ข้อมูลพื้นฐานตำบลวัดขนุน
สภาพทั่วไปของตำบล
ลักษณะทางภูมิศาสตร์
ลักษณะภูมิประเท สภาพโดยทั่วไปพื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม และพื้นที่ชายฝั่งทะเลสาบบางส่วน
ลักษณะภูมิอากาศ
ตำบลวัดขนุน มีลักษณะภูมิอากาศค่อนข้างอบอุ่น อยู่ในเขตอิทธิพลของลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศร้อนชื้นตลอดปี มี ๒ ฤดู ประกอบด้วย
ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนเมษายน ถึง เดือนพฤศจิกายน
ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนธันวาคม ถึง เดือนมีนาคม
อาณาเขต
ขนาดและที่ตั้ง
ตำบลวัดขนุนตั้งอยู่ทางทิศเหนือของอำเภอสิงหนครระยะห่างจากที่ว่าการอำเภอสิงหนครประมาณ ๑๑ กิโลเมตร ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลวัดขนุนตั้งอยู่ เลขที่ ๑ หมู่ที่ ๑ ตำบลวัดขนุน ถนนสายสงขลา – ระโนด อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา ตำบลวัดขนุนมีเนื้อที่ ๓๓.๕๒ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๒๐,๙๕๐ ไร่ มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้
ทิศเหนือ ติดตำบลม่วงงาม
ทิศตะวันออก ติดอ่าวไทย
ทิศใต้ ติดตำบลชิงโค
ทิศตะวันตก ติดตำบลรำแดง
๑. ประวัติความเป็นมาตำบลวัดขนุน
จากหลักฐานทางโบราณคดี คาบสมุทรสทิงพระเกิดจากพัฒนาการ การทับถมของสันทรายจากทะเลอ่าวไทย มีอายุไม่น้อยกว่า ๕,๐๐๐ ปี โดยการตรวจสอบของเปลือกหอยที่ทับถมอยู่ใต้พื้นดิน ตามกระบวนการวิทยาศาสตร์ มีการตั้งชุมชนโบราณอาศัยอยู่ตลอดแนวคาบสมุทรสทิงพระเป็นชุมชนรอบทะเลสาบสงขลา อาศัยแหล่งน้ำจืดอุปโภคบริโภค โดยการขุดสระน้ำที่เรียกว่า “พัง” ตำบลวัดขนุนเป็นส่วนหนึ่งของคาบสมุทรสทิงพระ มีจำนวน ๕ พัง
ชุมชนโบราณริมคลองปะโอ เป็นชุมชนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ริมคลองปะโอ ตำบลวัดขนุน ซึ่งเป็นบริเวณทางน้ำเก่า โดยใช้ลำคลองในการเดินเรือออกทะเลสาบสงขลา และทะเลอ่าวไทยในการติดต่อกับชุมชนอื่นโดยพบหลักฐานทางโบราณคดี ได้แก่ เครื่องปั้นดินเผา ซึ่งมีแหล่งผลิตเป็นเตาเผา ปัจจุบันเป็นเนินดินชาวบ้านเรียกโคกหม้อ และโคกไพ ได้ขุดค้นพบเครื่องปั้นดินเผาประเภทต่าง ๆ ตั้งแต่ จานแบน อ่างดินเผา คนโฑ และที่สำคัญคือหม้อกุณฑีที่มีพวยกาและกุณโฑ อีกทั้งยังพบชิ้นส่วนของเทวรูป นอกจากนี้ ยังมีแนวสันทรายที่มีสระน้ำขนาดใหญ่ตั้งเรียงรายอยู่หลายแห่ง บริเวณนี้จึงเหมาะที่จะเป็นท่าจดเรือได้ดีในยุคต้น ๆ ก่อนการขุดคลองเชื่อมทะเลสาบกับทะเลภายนอก
มีการติดต่อ สัมพันธ์กับชุมชนต่าง ๆ ทั้งในระยะใกล้และไกลมาไม่น้อยกว่า ๒,๐๐๐ – ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว จากการตรวจสอบจากเครื่องปั้นดินเผาที่พบตามแหล่งต่าง ๆ และได้รับอิทธิพลทางด้านศาสนาพราหมณ์ ฮินดู พุทธศาสนามหายานตันตระ จากหลักฐานโบราณวัตถุที่ขุดค้นพบในตำบลวัดขนุน ได้แก่ พระศิวิมหาเทพ (สำริด) ศิลปะสมัยศรีวิชัย พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๓ - ๑๕ ที่บ้านหนองหอย หมู่ที่ ๔ ตำบลวัดขนุน อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา
จากการตรวจสอบการตั้งวัด ในพื้นที่ใกล้เคียงและในตำบลวัดขนุน ได้แก่ วัดดีหลวงใน ตำบลชิงโค และวัดขนุน วัดหนองหอย ซึ่งกรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนพระอุโบสถ เป็นโบราณสถาน สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา และสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ตำบลวัดขนุน ก็เป็นชุมชนหนึ่งของชุมชนโบราณบ้านปะโอ บนคาบสมุทรสทิงพระ ที่มีความสัมพันธ์และอยู่ในเขตการปกครองของเมืองเก่าสทิงพระ หรือกรุงสทิงพาราณสี ก่อนที่จะอยู่ภายใต้การปกครองและเป็นชุมชนที่เป็นส่วนหนึ่งของเมืองสิงขระ หรือสิงขร หรือเมืองสงขลาฝั่งเขาแดงในสมัยกรุงศรีอยุธยา เมืองสงขลาฝั่งแหลมสน ในสมัยกรุงธนบุรี และเมืองสงขลาฝั่งบ่อยางด้านทิศตะวันออกของทะเลสาบสงขลา ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นมาจนถึงปัจจุบัน พัฒนาการเข้าสู่ยุคใหม่ของตำบลวัดขนุน มีการตั้งบ้านเรือนเป็นหย่อม ๆ มีชื่อเรียกหมู่บ้านตามสภาพธรรมชาติที่เป็นเอกลักษณ์ที่เด่น หรือประวัติความเป็นมา มีบ้านบ่อปลิง บ้านหนองหอย บ้านมะขาม บ้านวัดขนุน บ้านวัดวาส มีการขุดบ่อน้ำดื่มน้ำใช้ร่วมกันของหมู่บ้าน เช่น บ่อปลิง บ่อไทรทอง หรือบ่อน้ำในวัด และวัดเป็นศูนย์รวมพัฒนาการอารยธรรมด้านต่าง ๆ ได้แก่ วัดหนองหอย วัดขนุน วัดวาส นับถือพุทธศาสนาที่ได้รับอิทธิพลมาจากเมืองสงขลา ประกอบอาชีพแบบยังชีพเรียบง่ายจากการทำนา ปลูกผัก หรือทำน้ำตาลโตนด ซึ่งเห็นได้จากการเก็บข้าวไว้กินปีต่อปี หรือสำรองไว้ยามปีใดที่ผลผลิตไม่เอื้ออำนวย มีการเลี้ยงวัวไว้ใช้ไถนา เลี้ยงหมู เป็ด ไก่ ไว้เป็นอาหาร สภาพบ้านเรือนโดยทั่วไปยกพื้นใต้ถุนสูงโล่ง อุปกรณ์การก่อสร้างเป็นเรือนไม้ เสาตั้งบนเสาคอนกรีต ซึ่งเป็นเสาต่ำ ๆ หลังคามุงด้วยกระเบื้องดินเผา เป็นหลังคาทรงไทย และหลังคาแบบปั้นหยา ตัวเรือน ประกอบด้วย เรือนนอน ระเบียง นอกชาน ส่วนเรือนครัว แยกออกไปติดกับระเบียง หรือนอกชาน การคมนาคมเดินเท้า และทางเรือโดยสารโดยใช้คลองรำแดงออกสู่ทะเลสาบ และทะเลอ่าวไทยในช่วงฤดูลมมรสุมสงบ ก่อนการคมนาคมทางบกจากถนนดิน พัฒนาเป็นถนนลูกรัง และลาดยางขยายช่องทางมีชุมชน อิสลามและมัสยิดประจำหมู่บ้าน บริเวณริมฝั่งทะเลอ่าวไทย เป็นชุมชนบ้านขนุน และวัดวาส ประกอบอาชีพหลักด้านการประมงชายฝั่ง ก่อนที่จะพัฒนาอารยธรรมด้านต่าง ๆ มาเป็นตำบลวัดขนุนในปัจจุบัน
๒.๒ ข้อมูลด้านประชากร
ประชากรมีทั้งสิ้น จำนวน ๘,๐๒๐ คน โดยแยกเป็นชาย จำนวน ๓,๙๗๔ คน เป็นหญิง ๔,๐๔๖ คน มีครัวเรือนรวมทั้งสิ้น ๒,๓๘๘ ครัวเรือน
โดยมีความหนาแน่นของประชากรโดยเฉลี่ย ๒๓๙ คน ต่อตารางกิโลเมตร
หมู่ที่
|
ชื่อเรียกหมู่บ้าน
|
ชื่อผู้ใหญ่บ้าน
|
ประชากรชาย
|
ประชากรหญิง
|
รวม
ประชากร
|
จำนวนครัวเรือน
|
๑
|
บ้านดีหลวง
|
นางถนอม ทองธีรภาพ
|
๕๑๕
|
๕๑๕
|
๑,๐๓๐
|
๓๖๒
|
๒
|
บ้านวัดขนุน
|
นายธงชาติ รอดสงค์
|
๔๐๐
|
๔๓๐
|
๘๓๐
|
๒๒๗
|
๓
|
บ้านมะขาม
|
นางสมพร มัชฌิมาภิโร
|
๔๗๒
|
๔๘๖
|
๙๕๘
|
๒๘๖
|
๔
|
บ้านหนองหอย
|
นายเจริญ นุ่นเหว่า (กำนัน)
|
๓๐๙
|
๓๔๐
|
๖๔๙
|
๑๘๖
|
๕
|
บ้านบ่อปริง
|
นายวิศรุต ไสยะ
|
๓๑๒
|
๓๕๐
|
๖๖๒
|
๓๐๒
|
๖
|
บ้านขนุน
|
นายสิทธิศักดิ์ แก้วกาธร
|
๔๐๘
|
๔๒๕
|
๘๓๓
|
๒๖๖
|
๗
|
บ้านชายทะเล
|
นายหร่อหมาด หวังขะเด
|
๙๖๕
|
๘๔๑
|
๑,๘๐๖
|
๓๙๖
|
๘
|
บ้านวัดวาส
|
นายอุดม จูหม๊ะ
|
๕๙๓
|
๖๕๙
|
๑,๒๕๒
|
๓๖๓
|
รวมทั้งสิ้น
|
๓,๙๗๔
|
๔,๐๔๖
|
๘,๐๒๐
|
๒,๓๘๘
|
ข้อมูลจากสำนักงานทะเบียน อำเภอ สิงหนคร ณ วันที่ ๑๑ เดือน กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙