[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 
การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต
การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต เป็นการจัดการเรียนรู้ที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคนทุกช่วงวัย ให้มีความรู้ เจตคติ และทักษะที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตในสังคมปัจจุบัน สามารถเผชิญสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเตรียมพร้อมสำหรับการปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของข่าวสารข้อมูล และเทคโนโลยีสมัยใหม่ในอนาคต โดยเน้นการฝึกปฏิบัติให้ผู้เรียนเกิดทักษะชีวิต ๑๐ ประการ คือ 
       (๑) ทักษะการตัดสินใจ หมายถึง ความสามารถในการตัดสินใจเกี่ยวกับเรื่องราวต่าง ๆ ในชีวิตได้อย่างรอบคอบ 
       (๒) ทักษะการแก้ปัญหา หมายถึง ความสามารถในการจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตได้อย่างมีระบบไม่เกิดความเครียด 
       (๓) ทักษะการคิดวิเคราะห์ หมายถึง ความสามารถในการวิเคราะห์ แยกแยะข้อมูล ข่าวสาร ปัญหาและสถานการณ์ต่าง ๆ รอบตัวได้     
       (๔) ทักษะการคิดสร้างสรรค์ หมายถึง ความสามารถในการใช้ความคิดอย่างสร้างสรรค์ ช่วยในการตัดสินใจและแก้ไขปัญหา เพื่อค้นหาทางเลือกต่าง ๆ และผลที่จะเกิดขึ้นในแต่ละทางเลือก และสามารถนำประสบการณ์มาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีพลังในการต่อสู้ และอย่างเหมาะสมกับวัย    
       (๕) ทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ หมายถึง ความสามารถในการใช้คำพูด และท่าทางเพื่อแสดงออกถึงความคิดและความรู้สึกของตนเองอย่างถูกต้อง เหมาะสม เช่น การแสดงความคิดเห็น ความต้องการ ความชื่นชม การขอร้อง การเจรจาต่อรอง การตักเตือน การช่วยเหลือ การปฏิเสธ ฯลฯ    
       (๖) ทักษะการสร้างสัมพันธภาพ หมายถึง ความสามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างบุคคล และรักษา ความสัมพันธ์นั้นไว้ได้    
       (๗) ทักษะการตระหนักรู้และเห็นคุณค่าในตนเอง หมายถึง  การรู้จักและเข้าใจตนเอง เช่น รู้ข้อดี ข้อเสีย ของตนเอง     รู้ความต้องการ และสิ่งที่ไม่ต้องการของตนเอง ซึ่งจะช่วยให้รู้ตัวเองเวลาเผชิญกับความเครียด หรือสถานการณ์ต่าง ๆ    
       (๘) ทักษะความเห็นใจผู้อื่น หมายถึง มีความเข้าใจความเหมือนหรือความแตกต่างระหว่างบุคคล ในด้าน ความสามารถ เพศ วัย ระดับการศึกษา ศาสนา ความเชื่อ สีผิว อาชีพ ฯลฯ เข้าใจความรู้สึก และยอมรับบุคคลอื่นที่ต่างจากตนเอง 
       (๙) ทักษะการจัดการกับอารมณ์ต่าง ๆ หมายถึง การรับรู้อารมณ์ของตนเองและผู้อื่น รู้ว่าอารมณ์มีผลต่อการแสดงพฤติกรรมอย่างไร รู้วิธีจัดการกับอารมณ์โกรธหรือโศกเศร้าที่ส่งผลทางลบต่อร่างกาย และจิตใจได้อย่างเหมาะสม  
      (๑๐) ทักษะการจัดการกับความเครียด หมายถึง การรับรู้ถึงสาเหตุของความเครียด รู้วิธีผ่อนคลายความเครียด และแนวทางในการควบคุมระดับความเครียด

แนวทางการจัดกิจกรรม  

                 ๑. วิเคราะห์สภาพปัญหา ความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ชุมชน และนโยบายของแต่ละระดับ   
                 ๒. การจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิต เป็นการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ เน้นการชวนคิด ชวนคุยเพื่อหาข้อสรุปร่วมกัน ให้ครอบคลุมทั้งด้านความรู้ การสร้างเสริมเจตคติที่ดี และการฝึกทักษะ ชีวิตที่จำเป็น เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิต สามารถปรับตัวอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข 
                 ๓. สื่อที่ใช้ในการจัดกิจกรรม อาจใช้ข่าวหนังสือพิมพ์  บทความ กระทู้จากเว็บไซต์ ละคร รวมถึงสื่อบุคคล ที่เป็นประเด็นปัญหาเร่งด่วนในปัจจุบัน เพื่อเรียนรู้เรื่องชีวิตในลักษณะ “บทเรียนชีวิต”ที่จะน ามาพูดคุยเพื่อร่วมกันคิด ร่วมกันระมัดระวังป้องกันและหาทางแก้ไข 
                 ๔. กลุ่มเป้าหมายที่เป็นจุดเน้น ได้แก่  
                     - ผู้สูงอายุ  
                     - เยาวชนกลุ่มเฉพาะ เช่น คุณแม่วัยใส กลุ่มเสี่ยงยาเสพติด 
                     - กลุ่มอื่น ๆ   
 
กิจกรรมการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต
โครงการอบรมการรู้เท่าทันพิษภัยยาเสพติด
กศน.ตำบลชะแล้
ปีงบประมาณ 2560

          

              
 


เข้าชม : 671
 
 
ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ตำบลชะแล้   
ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอสิงหนคร
สำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดสงขลา
โทร 074-332493
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05