ข่าตาแดง ชื่อวิทยาศาสตร์ Alpinia officinarum Hance (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Languas officinarum (Hance) Farw., Languas officinarum (Hance) P.H.Hô) จัดอยู่ในวงศ์ขิง (ZINGIBERACEAE)[1]
สมุนไพรข่าตาแดง มีชื่อเรียกอื่นว่า ข่าเล็ก (ไทย)[1]
ลักษณะของข่าตาแดง
- ต้นข่าตาแดง จัดเป็นพรรณไม้ลงหัว เมื่อแตกขึ้นเป็นกอจะมีลักษณะเหมือนกับข่าใหญ่ แต่จะมีขนาดของต้นเล็กและสั้นกว่าข่าใหญ่เล็กน้อย และมีขนาดโตกว่าข่าลิงเล็กน้อย ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแยกหน่อเอามาปลูก[1]
- ใบข่าตาแดง ใบมีลักษณะเช่นเดียวกับข่าใหญ่ โดยมีลักษณะของใบเป็นรูปไข่ยาว คล้ายใบพาย ออกสลับกันรอบ ๆ ลำต้น[1]
- ดอกข่าตาแดง ออกดอกเป็นช่อตรงปลายยอด ช่อดอกเป็นสีขาว แต้มด้วยสีแดงเล็กน้อย[1]
- หน่อข่าตาแดง เมื่อแตกหน่อ หน่อจะเป็นสีแดงจัด ซึ่งเรียกว่า "ตาแดง" มีกลิ่นและรสหอมฉุนกว่าข่าใหญ่[1]
-
สรรพคุณของข่าตาแดง
-
- หัวข่าตาแดงใช้รับประทานเป็นยาขับลมให้กระจาย (หัว)[1]
- หัวมีสรรพคุณเป็นยาระบาย (หัว)[1]
- ต้นใช้เป็นยารักษาบิดชนิดที่ตกเป็นเลือด (ต้น)[1]
- ใช้เป็นยาขับโลหิตที่เน่าในมดลูกของสตรี และช่วยขับลมในลำไส้ ด้วยการนำหัวข่าตาแดงมาโขลกคั้นกับน้ำส้มมะขามเปียกและเกลือประมาณ 1 ชาม แกงเขื่อง ๆ ให้หญิงที่เพิ่งคลอดบุตรใหม่ ๆ รับประทานให้หมด (หัว)[1]
- หัวใช้เป็นยารักษาบาดทะยักปากมดลูกของสตรี (หัว)[1]
- ใบใช้เป็นยาทารักษากลาก (ใบ)[1]
- ดอกใช้เป็นยาทารักษาเกลื้อน (ดอก)[1]
- หัวใช้เป็นยาช่วยบรรเทาอาการฟกช้ำบวม (หัว)[1]
- หัวมีสรรพคุณช่วยรักษาอาการพิษ ช่วยรักษาอาการพิษโลหิตทำ (หัว)[1]
ประโยชน์ของข่าใหญ่
- หน่อสามารถนำมาใช้ปรุงอาหารได้[1]
-
เอกสารอ้างอิง
-
- หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “ข่าตาแดง”. หน้า 105-106.
เข้าชม : 840
|