[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 
 

แหล่งเรียนรู้และภาคีเครือข่าย

-  วัดพระสามองค์  หรือ วัดเทพาไพโรจน์

พระพุทธรูปสามองค์ ประดิษฐานอยู่ ณ วัดเทพาไพโรจน์  ม.๔ ต.เทพา  อ.เทพา  จ.สงขลา  เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่เคารพสักการะของพุทธศาสนิกชนมาตั้งแต่โบราณกาล  สร้างด้วยศิลาทรายแดง  นั่งเรียงกันในศาลา ฝาผนังกั้นทึบทั้งสี่ด้าน  ทางเข้าออกเป็นประตูไม้  ชาวบ้านเรียกว่า พระสามองค์เล่ากันว่าเมื่อครั้งข้าหลวงนายอ่อน ปกครองอำเภอเทพานั้น  ได้สร้างศาลาเป็นที่พักอยู่หน้าเมืองเพื่อไว้เป็นที่พักก่อนเข้าเมือง และที่ศาลานี้มีพระรูปหนึ่งชื่อ พระนวล”  ซึ่งเป็นพระธุดงค์ 

          ต่อมาราว พ.ศ. ๒๔๗๔  ชาวไทยมุสลิมซึ่งมีอาชีพทำประมงได้มาตั้งบ้านสร้างเรือนที่บริเวณใกล้ ๆ กับพระสามองค์  แต่ก็ต้องย้ายออกไปอย่างไม่มีสาเหตุ  หลังจากนั้นชาวไทยพุทธซึ่งเห็นพุทธอภินิหารก็พากันสักการะ  และช่วยกันสร้างศาลาขึ้นมาใหม่ ด้วยไม้หลังคามุงจาก และมีพระมาจำพรรษาเช่นเดิม  ต่อมาพระเหล่านั้นไม่สามารถจำพรรษาอยู่ได้โดยไม่ทราบสาเหตุ  จึงต้องกลายเป็นวัดร้างอีกครั้งหนึ่ง  ศาลาที่สร้างก็ผุพังลงไปตามกาลเวลาเหลือไว้แต่พระทั้งสามองค์

          ปี พ.ศ. ๒๔๙๕   มีคนจีนได้มาบนบานให้ลูกชายที่หายไปได้กลับคืนมา  จะสร้างศาลาหลังใหม่ให้  และเมื่อได้สมปรารถนาแล้ว ชาวจีนนั้นก็สร้างศาลาหลังใหม่ด้วยไม้หลุมพอ  หลังคาสังกะสี

          ปี พ.ศ. ๒๕๐๔  เกิดพายุใหญ่พัดศาลานั้นพังลงมา  โดยปลายเสาทั้ง  ๔  ต้น  ล้มลงมาทุบองค์พระทั้งสามจนแตกละเอียด  โดยก่อนเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว  ชาวบ้านได้ฝันว่าพระท่านจะไม่อยู่แล้ว  เพราะชาวบ้านไม่เอาใจใส่

          ต่อมา พ.ศ. ๒๕๐๕  นายลอย  เทพไชย  ศึกษาธิการอำเภอเทพา  ได้ชักชวนชาวบ้านบริจาคเงินทอง เพื่อบูรณะพระทั้งสามองค์ใหม่  โดยนำเศษผงองค์พระเดิมที่แตกละเอียดมาบรรจุลงในพระที่สร้างขึ้นใหม่  ซึ่งมีโครงสร้างเป็นเหล็ก และทำขึ้นด้วยคอนกรีต   โดยการปั้นของนายอุดม  มัชฌิมาภิโร  และทาด้วยสีโมเสด  มองดูเหมือนพระเนื้อสามกษัตริย์  พร้อมทั้งสร้างศาลาเป็นที่ประดิษฐานขึ้นอีกครั้ง

ด้วยความศักดิ์สิทธิ์ของพระสามองค์นั้นมีมาก  โดยเฉพาะชาวจีนมีความเชื่อถือมาก  โดยได้มีการบวงสรวงสักการะเป็นประจำทุกปี  ต่อมานายบังยัง แซ่แต้  ได้บริจาคเงินบูรณะตกแต่งใหม่อีกครั้ง  และในสมัยนายจบ  พลฤทธิ์  เป็นศึกษาธิการอำเภอเทพา  ท่านได้สร้าง พระจีนพระสำนักวัดสังกะจายอีกรูปหนึ่ง  ประดิษฐานในวิหารเดียวกัน

 พระสามองค์จึงเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองของเทพามาจวบถึงทุกวันนี้   ในเดือนเมษายนของทุกปี ประชาชนชาวอำเภอเทพา และอำเภอใกล้เคียงจะร่วมกันสรงน้ำ และเปลี่ยนผ้าให้พระสามองค์เป็นประจำ จนกลายเป็นประเพณี ซึ่งเรียกว่า ประเพณีเปลี่ยนผ้าพระสามองค์ ”  ซึ่งจะจัดขึ้นใน  วันที่  ๙ เมษายน ของทุกปี

 เมื่อเดือนเมษายน๒๕๕๓  มีการทำพิธีอัญเชิญหลวงพ่อพระสามองค์  ขึ้นประดิษฐาน ณ วิหารหลังใหม่  และปัจจุบันกำลังปรับปรุงสภาพแวดล้อมรอบวิหาร  โดยบูรณะวิหารหลังเก่า เป็นศูนย์พิพิธภัณฑ์เรียนรู้เชิงประวัติศาสตร์  ปรับปรุงศาลาอเนกประสงค์สำหรับประกอบพิธีกรรมทางศาสนา  สถานที่ประดิษฐานพระบรมรูปรัชกาลที่  ๕   และศาลาริมแม่น้ำเทพา

-   หาดสร้อยสวรรค์

หาดสร้อยสวรรค์เป็นหาดทรายมีลักษณะทอดเป็นแนวยาวบริเวณชายฝั่งทะเลอ่าวไทย ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ ๔ ตำบลเทพา  ห่างจากที่ว่าการอำเภอเทพา  ประมาณ  ๑๐  กิโลเมตร  บริเวณชายหาดมีจุดพักริมทาง ซึ่งกรมทางหลวงได้จัดเป็นสวนหย่อมและมีร้านจำหน่ายอาหารไว้บริการนักท่องเที่ยว หาดสร้อยสวรรค์ดังกล่าวอยู่ติดถนนจะนะ – หนองจิก 

-    แพล่องแม่น้ำเทพา


          เป็นการล่องแพแม่น้ำเทพาโดยใช้เรือยนต์ระยะทางประมาณ ๖ กิโลเมตร  จากท่าน้ำบ้านตลาดแขก เขตเทศบาลตำบลเทพา จนถึงปากน้ำเทพา  บรรยากาศชื่นชมธรรมชาติสองฝั่งแม่น้ำ เรียนรู้วิถีชีวิตของชาวบ้าน

รายชื่อแหล่งเรียนรู้และภาคีเครือข่าย

ชื่อแหล่งเรียนรู้

ประเภทแหล่งเรียนรู้

ที่ตั้ง

๑.วัดพิกุลบุญญาราม

ศาสนสถาน

เขตเทศบาล หมู่ ๑ ตำบลเทพา

๒.วัดพระสามองค์

ศาสนาสถาน

บ้านนาเกาะ หมู่. ๔ ตำบลเทพา

๓.วัดสุริยาราม

ศาสนสถาน

บ้านพรุหมาก หมู่ ๓ ตำบลเทพา

๔.โรงเรียนบ้านเทพา

โรงเรียน

เขตเทศบาล หมู่ ๑ ตำบลเทพา

๕.โรงเรียนบ้านเทพา

โรงเรียน

เขตเทศบาล หมู่ ๑ตำบลเทพา

๖.มัสยิดดารุสสลาม

ศาสนสถาน

ชุมชนตลาดแขก  หมู่ ๑ตำบลเทพา

๗.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

โรงเรียน

เขตเทศบาล หมู่ ๑ ตำบลเทพา

๘.โรงเรียนบ้านป่ากอ

โรงเรียน

บ้านป่ากอ หมู่ ๕ ตำบลเทพา

ชื่อแหล่งเรียนรู้

ประเภทแหล่งเรียนรู้

ที่ตั้ง

๙.โรงเรียนบ้านป่าโอน

โรงเรียน

บ้านป่าโอน หมู่ ๖ ตำบลเทพา

๑๐.โรงเรียนวัดเทพาไพโรจน์

โรงเรียน

บ้านนาเกาะ  หมู่  ๔ ตำบลเทพา

๑๑.โรงเรียนบ้านพระพุทธ

โรงเรียน

บ้านพระพุทธ หมู่ ๒ ตำบลเทพา

๑๒.เทศบาลตำบลเทพา

อาคารสถานที่

ถนนประธานสุขา หมู่ ๑ ตำบลเทพา

๑๓.องค์การบริหารส่วนตำบลเทพา

อาคารสถานที่

บ้านท่าพรุ หมู่ ๑ ตำบลเทพา

๑๔.ที่ว่าการอำเภอเทพา

อาคารสถานที่

เขตเทศบาล หมู่ ๑ ตำบลเทพา

๑๕.ห้องสมุดประชาชนเทพา

อาคารสถานที่

เขตเทศบาล หมู่ ๑ ตำบลเทพา

๑๖.สหกรณ์การเกษตร

อาคารสถานที่

บ้านพรุหมาก หมู่ ๓ ตำบลเทพา

๑๗.สำนักงานที่ดินอำเภอเทพา

อาคารสถานที่

ถนนประธานสุขา หมู่ ๑ ตำบลเทพา

๑๘.สำนักงานเกษตรอำเภอเทพา

อาคารสถานที่

ถนนประธานสุขา หมู่ ๑ ตำบลเทพา

๑๙.สถานีรถไฟ

อาคารสถานที่

เขตเทศบาล หมู่ ๑ ตำบลเทพา

๒๐.สถานีตำรวจภูธร

อาคารสถานที่

เขตเทศบาล หมู่ ๑ ตำบลเทพา

 

ภูมิปัญญาท้องถิ่น

ชื่อภูมิปัญญาท้องถิ่น

ความสามารถ/ประสบการณ์

ที่อยู่

๑.นางสุนีย์  หัดขะเจ

ทำกะปิเทพา น้ำบูดู

๓๒ ม. ๒ต.เทพา อ.เทพา จ. สงขลา

๒.นางสาวนูรีย๊ะ  มูณี

ปักผ้าคลุมผม

๗๑ ม.๓ ต.เทพา อ.เทพา จ.สงขลา

๓.นางสุภาพ   ข้อมงคลอุดม

ทำปลาเค็ม  ทำกะปิ

๑๒๔  ม.๗ ต.เทพา อ.เทพา จ.สงขลา

๔.นายหร่อหยา  กาเส็ง

จักสานฝาขัดแตะ

๑๒๖ ม.๓ ต.เทพา อ.เทพา จ.สงขลา

๕.นายดาโห๊ะ  หัดขะเจ

ยาสมุนไพร

๗๓ ม.๓ ต.เทพา อ.เทพา  จ.สงขลา

๖.นายยูโซ๊ะ เพ็งเล๊าะ

การต่อกระดูก

๓๗  ม. ๓ ต.เทพา อ.เทพา  จ.สงขลา

๗.นายหวันหีม   หีมยี

การเลี้ยงปลา

๑๙๓ ม.๖ ต.เทพา อ.เทพา จ.สงขลา

๘.นายดีน    มูณี

การเลี้ยงโคขุน

๑๖๑  ม.๖ ต.เทพา อ.เทพา จ.สงขลา

๙.นางกินนารี   มามะ

การทำปลาแห้ง

๕๗  ม.๗ ต.เทพา อ.เทพา  จ.สงขลา

๑๐.นายสะมะแอ   อีบาราเฮง

การทำอวน

๗๘  ม.๗ ต.เทพา  อ.เทพา  จ.สงขลา

 

 

 

 

ผลิตภัณฑ์สินค้า OTOP ในตำบลเทพา
1. ผลิตภัณฑ์จากผ้าปาเต๊ะ
2. กะปิเทพา
3. ไก่ทอดเทพา
4. หมวกกาปิเย๊าะ

 



เข้าชม : 1202
 
 
กศน.ตำบลเทพา สังกัดศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
ชั้น 2 อาคารกองการศึกษา ตำบลเทพา อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา 90150
โทรศัพท์ 081-0960153 , 089-6556221 , 087-2901029 E-mail : nongnu_17@hotmail.com
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05