พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจสำคัญๆ โดยย่อ
ในวันที่ 2 เมษายน ของทุกปี ถือเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งพระองค์ทรงเป็นพระราชธิดา ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9) และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระเทพฯ เสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันเสาร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2498 ณ พระที่นั้งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต
พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจสำคัญๆ โดยย่อ
เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2501 ขณะที่พระชนมายุ ได้ 3 พรรษาเศษ พระองค์ทรงเข้ารับการศึกษาระดับอนุบาลที่โรงเรียนจิตรลดา ทรงมีพระสติปัญญาเฉลียวฉลาดสนพระทัยในการอ่านอย่างมาก ตั้งแต่ทรงพระเยาว์ จึงทรงมีพระสมญาอีกอย่างหนึ่งว่า “หนองหนังสือ” ไม่ว่าพระองค์จะเสด็จประทับ ณ ที่ใด พระองค์จะทรงมีหนังสือติดพระหัตถ์อยู่เสมอ แม้จะเสด็จประทับในรถยต์หรือเครื่องบินก็ตาม
พระองค์มีพระปรีชาสามารถในหลาย ๆ ด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านอักษรศาสตร์และดนตรีไทย ซึ่งพระองค์ได้นำมาใช้ในการอนุรักษ์ ส่งเสริม และให้การอุปถัมภ์ในด้านศิลปวัฒนธรรมของประเทศ จากพระราชกรณียกิจในด้านศิลปวัฒนธรรมนี้ พระองค์จึงได้รับการทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายพระสมัญญาว่า “เอกอัครราชูปถัมภกมรดกวัฒนธรรมไทย” และ “วิศิษฏศิลปิน” นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงประกอบพระราชกรณียกิจในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านการศึกษา การพัฒนาสังคม โดยทรงมีโครงการในพระราชดำริส่วนพระองค์หลายหลากโครงการ ซึ่งโครงการในระยะเริ่มต้นนั้น มุ่งเน้นทางด้านการแก้ปัญหาการขาดสารอาหารของเด็กในท้องถิ่นทุรกันดาร และพัฒนามาสู่การให้ความสำคัญทางด้านการศึกษาเพื่อการพัฒนาราษฎร และด้วยในวันที่ 2 เมษายนที่จะถึงนี้ ซึ่งถือว่าเป็นวันที่เป็นมงคลยิ่ง เราทุกคน คนไทยควรจะรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ และร่วมกันถวายพระพรในวันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ให้ทรงมีพระพลานามัยที่แข็งแรง และทรงพระเจริญยิ่งยื่นนานด้วยนะครับ
ในวันที่ 2 เมษายน ของทุกปี ถือเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งพระองค์ทรงเป็นพระราชธิดา ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9) และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระเทพฯ เสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันเสาร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2498 ณ พระที่นั้งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต
พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจสำคัญๆ โดยย่อ
เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2501 ขณะที่พระชนมายุ ได้ 3 พรรษาเศษ พระองค์ทรงเข้ารับการศึกษาระดับอนุบาลที่โรงเรียนจิตรลดา ทรงมีพระสติปัญญาเฉลียวฉลาดสนพระทัยในการอ่านอย่างมาก ตั้งแต่ทรงพระเยาว์ จึงทรงมีพระสมญาอีกอย่างหนึ่งว่า “หนองหนังสือ” ไม่ว่าพระองค์จะเสด็จประทับ ณ ที่ใด พระองค์จะทรงมีหนังสือติดพระหัตถ์อยู่เสมอ แม้จะเสด็จประทับในรถยต์หรือเครื่องบินก็ตาม
พระองค์มีพระปรีชาสามารถในหลาย ๆ ด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านอักษรศาสตร์และดนตรีไทย ซึ่งพระองค์ได้นำมาใช้ในการอนุรักษ์ ส่งเสริม และให้การอุปถัมภ์ในด้านศิลปวัฒนธรรมของประเทศ จากพระราชกรณียกิจในด้านศิลปวัฒนธรรมนี้ พระองค์จึงได้รับการทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายพระสมัญญาว่า “เอกอัครราชูปถัมภกมรดกวัฒนธรรมไทย” และ “วิศิษฏศิลปิน” นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงประกอบพระราชกรณียกิจในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านการศึกษา การพัฒนาสังคม โดยทรงมีโครงการในพระราชดำริส่วนพระองค์หลายหลากโครงการ ซึ่งโครงการในระยะเริ่มต้นนั้น มุ่งเน้นทางด้านการแก้ปัญหาการขาด
เข้าชม : 337
|