นโยบายและจุดเน้นการดำเนินงาน สำนักงาน สกร.จังหวัดสงขลา
วิสัยทัศน์
ประชาชนในจังหวัดสงขลาได้รับการศึกษาตลอดชีวิตและการศึกษาวิชาชีพเพื่อการมีงานทำอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน มุ่งสร้างสังคมฐานความรู้ สร้างกลุ่มอาชีพชุมชน จัดการศึกษาให้สอดคล้องกับ อัตลักษณ์ในพื้นที่เพื่อสร้างความเข้มแข็ง และความมั่นคงในพื้นที่ชายแดน และส่งเสริมให้ประชาชนมีความพร้อมเพื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
พันธกิจ
๑. จัดและส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยที่มีคุณภาพ เพื่อยกระดับการศึกษา การพัฒนาอาชีพ คุณภาพชีวิตและพัฒนาสังคม จัดการศึกษาที่สอดคล้องกับอัตลักษณ์ของพื้นที่ เสริมสร้างความเข้มแข็งของสังคมและความมั่นคงในพื้นที่ชายแดน และจัดการศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมประชาชนเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
๒. ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
๓. สนับสนุนและพัฒนาสื่อ เทคโนโลยี เพื่อใช้ในการยกระดับคุณภาพการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
๔. ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิตของชุมชนโดยการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของคนในชุมชนและส่งเสริมบทบาทของภูมิปัญญา องค์กรชุมชน อาสาสมัคร ในการสนับสนุนและมีส่วนร่วมจัดการศึกษา
๕. พัฒนาระบบบริหารจัดการให้สามารถจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้มีประสิทธิภาพและมีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด
เป้าประสงค์
๑. ประชาชนในจังหวัดสงขลาได้รับการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในรูปแบบที่เหมาะสมที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน
๒. ประชากรวัยแรงงานมีระดับการศึกษาที่สูงขึ้น มีอาชีพ มีรายได้ที่เหมาะสม มีการจัดตั้งกลุ่มอาชีพวิสาหกิจชุมชนในรูปแบบที่สอดคล้องกับชุมชน
๓. ประชาชนมีความรู้ อ่านออก เขียนได้ มีทักษะภาษาอังกฤษ ภาษาจีนและภาษาในกลุ่มประเทศอาเซียน รวมทั้งมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับภูมิภาคและความเป็นประชาคมอาเซียน
๔. องค์กรภาคีเครือข่ายต่างๆ ร่วมเป็นภาคีเครือข่ายในการดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
๕. หน่วยงานและสถานศึกษาใช้และพัฒนาสื่อเทคโนโลยีในการบริหารงานและจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีคุณภาพ
๖. ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดกระบวนการเรียนรู้ โดยมีองค์กรชุมชน กศน.ตำบล บ้านหนังสืออัจฉริยะเป็นแหล่งเรียนรู้
๗. หน่วยงาน สถานศึกษาในสังกัดมีการจัดระบบบริหารจัดการที่เหมาะสมกับภารกิจขององค์กร การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพ มีธรรมาภิบาลและมุ่งผลสัมฤทธิ์
ตัวชี้วัด
๑. มีการสำรวจสภาพการรู้หนังสือและความต้องการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยของแต่ละอำเภอไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐ ของประชากรที่มีอายุ ๑๕ ปีขึ้นไป
๒. ผู้ที่ไม่รู้หนังสืออายุระหว่าง ๑๕ – ๕๙ ปี เข้าเรียนการรู้หนังสือไม่น้อยกว่าร้อยละ ๕๐ ของจำนวนที่สำรวจได้ และผ่านการอ่านออกเขียนได้ ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐ ของผู้เข้าเรียน
๓. ประชากรวัยแรงงานเข้าเรียนการศึกษาขั้นพื้นฐานนอกระบบไม่น้อยกว่าร้อยละ ๕๐ ของจำนวนที่สำรวจได้และผ่านการเรียนในแต่ละภาคเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐ ของผู้เข้าเรียน
๔. ประชาชนเข้าเรียนรู้วิชาชีพเพื่อการมีงานทำไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐ ของกลุ่มเป้าหมายและจบการศึกษาวิชาชีพไม่น้อยกว่าร้อยละ ๙๐ ของผู้เข้าเรียน และสามารถนำความรู้ไปใช้ประกอบอาชีพได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๕๐ ของผู้จบหลักสูตร และสามารถตั้งกลุ่มอาชีพวิสาหกิจชุมชนได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๕๐ ของกลุ่มอาชีพที่จบหลักสูตร
๕. ประชาชนได้รับการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะชีวิต พัฒนาสังคมและชุมชน และการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๙๐ ของกลุ่มเป้าหมายและผ่านการจบหลักสูตรไม่น้อยกว่าร้อยละ ๙๐ ของผู้เข้าเรียน
๖. มีผู้เข้าเรียนหลักสูตรภาษาอังกฤษ ภาษาจีน หรือภาษากลุ่มประเทศอาเซียนไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐ ของกลุ่มเป้าหมายและจบหลักสูตรไม่น้อยกว่าร้อยละ ๗๐ ของผู้เข้าเรียน สามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๕๐ ของผู้ที่จบหลักสูตร
๗. ห้องสมุดประชาชนจัดกิจกรรมได้ครบตามแผนปฏิบัติการ จัดได้ไม่น้อยกว่า ๕ โครงการ และมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐ ในแต่ละกิจกรรม
๘. กศน.ตำบล มีโครงสร้างพื้นฐานและกิจกรรมตามเกณฑ์มาตรฐาน ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐ มีโครงการริเริ่มร่วมกับชุมชนหรือเครือข่ายไม่น้อยกว่า ๓ โครงการ แต่ละโครงการมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมตามแผนปฏิบัติการไม่น้อยกว่าร้อยละ ๗๐
๙. บ้านหนังสืออัจฉริยะ มีโครงการริเริ่มร่วมกับชุมชนหรือเครือข่าย มีกิจกรรมไม่น้อยกว่า ๓ กิจกรรม มีโครงสร้างพื้นฐานและกิจกรรมตามเกณฑ์มาตรฐาน ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐ และมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมตามแผนปฏิบัติการไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐
๑๐. สถานศึกษาจัดให้มีการวิจัยไม่น้อยกว่า ๑ เรื่อง ใน ๑ ปีงบประมาณ และสามารถนำผลการวิจัยไปใช้กับผู้เรียนได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๖๐
๑๑. ผู้เรียน/ผู้รับบริการ ทุกกิจกรรมในสถานศึกษามีความพึงพอใจในการจัดการศึกษาของสถานศึกษาในระดับดี ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐
๑๒. การจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อความมั่นคงในพื้นที่ชายแดนทุกโครงการ ประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วมวางแผนและออกแบบการเรียนรู้ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐ ของกิจกรรมของแต่ละโครงการและมีผู้จบหลักสูตรไม่น้อยกว่าร้อยละ ๗๐ ของกลุ่มเป้าหมายแต่ละหลักสูตร
๑๓. การพัฒนาบุคลากรในองค์กรระดับสำนักงาน กศน.จังหวัดและระดับ กศน.อำเภอ จัดทำได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๙๐ ของแผนปฏิบัติการและมีผู้ผ่านการพัฒนาไม่น้อยกว่าร้อยละ ๙๐ ของผู้เข้ารับการพัฒนา
๑๔. มีการนิเทศ ติดตามผล ได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐ ของแผนการนิเทศ ติดตามผล
๑๕. สถานศึกษามีการจัดปฐมนิเทศ ปัจฉิมนิเทศทุกภาคเรียน มีผู้เข้ารับการปฐมนิเทศและปัจฉิมนิเทศไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐ ของจำนวนนักศึกษาในแต่ละภาคเรียน
๑๖. ครู กศน. มีแผนการเรียนรู้ประจำวิชาและจัดการเรียนการสอนเป็นไปตามแผนได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐ ของเวลาเรียนในแผน
๑๗. สถานศึกษาจัดให้มีการสอนเสริมแก่นักศึกษาภาคเรียนละไม่น้อยกว่า ๓ ครั้ง ต่อระดับการศึกษา ต่อภาคเรียน ในแต่ละครั้งมีผู้เข้ารับการสอนเสริมไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐ ของผู้เรียน
๑๘. ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ประจำภาคเรียนและการวัดผลระดับชาติไม่น้อยกว่าระดับพอใช้
๑๙. สถานศึกษามีศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนไม่น้อยกว่า ๓ ศูนย์และแต่ละศูนย์มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการพัฒนาอาชีพภายในศูนย์ ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐ ของแผน มีผู้จบหลักสูตรจากศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนไม่น้อยกว่าร้อยละ ๗๐ ของผู้เข้าเรียน
๒๐. สถานศึกษาจัดตั้งศูนย์อาเซียนศึกษาไม่น้อยกว่า ๑ ศูนย์ และสามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภายในศูนย์ได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐ ของแผน มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมในแต่ละกิจกรรมไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐ ของเป้าหมาย
ปรับปรุง 57-01-20
เข้าชม : 61883 |