[x] ปิดหน้าต่างนี้
 

ยินดีต้อนรับสู่ ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอรัตภูมิ "ถิ่นดินแดง แหล่งผลไม้ดก น้ำตกเจ้าฟ้า ภูผามีตำนาน ประตูผ่านสู่ชายแดน"

 

  

แหล่งเรียนรู้
ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านนาลึก

พฤหัสบดี ที่ 4 เดือน เมษายน พ.ศ.2556


   แหล่งเรียนรู้ เศรษฐกิจพอเพียงบ้านนาลึก
   ม.3 ต.เขาพระ อ.รัตภูมิ จ.สงขลา


 
ชีวิตคือชีวิต
            ลุงชิต ขวัญคำ เกิดเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2484 ภูมิลำเนาเดิม เป็นคนตำบลคูหาใต้ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา มีพี่น้อง 7 คน ลุงชิตเป็นลูกชายคนโต ลุงชิตเกิดในครอบครัวชาวนา ช่วยพ่อแม่ทำนา เลี้ยงวัว มาตั้งแต่เด็ก ๆ เข้าศึกษาในระดับประถมศึกษา ณ โรงเรียนวัดคูหาใต้ ซึ่งในสมัยก่อนมีครูสอนเพียงคนเดียว เลยต้องเล่าเรียนกับพระอาจารย์ที่วัดคูหาใต้ด้วย หลังจากจบชั้นประถมศึกษาที่4 เข้าศึกษาต่อในสายวิชาชีพ ณ โรงเรียนมัธยมสารพัดช่าง สาขาช่างไม้ ในตัวจังหวัดสงขลา หลังจากศึกษาจบสาขาช่างไม้ ประกอบอาชีพรับเหมาก่อสร้าง ต่อมาสมรสกับนางประคอง ขวัญคำ ใน พ.ศ. 2508 มีบุตรธิดารวม       4 คน และได้ย้ายมาอยู่ที่หมู่ที่ 3 บ้านนาลึก ตำบลเขาพระ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา ซึ่งปัจจุบันลุงชิต อาศัยอยู่ ณ บ้านเลขที่ 50/1 หมู่ 3 บ้านนาลึก ตำบลเขาพระ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา
ในปี พ.ศ. 2537 ลุงชิตตัดสินใจย้ายที่อยู่อาศัยมาอยู่ในพื้นที่ห่างจากชุมชนในบริเวณชุมชนบ้านนาลึกได้หาซื้อที่ดินว่างเปล่า ที่เงียบสงบและสันโดษ โดยเป็นพื้นที่นาร้าง ซึ่งในขณะนี้คิดว่าตัวเองต้องการหลรกหนีความวุ่นวายสับสน อยากใช้ชีวิตที่สงบเรียบง่าย ซึ่งส่วนตัวแล้วลุงชิตเป็นตนชอบธรรมชาติเป็นชีวิตจิตใจจึงอยากใช้ชีวิตต่อจากนี้ให้ใกล้ชิดกับธรรมชาติ ลุงชิต เป็นคนที่รู้จักขวนขวายหาความรู้อยู่ตลอดเวลา เป็นตนใฝ่รู้ อยากรู้อยากเห็น อยากทำสิ่งใดก็จะพยายามทำและทดลองอยู่เรื่อย ๆ จนสามารถทำได้สำเร็จ และมักมีแนวคิดใหม่เกิดขึ้นเสมอหลังจากการได้ลองผิดลองถูก ที่สำคัญลุงชิตเป็นคนช่างสังเกต ทั้งยังเป็นคนที่มีระบบคิดที่ดีในช่วงระยะแรกนั้นยังรับเหมาก่อสร้างและรับจ้างกรีดยางไปด้วย ภายหลังได้ขยับขยาย ซื้อพื้นที่เพื่อทำสวนยาง ซึ่งเมื่อเริ่มทำอาชีพสวนยางในระยะหนึ่งเริ่มเห็นว่าระบบสวนยางซึ่งเป็นการปลูกพืชเชิงเดี่ยว เป็นการทำเกษตรแบบจำเจ ผูกขาดกับการซื้อขายทางการตลาด จึงคิดว่าน่าจะหันมาทำรูปแบบการเกษตรที่ตอบสนองและรับใช้ชีวิตของตนเองได้
            ใน พ.ศ. 2540 ตัดสินใจจัดสรรที่ดินซึ่งเป็นสวนยางให้ลูก ๆ ดำเนินการต่อ ส่วนตนเองหันมาทำเกษตรแบบผสมผสาน โดยหันมาจัดการกับที่รกร้างผืนนั้นที่ซื้อไว้อย่างจริงจัง อาจกล่าวได้ว่า ลุงชิตเป็นผู้พลิกฟื้นผืนนาที่รกร้าง แห้งแล้งให้กลับมาชุ่มชื้น และอยากที่จะใช้ชีวิตจองตนเองอย่างใกล้ชิดธรรมชาติ อยากทำการเกษตรที่ตนเองต้องการให้สวนนั้นครบวงจร เน้นความสมดุลและความหลากหลายของระบบสวน ยึดหลักแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวคิดของตนเอง ที่ว่า “ต้องกินได้ ขายได้ ให้เพื่อนเอา”
การทำเกษตรตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงนั้น สำหรับลุงชิต ขวัญคำ การที่เราทำสวนเกษตร สวนผักเพราะเราเหลือกิน เหลือใช้ ภายในครัวเรือนของเราแล้ว จึงต้องหาตลาดบ้าง เพื่อเป็นรายได้เสริมได้อีกทางหนึ่ง         “มีกิน มีใช้ และขายได้” ซึ่งจำเป็นต้องประกอบด้วย 5 ต  ดังนี้
1. ต้องมีทำเลที่เหมาะสม คือ การทำเกษตรทุดอย่างต้องมีทำเลที่เหมาะสมกับรูปแบบการทำเกษตรของตนเอง ที่ดินที่ตนเองมีอยู่เหมาะสำหรับทำการเกษตรแบบไหน ควรปลูกอะไร พืชผัเหมาะสมกับสภาพดินในพื้นที่หรือไม่ ต้องคำนึงถึงด้วยเช่นกัน สำหรับลุงชิต ได้เล่าให้ฟังว่า “ที่ดิน   ณ
ปัจจุบันนี้เคยเป็นที่นามาก่อน แน่นอนว่าเป็นทำเลที่ไม่เหมาะสมสำหรับการทำเกษตรรูปแบบสวน โดยเฉพาะสวนผักที่ตนอยากทำ เพราะที่ดินที่เป็นที่นาตรงนี้มักเกิดน้ำท่วมบ่อย ปลูกพืชผักไปก็มีแต่น้ำท่วม เสียไปเกือบหมด แต่ด้วยความพยาม อดทน และไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรค ผมจึงคิดวิธีการพลิกผืนนาที่ถูกน้ำท่วม ให้กลายเป็นสวนเกษตรที่อยากทำได้ โดยการขุดสระน้ำถึงสองสระ แล้วนำหน้าดินที่ขุดได้มาถมที่นาให้สูงขึ้นจนสามารถทำการปลูกพืชผักตามที่ต้องการได้ในที่สุด”
2. ต้องมีทุนรอน คือ การทำเกษตรไม่ว่าจะเป็นรูปแบบไหน หรือใครทำก็ตาม ก็ต้องอาศัยทุนเหมือนกัน ต่างกันตรงที่ใครจะใช้ทุนที่มีอยู่นั้นอย่างประหยัดและให้เกิดประโยชน์กับการทำเกษตรของเกษตรกรอย่างเรามากที่สุด แต่ทุนที่มีอยู่นั้นต้องไม่เป็นทุนที่ก่อให้เกิดหนี้สิน ต้องเป็นทุนของเราเอง ถึงจะมีอยู่เพียงเล็กน้อยก็ตามที ค่อย ๆ ทำ ทำไปเรื่อยๆ ไม่ต้องใจร้อนแล้วทุนที่เรามีอยู่เองนี้แหละ ทำให้เราเกิดความภาคภูมิใจมากที่สุด
3.ต้องมีตลาด คือ เมื่อเราทำเกษตรแบบพอมีพอกินในครอบครัวแล้ว สิ่งที่เหลือกินจึงนำไปขาย เพื่อก่อให้เกิดรายได้เข้าสู่ครอบครัว แต่เราทำอย่าไรจะขายได้และขายที่ไหน ตลาดจึงเป็นปัจจัยสำคัญด้วยเช่นกันคำว่าตลาดยังหมายรวมถึงผู้บริโภคด้วยเช่นกัน ถ้าผู้บริโภครู้จักบริโภคในสิ่งที่เราจะขาย ก็เปรียบกับว่าเราประสบความสำเร็จไปครึ่งหนึ่งแล้ว ที่เหลืออยู่ที่เทคนิคการขายของเกษตรแต่ละคน
4. ต้องมีเวลา คือ การทำเกษตร แน่นอนว่าเกษตรต้องมีเวลาและทุ่มเทเวลาให้กับการเกษตรของตัวเองเป็นอย่างมาก พืชผักที่ปลูกไว้ก็เหมือนคนที่ต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิด ไม่ใช่ปลูกแล้วไม่ดูแล ทิ้งๆ กว้างๆ ถ้าเราไม่สนใจ ไม่มีเวลาให้ ก็อย่าทำเกษตรเลยดีกว่า
5. ต้องมีศูนย์บริการและถ่ายทอกเทคโนโลยีที่เหมาะสม คือ การทำเกษตรแบบเดิมๆ ก็ทำได้ด้วยซ้ำ แต่เทคโนโลยีในที่นี้ไม่ได้หมายความว่าเทคโนโลยีสมัยใหม่ แต่เป็นเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับรูปแบบการทำเกษตร


เข้าชม : 2730


แหล่งเรียนรู้ 5 อันดับล่าสุด

      โครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน หลักสูตรระยะสั้น การถนอมอาหาร(การทำกุ้งแห้ง) 13 / ก.ค. / 2563
      แหล่งเรียนรู้สวนสมรม 4 / มิ.ย. / 2557
      แหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านหนองจาด 4 / มิ.ย. / 2557
      แหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านนาปาบ 4 / มิ.ย. / 2557
      นายสวน ช่วยหมุด 30 / เม.ย. / 2556


 
 ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอรัตภูมิ    ถนนยนตรการกำธร ตำบลกำแพงเพชร อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา 90180    โทร  0-7438-9174 โทรสาร 0-7438-9174  http://sk.nfe.go.th/rtp/
Powered by MAXSITE 1.10 Modify by นิกร เกษโกมล Version 2.05