[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 

  

ทดสอบหมวดหมู่
ภูมิปัญญาไทย

อาทิตย์ ที่ 8 เดือน มกราคม พ.ศ.2560


ภูมิปัญญาไทย
ขนมชั้นมะพร้าวน้ำหอม




       ในอดีตได้ไปศึกษาต่อระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่โรงเรียน อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี โดยไปพักอาศัยอยู่บ้านคุณป้าสมนึก พรหมแช่ม(แม่นึก) ซึ่งมีอาชีพทำขนมไทยขายหลายอย่าง อาทิ ขนมชั้น ขนมหม้อแกง วุ้นกะทิ ทองหยิบ ทองหยอด ขนมเม็ดขนุน ข้าวเหนียวแดง ข้าวเหนียวมูน จึงเกิดแรงบันดาลใจ และชื่นชอบการทำขนมไทยตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาคุณป้าสมนึก มีลูกชายทั้งหมด 5 คน และแต่ละคนไม่ขอบการทำขนม จึงทำให้คุณป้าขาดผู้สืบทอดในด้านนี้ ข้าพเจ้าซึ่งเป็นหลานสาวจึงรับหน้าที่ในการสืบทอดภูมิปัญญาการทำขนสมชั้นต่อจากคุณป้า เพื่อรักษาภูมิปัญญานี้ไว้ ไม่ให้สูญหายไปกับกาลเวลาหลังจากเรียนจบมัธยมศึกษาตอนปลาย และกลับมาอยู่บ้านที่ตำบลมะลวน ได้เข้าร่วมกิจกรรมกับหน่วยงานต่าง ๆ ทำให้เกิดการรวมตัวจัดตั้ง กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านดอนแฝก มีสมาชิกจำนวน 30 คน กิจกรรมที่กลุ่มดำเนินการคือ การทำขนมไทยจำหน่ายเป็นอาชีพเสริมของกลุ่มแม่บ้าน โดยนำภูมิความรู้การทำขนมไทย มาถ่ายทอดให้กับสมาชิกกลุ่ม แต่เนื่องจากการทำกิจกรรมกับคนจำนวนมาก และเวลาไม่ตรงกัน จึงทำให้เกิดการแยกตัวของสมาชิก โดยส่วนตัวข้าพเจ้าชอบทำขนมไทย จึงยังรงดำเนินการภายในครัวเรือน เป็นธุรกิจของครอบคัว และมีการพัฒนาโดยการนำมะพร้าวน้ำหอม และน้ำมะพร้าวน้ำหอม มาเป็นส่วนประกอบ เนื่องจากคุณชยันต์(สามี) ได้ปลูกมะพร้าวน้ำหอม เพื่อจำหน่ายมะพร้าวอ่อน แต่ราคาผลผลิตตกต่ำ จึงนำมาเพิ่มมูลค่า โดยใช้เป็นส่วนผสมในการทำขนม เช่น ขนมชั้น วุ้นกะทิ ขนมหม้อแกง ผลปรากฏว่า ขนมชั้น ได้รับการตอบรับมากกว่าขนมชนิดอื่น เพราะมีการสั่งซื้อมากที่สุด ตลอดจนได้รับคำชื่นชมถึงความอร่อยในรสชาติจากลูกค้า โดยกันบอกต่อแบบปากต่อปาก วิธีการจำหน่ายโดยการสั่งซื้อทางโทรศัพท์ และมารับที่บ้านด้วยตนเอง หากต้องการซื้อไปกินจำนวนไม่มาก สามารถหาซื้อได้ที่ตลาดนัด Co-op ทุกวันพุธ เสาร์ อาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 13.00 น.-16.00 น. และตลาดนัดนายพันธ์ (ทางเข้า อบต.มะลวน) ทุกวันพุธ และวันเสาร์ ตั้งแต่เวลา 06.00 น.-10.00 น.ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมประชุมสัมมนาด้านการบริหารจัดการ จากสำนักงานเกษตร และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ในด้านการบรรจุภัณฑ์ การสร้างตราผลิตภัณฑ์ และวิธีการขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์ ทำให้ข้าพเจ้าได้รับความรู้เพิ่มขึ้น จึงนำมาพัฒนาขนมชั้นจากที่ทำใส่ถาด และห่อใบตอง มาพัฒนาบรรจุภัณฑ์เป็นการบรรจุกล่อง มีการทำสลากสินค้าเพื่อให้ลูกค้ารู้จัก และรู้แหล่งผลิตที่สามารถติดต่อได้จนนำไปสู่การนำขนมชั้นไปลงทะเบียน OTOP นับว่าขนมชั้นทำให้ครอบครัวของข้าพเจ้ามีรายได้ที่มั่นคง เป็นทุนในการส่งบุตรเรียนหนังสือ สร้างรายได้ให้กับคนวัย 50-60 ปีในชุมชน ตลอดจนผู้ค้าปลีกที่นำสินค้าไปจำหน่ายในพื้นที่อำเภอพุนพิน และอำเภอท่าฉาง เป็นรางวัลยิ่งใหญ่เหนือสิ่งอื่นใดของข้าพเจ้าที่ได้ก่อให้เกิดสิ่งเหล่านี้ และสามารถทำให้ผู้คนรู้จักบ้านดอนแฝก ตำบลมะลวน ในนาม ขนมชั้นมะพร้าวน้ำหอ

เข้าชม : 603


ทดสอบหมวดหมู่ 5 อันดับล่าสุด

      ยำผักกูดทะเล 7 / มิ.ย. / 2560
      เฉาก๊วย สรรพคุณมากกว่าช่วยดับกระหาย 2 / พ.ค. / 2560
      ข้าวช่อขิงเป็นข้าวทีมี คุณค่าทางอาหารสูง 10 / มี.ค. / 2560
      สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัสงขลา บ้านท้ายเสาะ จังหวัดสงขลา 8 / ม.ค. / 2560
      ภูมิปัญญาไทย 8 / ม.ค. / 2560


 
สถานที่ศูนย์การเรียนรู้ตำบลท่าม่วง หมู่ที่ 3 ตำบลท่าม่วง อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา

 


Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05