1. นโยบายด้านการศึกษานอกระบบ
1.1 จัดและสนับสนุนการศึกษานอกระบบตั้งแต่ประถมวัยจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน (หลักสูตร 2 ปี)
1) พัฒนาหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนสามารถนำสาระการเรียนรู้และวิธีการเรียนรู้ไปใช้ประโยชน์ได้จริงในการพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยรวม และสร้างเสริมสมรรถนะการประกอบอาชีพที่สามารถสร้างรายได้อย่างมั่นคง
2) ดำเนินการให้ผู้เรียนการศึกษานอกระบบระดับการศึกษขั้นพื้นฐานได้รับการสนับสนุนค่าจัดซื้อตำราเรียน ค่าจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน และค่าเล่าเรียนอย่างทั่วถึง เพื่อเพิ่มโอกาสในการรับการศึกษาที่มีคุณภาพโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
3) จัดหาตำราเรียนการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีคุณภาพตามที่สำนักงาน กศน. ให้การรับรองคุณภาพให้ทันต่อความต้องการของผู้เรียนพร้อมทั้งจัดให้มีระบบหมุนเวียนตำราเรียนเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนทุกคนสามารถเข้าถึงการใช้บริการตำราเรียนอย่างเท่าเทียมกัน
4) ขยายการจัดการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีคุณภาพให้กับประชากรวัยแรงงานที่ไม่จบการศึกษาภาคบังคับและไม่อยู่ในระบบโรงเรียน โดยเฉพาะผู้ด้อยโอกาสกลุ่มต่างๆ ด้วยวิธีเรียนที่หลากหลาย
5) ส่งเสริม สนับสนุน และเร่งรัด ให้ กศน. อำเภอทุกแห่งดำเนินการเทียบโอนความรู้และประสบการณ์ รวมทั้งผลการเรียอย่างเป็นระบบได้มาตรฐาน สอดคล้องกับหลักสูตร เพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาให้กับประชาชนอย่างกว้างขวาง
6) พัศฃฒนาระบบฐานข้อมูลรวมของนักศึกษา กศน. ให้มีความครบถ้วน ถูกต้อง ทันสมัย และเชื่อมโยงกันทั่วประเทศ สามารถสืบค้นและสอบทานได้ทันความต้องการเพื่อประโยชน์ในการจัดการศึกษาให้กับผู้เรียนและการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ
7) จัดให้มีวิธีการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นการฝึกปฏิบัติจริงเพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจและเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ รวมทั้งสามารถพัฒนาทักษะเกี่ยวกับสาระและวิธีการเรียนรู้ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
8) พัฒนาระบบการประเมิณเพื่อเทียบระดับการศึกษาที่มีความโปร่งใส ยุติธรรม ตรวจสอบได้ มีมาตรฐานตามที่กำหนด และสามรถตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1.2 การส่งเสริมการเรียนรู้
1) พัฒนาระบบฐานข้อมูลผู้ไม่รู้หนังสือทั้งในระดับพื้นที่และส่วนกลางให้มีความครบถ้วน ถูกต้อง ทันสมัย และเป็นระบบเดียวกัน
2) พัฒนาหลักสูตร สื่อ แบบเรียน เครื่องมือวัดผลและเครื่องมือการดำเนินงานการส่งเสริมการรู้หนังสือที่สอดคล้องกับสภาพของแต่ละกลุ่มเป้าหมาย
3) พัฒนาครู กศน. และภาคีเครือข่ายที่ร่วมจัด ให้มีความรู้ ความสามารถและทักษะการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้กับผู้ไม้รู้หนังสืออย่างมีประสิทธิภาพ
4) ส่งเสริม สนับสนุนให้สถานศึกษาจัดกิจกรรมส่งเสริมการรู้หนังสือ การคงสภาพการรู้หนังสือ การพัฒนาทักษะการรู้หนังสือ และการพัฒนาทักษะด้านคอมพิวเตอร์พื้นฐานเพื่อเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมการศึกษาและการเรียนรู้อยางต่อเนื่องตลอดชีวิตของประชาชน
5) พัฒนาระบบการประเมินผลระดับการรู้หนังสือให้มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับประเทศและระดับสากล
หลักฐานการขอจบหลักสูตร
การยื่นเรื่องขอจบหลักสูตร สามารถทำได้ 2 ภาคเรียน คือ
ภาคเรียนที่ 1 ประมาณต้นเดือนกุมภาพันธ์
ภาคเรียนที่ 2 ประมาณต้นเดือนกันยายน
เมื่อนักศึกษาได้รับการอนุมัติผ่านระดับการศึกษาและจบหลักสูตรแต่ละระดับแล้ว นักศึกษาจะต้องยื่นคำร้องขอจบการศึกษาพร้อมหลักฐาน ดังนี้
1. ใบคำร้องขอจบหลักสูตร
2. รูปถ่าย 4x5 เซนติเมตร จำนวน 2 รูป สวมเสื้อเชิ้ตสีขาว ไม่สวมหมวก ไม่สวมแว่นตาดำถ่ายไว้ไม่เกิน 6 เดือน ไม่เป็นรูปประเภทโพลาลอยด์
3. สำเนาทะเบียนบ้าน
4. สำเนาหนังสือสำคัญ แสดงวุฒิเดิมก่อนเข้าเรียน
5. สำเนาเอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่น ใบเปลี่ยนชื่อ – เปลี่ยนสกุล ใบทะเบียนสมรส (ถ้ามี)
เน้นหนักการเรียนรู้ด้วยตนเองเป็นหลัก มีการพบกลุ่มเพื่อนำสิ่งที่ได้ไปศึกษาค้นคว้า แล้วมานำเสนอ อภิปราย และสรุปร่วมกันในลักษณะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
รายละเอียดวิธีเรียนแบบพบกลุ่ม
การวางแผนการจัดการเรียนรู้
1. ครูและนักศึกษาร่วมกันวิเคราะห์หลักสูตร มาตรฐานและสาระการเรียนรู้แล้วจัดแบ่งเนื้อหาสาระ เป็น 3 ส่วน ดังนี้
1.1 เนื้อหาที่ง่ายนักศึกษาเรียนรู้ด้วยตัวเอง โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต่อเนื่อง (กรต.) ตลอดสัปดาห์ต้องมีเวลาสำหรับการเรียนรู้ไม่น้อยกว่า15 ชั่วโมง (เฉลี่ยวันละ 3 ชั่วโมง) มีการจดบันทึก เรียบเรียงความรู้นั้น ไว้เป็นหลักฐานและนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเอง เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเวลาพบกลุ่ม ผู้เรียนก็ช่วยกันเรียนและเติมเต็มความรู้แก่กัน
1.2 เนื้อหาที่ยากปานกลาง ครูและนักศึกษาต้องร่วมกันจัดแผนการเรียนรู้ โดยครูเป็นผู้สอนในแต่ละสัปดาห์
1.3 เนื้อหาที่ยากมาก ครูและนักศึกษาร่วมกันจัดแผนการเรียนรู้ โดยเชิญวิทยากรผู้เชี่ยวชาญมาสอนแทน
2. นักศึกษาและครู ร่วมกันวางแผนการเรียนรู้ตลอดภาคเรียนและนักศึกษาจะต้องจัดทำแผนจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของตนเองทุกสัปดาห์ตลอดภาคเรียน
3. นักศึกษาและครูร่วมกันวางแผนการวัดและประเมินผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทุกกิจกรรมตลอดภาคเรียน
การจัดกระบวนการเรียนรู้
1. กิจกรรมพบกลุ่ม (พก.) นักศึกษาต้องมีเวลาพบกลุ่มอย่างน้อย 3 ชั่วโมงต่อ สัปดาห์
2. การเรียนรู้ต่อเนื่อง (กรต.) นักศึกษาต้องมีเวลาในการเรียนรู้ด้วยตนเอง อย่างน้อย 15 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ หรือวันละ 3 ชั่วโมง
3. การทำโครงงาน นักศึกษาต้องเรียนรู้โดยการทำโครงงาน อย่างน้อย 3 หน่วยกิต ตลอดหลักสูตร ผู้เรียนจะต้องรวมกลุ่มกันประมาณ 5-7คน โดยร่วมกันคิดวิเคราะห์ว่าจะทำโครงงานใดในรายวิชานั้น วางแผนและลงมือปฏิบัติ นำเสนอความก้าวหน้าของการทำโครงงานในการพบกลุ่มเป็นระยะ ๆ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเกิดความคิดต่อยอดเพื่อนำไปพัฒนาโครงงานอย่างต่อเนื่องทุกกลุ่มจนสิ้นสุดภาคเรียน
4. การจัดการเรียนรู้โดยการทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต (กพช.) เป็นกิจกรรมการเรียนรู้โดยกระบวนการพบกลุ่ม และเป็นเงื่อนไขของการจบหลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียนทุกระดับ เป็นกิจกรรมกลุ่มผู้เรียนทำตามความสนใจความถนัด โดยเน้นการนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากการศึกษา / เรียนรู้ ไปสู่การปฏิบัติที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตจริงเพื่อพัฒนาตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคมและสิ่งแวดล้อม มีการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม ระเบียบวินัยความรับผิดชอบ การอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข ซึ่งผู้เรียนจะทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตในภาคเรียนใด ภาคเรียนหนึ่งก็ได้ และสามารถทำร่วมกับผู้เรียนในระดับการศึกษาอื่น โดยทำให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด
การลงทะเบียน
1. ระดับประถม นักศึกษาสามารถลงทะเบียนได้ภาคเรียนละ 14 หน่วยกิต โดยลงทะเบียนในกลุ่มรายวิชาบังคับและรายวิชาเลือกตามที่สถานศึกษากำหนด โดยยกเว้นรายวิชาที่นำมาเทียบโอนผลการเรียน
2. ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น นักศึกษาสามารถลงทะเบียนได้ภาคเรียนละ 17 หน่วยกิต โดยลงทะเบียนในกลุ่มรายวิชาบังคับและรายวิชาเลือกตามที่สถานศึกษากำหนด โดยยกเว้นรายวิชาที่นำมาเทียบโอนผลการเรียน
3. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย นักศึกษาสามารถลงทะเบียนได้ภาคเรียนละ 23 หน่วยกิต โดยลงทะเบียนในกลุ่มรายวิชาบังคับและรายวิชาเลือกตามที่สถานศึกษากำหนด โดยยกเว้นรายวิชาที่นำมาเทียบโอนผลการเรียน
* ยกเว้นวิชาภาคเรียนสุดท้ายสามารถลงเพิ่มได้จำนวน 3 หน่วยกิต ทุกระดับ ส่วนในรายวิชาที่ได้ผลการเรียนเป็น " 0 " หรือรายวิชาที่เรียนเพิ่มเติม ทั้งนี้ไม่นับรายวิชาที่เทียบโอนผลการเรียนและที่ลงทะเบียนปกติ
4. การลงทะเบียนกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต นักศึกษา ต้องลงไม่น้อยกว่า 200 ชั่วโมง ซึ่งเป็นเงื่อนไขหนึ่งที่นักศึกษาจะต้องได้รับการประเมินตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด จึงจะได้รับการประเมินตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด จึงจะได้รับการพิจารณาให้จบหลักสูตรในแต่ละระดับการเรียนได้
5. การลงทะเบียนรักษาสภาพ กรณีนักศึกษาไม่สามารถลงทะเบียนเรียน ในภาคเรียนใดภาคเรียนหนึ่งได้จะต้องลงทะเบียนรักษาสภาพการเป็นนักศึกษา หากไม่สามารถลงทะเบียนรักษาได้ ต้องลงทะเบียนย้อนหลังทุกภาคเรียนที่ไม่ได้ลงทะเบียนทั้งนี้ต้องไม่เกิน 6 ภาคเรียนติดต่อกัน และต้องเป็นไปตามวัน เวลา วิธีการที่สถานศึกษากำหนด
ระยะเวลารับสมัคร
กศน.ตำบลลำไพล จะประกาศเปิดรับสมัครและลงทะเบียนเรียนปีละ 2 ครั้ง ในช่วงเวลา
ภาคเรียนที่ 1 รับสมัครเดือน เมษายน เปิดภาคเรียน 16 พฤษภาคมของทุกปี
ภาคเรียนที่ 2 รับสมัครเดือน ตุลาคม เปิดภาคเรียน 16 พฤศจิกายนของทุกปี
วันปิดภาคเรียนเดือนเมษายนและเดือนตุลาคม ของทุกปี
จัดกระบวนการเรียนการสอนหรือนักศึกษาต้องมาพบกลุ่ม 18 ครั้ง สัปดาห์ละ 1 ครั้ง นักศึกษาต้องมีเวลาพบกลุ่มไม่น้อยกว่า 80 % ขาดเรียนได้ไม่เกิน 4 ครั้ง จะทำให้หมดสิทธิ์สอบ
เวลาเรียนแบ่งการเรียนออกเป็น 2 ภาคเรียน ภาคเรียนละ 20 สัปดาห์ โดยกำหนดให้ทุกระดับ ต้องมีเวลาเรียนไม่น้อยกว่า 4 ภาคเรียน หรือ2 ปี ยกเว้น ผู้ที่มีเทียบโอนผลการเรียนสามารถจบก่อน 4 ภาคเรียน
หลักฐานการรับสมัคร
1. ใบสมัคร
2. รูปถ่าย 1 นิ้ว 2 รูป หน้าตรงไม่สวมแว่นตาดำ ไม่สวมหมวก และสวมเสื้อสีขาวมีปก
3. สำเนาทะเบียนบ้านพร้อมตัวจริง
4. สำเนาหนังสือแสดงวุฒิ พร้อมฉบับจริง
5. สำเนาบัตรประชาชน พร้อมฉบับจริง
สถานที่รับสมัคร
- ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเทพา
- กศน.ตำบลลำไพล
เป็นการประเมินจากความรู้ ทักษะ ผลงาน ประสบการณ์จากแฟ้มสะสมผลงาน 3 ด้าน (ด้านการพัฒนาอาชีพ ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต ด้านการพัฒนาสังคมและชุมชน) การสอบ ปฏิบัติ สัมภาษณ์ และทำกิจกรรมเข้าค่ายหรือกิจกรรม กพช. (กิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต)
การเทียบโอนการศึกษา
ตามเจตนารมณ์ ของ พระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้กำหนดรูปแบบ การศึกษาไว้ 3 รูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย ซึ่งประชาชนจะเลือกรูปแบบใดก็ได้ และสามารถนำผลการเรียน มาเทียบโอน
การเทียบโอนผลการเรียน หมายถึง การนำผลการเรียนซึ่งเป็นความรู้ ทักษะ และ ประสบการณ์ของผู้เรียนที่เกิดจากการศึกษา ทั้ง 3 รูปแบบ มาประเมินเป็นส่วนหนึ่ง
ขอบข่ายการเทียบโอนผลการเรียน
1. การเทียบโอนผลการเรียนจากการศึกษาในระบบ และ การศึกษานอกระบบ
2. การเทียบโอนผลการเรียนจากการศึกษานอกระบบที่จัดเป็นหลักสูตรเฉพาะ
3. การเทียบโอนผลการเรียนจากหลักสูตรต่างประเทศ
4 . การเทียบโอนประสบการณ์ กลุ่มเป้าหมายเฉพาะ เช่น ทหารกองประจำการ อาสาสมัครสาธารณสุข ผู้นำท้องถิ่น เป็นต้น
5. การเทียบโอนผลการเรียนจากการเรียนรู้ ในกิจกรรมพัฒนาอาชีพ
วิธีการเทียบโอนผลการเรียน
1. การเทียบโอนผลการเรียนจากการศึกษาในระบบ และ การศึกษานอกระบบ
2. การเทียบความรู้และประสบการณ์
การเตรียมตัวของผู้ต้องการเทียบโอนผลการเรียน
1. จัดเตรียมเอกสารทางการศึกษา เป็นใบ ป.05 รบ. 1 ต และใบประกาศจากกระทรวงศึกษาธิการ
2. จัดเตรียมเอกสารการเทียบโอน ใบ สด.8 , บัตรประจำตัวอาสาสมัครสาธารณสุข
3. หลักฐานอื่นๆ แฟ้มสะสมงาน
ปัจจุบันมีประชากรจำนวนมากมายของประเทศที่ยังขาดโอกาสทางการศึกษาปัจจัยและเหตุผลหลายประการ อาทิ ปัญหาด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคมและความไม่พร้อมของครอบครับ ประชากรอายุ 13-18 ปี ขาดโอกาสการเรียนรู้ถึงร้อยละ 35 ของประชากรทั้งหมด ซึ่งเป็นกำลังแรงงานสำคัญของประเทศที่ทำงานอยู่ในภาคเกษตร อุตสาหกรรม และสาขาการบริการ ประชากรเหล่านี้มีความรู้ มีประสบการณ์จากหน้าที่การงานที่สามารถเลี้ยงชีพได้ แต่ยังขาดความรู้พื้นฐานในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ม.6) ประชากรเหล่านี้จึงต้องได้รับการประกันโอกาสทางการศึกษาอย่างเท่าเทียมกัน
สถานที่รับสมัคร
- กศน. อำเภอเทพา
- กศน.ตำบลลำไพล
คุณสมบัติของผู้สมัคร
1. มีสัญชาติไทย
2. มีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปี บริบูรณ์ นับถึงวันที่สมัครรับการประเมิน
3. มีพื้นความรู้ไม่ต่ำกว่าการศึกษาระดับประถมศึกษา
4. ไม่เป็นนักเรียนหรือนักศึกษา ที่กำลังศึกษาอยู่ในสถานศึกษาที่จัดการศึกษาในระบบหรือการศึกษานอกระบบที่แบ่งระดับเช่นเดียวกับการศึกษาในระบบ
5. มีประสบการณ์การประกอบอาชีพเป็นหลักแหล่งไม่น้อยกว่า 3 ปี
6. ต้องประกอบอาชีพอยู่ในเขตบริการของสถานศึกษาที่จะสมัครเข้ารับการประเมิน
ระยะเวลาการสำเร็จการศึกษา
เป็นไปตามศักยภาพของผู้เข้ารับการประเมิน อาจใช้เวลามากหรือน้อยกว่า 8 เดือนก็ได้
วิธีการประเมิน
1. ประเมินผลเป็นรายวิชา แบ่งออกเป็น 2 ภาค
1.1 ภาคทฤษฎี ร้อยละ 70 ต้องสอบได้คะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ประเมินด้วยแบบทดสอบความรู้
1.2 ภาคประสบการณ์ ร้อยละ 30 ประเมินด้วยการปฏิบัติจริง และหรือสัมภาษณ์ และหรือชิ้นงาน และหรือแฟ้มประมวลประสบการณ์
2. เกณฑ์การผ่าน
การประเมินแต่ละรายวิชา ต้องได้คะแนนภาคทฤษฎีและภาคประสบการณ์รวมกันไม่น้อยกว่า ร้อยละ 60
>>>ประเมิน 9 รายวิชา
Module 1 เครื่องมือสร้างความรู้ความสำเร็จ
1. การใช้คอมพิวเตอร์
2. คณิตซาสตร์ในชีวิตประจำวัน
3. การบริหารธุรกิจ SMEs
Module 2 พัฒนาองค์กรชุมชนเข้มแข็ง
4. ระบบอบประชาธิปไตย
5. การบริหารจัดการชุมชน
Module 3 การสื่อสาร
6. การสนทนาภาษาอังกฤษ/จีน
7. ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร
Module 4 วิจัยชุมชน และทั่วไป
8. การวิจัยชุมชน
9. การจัดการอาหารเพื่อครอบครัว และชุมชน
รายละเอียดเพิ่มเติม>>>http://sk.nfe.go.th/msk/UserFiles/Pdf/m6m8.pdf
เข้าชม : 984 |