[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 
 

  

ทดสอบหมวดหมู่
ตำนาน/ ประวัติ อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา

พุธ ที่ 24 เดือน กันยายน พ.ศ.2557


 เทพาจากอดีตถึงปัจจุบัน

เทพา เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดสงขลา ในสมัยโบราณมีฐานะเป็นเมืองชื่อ เทพา เป็นเมืองเล็กๆ ที่ปรากฏในประวัติศาสตร์ทุกยุคทุกสมัย  ในสมัยกรุงสุโขทัย (แผนที่ประเทศไทย : ทองใบ แตงน้อย) เมืองเทพาขึ้นอยู่กับเมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งมีพระพนมวัง และนางสะเตียงทองครองเมืองนครศรีธรรมราช  ในสมัยกรุงศรีอยุธยาก็มีชื่อเมืองเทพาปรากฏอยู่ว่า เป็นเมืองจัตวาขึ้นอยู่กับเมืองพัทลุง ตรงกับแผ่นดินสมเด็จพระบรมราชาธิราช พ..2291( พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ) สมัยกรุงธนบุรีพ.. 2318 ปรากฏชื่อเมืองเทพาให้ยกทัพไปช่วยเมืองจะนะปราบโจรมลายู  และสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ประมาณปี พ.. 2329   สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดเกล้าให้ยกเมืองสงขลาขึ้นเป็นเมืองตรี และโปรดเกล้าฯให้ยกเมืองเทพาขึ้นกับเมืองสงขลา

ต่อมาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯให้เจ้าเมืองสงขลาต่อเรือ 30 ลำ เจ้าเมืองสงขลาจึงให้คนไปต่อเรือที่เมืองเทพา  สมัยรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสเมืองสงขลา มีบรรดาเจ้าเมืองต่างๆทางภาคใต้ไปรับเสด็จมากมาย รวมทั้งเจ้าเมืองเทพา ชื่อ กล่อม เฝ้ารับเสด็จด้วยและในสมัยรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสต้นหัวเมืองใหญ่ทางภาคใต้ พ.. 2432 ในการเสด็จประพาสต้นคราวนั้น ได้ทรงเยี่ยมเมืองเทพาด้วย

                เมืองเทพามีสภาพเป็นเมืองตลอดมาจนพ.. 2444 - 2447 รัชกาลที่ 5 ได้ทรงปรับปรุงกิจการบ้านเมืองเกี่ยวกับการปกครอง ทรงจัดตั้งมณฑลขึ้น และแยกเมืองเทพาตั้งขึ้นเป็น อำเภอเทพา ขึ้นกับจังหวัดสงขลา โดยตั้งที่ว่าการอำเภอที่บ้านพระพุทธ หมู่ที่ 2 ริมแม่น้ำเทพา เพื่อความสะดวกในการติดต่อค้าขาย  ต่อมาการคมนาคมเจริญขึ้น มีรถไฟสายใต้ตัดผ่านอำเภอเทพา ซึ่งห่างจากที่ว่าการอำเภอประมาณ 8 กิโลเมตร

จนกระทั่งปี พ..2475 ทางราชการได้ย้ายที่ว่าการอำเภอเทพามาตั้งที่บ้านท่าพรุ หมู่ที่ 1  ตำบลเทพา(ที่ตั้งปัจจุบัน)  ซึ่งใกล้กับสถานีรถไฟเทพา ซึ่งขณะนั้นมีชื่อว่า สถานีท่าม่วง ครั้นย้ายที่ว่าการอำเภอเทพามาตั้งใกล้สถานีรถไฟแล้ว ทางการรถไฟจึงได้เปลี่ยนชื่อสถานีท่าม่วง มาเป็น สถานีเทพา ตามชื่ออำเภอจนปัจจุบัน

ในอดีตผู้คนจะใช้การคมนาคมทางน้ำเป็นส่วนใหญ่  เนื่องจากเมืองเทพาสมัยก่อนตั้งอยู่ปากแม่น้ำ ที่ออกสู่ทะเล จนก่อให้เกิดภูมิปัญญาในการต่อเรือ กอและ ของชาวมุสลิมบ้านพระพุทธ  ในปัจจุบันมีการติดต่อทางบกด้วยถนนสายเอเชียที่เชื่อมระหว่าง จังหวัดต่างของภาคใต้และประเทศเพื่อนบ้าน

อำเภอเทพาอยู่ทางทิศตะวันออกของจังหวัดสงขลา อยู่ห่างจากตัวจังหวัดสงขลาประมาณ  78 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 978 ตารางกิโลเมตร มีประชากร 69,278 คน (พ.ศ. 2551)  แบ่งพื้นที่ปกครองเป็น 7 ตำบล  67 หมู่บ้าน  2 เทศบาลตำบล และ6 องค์การบริหารส่วนตำบล  อาณาเขตทิศเหนือจดทะเลอ่าวไทย ทิศตะวันออกจดอำเภอหนองจิกและอำเภอโคกโพธ์ของจังหวัดปัตตานี ทิศตะวันตกจดอำเภอจะนะ และทิศใต้จดอำเภอนาทวี พิกัดภูมิศาสตร์ 6°4942N , 100°5754E



เข้าชม : 2053


ทดสอบหมวดหมู่ 5 อันดับล่าสุด

      โครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน สกร.ระดับอำเภอเทพา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะวิชาการและทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียนด้านการฟัง พูด อ่าน เขียน คิดวิเคราะห์รายวิชาบังคับตามหลักสูตร ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนให้สูงขึ้นเพื่อให้ผ 16 / ส.ค. / 2567
      วัดพระสามองค์ หรือ วัดเทพาไพโรจน์ 12 / มิ.ย. / 2567
      150 ปี มัสยิดฟูหลาหล่นนาอีม บ้านพรุหมาก หมู่ 3 ตำบลเทพา อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา 12 / มิ.ย. / 2567
      วันสำคัญและประเพณีอิสลามภาคใต้ 10 / ต.ค. / 2559
      ตำนาน/ ประวัติ อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา 24 / ก.ย. / 2557


 
กศน.ตำบลเทพา สังกัดศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
ชั้น 2 อาคารกองการศึกษา ตำบลเทพา อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา 90150
โทรศัพท์ 081-0960153 , 089-6556221 , 087-2901029 E-mail : nongnu_17@hotmail.com
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05