[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอสิงหนคร (สกร.อำเภอสิงหนคร) ยินดีต้อนรับ
 

  

ความรู้เกี่ยวกับ IT
อันตราย 4 ประการ ของสมาร์ทโฟน

จันทร์ ที่ 9 เดือน กันยายน พ.ศ.2556

คะแนน vote : 37  

อันตราย  4  ประการ  ของสมาร์ทโฟน
1.สมาร์ทโฟนทำให้คุณเสียสมาธิ
  นักวิจัยจากฟินแลนด์พบว่า คนเราเริ่มติดที่จะนั่งเช็กข่าว ข้อความ อีเมล หรือข้อมูลในโซเชียล เน็ตเวิร์กต่างๆ ผ่านโทรศัพท์มือถือถี่ขึ้น ทั้งที่ยิ่งเช็กถี่มากเท่าไร โอกาสที่จะได้เจอกับข้อมูลหรือข้อความใหม่ๆ ก็ลดลงไปด้วย

ทางแก้ : นายแพทย์อันต์ติ โอลาสเวอร์ต้า ผู้วิจัยแนะว่า เราควรกำหนดเวลาการเช็กมือถือของเราให้เป็นกิจจะลักษณะ เช่นเช็กทุกครึ่งชั่วโมงหรือ 1 ชั่วโมง เพื่อจะได้มีเวลาโฟกัสกับงานหรือการเรียนมากขึ้น


2.สมาร์ทโฟนทำให้คุณป่วยได้
  การกดๆ เคาะๆ หรือลากนิ้วไปมาบนทัชสกรีน ย่อมทำให้หน้าจอเกิดการหมักหมมของเชื้อโรคไม่ต่างอะไรกับคีย์บอร์ดของคอมพิวเตอร์ งานวิจัยชิ้นหนึ่งในวารสารจุลชีววิทยาประยุกต์ระบุว่า เมื่อนำผิวหน้าของจอสมาร์ทโฟนมาตรวจสอบ พบว่า เชื้อไวรัสที่อยู่บนหน้าจอทัชสกรีนจะติดนิ้วมือของผู้ใช้มาด้วยถึง 20-30 เปอร์เซ็นต์ และถ้าเผลอเอามือไปจับอวัยวะที่ค่อนข้างบอบบาง เช่นบนใบหน้า ก็อาจติดเชื้อหรือป่วยได้ง่ายขึ้น

  ทางแก้ : หากเราติดฟิล์มกันรอยบนหน้าจอแล้วล่ะก็ ควรจะหมั่นทำความสะอาดพื้นผิวอยู่เป็นระยะๆ แถมฟิลลิปส์ยังแนะนำแบบเอาฮาด้วยว่า ทางที่ดีควรหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่อาจต้องจิ้มข้อความไปด้วย ร้องไห้ฟูมฟายไปด้วย (เช่น อกหัก) เพื่อจะได้ไม่เผลอยกมือขึ้นมาขยี้หรือปาดน้ำตาตอนที่ยังมีเชื้อโรคติดนิ้วอยู่นั่นเอง


3.สมาร์ทโฟนทำให้เจ็บตา
ทีมวิจัยจากวิทยาลัยจักษุแพทย์ซูนี่สเตท รายงานว่า ไม่ว่าจะเป็นการถือจ่อๆ ใกล้ๆ เพื่อจะได้เห็นภาพในจอได้ชัดยิ่งขึ้น หรือการเพ่งดูตัวหนังสือตัวเล็กๆ ในจอย่อมทำให้ผู้ดูมีอาการล้าที่ดวงตา จนนำไปสู่อาการปวดหัว ปวดตา หรือมองเห็นภาพเบลอๆได้

ทางแก้ : เพิ่มขนาดการแสดงผลตัวอักษรทางหน้าจอให้ใหญ่ขึ้น รวมถึงพยายามรักษาระยะระหว่างดวงตากับสมาร์ทโฟนให้อยู่ที่อย่างน้อย 16 นิ้ว หรือถ้าเราติดอ่านหนังสือ่ด้วยสมาร์ทโฟน เมื่ออ่านไปได้สักระยะก็ควรพักสายตาด้วยการหลับตา หรือมองต้นไม้ใบหญ้าเพื่อความรื่นรมย์ อย่างน้อยให้ได้ 20 วินาทีก็ยังดี


4.สมาร์ทโฟนทำให้คุณเครียด
  โทรศัพท์เปิดโอกาสให้คุณมีปฏิสัมพันธ์กับโลกออนไลน์ได้ทุกวันทุกเวลา จึงเกิดความคาดหวังได้ว่าอีกฝ่ายหรือใครก็ตามจะพยายามสื่อสารกับคุณอย่างไม่เหน็ดเหนื่อยบ้าง เรื่องนี้ทางมหาวิทยาลัยวอร์เชสเตอร์เคยวิจัยไว้ว่า นานไปความรู้สึกยิ่งสะสมยิ่งทวีคูณจนเริ่มกลายเป็นความหมกมุ่น เวลาสัญญาณความเคลื่อนไหวใดๆ เป็นต้องคิดล่วงหน้าไปแล้วว่ามีข้อความหรืออีเมลใหม่หาตนเอง แม้เอาเข้าจริงๆ จะไม่ใช่ก็ตาม

ทางแก้ : เริ่มต้นด้วยการปิดสมาร์ทโฟนของคุณสัก 1 ชั่วโมงทุกวัน แล้วค่อยๆ เพิ่มขึ้นเป็น 2 ชั่วโมง และพยายามอย่าลักไก่ด้วยการนับเอาช่วงพักผ่อนนอนหลับรวมเข้าไปด้วยเป็นอันขาด





เข้าชม : 719


ความรู้เกี่ยวกับ IT 5 อันดับล่าสุด

      กศน. เดินเครื่องเรียนออนไลน์ห่างไกลโควิด-19 24 / เม.ย. / 2563
      กศน.พลิกโฉมเรียนสอนออนไลน์ 24 / เม.ย. / 2563
      โควิด-19: แพทย์แนะวิธี ทำอย่างไรให้รอดจากวิกฤตไวรัส 24 / เม.ย. / 2563
      6 วิธีจัดการอารมณ์แก้เครียดช่วง \"กักตัว-Work From Home\" อย่างสร้างสรรค 24 / เม.ย. / 2563
      เรื่องน่ารู้ : มะเขือพวง 5 / ก.ค. / 2560


 

256/23 หมู่ที่ 5 ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอสิงหนคร  (ศสกร.อำเภอสิงหนคร

ตำบลสทิงหม้อ  อำเภอสิงหนคร  จังหวัดสงขลา 90280  โทรศัพท์ 074 332493

Powered by MAXSITE 1.10 Modify by นิกร เกษโกมล Version 2.05