ตำบลเกาะสะบ้า
แบ่งเขตการปกครอง เป็น 8 หมู่บ้าน |
ประกอบด้วยหมู่บ้าน หมู่1 บ้านหัวสวน , หมู่2 บ้านบ่อน้ำส้ม , หมู่3 บ้านเกาะสะบ้า , หมู่4 บ้านกรงอิตำ , หมู่5 บ้านโคกพยอม , หมู่6 บ้านพรุตู , หมู่7 บ้านควน ,หมู่8 บ้านวังเลียบ |
จำนวนประชากรใน ตำบลเกาะสะบ้า |
|
จำนวนหลังคาเรือน : |
1,265 |
หลังคาเรือน |
|
|
|
จำนวนประชากร : |
5,772 |
คน |
|
จำนวนผู้สูงอายุ : |
741 |
คน |
|
จำนวนเด็กแรกเกิด ถึง 6 ปี : |
561 |
คน |
|
จำนวนผู้สูงอายุ ที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง : |
44 |
คน |
|
จำนวนสตรีตั้งครรภ์ : |
90 |
คน |
|
จำนวนผู้สูงอายุ ที่ช่วยตนเองไม่ได้ : |
2 |
คน |
|
จำนวนสตรีอายุ 35 ปี ขึ้นไป : |
1,277 |
คน |
|
จำนวนผู้พิการ : |
110 |
คน |
|
ประวัติความเป็นมา
ตำบลเกาะสะบ้าเป็นตำบลหนึ่งใน 7 ตำบลของอำเภอเทพา จังหวัดสงขลา ประชากรตำบลเกาะสะบ้าเป็นคนพื้นเพเดิมที่ได้มีการปลูกยางพาราพื้นเมืองกันแบบธรรมชาติ มีการทำนาหาของป่า เดิมเป็นพื้นที่ที่มีป่าไม้อุดมสมบูรณ์มาก ได้มีการตัดไม้ทำลายป่า ปลูกพืชไร่ ยางพารา แต่ในช่วงนั้นผลผลิตได้ไม่ดี ในปัจจุบันเมื่อกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางได้เข้าไปสงเคราะห์จึงได้ปลูกแทนด้วยยางพันธุ์ดีกันเกือบจะเต็มพื้นที่ ผลผลิตจากยางพารานับว่าสูงพอสมควร ประชากรมีการตื่นตัวในการประกอบอาชีพทางด้านการเกษตร ปัจจุบันเริ่มสนใจปลูกผลไม้กันมากขึ้น ทำในลักษณะไร่นาสวนผสม
พื้นที่
ตำบลเกาะสะบ้าตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของอำเภอเทพา และอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัด พื้นที่ประมาณ 130 ตารางกิโลเมตร หรือ 81,250 ไร่ เป็นที่ราบเชิงเขาในตอนกลางของตำบล
เขตพื้นที่
ทิศเหนือ ติดกับ อบต.สะกอม อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา และ อ่าวไทย
ทิศใต้ ติดกับ อบต.เทพา อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา และ อ่าวไทย
ทิศตะวันออก ติดกับ อบต.เทพา , อบต.วังใหญ่ อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
ทิศตะวันตก ติดกับ อบต.วังใหญ่ , อบต.สะกอม อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
อาชีพ
อาชีพหลัก - ทำสวน/ทำไร่
อาชีพเสริม - ค้าขาย
สาธารณูปโภค
จำนวนครัวเรือนที่มีไฟฟ้าใช้ในเขต อบต. 1,127 ครัวเรือน จำนวนบ้านที่มีโทรศัพท์ 250 หลังคาเรือน คิดเป็นร้อยละ 22.00 ของจำนวนหลังคาเรือน
การเดินทาง
1. ทางรถไฟ อยู่ระหว่างสถานีเทพา กับสถานีแมงลัก
2. ทางรถยนต์สายสถานีบำรุงพันธุ์สัตว์เทพา ระยะทาง 5 กิโลเมตร
3. ทางรถยนต์สายเทพา - เกาะสะบ้า ระยะทาง 10 กิโลเมตร
สถานที่
1. ควนลงโบสถ์ (วัดนิคมประสาท)
2. แหล่งท่องเที่ยวพรุกระจูด
สินค้าและแหล่งเรียนรู้ที่น่าสนใจและเข้ามาเรียนรู้
1. วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเครื่องพริกแกง
2.ศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนกลุ่มสานเสื่อกระจูด
3.ศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนกลุ่มขนมไทย
4.ศูนย์เรียนรู้ภูมิปัญญา(แกะสลักหนังสัตว์)
5.ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านโคกพยอม
6.กศน.ตำบลเกาะสะบ้า
แนวทางการดำเนินงานของ กศน. ตำบล
กศน.ตำบลจะมีการปรับบทบาทภารกิจให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลและบริบทของพื้นที่ ตลอดจนรองรับการเป็นประชาคมอาเซียนมากขึ้น ภายใต้การขับเคลื่อนการดำเนินงาน 4 ศูนย์การเรียนรู้ ได้แก่
1) ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่ เป็นศูนย์กลางการส่งเสริม จัดกระบวนการการเรียนรู้ และหน่วยประสานงานแหล่งเรียนรู้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอ เพียงภายในชุมชน ดำเนินงานร่วมกับกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาจักร (กอ.รมน.)
2) ศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยตำบล (ศส.ปชต.) เพื่อสร้างการเรียรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข โดยเฉพาะสิทธิและหน้าที่
3) ศูนย์ดิจิทัลชุมชน ซึ่งบริหารจัดการฐานข้อมูลที่จำเป็นสำหรับ กศน. และชุมชนเพื่อให้มีความรู้และรับรู้ที่เท่าทันปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกยุคดิจิทัล
4) ศูนย์การศึกษาตลอดชีวิตชุมชน เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาในระบบการศึกษา นอกระบบการศึกษา และการศึกษาตามอัธยาศัย ให้มีคุณภาพที่สอดคล้องกับนโยบายทางการศึกษา โดยยึดชุมชนเป็นฐานในการดำเนินงาน โดย กศน.ตำบลมีบทบาทเป็นผู้ประสานงานและอำนวยความสะดวก
กศน.ตำบลเกาะสะบ้าเปิดเป็นกศน.ตำบลอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2553
ทำการเปิดป้ายศูนย์ศูนย์เรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ประจำตำบล วันที่ 13 มิถุนายน 2559 ประธานพิธีโดยนายบำเหน็จ บีนหลีม นายอำเภอเทพา