สาเหตุที่ลูกเอาแต่ใจ และวิธีรับมือกับเด็กเอาแต่ใจ
สาเหตุที่ลูกเอาแต่ใจ และวิธีรับมือกับเด็กเอาแต่ใจ ช่วงระยะเวลา 1-6 ขวบนั้นจะเป็นวัยที่ลูกอยากรู้อยากเห็นและลองผิดลองถูก เด็กในวัยนี้จะยังไม่สามารถเข้าใจว่าอะไรผิดอะไรถูก เขาจะทำได้เพียงแต่สังเกตพฤติกรรมคนรอบข้าง เรียนรู้และจดจำว่าเขาทำแบบนี้ คุณพ่อกับคุณแม่จะตอบสนองเขาอย่างไร ซึ่งพฤติกรรมนี้ทางการแพทย์เรียกกว่า “การลองดี” นั่นเอง สาเหตุที่ลูกเอาแต่ใจ และวิธีรับมือกับเด็กเอาแต่ใจ สิ่งที่เด็กในวัยนี้ชอบทำก็คือ การเรียกร้องความสนใจเพราะเขาเรียนรู้และจดจำมาตั้งแต่จำความได้ว่า เมื่อหิวน้ำนมก็ร้องไห้แล้วก็จะได้กินน้ำนม เมื่อเด็กเรียนรู้ว่าถ้าอยากได้อะไรก็จะร้องไห้ เวลาเขาต้องการอะไรก็จะร้องไห้ตลอดเวลาเพราะเขาจำได้ว่าวิธีนี้ได้ผล นี่เองที่ว่าทำไมเวลาไปห้างหรือทำอะไรแล้วไม่ได้ดั่งใจเขา เขาถึงร้องไห้และเพิ่มดีกรีความรุนแรงมากขึ้น เขาจะเรียนรู้อย่างหนึ่งว่าถ้าร้องไห้ธรรมดาไม่ได้ เขาก็จะเพิ่มระดับไปสู่ขั้นที่สองแล้วพ่อแม่จะยอมตามใจ ดังนั้นการแก้ปัญหาคือการใจแข็งไม่ยอมทำตามในสิ่งที่เขาร้องขอหากเห็นไม่สมควร คุณพ่อคุณแม่จึงควรใจเย็นและใจแข็งไม่ตอบรับการร้องขอที่ผิดวิธีนี้กับเขา โดยเฉพาะการดุด่าว่ากล่าวหรือตีเขาไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาให้ดีขึ้น ซ้ำร้ายอาจจะทำให้แย่ลง เราไม่ได้ห้ามให้คุณพ่อคุณแม่ห้ามดุหรือตีลูกยามเมื่อลูกทำผิดหรือก่อปัญหา แต่ก่อนดุด่าว่ากล่าวเราแนะนำให้พยายามทำใจเย็น ๆ และคุยกับเขาด้วยเหตุผลว่า ทำไมถึงต้องตีทำไมเขาถึงต้องโดนว่าหรือทำโทษ ถึงแม้ว่าเขาจะยังเล็ก ไม่สามารถเข้าใจเหตุผลที่อธิบายได้ทั้งหมด แต่ถ้าคุณพ่อคุณหมั่นทำแบบนี้ไปเรื่อย ๆ เด็กก็จะซึมซับและรู้จักการใช้เหตุผลและมีพฤติกรรมที่ยอมรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น จะไม่เรียนรู้การใช้อารมณ์ตอบโต้ หากเขาอยากได้ของเล่นหรือร้องขออะไรให้ทำการตั้งคำถามกับเขาบ่อย ๆ ว่าทำไมถึงอยากได้ ทำไมถึงอยากกิน เพื่อรับฟังเหตุผลของเขา คุณพ่อคุณแม่ควรฝึกให้เขาหัดใช้เหตุผลต่อรองไม่ใช้ความก้าวร้าวต่อรองกับเรา เรื่องอื่นๆที่เราแนะนำสำหรับคุณ
เข้าชม : 3344
|