การเทียบระดับการศึกษาในระดับสูงสุดของการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กรมส่งเสริมการเรียนรู้ ได้ดำเนินการจัดการเทียบระดับการศึกษาในระดับสูงสุดของการศึกษาขั้นพื้นฐาน (มัธยมศึกษาตอนปลาย) โดยมีจุดมุ่งหมายในการสร้างความรู้ความสามารถ เพื่อให้ประชาชนสามารถอยู่ในโลกได้อย่างเป็นสุขด้วยกระบวนการของการเรียนรู้ตลอดชีวิต ให้มีประสบการณ์จากการทำงาน เกิดความชำนาญ ความเชี่ยวชาญ สามารถนำไปปรับใช้กับตนเองและสังคมได้อย่าง สร้างสรรค์ สอดคล้องกับการเตรียมประชาชนในระดับผู้ใช้แรงงาน ในชุมชนเมืองและชนบท เข้าเป็นสมาชิกประชาคมอาเซียน และตลาดแรงงานอาเซียน ASEAN Market และมีวัตถุประสงค์ในการมุ่งพัฒนาความคิด การเรียนรู้ การทำงานแบบบูรณาการ และเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน ทั้งประชาชนในเขตชุมชน ภาคเกษตรกรรม ภาคบริหาร และโรงงานอุตสาหกรรม ในฐานะหุ้นส่วนการยกระดับการศึกษาของประชากรส่วนมากของประเทศที่ขาดโอกาสให้มีโอกาสในการเรียนรู้เพื่อให้พัฒนาตนเองอย่างยั่งยืน ตลอดจนเตรียมความพร้อมของกลุ่มบุคคลวัยแรงงานสู่ตลาดแรงงานอาเซียนในอนาคตอันใกล้ โดยส่งเสริมการเรียนรู้แบบองค์รวมผ่านสื่อที่หลากหลาย เพื่อเป็นการสร้างตัวแบบการศึกษาเทียบโอนวิทยฐานะ โดยไม่กำหนดพื้นฐานตามการศึกษาในระบบ Functional Education เน้นความรู้ความ ชำนาญการทำงาน Knowledge and Experience by Learning and working
วุฒิการศึกษา
ได้รับวุฒิการศึกษามัธยมศึกษา มีศักดิ์และสิทธิ์เท่าเทียมกับผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายทั้งในและนอกระบบโรงเรียน
คุณสมบัติของผู้สมัคร
- มีสัญชาติไทย
- มีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปี บริบูรณ์นับถึงวันที่สมัครรับการประเมิน
- มีพื้นความรู้ไม่ต่ำกว่าการศึกษาระดับประถมศึกษา
- ไม่เป็นนักเรียนหรือนักศึกษา ที่กำลังศึกษาอยู่ในสถานศึกษาที่จัดการศึกษาในระบบ หรือการศึกษานอกระบบที่แบ่งระดับเช่นเดียวกับการศึกษาในระบบ
- มีประสบการณ์การประกอบอาชีพเป็นหลักแหล่ง ไม่น้อยกว่า 3 ปี
กระบวนการการเทียบระดับการศึกษาในระดับสูงสุดของการศึกษาขั้นพื้นฐาน
- แนะแนวและวางแผนการเรียนรู้ร่วมกับครูที่ปรึกษา ประเมินผลการเทียบระดับการศึกษาในระดับสูงสุดของการศึกษาขั้นพื้นฐาน ใช้การประเมินผลเป็นรายวิชา แบ่งเป็น 2 ภาค ภาคทฤษฎี ประเมินด้วยแบบทดสอบความรู้ร้อยละ70 ซึ่งแบ่งเป็นการประเมินด้วยแบบทดสอบของสถาบันทดสอบทางการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือ สทศ. ร้อยละ 20 และ แบบทดสอบของสำนักงาน กศน. ร้อยละ 50 โดยคะแนนรวมต้องสอบได้คะแนน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ยกเว้นวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร และวิชาคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน ต้องสอบได้คะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ภาคประสบการณ์ ประเมินด้วยการปฏิบัติจริง และหรือ สัมภาษณ์ และหรือ ชิ้นงาน และหรือ แฟ้มประมวลประสบการณ์ ร้อยละ 30
- เกณฑ์การผ่านการประเมินแต่ละรายวิชา ต้องได้คะแนนภาคทฤษฎี และภาคประสบการณ์รวมกันไม่น้อยกว่า ร้อยละ 60
เนื้อหาสาระการเรียนรู้ครอบคลุม 4 Module 9 รายวิชา ดังนี้
Module 1 เครื่องมือสร้างความรู้สู่ความสำเร็จ
1. การใช้คอมพิวเตอร์
2. คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน
3. การบริหารธุรกิจ SMES
Module 2 พัฒนาองค์กรชุมชนเข้มแข็ง
4. ระบอบประชาธิปไตย
5. การบริหารจัดการชุมชน
Module 3 การสื่อสาร
6. การสนทนาภาษาอังกฤษ/ภาษาจีน
7. ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร และ
Module 4 วิจัยชุมชน และทั่วไป
8. การวิจัยชุมชน
9. การจัดการอาหารเพื่อครอบครัว และชุมชน
เปิดรับสมัครเรียน
ระหว่างเดือนมีนาคม-เมษายน
ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม
สนใจติดต่อสมัครได้ที่
สกร.อําเภอ/เขต ที่ทําหน้าที่เทียบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 695 แห่ง ทั่วประเทศ
หรือสอบถามเพิ่มเติมที่สายด่วน กศน. โทร. 1660
ผู้สนใจต้องการศึกษารายละเอียดสามารถเข้าชมรายละเอียดได้ที่
www.pattanadownload.com
สอบถามเพิ่มเติม โทร.0 2282 1895 และ 0 2282 2853
ที่มา : http://www.pronie.net/page/frontend/theme_1/register.php?Submit=Clear&ID_Register=00000008
เข้าชม : 306687 |