[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 
 การศึกษาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

 การจัดกระบวนการเรียนรู้ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

หลักการ
                      1. ยึดกรอบความคิดเศรษฐกิจพอเพียง 3 ห่วง 2 เงื่อนไข เป็นสาระหลักในการดำเนินงาน
                      2. ใช้กระบวนการจัดการความรู้เป็นวิธีการในการสร้างสรรค์กระบวนการเรียนรู้
                      3. ใช้ชุมชนเป็นพื้นฐานการเรียนรู้ ทั้งระดับตัวบุคคล และระดับชุมชน
                      4. ยึดแนวการทำงานโดยใช้การประสานเครือข่ายในพื้นที่
                      5. ให้ความสำคัญกับบทบาทของครู กศน. ในการเป็นผู้จัดการเรียนรู้ในชุมชนโดยเน้นเป็นการจัดกิจกรรมใหม่
                      6. บริหารโดยครู กศน. เป็นเจ้าภาพ ชุมชนเป็นเจ้าของ เครือข่ายเป็นเจ้ามือ

วัตถุประสงค์
                      1. เพื่อขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา เพื่อให้สถานศึกษาและบุคลากรสามารถนำปรัชญาไปประยุกต์ใช้ในการบริหารองค์กร บริหารการศึกษา และพัฒนาผู้เรียนได้อย่างเหมาะสมของแต่ละพื้นที่สู่การดำรงชีวิตของผู้เรียน ตลอดถึงครอบครัวและชุมชน
                      2. เพื่อนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่ชุมชนโดยผ่านกระบวนการเรียนรู้การศึกษานอกโรงเรียน
                      3. เพื่อพัฒนาสถานศึกษาให้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
                      4. เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสวันพระราชสมภพ 80 พรรษา


แนวทางการดำเนินงาน
ในการดำเนินงานขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงสู่ชุมชน โดยกระบวนการ กศน. มีแนวทางดังนี้
1. พัฒนาบุคลากร กศน. ให้มีความรู้ ความเข้าใจ และมีเจตคติเกี่ยวกับการดำเนินการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงสู่ชุมชน และสามารถนำสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม
2. พัฒนาสถานศึกษา องค์กรทุกระดับให้สามารถนำปรัชญาเศรษฐกิจสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. สามารถบูรณาการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในกิจกรรมการเรียนรู้ทุกหลักสูตร กศน.ทั้งหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน บูรณาการในหลักสูตรวิชาชีพ ทักษะชีวิต
4. จัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยรูปแบบการเรียนที่หลากหลาย เช่น เรียนรู้จากภูมิปัญญา ปราชญ์ ศึกษาตามโครงการพระราชดำริที่ให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จนสามารถนำสู่การปฏิบัติในชีวิตประจำวัน

เป้าหมาย
ประชาชนในชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกัน ความรอบรู้และความมีคุณภาพ

ผลกระทบที่เกิดขึ้น
1. ประชาชนได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิตดังนี้
      1.1 ส่งเสริมให้มีการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง
      1.2 ส่งเสริมให้มีทักษะการพัฒนาร่างกายมีสุขภาพแข็งแรง
      1.3 ส่งเสริมให้มีความประพฤติที่ดีและสร้างสรรค์
      1.4 ลดละเลิกอบายมุข
      1.5 ทำกินทำใช้ในครัวเรือน
      1.6 แสวงหารายได้เสริม
      1.7 มีการออมในครอบครัว

2. วิถีชีวิตชุมชน มีดังนี้
      2.1 ชุมชนมีจิตสำนึกรักและหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติของชุมชน
      2.2 แสวงหาสิ่งทดแทนและเพิ่มทรัพยากรธรรมชาติในชุมชน

3. สังคมคุณธรรม มีดังนี้
     3.1 มีวินัยในการดำเนินชีวิต พึ่งพาตนเองได้ สามารถยังประโยชน์ผู้อื่น
     3.2 มีความซื่อสัตย์ อดทน อดออม มีเหตุผล ทำงานกลุ่มได้
     3.3 รู้จักใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
     3.4 รู้จักใช้ทุนและแสวงหาทุนทางสังคม 


 

                                                              ภาพกิจกรรมที่ผ่านมา

                                                                                         


เข้าชม : 281
 
 
ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ตำบลปากรอ   
ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอสิงหนคร
สำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดสงขลา
ตำบลปากรอ  อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา
โทร 
074-332493
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05