[x] ปิดหน้าต่างนี้
 

ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ตำบลหัวเขา (สกร.ตำบลหัวเขา) ยินดีต้อนรับครับ เบอร์โทรติดต่อ 0918235972 อาคารอเนกประสงค์ หมู่ 7 ต.หัวเขา อ.สิงหนคร 90280 ตรงข้ามวัดเขาน้อย
 

  

เครือข่ายจัดการศึกษานอกโรงเรียน
วัดสุวรรณคีรี ตำบลหัวเขาอำเภอสิงหนคร

พุธ ที่ 21 เดือน ธันวาคม พ.ศ.2559


 

หอระฆัง วัดสุวรรณคีรี

 

รูปแบบศิลปะ
ด้านหน้าพระอุโบสถเป็นที่ตั้งของหอระฆังซึ่งเป็นอาคารก่ออิฐถือปูน มีทั้งหมดสองชั้น ชั้นล่างก่อทึบ ส่วนชั้นบนก่อโปร่ง มีการเจาะช่องหน้าต่างรูปวงรีทั้งสี่ด้าน ภายในแขวนระฆัง อาคารดังกล่าวสะท้อนลักษณะศิลปะตะวันตกหลายประการ เช่น การทำซู้มประตูอารค์โค้งที่ชั้นล่าง ซุ้มหน้าต่างทรงรูปไข่ที่ชั้นบน รวมไปถึงลักษณะเสาหลอกที่ชวนให้นึกถึงระเบียบแบบตะวันตก ทั้งนี้อิทธิพลตะวันตกเริ่มเข้ามาตั้งแต่ปลายรัชกาลที่ 3 และชัดเจนขึ้นในสมัยถัดมา ดังนั้นจึงพอกำหนดอายุหอระฆังดังกล่าวว่าไม่เก่าไปกว่ารัชกาลที่ 3



 

รูปแบบศิลปะ
ด้านหน้าประตูทางเข้าของอุโบสถมีการประดิษฐานประติมากรรมศิลารูปทหารจีน ทั้งนี้น่าสังเกตว่า เนื้อศิลามีสำดำสลับเทาและขาว ฝีมือช่างแกะสลักริ้วผ้าค่อนข้าวเป็นลอนคลื่น แต่ไม่ค่อยแกะสลักลวดลายรายละเอียดมากนัก ลักษณะดังกล่าวชวนให้นึกถึงงานประติมากรรมศิลาในมณฑลฝูเจี้ยน ทั้งนี้ ประติมากรรมจากแหล่งดังกล่าวน่าจะเป็นที่นิยม เพราะปรากฏในวัดแห่งอื่นด้วย เช่น วัดมัชฌิมาวาส เป็นต้น
ประติมากรรมรูปบุคลดังกล่าว แต่ชุดทหารจีน หน้าตาถมึงทึง และถือดาบเป็นอาวุธซึ่งปัจจุบันเหลือเพียงส่วนด้ามเท่านั้น ทั้งนี้เทพเจ้าจีนที่แต่งชุดทหาร และถืออาวุธมีอยู่หลายองค์ เช่นอาจหมายถึง ฉินซูเป่า และหยู่ฉือจิ้งเต๋อ ซึ่งเป็นเทพประตูที่นิยมในหมู่ชาวจีน

 
 
 
 
 
 
 
ถะศิลา วัดสุวรรณคีรี จ.สงขลา
 

รูปแบบศิลปะ
ด้านหน้าอุโบสถ วัดสุวรรณคีรี เป็นที่ประดิษฐานถะศิลาแบบจีนขนาดใหญ่ มีลักษณะสำคัญคือ ด้านล่างเป็นฐานเขียง รองรับส่วนกลางซึ่งมีรูปทรงเหมือนอาคารซ้อนชั้นโดยมีทั้งหมด 6 ชั้น และอยู่ในผังแปดเหลี่ยม ด้านบนสุดประดับปล้องไฉน ทั้งนี้ ถะ คือ สถูปทรงอาคารซึ่งเป็นแบบเฉพาะที่ชาวจีนพัฒนาขึ้นมาโดยมีทั้งทรงสี่เหลี่ยม และทรงแปดเหลี่ยม โดยตั้งแต่ราชวงศ์ซ่งลงมา ปรากฏแต่ถะทรงแปดเหลี่ยมเท่านั้น

ที่ชั้นที่สองของส่วนกลาง ปรากฏจารึกภาษาจีน โดยด้านหนึ่งเขียนว่า “嘉庆四年”อ่านว่า “เจียงชิ่งซื่อเหนียน” แปลว่า ปีที่สี่แห่งรัชสมัยพระเจ้าเจียชิ่ง ซึ่งอยู่ในปีพ.ศ. 2342 อันตรงกับสมัยรัชกาลที่ 1 หลักฐานดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ถะองค์นี้สร้างขึ้นในสมัยดังกล่าว อย่างไรก็ตาม เชื่อว่า ถะองค์นี้คงแกะสลักและนำเข้ามาจากเมืองจีน ทั้งนี้ ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ชาวสยามมีความนิยมนำเข้าประติมากรรมศิลาจากเมืองจีนเป็นจำนวนมาก

 
 
 
 
 
 
 
อุโบสถ วัดสุวรรณคีรี
 

รูปแบบศิลปะ
อุโบสถตั้งอยู่บนเนินกลางวัด โดยเป็นอาคารก่ออิฐถือทั้งส่วนผนัง และหน้าบัน กรอบหน้าบันลดรูปไม่มีการประดับช่อฟ้า ใบระกา หางหงษ์ กลางหน้าบันเป็นงานปูนปั้นลายพันธุ์พฤกษาสลับดอกไม้ โดยเกสรของดอกไม้แต่ละดอกแทนด้วยภาชนะเครื่องเคลือบ ทั้งนี้การประดับหน้าบันด้วยลายดังกล่าว และฝังภาชนะกระเบื้องเคลือบเกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยอยุธยาตอนปลาย และยังปรากฏการใช้ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นด้วย
นอกจากนี้ ลักษณะประตูและหน้าต่างของอาคารแห่งนี้เรียบง่าย ไม่มีการประดับใดๆ ด้านนอกพระอุโบสถมีการประดับเสมาซึ่งประดิษฐานอยู่ภายในซุ้มประจำทั้งแปดทิศ ทั้งนี้การประดับเสมาในซุ้มเป็นความนิยมของงานพุทธศิลป์สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

 
 
 
 
 
 
 
วัดสุวรรณคีรี จ.สงขลา
 

รูปแบบศิลปะ
วัดสุวรรณคีรี มีอีกชื่อหนึ่งว่า “วัดออก” เนื่องจากอยู่ทางทิศตะวันออกของวัดบ่อทรัพย์ วัดแห่งนี้ถือว่าเป็นวัดสำคัญของเมืองสงขลาตั้งแต่ยังตั้งเมืองที่ท่าแหลมสน กล่าวกันว่า วัดสุวรรณคีรีใช้เป็นสถานที่ถือน้ำพิพิฒน์สัตยาของข้าราชการเมืองสงขลา
สำหรับประวัติการสร้างวัดไม่ปรากฏชัดเจน บ้างว่าเป็นวัดที่สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยอยุธยา บ้างว่าสร้างขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ทั้งนี้หากพิจารณาจากถะศิลาที่มีจารึกศักราชแบบจีนซึ่งเทียบได้กับปีพ.ศ. 2342 จึงกล่าวได้ว่า ข้อสันนิษฐานประการหลังเป็นไปได้มากกว่า ทั้งนี้ วัดแห่งนี้มีงานศิลปกรรมที่น่าสนใจมากมาย เช่น จิตรกรรมฝาผนัง พระพุทธรูป หอระฆัง ถะศิลา ซุ้มใบเสมา เป็นต้น



เข้าชม : 700


เครือข่ายจัดการศึกษานอกโรงเรียน 5 อันดับล่าสุด

      กิจกรรมจิตอาสาพัฒนา เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสวรรคตสมเด็จพระนารายณ์มหาราช 11 / ก.ค. / 2566
      MOU 31 / ก.ค. / 2565
      โครงการ บรรยายพิเศษและสัมมนา ประวัติศาสตร์สงขลา ครั้งที่2 31 / ก.ค. / 2565
      กำแพงเมืองสงขลาที่หัวเขาแดง 21 / ธ.ค. / 2559
      บ่อเก๋ง ตำบลหัวเขา อำเภอสิงหนคร 21 / ธ.ค. / 2559




ชื่อ/Email :
ใส่รหัสที่ท่านเห็นลงในช่องนี้
ไอคอน : ย่อหน้า จัดซ้าย จัดกลาง จัดขวา ตัวหนา ตัวเอียง เส้นใต้ ตัวยก ตัวห้อย ตัวหนังสือเรืองแสง ตัวหนังสือมีเงา สีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน สีส้ม สีชมพู สีเทา
อ้างอิงคำพูด เพิ่มเพลง เพิ่มวีดีโอคลิป เพิ่มรูปภาพ เพิ่มไฟล์ Flash เพิ่มลิงก์ เพิ่มอีเมล์
ความคิดเห็น :


กรุณาใช้คำพูดที่สุภาพ และอย่าใช้คำพูดที่พาดพิงถึงบุคคลอื่นให้เสียหาย ขอขอบคุณที่ให้ความร่วมมือ


ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของระบบไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม กรุณาแจ้ง ที่นี่ เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

 

สกร.ตำบลหัวเขา

หมู่ที่  7 ตำบลหัวเขา   อำเภอสิงหนคร  จังหวัดสงขลา 
เบอร์โทรติดต่อ  086-5138790
 
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05