีมวลกาย Body Mass Index (BMI)
สูตรคำนวณดัชนีมวลกายคือ [ดัชนีมวลกาย= น้ำหนักตัว / ความสูง ยกกำลังสอง]
40 หรือมากกว่านี้ : โรคอ้วนขั้นสูงสุด
35.0 - 39.9: โรคอ้วนระดับ2 คุณเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่มากับความอ้วน หากคุณมีเส้นรอบเอวมากกว่าเกณฑ์ปกติคุณจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคสูง คุณต้องควบคุมอาหาร และออกกำลังกายอย่างจริงจัง
28.5 - 34.9: โรคอ้วนระดับ1 และหากคุณมีเส้นรอบเอวมากกว่า 90 ซม.(ชาย) 80 ซม.(หญิง) คุณจะมีโอกาศเกิดโรคความดัน เบาหวานสูง จำเป็นต้องควบคุมอาหาร และออกกำลังกาย
23.5 - 28.4: น้ำหนักเกิน หากคุณมีกรรมพันธ์เป็นโรคเบาหวานหรือไขมันในเลือดสูงต้องพยายามลดน้ำหนักให้ดัชนีมวลกายต่ำกว่า 23
18.5 - 23.4: น้ำหนักปกติ และมีปริมาณไขมันอยู่ในเกณฑ์ปกติ มักจะไม่ค่อยมีโรคร้าย อุบัติการณ์ของโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงต่ำกว่าผู้ที่อ้วนกว่านี้
น้อยกว่า 18.5: น้ำหนักน้อยเกินไป ซึ่งอาจจะเกิดจากนักกีฬาที่ออกกำลังกายมาก และได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ วิธีแก้ไขต้องรับประทานอาหารที่มีคุณภาพ และมีปริมาณพลังงานเพียงพอ และออกกำลังกายอย่างเหมาะสม
ดัชนีมวลกาย bmi หาค่าอย่างไร แล้วลองมาเช็กดูซิว่า ค่าดัชนีมวลกายของเราอยู่ในเกณฑ์ไหน

จะว่าไป บางทีเราก็ไม่รู้ตัวเหมือนกันนะว่าตอนนี้ตัวเอง "อ้วน" หรือ "ผอม" เกินไป เพราะดูเผิน ๆ แค่รูปร่างภายนอกก็สรุปไม่ได้เหมือนกัน ว่า น้ำหนักกับส่วนสูงของเราสมดุลกันหรือเปล่า แต่เรามีวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้คุณรู้ตัวเองได้ว่าตอนนี้รูปร่างของคุณอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือผิดปกติไหมนะ นั่นก็คือ การหาค่าดัชนีมวลกายนั่นเอง

แล้วดัชนีมวลกายคืออะไรล่ะ?

ดัชนีมวลกาย หรือ Body mass index (BMI) เป็นค่าดัชนีที่คำนวณจากน้ำหนักและส่วนสูง เพื่อใช้เปรียบเทียบความสมดุลระหว่างน้ำหนักตัว ต่อความสูงของมนุษย์นั่นเอง ซึ่ง Adolphe Quetelet ชาวเบลเยียม เป็นผู้คิดค้นขึ้น และถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายเลยทีเดียว

หาค่าดัชนีมวลกายได้อย่างไร?

ง่าย ๆ แค่ต้องรู้ตัวเลข 2 อย่าง คือ "น้ำหนักของตัวเอง" (หน่วยเป็นกิโลกรัม) และ "ส่วนสูงของตัวเอง" (หน่วยเป็นเมตร) ตัวอย่างเช่น เราน้ำหนัก 60 กิโลกรัม มีส่วนสูง 160 เซนติเมตร หรือเท่ากับ 1.6 เมตร ก็จำเลข 60 กิโลกรัม กับส่วนสูง 1.6 เมตรเอาไว้ ถ้าพร้อมแล้วก็มาลองคำนวณดัชนีมวลกายของตัวเองดูกันเลย

สูตรคำนวณดัชนีมวลกาย

BMI = น้ำหนักตัว (หน่วยเป็นกิโลกรัม) หารด้วย ส่วนสูง (หน่วยเป็นเมตร) ยกกำลังสอง

ถ้าเราหนัก 60 กิโลกรัม สูง 1.6 เมตร ก็จะคำนวณได้เป็น 60 หารด้วย (1.6x1.6) = 23.43

จำตัวเลขที่เราคำนวณไว้ให้ดีนะจ๊ะ เพราะเราจะนำตัวเลขที่ออกมานี้แหละไปเทียบกับเกณฑ์ต่อไปนี้


ดัชนีมวลกาย ค่า bmi


มาดูเกณฑ์ประเมินค่าดัชนีมวลกาย

สำหรับค่านี้กำหนดโดยองค์การอนามัยโลก (WHO)

ค่าที่ได้น้อยกว่า 18.5 >>>> คุณผอมเกินไป

ค่าที่ได้อยู่ระหว่าง 18.5-24.9 >>> คุณอยู่เกณฑ์เหมาะสม น้ำหนักตัวปกติ

ค่าที่ได้อยู่ระหว่าง 25-29.9 >>> คุณน้ำหนักเกิน แต่ยังไม่เรียกว่าอ้วน

ค่าที่ได้อยู่ระหว่าง 30-39.9 >>> คุณอ้วนแล้ว !

ค่าที่ได้มากกว่าหรือเท่ากับ 40 >>> คุณอ้วนเกินไป อันตรายมาก !!!

เห็นเกณฑ์ข้างต้น หลายคนอาจจะสงสัยว่าทำไมตัวเลขเกณฑ์ที่ใช้เปรียบเทียบไม่ตรงกับที่เคยรู้มา อันนี้ต้องบอกก่อนค่ะว่า ค่านี้เป็นค่าที่ใช้ในประเทศเมืองหนาว แต่ถ้านำมาเทียบกับคนเอเชีย ซึ่งเป็นเมืองร้อน จะมีการปรับเปลี่ยนตัวเลขนิดหน่อย เพื่อให้เหมาะสมกับเมืองร้อนที่ไม่จำเป็นต้องมีไขมันไว้ปกป้องร่างกายจากอากาศหนาว ๆ มากนัก ดังนั้น ค่าดัชนีมวลกายที่เหมาะสมสำหรับชาวเอเชียจะต้องเป็น

ค่าที่ได้น้อยกว่า 18.5 >>>> คุณผอมเกินไป

ค่าที่ได้อยู่ระหว่าง 18.5-22.9 >>> คุณอยู่เกณฑ์เหมาะสม น้ำหนักตัวปกติ

ค่าที่ได้อยู่ระหว่าง 23-24.9 >>> คุณน้ำหนักเกิน แต่ยังไม่เรียกว่าอ้วน

ค่าที่ได้มากกว่า 25-29.9 >>> คุณอ้วนแล้ว !

ค่าที่ได้มากกว่า 30 >>> คุณอ้วนเกินไป เสี่ยงที่จะเกิดโรคที่มาจากความอ้วน

ดังนั้น จากที่เราคำนวณได้ค่า 23.43 ถ้าเป็นคนเอเชียก็เท่ากับน้ำหนักเกินไปนิดหน่อยจ้า แต่ยังไม่เรียกว่าอ้วนนะ

อีกเรื่องหนึ่งที่ต้องบอกก็คือ ค่าดังกล่าวไม่สามารถใช้ได้กับคนที่มีมวลกล้ามเนื้อมาก ๆ อย่างนักกีฬา นักเพาะกาย หรือหนุ่ม ๆ ที่ชอบฟิตกล้ามนะจ๊ะ เพราะคนกลุ่มนี้อาจจะมีน้ำหนักมาก แต่ก็ไม่จัดว่าอ้วน

ลองนำสูตรนี้ไปคำนวณกับตัวเองดูได้เลย อย่างน้อยก็เป็นเครื่องมือหนึ่งที่เตือนให้เราได้รู้ตัวกันเนอะ เพราะถ้าอ้วนเกินไป รับรองว่าต้องเจอโรคร้ายมารุมเร้าแบบไม่ต้องกวักมือเรียกแน่นอน จะได้รีบปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยไว ยิ่งปรับเร็วเท่าไร ก็ยิ่งดีเท่านั้น
Source: HonestDocs

https://www.honestdocs.co/bmi-body-mass-index-calculator
https://www.honestdocs.co

เข้าชม : 270





Re หัวข้อ :
รูปประกอบ : Limit 100 kB
ไอคอน : ย่อหน้า จัดซ้าย จัดกลาง จัดขวา ตัวหนา ตัวเอียง เส้นใต้ ตัวยก ตัวห้อย ตัวหนังสือเรืองแสง ตัวหนังสือมีเงา สีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน สีส้ม สีชมพู สีเทา
อ้างอิงคำพูด เพิ่มเพลง เพิ่มวีดีโอคลิป เพิ่มรูปภาพ เพิ่มไฟล์ Flash เพิ่มลิงก์ เพิ่มอีเมล์
รายละเอียด :
ใส่รหัสที่ท่านเห็นลงในช่องนี้
ชื่อของท่าน :


 
 ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอหาดใหญ่
เลขที่ 64 ถนนกาญจนวนิชซอย4 ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90110
โทร 074-219316 โทรสาร 074-219318
Powered by MAXSITE 1.10 Modify by นิกร เกษโกมล Version 2.05