การทอดผ้าป่า
การทอดผ้าป่าเป็นประเพณีการทำบุญอย่างหนึ่งของชาวพุทธที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน คำว่า “ผ้าป่า” มีชื่อเรียกตามภาษาบาลีว่า “ปังสุกุละ” ซึ่งภาษาไทยใช้คำว่า “บังสุกุล” หมายถึงผ้าที่ไม่มีเจ้าของหวงแหน หรือผ้าที่เขาไม่ใช้แล้วนำไปทิ้งที่กองขยะ หรือผ้าที่เขาใช้ห่อศพแล้วนำไปทิ้งไว้ในป่าช้า
ประวัติความเป็นมาในการทอดผ้าป่า สืบเนื่องมาจากในสมัยพุทธกาล เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้ายังมิได้ทรงอนุญาตให้พระภิกษุทั้งหลายรับจีวรที่ชาวบ้านถวายโดยเฉพาะ พระภิกษุจึงต้องเก็บผ้าที่เขาทิ้งแล้วมาทำจีวร เช่น ผ้าเปรอะเปื้อนที่ชาวบ้านไม่ต้องการนำมาทิ้งไว้ ผ้าห่อศพเป็นต้น เมื่อรวบรวมผ้าชิ้นเล็กชิ้นน้อยจนเพียงพอแก่ความต้องการแล้ว พระภิกษุจึงนำมาซักทำความสะอาด ตัด เย็บ ย้อมเพื่อทำเป็นจีวร สบง หรือสังฆาฏิ อย่างใดอย่างหนึ่ง ทำให้การทำจีวรของพระภิกษุในสมัยนั้นเป็นเรื่องที่ยุ่งยากและเป็นงานใหญ่
เมื่อชาวบ้านที่มีจิตศรัทธาทั้งหลายพบเห็นความยากลำบากของพระสงฆ์ ต้องการจะนำผ้ามาถวาย แต่เมื่อไม่มียังไม่มีพุทธานุยาตโดยตรง จึงได้นำผ้านั้นไปทอดทิ้งไว้ ณ ที่ต่างๆ เช่น ตามป่า ป่าช้า ข้างทางเดิน หรือแขวนไว้ตามกิ่งไม้ เพื่อให้พระภิกษุสะดวกในการแสวงหาผ้าบังสุกุล เมื่อพระภิกษุมาพบเห็นว่าเป็นผ้าที่ผู้เป้นเจ้าของทอดอาลัยแล้ว ก็นำเอามาทำเป็นผ้าจีวร ด้วยเหตุนี้จึงเรียกผ้าในลักษณะนี้ว่า “ผ้าป่า”
ผ้าป่าหรือผ้าบังสุกุล แบ่งได้เป็น 10 ประเภทได้แก่
- ผ้าที่ตกที่ป่าช้า
- ผ้าที่ตกที่ตลาด
- ผ้าที่หนูกัด
- ผ้าที่ปลวกกัด
- ผ้าที่ถูกไฟไหม้
- ผ้าที่วัวกัด
- ผ้าที่แพะกัด
- ผ้าห่มสถูป
- ผ้าที่เขาทิ้งในที่อภิเษก
- ผ้าที่เขานำไปสู่ป่าช้าแล้วนำกลับมา
การทอดผ้าป่านั้นไม่มีการกำหนดระยะเวลาในการทอด สามารถทำได้ตลอดทั้งปี และวัดหนึ่งๆสามารถจัดงานทอดผ้าป่ากี่ครั้งก็ได้ และยังไม่มีการเจาะจงเกี่ยวกับพระภิกษุที่จะรับผ้าป่าแต่อย่างใด ในปัจจุบันนิยมทำในรูปแบบต่างๆแตกต่างกันไป จึงมีชื่อเรียกเป็น 3 อย่างคือ
- ผ้าป่าหางกฐิณ คือผ้าป่าที่เจ้าภาพจัดให้มีขึ้นต่อจากการทอดกฐิณ คือเมื่อทำพิธีทอดกฐิณเสร็จแล้วก็ให้มีการทอดผ้าป่าด้วยเลย
- ผ้าป่าโยง คือผ้าป่าที่จัดทำรวมๆกันหลายกอง นำบรรทุกเรือแห่ไปทอดตามวัดต่างที่อยู่ริมแม่น้ำ จึงเรียกว่าผ้าป่าโยง จะมีเจ้าภาพเดียวหรือหลายเจ้าภาพก็ได้
- ผ้าป่าสามัคคี คือผ้าป่าที่มีการแจกฎีกาบอกบุญไปตาทมสถานที่ต่างให้ร่วมกันทำบุญแล้วแต่ศรัทธา โดยจัดเป็นกองผ้าป่ามารวมกันจะเป็นกี่กองก็ได้ เมื่อถึงวันทอดจะมีขบวนแห่ผ้าป่ามารวมกันที่วัดอย่างสนุกสนาน ในบางครั้งจุดประสงค์ก็เพื่อร่วมกันหาเงินสร้างถาวรวัตถุต่างๆเช่น โบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญและอื่นๆ เป็นต้น
การทอดผ้าป่าในเมืองไทยนั้น ได้รับการรื้อฟื้นขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ด้วยทรงพระประสงค์จะรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีในทางพระศาสนา
การทอดกฐิณ
การทอดกฐิณเป็นประเพณีสำหรับพุทธศาสนิกชนที่มีศรัทธาเลื่อมใส ประสงค์จะทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาและส่งเสริมให้พระภิกษุได้ตามปฏิบัติตามพระวินัย ซึ่งถือปฏิบัติมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาลจนถึงปัจจุบันนี้ เป็นการเพิ่มพูนบุญกุศลซึ่งนำมาความสุขมาให้ เป็นงานบุญที่มีปีละครั้ง จึงจัดเป็นกาลทาน แปลว่า “ถวายตามกาลสมัย”
สำหรับคำว่ากฐิณมีความหมาย 4 ประการด้งนี้
- กฐิณที่เป็นชื่อของกรอบไม้ หมายถึง ไม้สะดึงคือกรอบไม้แบบชนิดหนึ่งสำหรับขึงผ้าให้ตึงเพื่อเป็นอุปกรณ์สำหรับใช้เป็นเครื่องมือเย็บจีวร ซึ่งมีลักษณะเป็นวงกลม เล็กบ้าง ใหญ่บ้าง ในสมัยก่อนการเย็บจีวรต้องใช้ไม่สะดึงขึงให้ตึงก่อนแล้วจึงเย็บ เพราะช่างยังไม่มีความชำนาญเหมือนสมัยปัจจุบันนี้ และเครื่องมือในการเย็บก็ยังไม่เพียงพอเหมือนจักรเย็บผ้าในปัจจุบัน
- กฐิณที่เป็นชื่อของผ้า หมายถึงผ้าที่ถวายใช้เป็นกฐิญภายในกำหนดเวลา 1 เดือน นับตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ผ้าที่จะถวายนั้นจะเป็นผ้าใหม่หรือผ้าเทียมใหม่ เช่นผ้าฟอกสะอาดหรือผ้าบังสุกุล ผู้ถวายจะเป็นคฤหัสถ์ก็ได้ เป็นพระภิกษุหรือสามเณรก็ได้ ซึ่งหากถวายแก่พระสงฆ์แล้วก็เป็นอันใช้ได้
- กฐิณที่เป็นชื่อของบุญกิริยา หมายถึงการทำบุญถวายผ้ากฐิณเป็นทานแก่พระสงฆ์ผู้จำพรรษาอยู่วัดใดวัดหนึ่งครบ 3 เดือน เพื่อสงเคราห์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบให้มีผ้านุ่งหรือผ้าห่มใหม่ จะได้ใช้ผลัดเปลี่ยนของเก่าที่จะขาดหรือชำรุด
- กฐิณทีเป็นชื่อของสังฆกรรม หมายถึงกิจกรรมของสงฆ์ก็จะต้องมีการสวดประกาศขอรับความเห็นชอบจากที่ประชุมสงฆ์ ในการมอบผ้ากฐิณให้แก่พระภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง เมื่อทำจีวรสำเร็จแล้วด้วยความร่วมมือของพระภิกษุทั้งหลาย ก็จะได้เป็นโอกาสให้ได้ช่วยกันทำจีวรของพระภิกษุของพระภิกษุรูปอิ่น ขยายเวลาทำจีวรได้อีก 4 เดือน ทั้งนี้เพราะในสมัยพุทธกาลการหาผ้าเพื่อทำจีวรทำได้โดยยาก ไม่ทรงอนุญาตให้เก็บสะสมผ้าไว้เกิน 10 วัน แต่เมื่อได้ช่วยกันทำสังฆกรรมเรื่องกฐิณแล้ว อนุญาตให้แสวงหาผ้าและเก็บผ้าไว้ทำเป็นจีวรได้จนตลอดฤดูหนาว
ประเภทของกฐิณแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่คือ กฐิณหลวงและกฐิณราษฎร์
กฐิณหลวงแบ่งเป็น
- กฐิณที่กำหนดเป็นพระราชพิธี ซึ่งเป็นกฐิณที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จพระราชดำเนินไปถวายผ้าพระกฐิณด้วยพระองค์เองหรือทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระบรมวงศานุวงศ์หรือองคมนตรี หรือผู้ที่ทรงเห็นสมควรเป็นผู้แทนพระองค์นำผ้าพระกฐิณพระราชทานไปทอดถวาย ณ พระอารามหลวงที่สำคัญๆ ทั้งในกรุงเทพมหานคาและส่วนภูมิภาค
- กฐิณต้นเป็นกฐิณที่เกิดขึ้นเพราะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปถวายผ้าพระกฐิณ ณ วัดที่มีใช่พระอารามหลวง แต่เป็นวัดราษฎร์วัดใดวัดหนึ่ง และมิได้เสด็จไปอย่างเป็นทางราชการหรืออย่างเป็นพระราชพิธีแต่เป็นการบำเพ็ญพระราชกุศลส่วนพระองค์ โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้กฐิณพระราชทานเป็นกฐิณที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานผ้าพระกฐิณของหลวงแก่ผู้ที่กราบบังคมทูลขอพระราชทานเพื่อไปทอดถวาย ณ พระอารามหลวงอื่นๆ ที่มิใช่ 16 วัดซึ่งทางราชการกำหนดขึ้นเป็นพระราชพิธี
- เป็นวัดที่ยังไม่เคยเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิณมาก่อน
- ประชาชนมีความเลื่อมใสในวัดนั้นมาก
- ประชาชนในท้องถิ่นนั้นไม่ค่อยมีโอกาสได้เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท เมื่อเสด็จพระราชดำเนินไป จะได้มีโอกาสเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรับเสด็จอย่างใกล้ชิด
-
กฐิณราษฎร์แบ่งเป็น
- มหากฐิณ เป็นกฐิณที่ราษฎรหรือประชาชนนำไปทอด ณ วัดใดวัดหนึ่งซึ่งตนมีศรัทธาเป็นการเฉพาะ กล่าวคือ ท่านผู้ใดมีศรัทธาจะทอดกฐิณ ณ วัดใด ก็นำผ้าจัดเป็นองค์กฐิณ ซึ่งอาจถวายของอื่นๆไปพร้อมกับองค์กฐิณ เรียกกันว่าบริวารกฐิณ ตามที่นิยมกันมีปัจจัย 4
- จุลกฐิณ เป็นกฐิณที่ต้องทำให้เสร็จภายในวันเดียว เดิมเรียกว่ากฐิณแล่นซึ่งมีความหมายคือเร่งรีบจึงจะเสร็จทันกาล ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือและความสามัคคีของคนหมู่มาก จึงไม่ค่อยมีใคนิยมทำกันนัก
- กฐิณสามัคคี เป็นกฐิณที่มีเจ้าภาพหลายคนร่วมกัน แต่เพื่อไม่ให้การจัดงานยุ่งยากมากเกินไป ก็มักจะตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่งดำเนินการแล้วมีหนังสือบอกบุญไปยังผู้อื่นด้วย เมื่อได้ปัจจัยมาเท่าไรก็จัดผ้าอันเป็นองค์กฐิน รวมทั้งบริวาร ปัจจัยที่เหลือก็ถวายวัด เพื่อทางวัดจะนำไปใช้จ่ายในทางที่ควร กฐินสามัคคีนี้มักนำไปทอดยังวัดที่กำลังมีการก่อสร้างหรือกำลังบูรณปฎิสังขรณ์ เพื่อสมทบทุนให้สิ่งอันพึงประสงค์ของวัดสำเร็จ
- กฐิณตกค้าง หรือ กฐิณโจร กฐินที่เจ้าภาพนำไปทอดโดยมิได้ให้ทางวัดทราบล่วงหน้า พอผ่านไปพบวัดใดวัดหนึ่งที่ยังไม่มีกฐิน ไม่มีผู้จองกฐินจวนจะหมดเขตกฐินอยู่แล้ว ก็จู่โจมเข้าไปทอดถวายคล้ายกับโจรปล้นมิให้เจ้าของทรัพย์รู้ตัว
การทอดกฐินเป็นบุญพิเศษ
- พิเศษเพราะเป็นสังฆทาน มิได้เฉพาะเจาะจงแก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง
- พิเศษเพราะเป็นการถวายทานตามกาล ไม่มีทั่วไป เรียกว่า “กาลทาน” ตามพระธรรมวินัยกำหนดกาลไว้ คือ มีกำหนดเวลาถวายที่จำกัดเพียงหนึ่งเดือนหลังจากออกพรรษาแล้ว ตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 โดยแต่ละวัดสามารถรับกฐินได้ปีละครั้งเดียว และจะต้องมีพระสงฆ์อยู่จำพรรษาครบ 5รูป หากวัดใดมีพระสงฆ์อยู่จำพรรษาไม่ถึง 5 รูป จะต้องนิมนต์พระสงฆ์จากวัดอื่นๆ มาร่วมพิธีกรรมให้ครบ 5 รูปเป็นอย่างน้อย เพื่อให้ครบองค์สงฆ์ตามพระวินัยบัญญัติ องค์สงฆ์ 5 รูป ตามพระวินัยบัญญัติดังกล่าวนั้น มี 4 รูป เป็นองค์พยาน และอีก 1 รูปเป็นองค์ครองผ้ากฐิน ภาษาสังฆกรรมของพระเรียกว่า “ปัญจวรรค” ผู้มีจิตศรัทธาเลื่อมใสใคร่จะทอดกฐิน ก็ให้ทอดได้ในระหว่างระยะเวลานี้ ถ้าทอดก่อนหรือทอดหลังกำหนดนี้ก็ไม่เป็นการทอดกฐิน แต่มีข้อยกเว้นพิเศษว่า ถ้าทายกทายิกาผู้จะทอดกฐินนั้น มีกิจจำเป็นเช่นจะต้องไปในทัพ ไม่สามารถจะอยู่ทอดกฐินตามกำหนดนั้นได้ จะทอดกฐินก่อนกำหนดดังกล่าวแล้ว พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ภิกษุรับไว้ก่อนได้
- พิเศษเพราะมีอานิสงส์ทั้งสองฝ่าย คือ อานิสงส์สำหรับพระภิกษุผู้รับกฐิน และอานิสงส์สำหรับผู้ถวายกฐิน
ที่มา
www.bokboontoday.com/advertise/ความแตกต่างของการทอดผ้าป่าและการทอดกฐิณ
เข้าชม : 937
|