ข้อมูลพื้นฐานตำบลวัดจันทร์
1. บ้านหัวยาง หมู่ที่ 1 ตำบลวัดจันทร์ อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
1.1 บริบทของหมู่บ้าน
1.2 ประวัติหมู่บ้าน ประวัติความเป็นมาบ้านหัวยางเล่ากันว่า เป็นหมู่บ้านที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีต้นไม้ที่ร่มรื่น สามารถนำมาใช้สอยได้ โดยเฉพาะต้นยาง ซึ่งมีเป็นจำนวนมาก ชาวบ้านจึงได้อพยพมาอาศัยอยู่บริเวณนี้ และใช้บ้านยาง สำหรับสร้างบ้านเรือนและเรือเพื่อหาปลา ต่อมาชาวบ้านจึงเรียกหมู่บ้านนี้ว่า “บ้านหัวยาง” จนถึงปัจจุบัน
1.3 อาณาเขต/พื้นที่ บ้านหัวยาง ตั้งอยู่ในเขต หมู่ที่ 1 ตำบลวัดจันทร์ อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา ห่างจากที่ว่าการอำเภอสทิงพระ ไปทางทิศใต้ ระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 800 ไร่
1.4 จำนวนประชากรบ้านหัวยาง มีครัวเรือนทั้งหมด 187 ครัวเรือน ประชากรทั้งหมด 766 คน เป็นชาย 360 คน หญิง 406 คน
( ข้อมูล จปฐ. ปี2554)ราษฎรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ
1.5 ลักษณะภูมิประเทศ บ้านหัวยาง มีสภาพพื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม มีมรสุมพัดผ่านตลอดทั้งปี โดยทั่วไปจะมี 2 ฤดูคือ ฤดูร้อน กับฤดูฝน อากาศค่อนข้างร้อนมากในฤดูร้อน ในฤดูฝน ฝนตกไม่แน่นอน บางปีก็มีฝนตกหนัก บางปีก็ตกเล็กน้อยถึงปานกลาง สภาพอากาศเหมาะสำหรับการประกอบอาชีพทำนา การเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์
1.6 สภาพทางเศรษฐกิจ ประชากรส่วนใหญ่ของบ้านหัวยาง ประกอบอาชีพทำนา แต่ก็มีปัญหาเกี่ยวกับน้ำเพื่อการเกษตร เพราะต้องอาศัยน้ำฝน จึงทำให้สามารถทำนาได้เพียงปีละ 1 ครั้ง การทำนาจะทำได้เพียงพอกินในครอบครัว ไม่ใช่การทำเพื่อไว้ขาย จากการที่ประชากรในหมู่บ้านสามารถทำนาได้ปีละ 1 ครั้ง ทำให้ประชากรในหมู่บ้านต้องมีการประกอบอาชีพเสริม เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว เช่น การเลี้ยงสัตว์ การปลูกไม้ผล ผักสวนครัว ทำน้ำตาลโตนด อาชีพรอง รับจ้าง ทำประมง
1.7 สภาพสังคมของบ้านหัวยางด้านคุณภาพชีวิต
‘ รายได้เฉลี่ยของประชาชน 39,253 บาท / คน / ปี
H บ้านเรือนมีความมั่นคงถาวร ถูกสุขลักษณะ ครอบครัว อบอุ่น
h ประชาชนสุขภาพดีคนอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการตรวจสุขภาพประจำปี
& เด็กและเยาวชน ได้รับการศึกษาภาคบังคับทุกคน ประชาชนที่มีอายุ 15-60 ปี
อ่านออกเขียนได้
ã ผู้สูงอายุและคนพิการได้รับการดูแลเป็นอย่างดี
” ครัวเรือนเป็นสมาชิกกลุ่มองค์กรในชุมชน
J ครัวเรือนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อ
ประโยชน์ของชุมชนหรือท้องถิ่น
& คนอายุ 18 ปีขึ้นไปที่มีสิทธิ์เลือกตั้งไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งในชุมชนของตน
1.8 ศาสนา ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ มีวัดบ่อประดู่ เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ
1.9 ประเพณีวัฒนธรรมที่สำคัญ
v ประเพณีชักพระ ซึ่งเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาทุก ๆ ปี ทางวัดจัดขึ้นเพื่อขอฝน โดยใช้รถลากเรือพระไปตามถนน
v ประเพณีสงกรานต์ มีการจัดรดน้ำ ดำหัวผู้อาวุโสในหมู่บ้าน ชุมชน โดยจัดเป็นประจำทุกปี ระหว่างวันที่ 12 – 15 เมษายน
v ประเพณีทำบุญเดือนสิบ เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ โดยทำเป็นประจำ ทุกปี ชาวบ้านจะนำอาหารคาวหวาน เช่น ขนมพอง ขนมลา ขนมต้ม ขนมเทียน ผลไม้ ประกอบพิธีกรรมที่วัดใกล้บ้านหรือวัดที่เป็นภูมิลำเนาเดิม เพื่อทำบุญให้กับผู้ที่ล่วงลับ
v ประเพณีลอยกระทง ชาวบ้านจัดงานลอยกระทง ขึ้นในวันเพ็ญ เดือน 12 ของทุกปี ณ บริเวณโรงเรียนสทิงพระชนูปถัมภ์
1.10 การคมนาคม การคมนาคมภายในหมู่บ้าน เป็นถนนคอนกรีต ถนนลาดยางและถนนลูกรัง เส้นทางติดต่อระหว่างหมู่บ้าน เป็นถนนคอนกรีต ถนนลาดยางและถนนลูกรัง เส้นทางติดต่อกับอำเภอเป็นถนนลาดยาง
1.11 การติดต่อสื่อสาร
- ตู้โทรศัพท์สาธารณะ จำนวน 1 แห่ง
- เสียงตามสายประจำหมู่บ้าน จำนวน 1 แห่ง
- โทรศัพท์มือถือ จำนวน 152 เครื่อง
1.12 การไฟฟ้า ครัวเรือนในบ้านหัวยาง มีไฟฟ้าใช้ครบทุกครัวเรือน
2. บ้านบ่อประดู่ หมู่ที่ 2 ตำบลวัดจันทร์ อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
2.1 ประวัติหมู่บ้าน
P สมัยก่อนมีบ่อน้ำอยู่กลางหมู่บ้าน และมีต้นประดู่ใหญ่อยู่ใกล้บ่อน้ำนั้น ซึ่งเป็นบ่อที่ชาวบ้านในหมู่บ้านใช้น้ำกันมากที่สุด ชาวบ้านจึงเรียกหมู่บ้านนี้ว่า “บ้านบ่อประดู่” จนถึงปัจจุบัน
2.2 ที่ตั้ง
ทิศเหนือ จด หมู่ที่ 1 ตำบลวัดจันทร์ อำเภอสทิงพระ
ทิศใต้ จด หมู่ที่ 3 ตำบลวัดจันทร์ อำเภอสทิงพระ
ทิศตะวันออก จด อ่าวไทย
ทิศตะวันตก จด หมู่ที่ 5 ตำบลวัดจันทร์ อำเภอสทิงพระ
2.3 อาณาเขต/พื้นที่ บ้านบ่อประดู่ ตั้งอยู่ในเขต หมู่ที่ 2 ตำบลวัดจันทร์ อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา ห่างจากที่ว่าการอำเภอสทิงพระ ไปทางทิศใต้ ระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 890 ไร่ บ้านบ่อประดู่ เป็นที่ตั้งขององค์การบริหารส่วนตำบลวัดจันทร์
2.4 ครัวเรือน/ประชากร
บ้านบ่อประดู่ มีครัวเรือนทั้งหมด 143 ครัวเรือน ประชากรทั้งหมด 617 คน เป็นชาย 279 คน หญิง 305 คน (ข้อมูล จปฐ. ปี 2554)
2.5 ลักษณะภูมิประเทศ บ้านบ่อประดู่ มีสภาพพื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม ลักษณะดินเป็นดินทรายและดินเหนียว มีมรสุมพัดผ่านตลอดทั้งปี โดยทั่วไปจะมี 2 ฤดู คือ ฤดูร้อน กับฤดูฝน อากาศค่อนข้างร้อนมากใน ฤดูร้อน ในฤดูฝน ฝนตกไมแน่นอน บางปีก็มีฝนตกหนัก บางปีก็ตกเล็กน้อยถึงปานกลาง สภาพอากาศเหมาะสำหรับการประกอบอาชีพทำนา การเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์
2.6 สภาพทางเศรษฐกิจ ประชากรส่วนใหญ่ของบ้านบ่อประดู่ ประกอบอาชีพทำนา แต่ก็มีปัญหาเกี่ยวกับน้ำเพื่อการเกษตร เพราะต้องอาศัยน้ำฝน จึงทำให้สามารถทำนาได้เพียงปีละ 1 ครั้ง การทำนาจะทำได้เพียงพอกินในครอบครัว ไม่ใช่การทำเพื่อไว้ขาย จากการที่ประชากรในหมู่บ้านสามารถทำนาได้ปีละ 1 ครั้ง ทำให้ประชากรในหมู่บ้านต้องมีการประกอบอาชีพเสริม เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัวเช่น การเลี้ยงสัตว์ การปลูกไม้ผล ผักสวนครัว ทำน้ำตาลโตนด อาชีพรอง รับจ้าง ทำประมง
2.7 สภาพสังคมของบ้านบ่อประดู่ด้านคุณภาพชีวิต
รายได้เฉลี่ยของประชาชน 41,634 บาท / คน / ปี
H บ้านเรือนมีความมั่นคงถาวร ถูกสุขลักษณะ ครอบครัว อบอุ่น
h ประชาชนสุขภาพดีคนอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการตรวจสุขภาพประจำปี
& เด็กและเยาวชน ได้รับการศึกษาภาคบังคับทุกคน ประชาชนที่มีอายุ 15-60 ปี
อ่านออกเขียนได้
ã ผู้สูงอายุและคนพิการได้รับการดูแลเป็นอย่างดี
ครัวเรือนเป็นสมาชิกกลุ่มองค์กรในชุมชน
J ครัวเรือนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อ
ประโยชน์ของชุมชนหรือท้องถิ่น
& คนอายุ 18 ปีขึ้นไปที่มีสิทธิ์เลือกตั้งไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งในชุมชนของตน
2.8 ศาสนา ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ มีวัดบ่อประดู่ เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ
2.9 ประเพณีวัฒนธรรมที่สำคัญ
v ประเพณีชักพระ ซึ่งเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาทุก ๆ ปี ทางวัดจัดขึ้นเพื่อขอฝน โดยใช้รถลากเรือพระไปตามถนน
v ประเพณีสงกรานต์ มีการจัดรดน้ำ ดำหัวผู้อาวุโสในหมู่บ้าน ชุมชน โดยจัดเป็นประจำทุกปี
ระหว่างวันที่ 12 – 15 เมษายน
v ประเพณีทำบุญเดือนสิบ เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ โดยทำเป็นประจำ
ทุกปี ชาวบ้านจะนำอาหารคาวหวาน เช่น ขนมพอง ขนมลา ขนมต้ม ขนมเทียน ผลไม้
ประกอบพิธีกรรมที่วัดใกล้บ้านหรือวัดที่เป็นภูมิลำเนาเดิม เพื่อทำบุญให้กับผู้ที่ล่วงลับ
v ประเพณีลอยกระทง ชาวบ้านจัดงานลอยกระทง ขึ้นในวันเพ็ญ เดือน 12 ของทุกปี
ณ บริเวณโรงเรียนสทิงพระชนูปถัมภ์
2.10 ผู้มีความรู้/ภูมิปัญญาท้องถิ่นต่าง ๆ ในหมู่บ้าน
v นายคริ้ว ปิ่นทอง อายุ 68 ปี บ้านเลขที่ 32/1 เป็นปราชญ์ด้านศิลปิน มโนหรา
v นายชม สักโก อายุ 74 ปี บ้านเลขที่ 32/2 เป็นปราชญ์ด้านหมอทำขวัญนาค
v นายชม ธรรมรัตน์ อายุ 65 ปี เป็นปราชญ์ด้านหมอสมุนไพรพื้นบ้าน
v นายปรีชา ซุ้นสุวรรณ อายุ 79 ปี บ้านเลขที่ 38 เป็นปราชญ์ด้านการจักสานใบตา
2.11 ข้อมูลผู้นำชุมชนของบ้านบ่อประดู่
1) นางฉลาด นวลสุวรรณ ตำแหน่ง ผู้ใหญ่บ้าน
2) นายสาทร ชูนุ้ย ตำแหน่ง ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครอง
3) นายเสนอ โภชะ ตำแหน่ง ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครอง
4) นายอาคม นวลสุวรรณ ตำแหน่ง ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาความสงบ
5) นายชัด จู่เถี้ยง ตำแหน่ง สมาชิก อบต.
6) นายธีระพงศ์ นวลสุวรรณ ตำแหน่ง สมาชิก อบต.
2.12 การคมนาคม การคมนาคมภายในหมู่บ้าน เป็นถนนคอนกรีต ถนนลาดยางและถนนลูกรัง เส้นทางติดต่อระหว่างหมู่บ้าน เป็นถนนคอนกรีต ถนนลาดยางและถนนลูกรัง เส้นทางติดต่อกับอำเภอเป็นถนนลาดยาง
2.13 การติดต่อสื่อสาร
- ตู้โทรศัพท์สาธารณะ จำนวน 1 แห่ง
- เสียงตามสายประจำหมู่บ้าน จำนวน 1 แห่ง
- โทรศัพท์มือถือ จำนวน 110 เครื่อง
2.14 การไฟฟ้า ครัวเรือนในบ้านบ่อประดู่ มีไฟฟ้าใช้ครบทุกครัวเรือน
เข้าชม : 1367 |