[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ตำบลบางเขียด (สกร.ตำบลบางเขียด) ยินดีต้อนรับ ที่ตั้งอาคารอเนกประสงค์ ตำบลบางเขียด อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา โทร.๐๘๙ - ๔๖๒๒๐๙๔ โทรสาร ๐๗๔ - ๓๓๒๔๙๓
 
ข้อมูลสารสนเทศ

 

ข้อมูลพื้นฐานของ กศน.ตำบลบางเขียด                                  

ความเป็นมา

          กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศจัดตั้ง  ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ ๑๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ จัดตั้งศูนย์การเรียนชุมชนตำบลโดยใช้ชื่อว่าศูนย์การเรียนชุมชนตำบลบางเขียด  ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ กศน.ตำบลบางเขียด ขอใช้อาคารสหกรณ์หมู่บ้าน หมู่ที่ ๑ บ้านตากแดด ตำบลบางเขียด อำเภอสิงหนคร เป็น กศน.ตำบลบางเขียด โดยมี  นายปณิธาน  เฟื่องโกศล เป็นหัวหน้า กศน.ตำบลบางเขียด

ที่ตั้ง  อาคารสหกรณ์หมู่บ้าน  หมู่ที่ ๑ บ้านตากแดด ตำบลบางเขียด  อำเภอสิงหนคร  จังหวัดสงขลา

หมายเลขโทรศัพท์  ๐๘๙๔๖๒๒๐๙๔

          กศน.ตำบลบางเขียด มีบทบาทหน้าที่ในการจัดการศึกษานอกโรงเรียนสายสามัญ ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานนอกโงเรียน พ..๒๕๕๑ ในระดับประถมศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จัดการเรียนการสอนผู้ไม่รู้หนังสือ เพื่อให้อ่านออกเขียนได้ การศึกษาต่อเนื่อง การศึกษาเพื่อการมีงานทำ การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชิต การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุชน และการศึกษาตามอัธยาศัย โดยจัดให้มีบ้านหนังสือชุมชน

           การจัดตั้ง กศน.ตำบลบางเขียด มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการเรียนรู้ที่หลากหลายตามความต้องการของผู้เรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกันสำหรับผู้สนใจและประชาชนในชุมชน

     E-Mail   hongfueng  @hotmail.com

บทบาทหน้าที่ภารกิจ กศน.ตำบล

กศน. ตําบล มีบทบาทสำคัญในการจัดและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชน และสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ในชุมชน โดยมีหัวหน้า กศน. ตำบล เป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนและมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงาน กศน. ตำบล ดังนี้

          ๑. บทบาทหน้าที่ของหัวหน้า กศน. ตำบล

               ๑. การวางแผน

                       ๑.๑ จัดทําฐานข้อมูลชุมชน

                       ๑.๒ จัดทําแผนพัฒนา กศน. ตําบล

                       ๑.๓ จัดทําแผนปฏิบัติการประจําปี

         ๒. การจัดและส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

               ๒.๑ จัดและส่งเสริมการศึกษานอกระบบ ดังนี้

                        - การส่งเสริมการรู้หนังสือ

                        - การศึกษานอกระบบ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

                        - การศึกษาต่อเนื่อง

                   ๒.๒ จัดและส่งเสริมการศึกษาตามอัธยาศัย

                       - ส่งเสริมการอ่าน

                       - จัดและพัฒนาแหล่งเรียนรู้

                       - บริการข่าวสารข้อมูล และสื่อทุกประเภท

                       - จัดและส่งเสริมกิจกรรมห้องสมุดประชาชนตำบล ห้องสมุดชุมชน มุมหนังสือบ้าน

           ๓. บริการการเรียนรู้ในชุมชนร่วมกับภาคีเครือข่าย

               ๓.๑  ศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน (Fix it Center) ร่วมกับ (สอศ.)

               ๓.๒  ชมรมคุ้มครองผู้บริโภค ร่วมกับ (สคบ.)

               ๓.๓  ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน ร่วมกับ (กระทรวงไอซีที)

               ๓.๔  มุมวิทยาศาสตร์เพื่อชีวิต ร่วมกับ (สสวท.)

               ๓.๕  หน่วยแพทย์เคลื่อนที่ ร่วมกับโรงพยาบาล สถานีอนามัย

               ๓.๖  ธนาคารเคลื่อนที่

               ๓.๗  การป้องกันบรรเทาสาธารณภัย ร่วมกับกรมป้องกันบรรเทาสาธารณภัย

               ๓.๘  อำเภอเคลื่อนที่ ร่วมกับอำเภอ

 

 กิจกรรมหลักของ กศน. ตำบล

การจัดตั้ง กศน. ตำบล มีความมุ่งหมายที่จะเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับประชาชนในชุมชน ดังนั้นจึงอาจแบ่งกิจกรรมหลักของ กศน. ตำบล ได้ดังนี้

๑. ศูนย์ข้อมูลข่าวสารของชุมชน (Information Center) เป็น แหล่งที่รวบรวมข้อมูลข่าวสารต่างๆ ของชุมชน เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร ข้อมูลทางด้านภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ชุมชน ข้อมูลทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การเมืองการปกครอง การศึกษา สาธารณสุข ซึ่งเป็นข้อมูลเดียวกันกับขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นสถานที่ที่คนทั่วไปจะมาศึกษาข้อมูลพื้นฐานของชุมชนได้ในขณะเดียวกัน ก็จะให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้อื่นๆ ด้วยเช่น ข้อมูลเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่น ข้อมูลเกี่ยวกับการประกอบอาชีพการทำมาหากิน ในขณะเดียวกันก็จะเป็นแหล่งกระจายข่าวสารข้อมูลของภาครัฐผ่านเสียงตามสาย หรืออาจเป็นสถานีวิทยุชุมชน เพื่อกระจายข้อมูลข่าวสารของชุมชนด้วย

          ๒. ศูนย์สร้างโอกาสการเรียนรู้ (Opportunity Center) เป็นสถานที่ที่จัดให้บริการเพื่อสร้างเสริมโอกาสเรียนรู้ที่ตอบสนองความต้องการของคนในชุมชน เช่น  กิจกรรมส่งเสริมคุ้มครองผู้บริโภค กิจกรรมให้บริการของหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ ฯลฯ ดังนั้นกิจกรรมนี้จึงเป็นเสมือนที่นัดพบระหว่างประชาชนกับหน่วยให้บริการต่างๆ ของรัฐหรือองค์กรอื่นๆ เพื่อสร้างโอกาสการเรียนรู้ของประชาชน

           ๓. ศูนย์การเรียนชุมชน (Learning Center) เป็นสถานที่จัดกิจกรรมเรียนรู้ต่างๆ ที่ตอบสนองความต้องการของประชาชน เช่น การศึกษาเทียบเท่าการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อยกระดับการศึกษาของประชากรวัยแรงงานซึ่งจัดโดย กศน. การศึกษานอกระบบที่จัดหลักสูตรการทำมาหากินในรูปของหลักสูตรระยะสั้นต่างๆ รวมทั้งเป็นที่จัดฝึกอบรมประชาชนในหลักสูตรที่ตอบสนองความต้องการของชุมชนต่างๆ และการถ่ายทอดความรู้ที่จำเป็นสำหรับประชาชน เช่นการเรียนรู้เกี่ยวกับการอยู่ในประชาคมอาเซียน การเรียนรู้เกี่ยวกับการเป็นพลเมือง (Civic Education) การเรียนรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง เป็นต้น นอกจากนี้ยังจัดพื้นที่เป็นห้องสมุดชุมชนเพื่อส่งเสริมการอ่านของประชาชน และจัดให้มีเครื่องรับโทรทัศน์ และรับสัญญาณดาวเทียมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาต่างๆ ด้วย

           ๔. ศูนย์ชุมชน (Community Center) เป็นสถานที่มีคนในชุมชนจะมาทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น การจัดเวทีชาวบ้าน เวทีประชาคม หรือใช้เป็นสถานที่พบ

ปะเสวนา แลกเปลี่ยนความคิดเห็น หรือแม้แต่เป็นที่ "โสเล" หรือ "เขลง" กันในชุมชน กศน.ตำบล จึงทำหน้าที่คล้ายศาลาประชาคมไปพร้อมกันด้วย

กิจกรรมของ กศน.ตำบลเหล่านี้จึงมีครู กศน.ตำบล ซึ่งเป็นพนักงานราชการในสังกัดสำนักงาน กศน. เป็นผู้ดำเนินงานจัดให้มีกิจกรรมเหล่านี้ขึ้น โดยเป็นการทำงานร่วมกันกับภาคีเครือข่ายต่างๆ ทั้ง อบต., อบจ.เทศบาล ตลอดจนหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน รวมทั้งมีอาสาสมัครต่างๆ ในชุมชน เช่น อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.)อาสาสมัคร กศน.อาสาสมัครส่งเสริมการอ่านตลอดจนภูมิปัญญาท้องถิ่น ข้าราชการบำนาญ เยาวชนผู้นำท้องถิ่นต่างๆ เข้ามาร่วมกันทำงานเพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตในชุมชน
                     คณะกรรมการ กศน.ตำบล

                ๑.  นายมานพ   รัตนโชติ                 ประธานกรรมการ

                ๒.  นายสมพงศ์  จันทร์สุย               รองประธานกรรมการ

                ๓.  นายประจวบ  แสงจันทร์           กรรมการ

                ๔.  นายชม  แสงจันทร์                     กรรมการ

                ๕.  นายวิโรจน์  กาญจนไพโรจน์   กรรมการ

                ๖.  นายคนอง  ละอองนวล           กรรมการ

                ๗.  นายประเสริฐ กระจ่างแผ้ว        กรรมการ

                ๘.  นายปกรณ์  สมทรง                     กรรมการ

                 ๙.  นางเสาวนีย์  ใจโต                   กรรมการรองเลขานุการ

                 ๑๐.  นายปณิธาน  เฟื่องโกศล       กรรมการเลขานุการ

                      อาสาสมัคร กศน.ตำบล

๑.      นายปัญจพล  ราชพิทักษ์

                      บุคลากรใน กศน.ตำบล

                ๑.  นายปณิธาน  เฟื่องโกศล      ครู กศน.ตำบล

                ๒.  นางเสาวนีย์  ใจโต                  ครู อาสาสมัคร กศน.

 

 

 สภาพทั่วไปของตำบล

 ๒.๑ ลักษณะทางภูมิศาสตร์

       ตำบลบางเขียด เป็นท้องที่ตั้งอยู่ริมทะเลสาบสงขลา ช่วงรอยต่อระหว่างจังหวัดสงขลากับจังหวัดพัทลุง พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มทะเลสาบ พื้นที่ทั้งหมด ๑๓.๘๔ ตร.กม.ทิศเหนือติด ตำบลท่าหิน อ.สทิงพระ ทิศใต้จดตำบลชะแล้ อำเภอสิงหนคร ทิศตันออก ติดตำบลม่วงงาม อำเภอสิงหนคร ทิศตะวันตก จดทะเลสาบสงขลาเขตติดต่อ จังหวัดพัทลุง พื้นที่ทำการเกษตร ๖๙๐๑ไร่ ที่อยู่อาศัย ๔๕๐ ไร่ ที่สาธารณะประโยชน์ ๑๓๐๐ไร่เป็นพื้นที่ป่าชายเล ๑๓๐๐ไร่ในเขตหมู่ที่ ๑ และ ๒  เนื้อที่ทั้งหมดของตำบล ๘,๖๕๑ ไร่  บริเวณของ กศน.ตำบลบางเขียดมีพื้นที่ประมาณ ๑ ไร่

.๒ สภาพภูมิประเทศ
       ตำบลบางเขียด เป็นที่ราบริมฝั่งทะเลด้านตะวันตกของพื้นที่คาบสมุทรสทิงพระ มีลำคลอง ๓ สาย เดิมใช้เป็นเส้นทางคมนาคม เชื่อมติดต่อกับทะเลสาบ หมู่ที่ ๑ – ๕ มีน้ำทะเลท่วมถึงในฤดูฝนทำให้สภาพดินเป็นดินเปรี้ยว   มีความเป็นกรด เป็นด่าง ส่วนสภาพพื้นที่ด้านทิศตะวันออกเป็นทุ่งราบดินมีลักษณะเป็นดินเปรี้ยว มีความเป็นกรด เป็นด่าน ส่วนสภาพพื้นที่ด้านทิศตะวันออกเป็นทุ่งราบดิน มีลักษณะเป็นดินเหนียว เหมาะแก่การเพาะปลูก ทำนา ทำสวน เลี้ยงสัตว์ และทำไรนาสวนผสม

.๓ อาณาเขต            

            ทิศเหนือ          จดตำบลท่าหิน       อำเภอสทิงพระ  จังหวัดสงขลา

            ทิศใต้              จดตำบลชะแล้       อำเภอสิงหนคร   จังหวัดสงขลา       

            ทิศตะวันออก    จดตำบลม่วงงาม     อำเภอสิงหนคร    จังหวัดสงขลา

             ทิศตะวันตก        จดทะเลสาบสงขลา  เขตติดต่อจังหวัดพัทลุง

                   ๒.๔ ข้อมูลด้านประชากร

            ๒..๑ ชาย  จำนวน ๑,๕๔๔ คน หญิง  จำนวน ๑,๖๘๖ คน

            ..๒ จำนวนครัวเรือนในเขต อบต.,๐๐๘  ครัวเรือน

            ๒..๓ จำนวนผู้อาศัย  ๒,๔๗๗  คน

            ๒..๔ จำนวนเจ้าบาน   ๗๕๗  คน

            ๒..ประชากรทั้งสิ้น ๓,๒๓๐ คน

 .๕ จำนวนประชากรจำแนกตามช่วงอายุ

ช่วงอายุ (ปี)

จำนวน (คน)

ร้อยละของประชากรทั้งหมด

๕ ปี

๑๙๘

๑๔ ปี

๓๔๗

๑๐

๑๕๓๙ ปี

๑๒๐๒

๓๖

๔๐๕๙ ปี

๘๔๑

๒๕

๖๐๖๙ ปี

๒๗๔

๗๐๗๙ ปี

๒๑๕

๘๐๘๙ ปี

๑๒๔

๙๐ ปีขึ้นไป

๒๙

รวม

๓,๒๓๐

๑๐๐

    .๖ จำนวนประชากร /ครัวเรือน

                หมู่ที่

ชื่อหมู่บ้าน

จำนวนครัวเรือน

จำนวนประชากร (คน)

หมายเหตุ

ชาย

หญิง

รวม

 

บ้านตากแดด

๒๐๗

๓๓๗

๓๗๒

๗๐๙

 

บ้านใหญ่

๒๘๙

๔๔๘

๔๘๖

๙๓๔

 

บ้านตีนวัด

๒๕๓

๓๕๓

๔๐๐

๗๕๓

 

บ้านท่าแคง

๑๐๐

๑๕๓

๑๔๖

๒๙๙

 

บ้านระฆัง

๑๕๙

๒๕๓

๒๘๒

๕๓๕

 

 

รวม

,๐๐๘

,๕๔๔

,๖๘๖

,๒๓๐

 

 

      ข้อมูล ณ. วันที่ ๒๔ เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๙

 

.๗ จำนวนคนตายในรอบปีที่ผ่านมาจำแนกตามสาเหตุ

สาเหตุของการตาย

จำนวน (คน)

ชราภาพ

๔๙

เจ็บป่วย

             ๑๖

อุบัติเหตุ

อื่นๆ (ระบุ)

รวม

๗๕

  .๘ จำนวนผู้พิการจำแนกตามประเภท

   ๒.๙ การนับถือศาสนา

      .ข้อมูลด้านสังคม

     ๓.๑ ศาสนสถาน

ประเภทศาสนาสถาน

แห่ง

วัดพุทธ

มัสยิด

โบสถ์คริสต์

-

อืนๆ

-

      .๒ ประเพณีท้องถิ่น (ระบุ)

          ๑) ประเพณีสงกรานต์

          ๒) ประเพณีสารเดืนสิบ

     ๓.๓ ภาษาถิ่น (ระบุ)

          .) ภาษาใต้

 . ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ

       .๑ ข้อมูลการประกอบอาชีพ

อาชีพ

จำนวน

ร้อยละ

หมายเหตุ

เกษตรกรรม

,๑๗๗

๔๓.๒๙

 

ประมง

๑๕๒

๑๐.๑๗

 

ค้าขาย

๘๖

๑๑.๓๖

 

รับราชการ

๒๐๖

.๖๕

 

รับจ้างในโรงงาน

๓๘๕

๒๑.๔๑

 

อื่นๆ

๒๘๕

.๘๒

 

       .๒ การถือครองที่ดิน

         ๑) การถือคลองที่ดินของเกษตรกรตำบลบางเขียด โดยเฉลี่ยครัวเรือนละ ๖ ๑๐ ไร่

         ๒) สทธิในที่ดินทำกิน ครัวเรือนที่มีที่ดินเป็นของตนเอง จำนวน ๔๕๐ ครัวเรือน ครัวเรือนที่เช่าที่ดินจำนวน ๕๐ ครัวเรือน สำหรับการเช่าส่วนใหญ่เช่าจากเครือญาติและเพื่อนบ้านด้วยกัน โดยเฉลี่ยเช่าจำนวน ๑๗๐ ไร่/ครัวเรือน โดยเสียค่าเช่าอัตราไร่ละ ๔๐๐ บาท/ปี

   ๔. จำนวนผู้ใช้ไฟฟ้า

         ๑) มีไฟฟ้าเข้าทุกหมู่บ้าน แต่ยังไม่ครบทุกครัวเรือน

   .๔ จำนวนผู้ใช้น้ำ

          - บ่อน้ำตื้น  ๔  แห่ง

          - คลองส่งน้ำชลประทาน ๒ แห่ง

          - ประปาหมู่บ้าน  ๖ แห่ง

          - บ่อโยก ๕ แห่ง

          - บ่อบาดาลตักสูบ ๘ แห่ง

          - สระเก็บน้ำ ๖ แห่ง

          - ประปาถังสูง ม. ๑ ๓ แห่ง

          - ประปาถังสูง ม. ๑ ๒ แห่ง

          - ประปาถังสูง ม. ๑ ๒ แห่ง

          - ประปาถังสูง ม. ๑ ๑ แห่ง

          - คลองสาธารณะประโยชน์  ๑๐ คลอง

  .๕ สิ่งอำนวยความสะดวก

      มีถนนลาดยางผ่านทุกหมู่บ้น กาคมนาคมะดวก มีรถมอเตอร์ไซด์รับจ้าง และรถโดยสารปรจำทางผ่านทุกหมู่บ้าน

  .๖ เครื่องมือที่ใช้ในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม

      เครื่องจักรกลการเกษตร เกษตรกรได้มีการจัดซื้อหาและขอสนับสนุนเครื่องจักรกลการเกษตรจากส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ เช่น รถไถเดินตาม เครื่องสูบน้ำ เครื่องนวนข้าว รถแทรกเตอร์ เครื่องพ่นสารเคมี โรงสี

.๗ ธุรกิจการเกษตร (เลี้ยงสัตว์)

       ฟาร์มประเภทที่มีการทำนาควบคู่กับการเลี้ยงสัตว์ สัตว์ที่เลี้ยงได้แก่ โค,สุกร,แพะ,แกะไก่พื้นเมืองจำนวน ๓๗๖ ราย

 .๘ พืชเศรษฐกิจหลัก ๓ อันดับแรก

       ๑) ข้าวไอ้เฉี้ยง,ข้าวหอมมะลิ ๑๐๕,ข้าวหอมสุพรรณบุรี

       ๒)  มะพร้าว พันธุ์ผลอ่อน

       ๓)  มะม่วง พันธุ์พิมสน,พันธุ์เขียวเสวย

    ๔.๙ ทรัพยากรกรรมชาติในท้องถิ่น

       ๑) ทรัพยากรดิน

       ๒) ทรัพยากรน้ำ

       ๓) ทรัพยากรป่าไม้

    .๑๐ แหล่งท่องเที่ยวในท้องถิ่น

       ๑) วัดบางเขียน

       ๒) ป่าชายเลน

 ๕. ข้อมูลด้านการศึกษา

   โรงเรียนประถมศึกษา ๒ แห่ง ได้แก่

       .๑ โรงเรียนวัดบางเขียดมีเด็กนักเรียนจำนวน ๑๕๓ คน

ระดับชั้น

ชาย

หญิง

รวม

อนุบาล ๑

อนุบาล ๒

๑๔

ประถมศึกษาปีที่ ๑

๑๖

๑๒

๒๘

ประถมศึกษาปีที่ ๒

๑๗

ประถมศึกษาปีที่ ๓

๑๘

๒๒

ประถมศึกษาปีที่ ๔

๑๖

ประถมศึกษาปีที่ ๕

๑๓

๑๙

ประถมศึกษาปีที่ ๖

๑๔

๑๖

๓๐

รวม

๖๖

๘๗

๑๕๓

 

       .๒ โรงเรียนบ้านท่าแคง จำนวน  ๕๒  คน

ระดับชั้น

ชาย

หญิง

รวม

อนุบาล ๑

-

-

-

อนุบาล ๒

-

ประถมศึกษาปีที่ ๑

ประถมศึกษาปีที่ ๒

ประถมศึกษาปีที่ ๓

ประถมศึกษาปีที่ ๔

ประถมศึกษาปีที่ ๕

ประถมศึกษาปีที่ ๖

๑๓

รวม

๑๙

๓๓

๕๒

     

  .๓ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ๑ แห่ง ได้แก่ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององคารบริหารส่วนตำบลบางเขียด

มีนักรียนจำนวน ๑๒๐ คน

 .๔ จำนวนผู้เรียน กศน.

ระดับ

จำนวน

ประถมศึกษา

๕ คน

มัธยมศึกษาตอนต้น

๑๘ คน

มัธยมศึกษาตอนปลาย

๔๒ คน

รวม

 


 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 



เข้าชม : 1099
 
 
ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ตำบลบางเขียด     ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอสิงหนคร
สำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดสงขลา
โทร 074-332493
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05