ปราชญ์ชาวบ้าน ภูมิปัญญาท้องถิ่น ตำบลคูขุด
การจัดเก็บรวบรวมข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน หรือภูมิปัญญาท้องถิ่นตำบลคูขุด อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา ในครั้งนี้ คณะทำงานได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลในพื้นที่ ๙ หมู่บ้านของตำบลคูขุด ได้จำนวน ๑๓ สาขา รวม ๕๕ คน
๑. สาขาเกษตรกรรมและการทำมาหากิน
สาขาเกษตรกรรมและการทำมาหากิน หมายถึง ผู้มีความสามารถในการผสมผสานองค์ความรู้ ทักษะ และเทคนิคด้านเกษตรกรรมและเทคโนโลยี โดยพัฒนาพื้นฐานดั้งเดิมที่คนสามารถพึ่งพาตนเอง ในสภาวะต่าง ๆ ได้ เช่น การทำเกษตรกรรมแบบผสมผสาน การแก้ไขปัญหาด้านการเกษตร ด้านการตลาด ด้านการผลิตแบะการรู้จักปรับใช้เทคโนโลยีที่เหาะสมกับการเกษตร
จำนวน ๑๐ คน คือ
๑. นายยาหริ่น โต๊ะกะหรีม องค์ความรู้ ทำไร่นาสวนผสม
๒. นายชุมพล สุระคำแหง องค์ความรู้ ทำไร่นาสวนผสม
๓. นายสนั่น จันทิพย์ องค์ความรู้ ทำไร่นาสวนผสม
๔. นายพัน นพรัตน์ องค์ความรู้ เกษตรกรรม
๕. นายเฉลิมพล แก้วขาว องค์ความรู้ เกษตรกรรม
๖. นางผล สุวรรณปราการ องค์ความรู้ การทำนา
๗. นายวิเชียร ชุมแสง องค์ความรู้ การทำนา
๘. นายประวัติ กิมาคม องค์ความรู้ การทำนา
๙. นายอุทัย หนูสงค์ องค์ความรู้ การทำนา
๑๐. นายจำรูญ บัวเนี่ยว องค์ความรู้ การทำนา
๒. สาขาอาหารและโภชนาการ
สาขาอาหารและโภชนาการ หมายถึง ผู้มีความสามารถในการผลิตและใช้เครื่องมือใน
การผลิตอาหาร เช่น การถนอมอาหาร การปรุง และวิธีการรับประทานอาหาร
จำนวน ๖ คน คือ
๑. นางบุญธรรม ช่วยพานิช องค์ความรู้ การถนอมอาหาร(ไข่เค็ม)
๒. นางสาวถวิล สุจวิพันธ์ องค์ความรู้ การถนอมอาหาร(ไข่เค็ม)
๓. นางสาวผัส สุวรรณะ องค์ความรู้ การปรุงอาหารรักษาคุณภาพอาหาร,แปรรูป
๔. นางระพี เพชรเกลี้ยง องค์ความรู้ ทำปลาแห้ง, ทำปลาส้ม,
๕. นางสาวแดง โต๊ะหนุด องค์ความรู้ ทำปลาแห้ง, ทำปลาส้ม, กุ้งส้ม, กุ้งหวาน
๖. นางสาวเป๊าะ โต๊ะหนุด องค์ความรู้ ทำปลาแห้ง, ทำปลาส้ม, กุ้งส้ม, กุ้งหวาน
๓. สาขาแพทย์แผนไทยและสมุนไพร
สาขาแพทย์แผนไทยและสมุนไพร หมายถึงผู้มีความรู้ในการจัดการป้องกันและรักษาสุขภาพในชุมชนโดยใช้สมุนไพรเป็นปัจจัยหลัก เป็นผู้ส่งเสริมสนับสนุนให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตัวเองทางด้านสุขภาพและพลานามัย
จำนวน ๕ คน คือ
๑. นายเส็น สุระคำแหง องค์ความรู้ บีบนวด, ต้มยาสมุนไพร
๒. นายเพียน รักเดช องค์ความรู้ บีบนวด, ตั้งศาลพระภูมิ
๓. นางห้องเนี่ยว ชูน้อย องค์ความรู้ หมอตำแย
๔. นายเคียง สุวรรณ์ องค์ความรู้ ต้มยาเลือด
๕. นายณรงค์ ใจบุญ องค์ความรู้ ต้มยาไข้ทับฤดู
๔. สาขาศาสนา ประเพณีและพิธีกรรม
สาขาศาสนาประเพณีและพิธีกรรม หมายถึงผู้ที่มีความสามารถในการประยุกต์และปรับใช้หลักธรรม คำสอนทางศาสนา ความเชื่อและประเพณีดั้งเดิมที่มีคุณค่าให้เหมาะสมต่อการประพฤติปฏิบัติ บังเกิดผลดีต่อบุคคลและสิ่งแวดล้อม เช่น การถ่ายทอดหลักธรรมทางศาสนา พิธีกรรม ความเชื่อ และการประยุกต์ประเพณี เป็นต้น
จำนวน ๗ คน คือ
๑. นายมนตรี สุระคำแหง องค์ความรู้ ผู้นำทางศาสนา
๒. นายเหยด สุระคำแหง องค์ความรู้ ถ่ายทอดการทำพิธีกรรมทางศาสนา
๓. นายสุวรรณ เจริญพรภักดี องค์ความรู้ ด้านศาสนาการเผยแพร่ศาสนาอิสลาม
๔. นายนม รัชนีย์ องค์ความรู้ พิธีกรทางศาสนา
๕. นายลิขิต สำจวนจร องค์ความรู้ พิธีกรทางศาสนา
๖. นายวิเชียร ชุมแสง องค์ความรู้ พิธีกรสวดคำพระ
๗. นายจำ ณ พิชัย องค์ความรู้ พิธีกรทางศาสนา, นำไหว้พระสวดมนต์
๕. สาขากีฬาและการละเล่นพื้นบ้าน
สาขากีฬาและการละเล่นพื้นบ้าน หมายถึง ผู้มีความสามารถในการเล่นกีฬาพื้นบ้านและนันทนาการ การแข่งขันที่มีกติกาเป็นผู้กำหนด ระบำรำฟ้อน เช่น เพลงเด็ก เพลงกล่อมเด็ก การละเล่นพื้นบ้าน การละเล่นของท้องถิ่นเพื่อความสนุกสนานหรือเล่นในเทศกาลต่างๆรวมถึงเพลงและดนตรีที่ใช้ในพิธีกรรมต่างๆ ด้วย
จำนวน ๑ คน คือ
๑. นางกนกวรรณ แสงสี องค์ความรู้ เล่นกีฬาพื้นบ้าน
๖. สาขาศิลปะการแสดงและดนตรี
สาขาศิลปะการแสดงและดนตรี หมายถึงผู้มีความสามารถด้านศิลปะการแสดงการละเล่นและการแสดงพื้นบ้านประยุกต์ การเล่นดนตรีสากล ดนตรีไทย การประยุกต์เครื่องใช้ดนตรี ประเภทดีด สี ตี เป่า เป็นต้น
จำนวน ๓ คน คือ
๑. นายอนันต์ สุระคำแหง องค์ความรู้ การเล่นดนตรีสากล รำวงย้อนยุค
๒. นายสุขสวัสดิ์ สุวรรณปราการ องค์ความรู้ การเล่นดนตรีสากล รำวงย้อนยุค
๓. นายประชิต ช่วยพานิชย์ องค์ความรู้ ตีกลอง
๗. สาขาศิลปะหัตถกรรมและสิ่งทอ
สาขาศิลปหัตถกรรมและสิ่งทอ หมายถึง ผู้มีผลงานในการมีความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ แสดงออกด้วยอัจฉริยภาพ พุทธปัญญา ประสบการณ์ รสนิยมและทักษะของแต่ละบุคคล ในรูปลักษณะต่างๆให้ปรากฏสุนทรียภาพแห่งการประทับใจและสะท้องอารมณ์ออกเป็นศิลปะ เช่นการวาดภาพ เป็นต้น หัตถกรรมและสิ่งทอ หมายถึง ผู้มีความสามารถในการผลิตผลงานที่เกิดจากภูมิปัญญาท้องถิ่นหรืออาจนำความรู้ดั้งเดิมมาประยุกต์โดยใช้ฝีมือในการประดิษฐ์ เช่น การทอผ้า การจักสาน เครื่องปั้นดินเผา การประดิษฐ์วัสดุต่างๆ เป็นต้น
จำนวน ๖ คน คือ
๑. นางสาวสุนิตย์ ชูแก้ว องค์ความรู้ การทำดอกไม้จันทน์, สานกระเป๋า
๒. นางวรรณา สุวรรณรัศมี องค์ความรู้ การทำดอกไม้จันทน์
๓. นางยุพิน ชุมแสง องค์ความรู้ การทำกระเปาใยตาล, สานหมวกใบตาล
๔. นางสมจิตต์ ปัญญาธิโป องค์ความรู้ การทำกระเปาใยตาล, สานหมวกใบตาล
๕. นายสั้ว เอ่งเฉี้ยว องค์ความรู้ การทำไซดักปลา, สานเจ้ย, สานกระด้ง
๖. นายเผือน ช่วยชม องค์ความรู้ สานตะแกรง, สานกระด้ง
๘. สาขาประวัติศาสตร์และโบราณคดี
สาขาประวัติศาสตร์และโบราณคดี หมายถึงผู้ที่มีความรู้เรื่องราวทางประวัติศาสตร์เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมและการพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ สามารถถ่ายทอดเรื่องราวและเหตุการณ์สำคัญในอดีตให้บุคคลรุ่นหลังเรียนรู้และเข้าใจได้
จำนวน ๑ คน คือ
๑. นายพูล พงศ์เจริญ องค์ความรู้ พิธีกรเล่าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์
๙. สาขาธุรกิจและสวัสดิการชุมชน
สาขาธุรกิจและสวัสดิการชุมชน หมายถึงผู้ที่มีความสามารถในการจัดสวัสดิการและธุรกิจชุมชน เช่น กองทุนต่างๆ ในชุมชน สหกรณ์ร้านค้า กลุ่มสัจจะออมทรัพย์ และการจัดการผลผลิตแม่บ้าน กลุ่มเยาวชน
จำนวน ๕ คน คือ
๑. นายเฉลิม สุวรรณคีรี องค์ความรู้ กองทุน(ก ข ค ง)
๒. นางปราณี มนีดุล องค์ความรู้ ประธานกองทุนเงินล้าน
๓. นายเจริญเกียรติ ปาโต องค์ความรู้ ผู้ประสานงานดำเนินการกลุ่มออมทรัพย์
๔. นางสาวนัฐนิชา บัวเนี่ยว องค์ความรู้ ประสานงานเรียกเก็บเงินกลุ่มออมทรัพย์
๕. นางอำไพ ปาโต องค์ความรู้ ถ่ายทอดการก่อตั้งการทำงานกลุ่มออมทรัพย์
๑๐. สาขาธุรกิจและสวัสดิการชุมชน
สาขาธุรกิจและสวัสดิการชุมชน หมายถึงผู้ที่มีความสามารถในการจัดสวัสดิการและธุรกิจชุมชน เช่น กองทุนต่างๆ ในชุมชน สหกรณ์ร้านค้า กลุ่มสัจจะออมทรัพย์ และการจัดการผลผลิตแม่บ้าน กลุ่มเยาวชน
จำนวน ๕ คน คือ
๑. นายเฉลิม สุวรรณคีรี องค์ความรู้ กองทุน(ก ข ค ง)
๒. นางปราณี มนีดุล องค์ความรู้ ประธานกองทุนเงินล้าน
๓. นายเจริญเกียรติ ปาโต องค์ความรู้ ผู้ประสานงานดำเนินการกลุ่มออมทรัพย์
๔. นางสาวนัฐนิชา บัวเนี่ยว องค์ความรู้ ประสานงานเรียกเก็บเงินกลุ่มออมทรัพย์
๕. นางอำไพ ปาโต องค์ความรู้ ถ่ายทอดการก่อตั้งการทำงานกลุ่มออมทรัพย์
๑๑. สาขาการจัดกระบวนการเรียนรู้
สาขาการจัดกระบวนการเรียนรู้ หมายถึง ผู้มีความสามารถในการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้แก่เยาวชน การประยุกต์ใช้ การถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่เยาวชน
จำนวน ๔ คน คือ
๑. นางมาลัย เรืองศรี องค์ความรู้ ถ่ายทอดกระบวนการเรียนรู้ให้แก่เยาวชน
๒. นางนิรดา บิลลาเต๊ะ องค์ความรู้ ถ่ายทอดกระบวนการเรียนรู้ให้แก่เยาวชน
๓. นายนอบ ชูแก้ว องค์ความรู้ ถ่ายทอดกระบวนการเรียนรู้ให้แก่เยาวชน
๔. นายบุญฤทธิ์ สุวรรณะ องค์ความรู้ สั่งสอนเด็กและเยาวชน
๑๒. สาขาสิ่งแวดล้อม
สาขาสิ่งแวดล้อม หมายถึง ผู้มีความรู้ความสามารถในการอนุรักษ์ทั้งด้านธรรมชาติและศิลปวัฒนธรรม การอนุรักษ์ป่าไม้ ต้นน้ำ ลำธาร การรักษาและถ่ายทอดความรู้ดั้งเดิมเพื่อการอนุรักษ์ เช่น การเคารพแม่น้ำ แผ่นดิน พืชพันธ์ธัญญาหาร และโบราณสถานโบราณวัตถุ
จำนวน ๑ คน คือ
๑.นายนอบ ชูแก้ว
๑๓. สาขากิจกรรมเยาวชน
สาขากิจกรรมเยาวชน หมายถึง ผู้มีความสามารถในด้านการจัดกิจกรรมเยาวชนให้กับเยาวชนในด้านต่างๆ เป็นการเสริมสร้างเยาวชนให้เกิดทักษะในกลุ่มจำนวน ๕ คน คือ
๑. นายเสริม กิ้งเส้ง องค์ความรู้ นำเยาวชนเล่นกีฬา
๒. นายอนุสรณ์ กิมาคม องค์ความรู้ ส่งเสริมการเล่นกีฬาให้แก่เด็ก
๓. นายไพบูลย์ สุวรรณคีรี องค์ความรู้ ส่งเสริมกีฬาให้แก่เด็ก
๔. นายธีรชัย พานิช องค์ความรู้ ส่งเสริมกีฬาให้แก่เด็ก
๕. นายสมพงศ์ ณ พิชัย องค์ความรู้ นำเยาวชนออกกำลังกาย, เล่นกีฬา
เข้าชม : 1017 |