ไฟล์เอกสารแนบ :
วิธีการเรียนแบบทางไกล ดาวน์โหลดใบสมัคร (คลิก)
เป็นการจัดการศึกษาตามหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการศึกษานอกโรงเรียน ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ของกระทรวงศึกษาธิการ วิธีเรียนทางไกล เป็นการเรียนรู้โดยผ่านสื่อการศึกษาทางไกล ได้แก่ ชุดการเรียนทางไกล วิทยุ โทรทัศน์ เป็นต้น โดยนักศึกษาจะต้องเรียนรู้ด้วยตนเอง มีอาจารย์ที่ปรึกษาให้คำแนะนำปรึกษาปัญหาในการเรียน มีการสอนเสริมในหมวดวิชาที่ยาก มีการทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต (กพช.) และสอบวัดผลการเรียนปลายภาคเรียน
ระดับการศึกษาที่เปิดสอน
1) ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (เทียบได้กับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3)
2) ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (เทียบได้กับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6)
ค่าสมัครและลงทะเบียนเรียน (เรียนฟรี)
คุณสมบัติของผู้สมัคร
1. สัญชาติไทย
2. พ้นเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับ หรืออายุ 16 ปี ขึ้นไป
3. ไม่เป็นนักเรียนหรือนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในสถานศึกษาในระบบโรงเรียนหรือนอกระบบโรงเรียน
หลักฐานการสมัคร
1. ใบสมัครเป็นนักศึกษา
2. หลักฐานการศึกษา ฉบับจริงและสำเนา 2 ฉบับ (ใบ รบ.หรือใบประกาศนียบัตร)
3. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน 1 ฉบับ
4. สำเนาทะเบียนบ้าน 1 ฉบับ
5. รูปถ่าย ขนาด 1 นิ้ว จำนวน 2 รูป (เสื้อมีปก ถ่ายหน้าตรงไม่สวมแว่นตาและหมวก)
6. ใบเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุล 1 ฉบับ (กรณีชื่อ/นามสกุลไม่ตรงกับหลักฐานการศึกษา)
วิธีการสมัครเรียน
1. ขอใบสมัครได้ที่สถาบันการศึกษาทางไกล หรือดาวน์โหลดใบสมัครจาก www.dei.ac.th
2. กรอกรายละเอียดในใบสมัครให้เรียบร้อย
3. ส่งใบสมัครพร้อมหลักฐานการสมัคร ไปยังสถาบันการศึกษาทางไกล ทางไปรษณีย์ ตามเวลาที่กำหนด
4. หรือนำใบสมัครพร้อมหลักฐานการสมัครด้วยตนเองที่สถาบันการศึกษาทางไกล ในวันและเวลาราชการ
ใบสมัคร สามารถดาวน์โหลดใบสมัครจาก www.dei.ac.th หรือ
วันรับสมัครเรียน
ภาคเรียนที่ 1 วันที่ 1 – 30 เมษายน
ภาคเรียนที่ 2 วันที่ 1 ตุลาคม - 15 พฤศจิกายน
สถานที่ส่งใบสมัคร หรือติดต่อสอบถาม
ส่วนจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
สถาบันการศึกษาทางไกล
เลขที่ 928 อาคาร 5
ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา (เอกมัย)
ถนนสุขุมวิท เขตคลองเตย กทม. 10110
หรือ โทรศัพท์หมายเลข 02 3816650
(ในวันและเวลาราชการ)
โครงสร้างหลักสูตรทุกระดับ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ
1) กลุ่มหมวดวิชาพื้นฐาน จำนวน 4 หมวดวิชา ประกอบด้วย
- หมวดวิชาภาษาไทย
- หมวดวิชาคณิตศาสตร์
- หมวดวิชาวิทยาศาสตร์
- หมวดวิชาภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ)
2) กลุ่มหมวดวิชาประสบการณ์ จำนวน 4 หมวดวิชา ประกอบด้วย
- หมวดวิชาพัฒนาสังคมและชุมชน ประกอบด้วยวิชาศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม
หน้าที่พลเมืองและการดำเนินชีวิตในสังคม เศรษฐศาสตร์ ประวัติศาสตร์
และภูมิศาสตร์
- หมวดวิชาพัฒนาทักษะชีวิต 1 ประกอบด้วยวิชาพลศึกษา และสุขศึกษา
- หมวดวิชาพัฒนาทักษะชีวิต 2 ประกอบด้วยวิชาศิลปะ ดนตรี และนาฏศิลป์
- หมวดวิชาพัฒนาอาชีพ ประกอบด้วยวิชาอาชีพและเทคโนโลยี
ระยะเวลาในการเรียน
1. ใช้เวลาเรียน 4 ภาคเรียน หรือ 2 ปี โดยลงทะเบียนเรียน ภาคเรียนละ 2 หมวดวิชา
2. ใช้เวลาเรียนน้อยกว่า 4 ภาคเรียน หรือ 2 ปี โดยมีการเทียบโอนผลการเรียน
3. ใช้เวลาเรียนมากกว่า 4 ภาคเรียน หรือ 2 ปี โดยลงทะเบียนน้อยกว่า ภาคเรียนละ 2 หมวดวิชา
หรือสอบไม่ผ่านบางหมวดวิชา ต้องเรียนใหม่
การลงทะเบียนเรียน
1. การลงทะเบียนเรียนปกติ ได้ 2 หมวดวิชา คือ
- หมวดวิชาพื้นฐาน 1 หมวดวิชา
- หมวดวิชาประสบการณ์ 1 หมวดวิชา
2. การลงทะเบียนเรียนเพิ่ม ได้ 1 หมวดวิชา ในกรณี...
- หมวดวิชาที่สอบไม่ผ่าน
- หมวดวิชาเพิ่มเติม (เฉพาะมัธยมศึกษาตอนปลาย)
เกณฑ์การจบหลักสูตร
1. ผ่านหมวดวิชาตามโครงสร้างหลักสูตร 8 หมวดวิชา
2. ผ่านกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต (กพช.) ไม่น้อยกว่า 200 ชม.
3. ผ่านการเข้าร่วมสัมมนาสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต
4. ผ่านการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
5. ผ่านการประเมินการอ่าน คิด วิเคราะห์ และเขียน
6. ผ่านเข้าสอบคุณภาพการศึกษานอกระบบระดับชาติ หรือ N-Net ในภาคเรียนสุดท้าย
การเทียบโอนผลการเรียน
- เทียบโอนผลการเรียนจากสถานศึกษาอื่น ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- เทียบโอนผลการเรียนจากการประเมินความรู้และประสบการณ์หมวดวิชาต่าง ๆ
หลักฐานที่นำมาขอเทียบโอนผลการเรียน
1. ใบระเบียนแสดงผลการเรียนหลักสูตรในประเทศ และหลักสูตรต่างประเทศ
2. หลักฐานการศึกษาในโครงการแลกเปลี่ยนเยาวชนระหว่างประเทศ
3. สมุดประจำตัวทหารกองหนุน หรือหนังสือรับรองการปลดประจำการจากบังคับหน่วยทหาร
4. บัตรประจำตัวอาสาสมัครสาธารณสุข หรือหนังสือรับรอง (ในกรณีที่เคยเป็น อสม.)
5. หลักฐานที่แสดงว่าเป็น หรือเคยเป็นผู้นำท้องถิ่นหรือสมาชิกสภาท้องถิ่น
6. วุฒิบัตรแสดงผลการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติทางด้านช่างอุตสาหกรรม
พร้อมหลักฐานคะแนนผลการประเมินจากการทดสอบ
ที่มา : http://www.pronie.net/page/frontend/theme_1/register.php?Submit=Clear&ID_Register=00000007
เข้าชม : 309149 |