[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 
ศูนย์การเรียนรู้ตำบลบ้านนา ยินดีต้อนรับ หมู่ 6 บ้านท่าชะมวง ตำบลบ้านนา อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา 90130 โทรศัพท์ 074-207092
 

  

บทความทั่วไป
วันสารทเดือนสิบ

พฤหัสบดี ที่ 15 เดือน กันยายน พ.ศ.2559

คะแนน vote : 69  

 
วันสารทเดือนสิบ
ความสำคัญ
ป็นความเชื่อของพุทธศาสนิกชนในจังหวัดภาคใต้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจังหวัดนครศรีธรรมราช ที่เชื่อว่าบรรพบุรุษอันได้แก่ ปู่ย่า ตายาย และญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว หากทำความชั่วจะตกนรกกลายเป็นเปรต ต้องทนทุกข์ทรมานในอเวจี ต้องอาศัยผลบุญที่ลูกหลานอุทิศส่วนกุศลให้แต่ละปีมายังชีพ ดังนั้นในวันแรม ๑ ค่ำเดือนสิบ คนบาปทั้งหลายที่เรียกว่าเปรตจึงถูกปล่อยตัวกลับมายังโลกมนุษย์เพื่อมาขอส่วนบุญจากลูกหลานญาติพี่น้อง และจะกลับไปนรกในวันแรม ๑๕ ค่ำ เดือนสิบ ในโอกาสนี้เองลูกหลานและผู้ยังมีชีวิตอยู่จึงนำอาหารไปทำบุญที่วัด เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว เป็นการแสดงความกตัญญูกตเวท
สาระ
ประเพณีสารทเดือนสิบมีสาระสำคัญหลายประการ ดังนี้
๑. เป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว ที่ได้อบรมเลี้ยงดูลูกหลาน เพื่อตอบแทนบุญคุณ ลูกหลานจึงทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้
๒. เป็นโอกาสได้รวมญาติที่อยู่ห่างไกล ได้พบปะทำบุญร่วมกันสร้างความรักใคร่สนิทสนมในหมู่ญาติ
๓. เป็นการทำบุญในโอกาสที่ได้รับผลผลิตทางการเกษตรที่เริ่มออกผลเพราะเชื่อว่าเป็นสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว
๔. ฤดูฝนในภาคใต้จะเริ่มขึ้นในปลายเดือนสิบ พระภิกษุสงฆ์บิณฑบาตยากลำบาก ชาวบ้านจึงจัดเสบียงอาหารนำไปถวายพระในรูปของหฺมฺรับ ให้ทางวัดได้เก็บรักษาเป็นเสบียงสำหรับพระภิกษุสงฆ์ในฤดูฝน
ที่มา: สมพงษ์  เกรียงไกรเพชร.  2540, 42
สารทเดือนสิบ 
                       พีธีกรรม เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือนสิบ ซึ่งถือว่าเป็นวันที่พญายมปล่อยตัวผู้ล่วงลับไปแล้วที่ (เรียกว่า "เปรต") มาจากนรก สำหรับวันนี้บางคนก็ประกอบพิธี บางคนจะประกอบพิธีในวันแรม 13 ค่ำ 14 ค่ำ และ 15 ค่ำ โดยการนำอาหารไปทำบุญที่วัดเรียกว่า "หมรับเล็ก" เป็นการต้อนรับบรรพบุรุษ และญาติมิตรที่ขึ้นมาจากนรกเท่านั้น 
                การเตรียมการสำหรับประเพณีสารทเดือนสิบ เริ่มขึ้นในวันแรม 13 ค่ำ เดือน 10 วันนี้ เรียกว่า "วันจ่าย" เป็นวันที่เตรียมหมรับ และจัดหมรับ คือการเตรียมสิ่งของต่าง ๆ ที่ใช้ในการจัดหมรับ เมื่อได้ของตามที่ต้องการแล้วก็เตรียมจัดหมรับ การจัดหมรับแต่เดิมใช้กระบุงเตี้ย ๆ ขนาดเล็กหรือใหญ่ก็ได้ แต่ภายหลังใช้ภาชนะได้หลายชนิด เช่น กระจาด ถาด กะละมัง ถัง หรือ กระเชอ สำหรับสิ่ง 
                การจัดหมรับ ชั้นแรกใส่ข้าวสารรองกระบุงแล้วใส่หอม กระเทียม พริก เกลือ กะปิ น้ำตาล และเครื่องปรุงอาคาว หวาน 
ที่เก็บไว้ได้นาน ๆ เช่น มะพร้าว ฟัก มัน กล้วย (ที่ยังไม่สุก) อ้อย ข้าวโพด ข่า ตะไคร้ ขมิ้น และพืชผักอื่น ๆ นอกจากนั้นก็ใส่ของใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น น้ำมันมะพร้าว น้ำมันก๊าดไต้ ไม้ขีดไฟ หม้อ กะทะ ถ้วยชาม เข็ม ด้าย เครื่องเชี่ยนหมาก ได้แก่ หมาก พลู ปูน กานพลู การบูน พิมเสน สีเสียด ยาเส้น บุหรี่ ยาสามัญประจำบ้าน ธูปเทียน แล้วใส่สิ่งอันเป็นหัวใจอันสำคัญของหมรับคือ ขนม 5 อย่างมี ดังนี้ 
ขนมลา เป็นสัญลักษณ์แทนแพรพรรณเครื่องนุ่งห่ม 
                        ขนมพอง เป็นสัญลักษณ์แทนแพสำหรับบุรพชน ใช้ลอ่งข้ามห้วงมหรรณพ 
                       ขนมบ้า เป็นสัญลักษณ์แทนสะบ้า สำหรับบุรพชนจะได้ใช้เล่นสะบ้า ในวัน สงกรานต์ 
                       ขนมกง (ขนมไข่ปลา) เป็นสัญลักษณ์แทนเครื่องประดับ 
                       ขนมดีซำ เป็นสัญลักษณ์แทนเงินเบี้ย สำหรับใช้สอย
     
การจัดอาหารหวานคาวและผลไม้ต่างๆ เพื่อนำไปวางที่ร้านเปรต

ความเป็นมาของประเพณีสารทเดือนสิบ
ประเพณีสารทเดือนสิบสันนิษฐานว่าเป็นประเพณีที่รับอิทธิพลมาจากวัฒธรรมอินเดียกับประเพณอื่นอีกหลายประเพณีที่ชาวนครฯรับมา ทั้งนี้เพราะว่าชาวนครติดต่อกับอินเดียมานาน ก่อนดินแดนส่วนอื่น ๆ ของประเทศไทย วัฒธรรมและอารยธรรมของอินเดียส่วนใหญ่จึงถ่ายทอดมายังเมืองนครเป็นแห่งแรกแล้วค่อย ๆ ถ่ายทอดไปยังเมืองอื่น ๆ
และภูมิภาคอื่น ๆ ในประเทศไทย
ประเพณีสารทเดือนสิบเป็นประเพณีที่วิวัฒนาการมาจาก ประเพณี " เปตพลี " ของศาสนาพราหมณ์ กล่าวคือในศาสนาพราหมณ์มีประเพณีอยู่ประเพณีหนึ่ง เรียกว่า " เปตพลี " เป็นประเพณีที่จัดทำขึ้นเพื่อทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ตาย ประเพณีนี้ปฏิบัติต่อเนื่องกันมาในอินเดียก่อนสมัยพุทธกาล
คำว่า " แปต " เป็นภาษาบาลีตรงกับคำว่า " เปรต " ในภาษาสันสกฤตแปลว่า " ผู้ไปก่อน " หมายความถึงบรรพบุรุษที่ตายไปแล้ว
ของใคร ๆ ทุกคน ถ้าเป็นคนดี พญายมซึ่งเป็นเจ้าแห่งความตายจะพาวิญญาณไปสู่แดนอันเป็นบรมสุขไม่มาเกิดอีกแดนนี้อาจจะอยู่ทิศใต้แคนเดียวกับยมโลก ตามความเชื่ออันเป็นความเชื่อดังเดิมที่สุดของพราหมณ์ซึ่งมีปรากฏในพระเวท อันเป็นคัมภีร์ของศาสนาพราหมณ์ ต่อมาพราหมณ์ได้เกิดความเชื่อชิ้นใหม่ คือความเชื่อ เกี่ยวกับนรก ดังนั้นชาวอินเดียจึงเกรงว่าบรรพบุรุษที่ตายอาจจะไปตกนรกก็ได้หากคนไม่ช่วย วิธีการช่วยไม่ให้คนตกนรกก็คือ การทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้เรียกว่าพิธีศราทธ์ ซึ่งกำหนดวิธีการทำบุญไว้หลายวิธี หากลูกหลานญาติมิตรไม่ทำบุณอุทิศส่วนกุศลไปให้บรรพบุรุที่ตายไปเป็นเปรตจะได้รับความอดยากมาก ดังนั้น การทำบุญทั้งปวงที่ทำเพื่ออุทิศผลไปให้แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว ซึ่งเรียกว่าทำบุญทักษิณานุปทานหรือเปตพลี นั้นล้วนเป็นความเชื่อที่มีเค้ามาจากเรื่องเปรตของพราหมณ์ทั้งสิ้น
      เปรมจิต ชนะวงค์ ได้กล่าวถึงประเพณีทำบุญเดือนสิบในจังหวัดนครศรีธรรมราชว่า ประเพณีสารทเดือนสิบเป็นประเพณีสำคัญคู่บ้านคู่เมืองนครศรีธรรมราชมาช้านาน เมื่อกล่าถึง "งานเดือนสิบ" แล้วใคร ๆ ก็คิดถึงเมืองนคร  ชาวนครศรีธรรมราชที่จากภูมิลำเนาไปอยู่ไกลบ้าน ไกลเมือง เมื่อถึง "เดือนสิบ" ก็จะเริ่มกลับบ้านเกิดเมืองนอนเพื่อร่วมงานประเพณีสารทเดือนสิบโดยทั่วหน้ากัน
พิธีสารทนี้ ในภาคอื่นๆ เช่น ภาคอีสาน กำหนดทำกันในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ ทางจังหวัดสงขลากำหนดทำบุญ ๒ วัน คือ เริ่มแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๐   และวันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ เป็นวันส่ง ถือกันว่า ในวันแรม ๑ ค่ำ พญายมปล่อยเปรตมารับส่วนบุญและเรียกกลับในวันแรม ๑๕ ค่ำ     ส่วนในสมัยกรุงสุโขทัยนั้น กระทำกันในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐
 

ประเพณีสารทเดือนสิบมีขึ้นด้วยเหตุผลหลายประการ ดังนี้

1. เนื่องมาจากความเชื่อทางพุทธศาสนา เชื่อว่าในปลายเดือนสิบปูย่า ตายาย ญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว และคนบาปทั้งหลายที่ตกนรก จะถูกปล่อยจากนรกให้ขึ้นมาพบญาติพี่น้องในวันแรม 1 ค่ำ เดือนสิบ และให้กลับไปนรกดังเดิมในวันแรม 15 ค่ำ เดือนสิบ ดังนี้ผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ก็พยายามหาอาหารต่าง ๆ ไปทำบุญที่วัดเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ที่ล่วงลับที่ขึ้นมาจากนรก
2. เป็นการทำบุญเนื่องจากความชื่นชมยินดีในโอกาศที่ได้รับผลิตผลทางการเกษตร
3. เพื่อนำพืชผลต่าง ๆ ที่ได้รับจากการเกษตรไปทำบุญสำหรับพระภิกษุจะได้เก็บไว้เป็นเสบียงในฤดูฝน ซึ่งจะเริ่มในตอนปลายเดือนสิบ
4. เพื่อเป็นการแสดงความรื่นเริงและสนุกสนานประจำปีร่วมกันเพราะความภาคภูมิใจ ความสุขใจ และความอิ่มใจ ที่ได้ปฏิบัติการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้บรรพบุรุษ ญาติมิตรที่ล่วงลับไปแล้ว 
       ปรีชา นุ่นสุข กล่าวถึงประเพณีทำบุญเดือนสิบในเมืองนครศรีธรรมราชว่า เมื่อเอ่ยถึง " งานเดือนสิบ " แม้ชาวใต้จะจัดกันทุกบ้านทุกเมือง แต่ใคร ๆ ก็มักจะนึกถึงเมืองนครก่อน ทั้งนี้เพราะงานเดือนสิบเป็นงานสารทประจำปีเป็นสัญลักษณ์ของเมืองนครเมื่อใกล้ถึงเทศกาลเดือนสิบประชาชนทั่วทุกภาค เมื่อใกล้จะถึงงานเทศกาลเดือนสิบประชาชนทั่วทุกภาคของประเทศไทยต่างก็ตั้งตาคอยพร้อมเตรียมตัวที่จะหาโอกาสไปร่วมงานบุญนี้
ชาวเมืองนครส่วนใหญ่มักมีใจผูกพันอยู่กับประเพณีสารทเดือนสิบด้วยความตื่นเต้นทั้งคนหนุ่ม คนแก่และเด็ก หากชาวเมืองนครคนใดไปอยู่ไกลบ้านไกลเมือง เมื่อใกล้จะถึงเทศกาลสารทเดือนสิบมักรีบเตรียมตัวกลับบ้านเกิดเมืองนครของตน เพื่อมาร่วมในเทศกาลสารทเดือนสิบด้วยสามัญสำนึกฝังแน่นอยู่ในหัวใจ ไม่มีเหตุผลใดหรือความบังเอิญอื่นใดบังคับให้กลับ แค่เป็นไปด้วยความสมัครใจจนเป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาด้วยเหตุผลที่กล่าวมานี้ ประเพณีสารทเดือนสิบเมืองนครจึงเป็นประเพณีที่สำคัญควบคู่กับเมืองนคร จนกล่าวได้ว่าเป็นมรดกทางวัฒนธรรม คู่บ้านคู่เมืองนคร
กล่าวโดยสรุป ประเพณีทำบุญเดือนสิบเป็นประเพณีเนื่องในพุทธศาสนาที่สำคัญอย่างหนึ่งของชาวภาคใต้ โดยเฉพาะชาวอำเภอเมืองนครศรีธรรมราชถือว่าเป็นประเพณีที่สำคัญที่สุดในบรรดาประเพณีทั้งหมดในรอบปี        ประเพณีทำบุญเดือนสิบยังมีวัฒนธรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับประเพณีอื่น ดังนั้นการศึกษาประเพณีทำบุญเดือนสิบของชาวอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จึงช่วยให้เห็นวิถีชีวิตวามเป็นอยู่ของชาวอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช วัฒนธรรมของชาวไทยภาคใต้โดยส่วนรวมอีกด้วย

  
                                            
การตั้งเปรต      
 
 
  
การชิงเปรต

เอกสารอ้างอิง :



เข้าชม : 505


บทความทั่วไป 5 อันดับล่าสุด

      สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร 24 / ก.ค. / 2560
      แนะนำวิธีการปลูกดอกดาวเรือง 29 / มิ.ย. / 2560
      ประวัติกีฬาแห่งชาติ 29 / มิ.ย. / 2560
      พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ หยุดราชการ26 ต.ค.60 4 / พ.ค. / 2560
      วันแรงงานแห่งชาติ 1 พฤษภาคม วันแรงงานสากล 23 / เม.ย. / 2560


 
 
ศกร.ตำบลบ้านนา 
หมู่ที่ 6 (บ้านท่าชะมวง) ตำบลบ้านนา อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา 90130 โทรศัพท์ 08-9467-9027
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05