รูปแบบศิลปะ
ภายในบ่อเก๋ง ยังมีซากโบราณสถานอยู่จำนวนหนึ่งที่สภาพค่อนข้างสมบูรณ์ หนึ่งในนั้นคือซุ้มประตู ทั้งนี้ซุ้มประตูดังกล่าวมีสันหลังคาโค้งงอนซึ่งขัดกับลักษณะอาคารแบบไทยประเพณี แต่ลักษณะดังกล่าวปรากฏในกลุ่มอาคารทางตอนใต้ของจีนหลายแห่ง เช่น เขตเฉาซ่าน (บ้านเกิดของชาวจีนแต้จิ๋ว) และหมิ่นหนาน (บ้านเกิดของชาวจีนฮกเกี้ยน) อย่างไรก็ดี ลักษณะของปลายสันหลังคาที่ค่อนข้างเหลี่ยมหักมุมทำให้พอสันนิษฐานได้ว่า ซุ้มประตูดังกล่าวของสัมพันธ์กับงานสถาปัตยกรรมแถบหมิ่นหนานซึ่งนิยมสันหลังคาลักษณะนี้ โดยจะต่างจากงานสถาปัตยกรรมในเขตเฉาซ่านที่ปลายสันหลังคาเป็นเส้นโค้ง การปรากฏลักษณะสถาปัตยกรรมหมิ่นหนานแสดงให้เห็นว่ามีชาวจีนฮกเกี้ยนอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานบริเวณนี้ด้วย
บ่อเก๋ง จ.สงขลา
รูปแบบศิลปะ
กลุ่มสิ่งก่อสร้างในบริเวณบ่อเก๋งแต่เดิมคือปรากการรักษาด้านหน้าของเมืองสงขลาเก่าที่ตั้งอยู่ฝั่งแหลมสน สร้างประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ 24 ประกอบด้วยเชิงเทิน ที่ติดตั้งปืนใหญ่ อาคารที่พักผู้รักษาป้อม บ่อน้ำ และซุ้มประตู เมื่อย้ายเมืองมาตั้งที่ฝั่งบ่อยางซึ่เงป็นตัวเมืองสงขลาปัจจุบันและได้มีการสร้างป้อมปากแม่น้ำแหลมทรายเพื่อป้องกันเมือง ปรากการบ่อเก๋งแห่งนี้จึงร้างไป แต่ยังมีการใช้ประโยชน์จากบ่อน้ำจืดเท่านั้น ทั้งนี้กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2542