ประวัติความเป็นมา
ในปี พ.ศ. 2517 โดยนายศุภโชค พาณิชวิทย์ ผู้ว้าราชการจัวหวัดสตูล ได้รวบรวมพื้นที่สาธารณประโยชน์ พื้นที่อำเภอละงู และอำเภอนาหว้า จังหวัดสตูล จำนวน 7,200 ไร่ เพือดำเนินการจัดตั้งสหกรณ์นิคมการเลี้ยงสัตว์ขึ้น แต่ต่อมาได้พิจารณาเห็นว่าพื้นที่ดังกล่าวเหมาะสมที่จัดตั้งเป็นสถานีบำรุงพันธุ์สัตว์ จึงได้ขออนุมัติกรมปศุสัตว์ เพื่อจัดตั้งสถานีบำรุงพันธุ์สัตว์ขึ้น ในปี พ.ศ. 2518 ในบริเวณที่เรียกว่า ทุ่งแหลมแด กรมปศุสัตว์จึงได้ตั้งงบผประมาณดำเนินการ ในปี พ.ศ. 2519 และสำนักงบประมาณได้อนุมัติงบประมาณในปี พ.ศ. 2520 แต่เมื่อได้รับงบประมาณแล้ว ไม่สามารถดำเนินการได้ในพื้นที่ดังกล่าวได้ เนื่องจากเพมื่อเข้าไปสำรวจพื้นที่จริงพบว่า พื้นที่ถุกบุกรุกโดยราษฏรเข้าไปทำประโยชน์ และหน่วยงานกระทรวงศึกษาธิการ การะทรวงสาธารณสุข เข้าไปสร้างโรงเรือน สถานีอนามัยในพื้นที่ และในขณะนั้นมีผู้ก่อการร้ายในภาคใต้ โดยเฉพาะจังหวัดสตูลมีความรุนแรงมากทั้งเป็นสถานีที่ชุมนุมพล และมีค่ายฝึกอาวุธในพื้นที่ที่จัดตั้งสถานีบำรุงพันธุ์สัตว์
กรมปศุสัตว์ จึงได้มอบหมายให้ นายนิกรม จันทโรชวงศ์ ตำแหน่งสัตวแพทย์ 4 เป็นผู้ประสานงานกับจังหวัดสงขลา เพื่อหาสถานีที่ก่อสร้างใหม่ โดยได้รับความร่วมมือกับรองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลในขณะนั้น คือ ท่านรองผู้ว่า เจริญจิตต์ ณ สงขลา ได้ให้พื้นที่สาธารณประโยชน์ อำเภอเทพา จังหวัดสงขลาบริเวร ทุ่งสะพานจาม และ ทุ่งเล มีพื้นที่รวมกัน 4,800 ไร่เศษ ให้จัดตั้งสถานีบำรุงพันธุ์สัตว์เทพาขึ้นและเปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2520
หน้าที่ความรับผิดชอบ
1. ดำเนินการทดสอบพันธุ์สัตว์ เพื่อประเมินพันธุกรรมสัตว์ ต้นตระกูลและกระจายพันธุ์หลัก และพันธุ์ขยายสู่เกษตรกร เพื่อปรับปรุงพันธุ์สัตว์ของประเทศ ได้แก่โคเนื้อพื้นเมือง ภาคใต้ สุกร แพะ แกะ เป็ด และไก่
2. ศึกษา วิจัย และรวบรวมข้อมูลวิชาการต่าง ๆ ตามที่รับมอบหมายจากศูนย์วิจัยและบำรงพันธุ์สัตว์
3. ร่วมกับศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์ในการติดตามตรวจสอบกำกับดูแล ให้คำปรึกษาแนะนำ และแก้ไขปัญหาให้แก่ศูนย์บำรุงพันธุ์ในอุปการะของกรมปศุสัตว์และเป็นแหล่งข้อมูลเบื้องต้น ในการรับรองพันธุ์สัตว์ตามกฎหมายว่าด้วยการบำรุงพันธุ์สัตว์ดำเนินการอนุรักษ์และรวบรวม พันธุกรรมสัตว์ พื้นเมือง สัตว์หายาก และสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ทั้งในและนอกถิ่นกำเนิดเดิม
การคมนาคม
ใช้เส้นทางหลวงแผ่นดินสาย อ.จะนะ - ปัตตานี ตรงกิโลเมตรที่ 87 ห่างจากถนนหลวง 1.5 กิโลเมตร แผนที่ สภาพพื้นที่โดยทั่วไป ลักษณะพื้นที่โดยทั่วไป เป็นที่ราบลุ่มดินทรายชายทะเล ซึ่งอยู่ห่างจากทะเลด้านฝั่งอ่าวไทย 3 กิโลเมตร สภาพดินเป็นดินทรายจัด จัดอยู่ในกลุ่มชุดดินบ้านทอน ซึ่งจากผลการวิเคราะห์ดินที่ยังไม่ได้ปรับปรุงมี pH ระหว่าง 5.1 และดินที่ได้ปรับปรุงแล้วใช้เป็นแปลงพืชอาหารสัตว์ มี pH ระหว่าง 6.1 สภาพแหล่งน้ำของสถานีวิจัยทดสอบพันธุ์สัตว์เทพา มีแหล่งน้ำธรรมชาติอยู่ในพื้นที่จำนวน 2 แหล่ง ซึ่งได้ดำเนินการปรับปรุงขุดลอกเป็นแหล่งน้ำเพื่อจะนำมาใช้กับแปลงพืชอาหารสัตว์จากผลการ วิเคราะห์น้ำทั้ง 2 แหล่ง มี pH ระหว่าง 3.2 ส่วนน้ำจากบ่อบาดาลซึ่งใช้บริโภคและเลี้ยงสัตว์มี pHระหว่าง6.7กล่าวโดยสรุปแล้วสภาพพื้นที่ของสถานีวิจัยทดสอบพันธุ์สัตว์เทพาเป็นดินทรายจัดดิน มีคุณภาพต่ำมากจำเป็นต้องปรับปรุงดินซึ่งต้องใช้งบประมาณเป็นจำนวนมาก ประกอบกับแหล่งน้ำ ธรรมชาติทั้ง2แหล่งที่จะนำไปใช้กับแปลงพืชอาหารสัตว์มีความเป็นกรดสูงจำเป็นต้องปรับสภาพ เสียก่อน สภาพภูมิอากาศ เนื่องจากพื้นที่สถานีวิจัยทดสอบพันธุ์สัตว์เทพา ได้รับอิทธิพลจากมรสุมฝั่งทะเลตะวันตก ระหว่างเดือน พฤษภาคม - มิถุนายน มีฝนตกเล็กน้อย ระหว่างเดือน กรกฎาคม - สิงหาคม ฝนทิ้งช่วง และฝนจะเริ่มตกประมาณเดือนกันยายน-ธันวาคม ซึ่งเป็นฝนที่ได้รับอิทธิพลจากมรสุม ฝั่งทะเลตะวันออก ส่วนระหว่างเดือน มกราคม - เมษายน จะเข้าสู่ฤดูแล้ง
ราคาจำหน่ายกิโลกรัมละ 120 บาท บวกค่าสายพันธุ์ตามระดับสายเลือดดังนี้
ระดับสายเลือดไม่เกิน 50 % บวกค่าสายเลือด 500 บาท
ระดับสายเลือด 50 % แต่ไม่เกิน75 % ค่าสายเลือด 750 บาท
ระดับสายเลือด 75% ขึ้นไป บวกค่าสายเลือด 1,000 บาท
ราคาจำหน่าคัดออก กิโลกรัมละ 120 บาท
การศึกษาดูงานจากนักศึกษาสถาบันต่างๆ
เข้าชม : 1136
|