ตำบลชะแล้เป็นตำบลหนึ่งในอำเภอสิงหนคร มีพื้นที่ทั้งหมด 8.907 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 5,561.875 ไร่ มีประชากรประมาณ 3,279 คน จากจำนวน 778 ครัวเรือน มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ใกล้เคียง ดังนี้
ทิศเหนือ ติดกับ ตำบลบางเขียด
ทิศใต้ ติดกับ ตำบลปากรอ
ทิศตะวันออก ติดกับ ติดกับตำบลรำแดง
ทิศตะวันตก ติดกับ ทะเลสาบสงขลา
ประชากรทั้งสิ้น 2,860 คน แยกเป็น
ชาย จำนวน 1,382 คน คิด เป็นร้อยละ 48.32 %
หญิง จำนวน 1,478 คน คิดเป็นร้อยละ 51.68 %
หมู่ที่
|
ชื่อหมู่บ้าน
|
ครัวเรือน
|
ประชากร (คน)
|
ชาย (คน)
|
หญิง (คน)
|
1
|
บ้านปากช่อง
|
167
|
625
|
308
|
317
|
2
|
บ้านสว่างอารมณ์
|
139
|
513
|
246
|
267
|
3
|
บ้านกลาง
|
174
|
560
|
263
|
297
|
4
|
บ้านชะแล้
|
202
|
712
|
342
|
370
|
5
|
บ้านเขาผี
|
103
|
450
|
223
|
227
|
รวม
|
785
|
2,860
|
1,382
|
1,478
|
ด้านสังคมและประเพณีและวัฒนธรรมของคนในชุมชน สภาพสังคมของประชาชนส่วนใหญ่อยู่เป็นครอบครัว ชาวบ้านส่วนใหญ่ นับถือศาสนาพุทธ มีวัดประจำหมู่บ้านเป็นสถานที่พิธีกรรมทางศาสนา และเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้านซึ่งมีอยู่ 2 วัด ได้แก่ วัดชะแล้ และวัดภูตบรรพต (วัดเขาผี) ทำให้เกิดประเพณีและวัฒนธรรมต่าง ๆ ที่สำคัญดังนี้
1. ประเพณีสงกรานต์ ซึ่งตรงกับวันที่ 13 เมษายน ของทุกปี มีการรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ เพื่อขอขมาลาโทษในสิ่งที่เคยล่วงเกิน และเป็นการแสดงความเคารพนับถือต่อบุพการี และบรรพบุรุษ เพื่อความเป็นสิริมงคลในชีวิตของลูกหลาน และมีประเพณีอื่น ๆ อีกมากมาย เช่นมีการทำบุญตักบาตร มีการสงน้ำพระ
2. ประเพณีสารทเดือนสิบ เป็นการอุทิศส่วนกุศลให้แก่ดวงวิญญาณของบรรพชนและญาติที่ล่วงลับ
อาชีพ
ลักษณะการประกอบอาชีพของราษฎรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการเกษตร ได้แก่ ทำนา ทำสวน การปลูกพืชผัก เช่น ข้าวโพด แตงกวา พริก มะเขือ การเลี้ยงสัตว์ ได้แก่ การเลี้ยงสุกร เลี้ยงโค เป็ด ไก่ นอกนั้น ก็มีการประกอบอาชีพค้าขาย รับจ้างและรับราชการ รายได้ส่วนใหญ่จึงมาจากภาคการเกษตร แต่เนื่องจากในสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันราคาสินค้าทางการเกษตรมีราคาที่ไม่แน่นอน จึงทำให้ค่าครองชีพสูงขึ้น ซึ่งไม่พอแก่การใช้จ่าย
เข้าชม : 806 |