[x] ปิดหน้าต่างนี้
 

ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ตำบลหัวเขา (สกร.ตำบลหัวเขา) ยินดีต้อนรับครับ เบอร์โทรติดต่อ 0918235972 อาคารอเนกประสงค์ หมู่ 7 ต.หัวเขา อ.สิงหนคร 90280 ตรงข้ามวัดเขาน้อย
 

  

ข่าวประชาสัมพันธ์
น้อมรำลึก วันอานันทมหิดล 9 มิถุนายน วันอานันทมหิดล

อังคาร ที่ 6 เดือน มิถุนายน พ.ศ.2560


 http://www.tlcthai.com/
วันอานันทมหิดล

วันอานันทมหิดล 9 มิถุนายนของทุกปี

พระราชประวัติ วันอานันทมหิดล

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระราชสมภพ เมื่อวันอาทิตย์ขึ้น 2 ค่ำเดือน 11 ปีฉลู ตรงกับวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2468 ณ เมือง ไฮเดเบอร์ก ประเทศเยอรมัน ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่สอง ในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรมพระบรมราชนก (ขณะนั่นดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดชกรมขุนสงขลานครินทร์) และ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (ขณะนั่นทรงเป็น หม่อมสังวาลย์ มหิดล ณ อยุธยา) เมื่อพระชนมายุ 3 พรรษา ได้เสด็จกลับประเทศไทยพร้อมด้วยพระบรมราชชนกและพระบรมราชชนนี โดยเสด็จประทับ ณ วังสระปทุม ในปีต่อมาได้ทรงศึกษาชั้นอนุบาล ณ โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย 2 ปี แล้ว จึงเสด็จไปประทับต่อ ณ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

เมื่อ เปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ.2475 ต่อมาภายหลัง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสละราชสมบัติเมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ.2477 สภาผู้แทนราษฎรและรัฐบาลในขณะนั้นมีมติเห็นชอบให้อัญเชิญ พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอานันทมหิดล (พระยศขณะนั้น) ขึ้นครองราชย์สืบราชสันติวงศ์ เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 8 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ทรงพระนามว่า “สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล” เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 แต่ในขณะนั้นพระองค์มีพระชนมายุเพียง 9 พรรษา จึงต้องทรงมีคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ซึ่งได้แก่พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์ พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพยอาภา และเจ้าพระยายมราช ทำการบริหารแผ่นดินแทนจนกว่าจะทรงบรรลุนิติภาวะ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ได้เสด็จนิวัตกลับประเทศไทยเป็นครั้งแรกหลักจากขึ้นครองราชย์ เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 ซึ่งขณะนั้นทรงมีพระชนมายุได้ 13 พรรษา การเสด็จนิวัตรครั้งนี้โดยทางเรือชื่อ มีโอเนีย พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอและสมเด็จพระอนุชา ซึ่งเมื่อเสด็จถึงปีนัง ได้พระราชทานสัมภาษณ์แก่หนังสือพิมพ์สเตรทเอคโค ดังมีข้อความตอนหนึ่งว่า

“ข้าพเจ้ารู้สึกยินดีที่จะได้เดินทางกลับสู่ประเทศอันเป็นที่รักของข้าพเจ้า และในอันที่จะได้เห็นประชาราษฎร์ของข้าพเจ้าเอง”

ตลอด ระยะเวลา 2 เดือน ที่ทรงเสด็จประทับอยู่ในเมืองไทย ได้ทรงออกเยี่ยมราษฎรในที่ต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนได้มีโอกาสเฝ้าชมพระบารมีอย่างใกล้ชิด จากนั้นได้ทรงเสด็จกลับไปศึกษาต่อที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ จนกระทั่งเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 การคมนาคมติดต่อเป็นไปโดยลำบากพระองค์ท่านจึงไม่ทรงมีโอกาสติดต่อกับประเทศ ไทย เมื่อสงครามสงบ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ซึ่งขณะนั้นกำลังศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์และเหลือเวลาอีกประมาณ 3 ปี จะทรงได้รับปริญญาเอกจึงเสด็จ นิวัติกลับประเทศไทยอีกครั้ง เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2488 ขณะนั้นทรงมีพระชนมายุได้ 21 พรรษา ซึ่งทรงบรรลุนิติภาวะแล้ว

ในการเสด็จนิวัตเมืองไทยครั้งนี้ เดิมทรงตั้งพระราชหฤทัยจะประทับอยู่ในเมืองไทยเพียง 1 เดือนจากนั้นจะเสด็จพระราชดำเนินกลับสวิตเซอร์แลนด์ เพื่อให้ทันการเปิดภาคเรียนใหม่ในกลางเดือนมกราคมแต่เนื่องจากทรงมีพระราช กรณียกิจในฐานะประมุขของประเทศ มากมาย ซึ่งเป็นเรื่องจำเป็นของชาติและพสกนิกร ทำให้ทรงเลื่อนเวลาที่จะเสด็จพระราชดำเนินกลับสวิตเซอร์แลนด์ออกไปเป็นวัน ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ.2489

อานันทมหิดล วันอานันทมหิดล 2556

น้อมรำลึก วันอานันทมหิดล 9 มิถุนายน วันอานันทมหิดล

พระราชภารกิจ

ทรงเสด็จออกรับการตรวจพลสวนสนามของฝ่ายพันธมิตรในประเทศไทยพร้อม ด้วยลอร์ด หลุยส์ เมาท์แบตเตน แม่ทัพใหญ่ของอังกฤษ อันเป็นผลให้ภาพพจน์และฐานะของประเทศเป็นที่ยอมรับแก่ประเทศทางตะวันตกที่ เป็นฝ่ายสัมพันธมิตร ซึ่งก่อนหน้านี้ฐานะของประเทศไทยไม่ค่อยสู้ดีนักเนื่องจากในระหว่างสงคราม โลก ประเทศต้องอยู่ในภาวะจำยอมที่ต้องให้ความร่วมมือแก่กองทัพญี่ปุ่นซึ่งเป็น ฝ่ายอักษะ ทำให้เมื่อสงครามสงบแล้ว มีประเทศพันธมิตรหลายชาติไม่พอใจและถือโอกาสข่มขู่ไทย
การพระราชทานวินิจฉัยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ.2489 ให้ใช้เป็นหลักในการปกครองประเทศในวันเสด็จเปิดสภาผู้แทนราษฎร

เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สงบลง จีนกลายเป็นประเทศมหาอำนาจที่อยู่ข้างฝ่ายชนะสงครามทำให้ชาวจีนบางกลุ่มที่ อาศัยอยู่ในเมืองไทยทำการเรียกร้องสิทธิบางประการจากรัฐบาลไทย ซึ่งก่อให้เกิดความขัดแย้งขึ้นระหว่างชาวไทยกับจีน จนถึงขั้นก่อความไม่สงบและมีการรุมทำร้ายร่างกายคนไทยที่เรียกว่า “เสียพะ” อยู่เนือง ๆ เหตุการณ์นี้ได้ทวีความรุนแรงและขยายพื้นที่อย่างกว้างขวางออกไปมากขึ้น จนเกือบจะกลายเป็นสงครามกลางเมือง เมื่อความบาดหมางระหว่างชาวไทยและชาวจีนนี้ทราบถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัวอานันทมหิดล ได้ทรงหาวิธีแก้ไขด้วยพระองค์เอง โดยทรงตระหนักว่าถ้าเสด็จฯ ออกเยี่ยมเยียนท้องถิ่นชาวจีนที่อาศัยอยู่เป็นจำนวนมากแล้ว ย่อมจะสามารถประสานรอยร้าวที่มีอยู่ ให้สนิทแน่นแฟ้นขึ้นได้ จึงทรงกำหนดการเสด็จเยี่ยมสำเพ็งอย่างเป็นทางการในวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ.2489 พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ และสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ ข่าวการเสด็จสำเพ็งครั้งนี้เป็นข่าวใหญ่ที่สร้างความตื้นเต้นยินดีเป็นอย่าง ยิ่งแก่พ่อค้าชาวจีน และพ่อค้าอินเดียที่อาศัยอยู่แถบนั้น เพราะเป็นครั้งแรกที่มีพระมหากษัตริย์เสด็จเยี่ยมสำเพ็งอย่างเป็นทางการ การเสด็จเยี่ยมเยียนครั้งนี้ทางใช้เวลานานถึง 4 ชั่วโมง เพราะมีชาวจีนมาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทมากมายและการรับเสด็จก็เป็นไปอย่าง มโหฬารด้วยความจงรักภักดีและเคารพบูชาอย่างสูง

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 เสด็จวรรคตเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ.2498 ปวงชนชาวไทยต่างรำลึกถึงพระเมตตาธิคุณและพระมหากรุณาธิคุณ อันมีเป็นอเนกประการจึงร่วมใจน้อมรำลึกถึงพระองค์ท่าน โดยถือเอาวันที่ 9 มิถุนายนของทุกปี เป็น “วันอานันทมหิดล” ในปี พ.ศ.2528 สมาคมศิษย์เก่าแพทย์จุฬาลงกรณ์ ได้รวบรวมทุนจากเงินบริจาคของศิษย์เก่าแพทย์จุฬาฯ “ทุกรุ่นจัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ขึ้น เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณที่ได้ทรงบันดาลให้เกิดคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และเป็นการเฉลิมพระเกียรติยศให้ประชาชนได้รำลึกถึงพระองค์ท่านสืบไปโดยมอบ ให้ คุณไข่มุกด์ ชูโต เป็น ผู้ออกแบบและปั้น พระบรมรูปหล่อด้วยส่วนผสมทองเหลืองและทองแดงขนาดเท่าครึ่งของพระองค์จริง ในท่าประทับนั่งเหนือเก้าอี้ ผินพระพักตร์ไปทางเบื้องขวาของพระองค์เล็กน้อย พระบรมรูปและเก้าอี้สูงประมาณหนึ่งเมตรครึ่ง พระบรมราชานุสาวรีย์ประดิษฐานไว้หน้าตึกอานันทมหิดล คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์พระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์แห่งนี้เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ.2529

เหตุการณ์สำคัญ วันอานันทมหิดล

แม้ว่ารัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลจะมีระยะเวลาสั้น แต่ก็มีเหตุการณ์สำคัญหลายเหตุการณ์เกิดขึ้น ได้แก่

  1. เปลี่ยนชื่อประเทศสยาม มาเป็น ประเทศไทย
    เมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2482 รัฐบาลซึ่งมีจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรีได้ประกาศเปลี่ยนชื่อจาก “ประเทศสยาม มาเป็น ประเทศไทย” โดยมีเหตุผลว่า คำว่าสยามมักใช้กันแต่ในวงราชการ และในชาวต่างประเทศ ส่วนคนไทยนั้นโดยเฉพาะชาวบ้านไม่ค่อยใช้คำว่าสยาม แต่ใช้คำว่าไทย อีกประการหนึ่ง การขนานนามประเทศส่วนมากมักเรียกตามเชื้อชาติของคนเจ้าของประเทศนั้น คนไทยมีเชื้อสายไทย ควรชื่อประเทศให้ตรงกับเชื้อชาติ ต่อมาในวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2488 รัฐบาลไทย ซึ่งมีนายทวี บุณยเกตุ เป็นนายกรัฐมนตรี ก็ได้มีประกาศการใช้ชื่อประเทศ ประชาชน และสัญชาติ อย่างเป็นทางการ โดยที่เชื่อของประเทศไทย ที่นิยมเรียกกันในต่างประเทศว่า SIAM จนแพร่หลายเป็นที่รู้จักกันมาช้านาน ฉะนั้นจึงให้ใช้ชื่อประเทศในภาษาอังกฤษว่า SIAM รวมถึงชื่อประชาชนและชื่อสัญชาติว่า SIAMESE สำหรับใช้ในภาษาต่างประเทศอื่น ๆ ให้ใช้ได้โดยอนุโลม ส่วนชื่อในภาษาไทยนั้นให้ใช้ชื่อ ไทย ตามเดิม
  2. กำหนดให้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่
    ได้มีประกาศเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ.2483
  3. การสร้างอนุสาวรีย์อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
    อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
    สร้าง ขึ้นบนถนนประชาธิปัตย์ ตอนถนนพญาไทยกับถนนราชวิถีกรุงเทพมหานคร อนุสาวรีย์นี้สร้างขึ้นเพื่อเชิดชูเกียรติทหาร ตำรวจ และพลเรือน ซึ่งได้สละชีพเพื่อชาติมีพิธีเปิด วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2485 อนุสาวรีย์นี้สร้างเป็นรูปดาบปลายปืน 5 แฉก บานเป็นวงกลมและมีรูปทองแดงเป็นทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ ตำรวจสนาม และพลเรือน เดิมจารึกชื่อผู้ที่เสียชีวิตในการรบในสมรภูมิอินโดจีนจำนวน 59 นาย ในภายหลังได้จารึกชื่อทหารที่เสียชีวิตในสงครามเกาหลีเพิ่มขึ้นด้วยอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
    อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
    สร้างขึ้นที่กึ่งกลางถนนราชดำเนินกลาง ช่วงที่ถนนดินสอติดต่อกับถนนประชาธิปไตย กรุงเทพมหานคร อนุสาวรีย์นี้รัฐบาลได้สร้างขึ้นเพื่อเป็นการแสดงให้เห็นว่า ประเทศไทยมีการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย ได้มีการวางศิลาฤกษ์ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2483 ลักษณะเด่นของอนุสาวรีย์นี้ คือ พานรัฐธรรมนูญตั้งอยู่กลางป้อมอนุสาวรีย์ รอบอนุสาวรีย์มีปีก 4 ด้าน
  4. สะพานข้ามแม่น้ำแคว
    สะพานข้ามแม่น้ำแควใหญ่ที่ชื่อว่า สะพานข้ามแม่น้ำแคว สร้างเสร็จเมื่อเดือน กันยายน พ.ศ.2486 และรถไฟสายมรณะ ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นที่ประกาศสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตร ได้ขอเดินทัพผ่านประเทศไทยในการ ทำสงครามกับอังกฤษและสหรัฐอเมริกา และได้ยกพลขึ้นบกอย่างกะทันหันตามจังหวัดชายทะเลของไทยประเทศไทยจำยอมต้องให้ญี่ปุ่นผ่าน
อานันทมหิดล วันอานันทมหิดล 2556

น้อมรำลึก วันอานันทมหิดล 9 มิถุนายน วันอานันทมหิดล

 

วันอานันทมหิดล

วันอานันทมหิดล ประจำปี 2556

อานันทมหิดล วันอานันทมหิดล 2556

วันอานันทมหิดล ประจำปี 2556 ศิลปินแกรมมี่รับพระราชทาน “เข็มวันอานันทมหิดล” – บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) นำทีมโดย เบล-สุพล พัวศิริรักษ์, แอร์-พงศกร ลิ่มสกุล, จูเนียร์-กรวิทย์ สูงกิจบูลย์ และ สมายล์- โสรญา ฐิตะวชิระ ในโอกาสเข้ารับพระราชทานของที่ระลึกจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในฐานะผู้มีอุปการคุณในการสนับสนุน การรณรงค์ เพื่อขอรับบริจาค “เข็มวันอานันทมหิดล” เพื่อหารายได้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมสมทบมูลนิธิอานันทมหิดล
แหล่งอ้างอิง :
– หนังสือพิมพ์สยามรัฐ ปีที่46 ฉบับที่15728
– ศิริวรรณ คุ้มโห้. พระราชประวัติพระมหากษัตริย์ 9 รัชกาล. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์เดอะบุคส์
 



เข้าชม : 531


ข่าวประชาสัมพันธ์ 5 อันดับล่าสุด

      ๓ มิถุนายน วันเฉลิมพระชนมพรรษา 28 / พ.ค. / 2567
      \"8 กันยายน วันที่ระลึกสากลแห่งการรู้หนังสือ\" 8 / ก.ย. / 2566
      วันที่ 12 สิงหาคม 7 / ส.ค. / 2566
      วันอาสาฬหบูชา วันเข้าพรรษา 31 / ก.ค. / 2566
      วันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว 8 / ก.ค. / 2566




ชื่อ/Email :
ใส่รหัสที่ท่านเห็นลงในช่องนี้
ไอคอน : ย่อหน้า จัดซ้าย จัดกลาง จัดขวา ตัวหนา ตัวเอียง เส้นใต้ ตัวยก ตัวห้อย ตัวหนังสือเรืองแสง ตัวหนังสือมีเงา สีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน สีส้ม สีชมพู สีเทา
อ้างอิงคำพูด เพิ่มเพลง เพิ่มวีดีโอคลิป เพิ่มรูปภาพ เพิ่มไฟล์ Flash เพิ่มลิงก์ เพิ่มอีเมล์
ความคิดเห็น :


กรุณาใช้คำพูดที่สุภาพ และอย่าใช้คำพูดที่พาดพิงถึงบุคคลอื่นให้เสียหาย ขอขอบคุณที่ให้ความร่วมมือ


ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของระบบไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม กรุณาแจ้งที่ ที่นี่ เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

 

สกร.ตำบลหัวเขา

หมู่ที่  7 ตำบลหัวเขา   อำเภอสิงหนคร  จังหวัดสงขลา 
เบอร์โทรติดต่อ  086-5138790
 
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05