[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 
 
ธงชาติเคลื่อไหวประเทศเวียดนาม

ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ตำบลวัดขนุน (สกร.ตำบลวัดขนุน) ยินดีต้อนรับค่ะ
 
ข้อมูลพื้นฐานตำบลวัดขนุน

 สภาพทั่วไปของตำบล

       ลักษณะทางภูมิศาสตร์

               ลักษณะภูมิประเท    สภาพโดยทั่วไปพื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม และพื้นที่ชายฝั่งทะเลสาบบางส่วน

               ลักษณะภูมิอากาศ

               ตำบลวัดขนุน มีลักษณะภูมิอากาศค่อนข้างอบอุ่น อยู่ในเขตอิทธิพลของลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศร้อนชื้นตลอดปี มี ๒ ฤดู ประกอบด้วย
              
ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนเมษายน ถึง เดือนพฤศจิกายน
               
ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนธันวาคม ถึง เดือนมีนาคม

 

   อาณาเขต                          

ขนาดและที่ตั้ง

               ตำบลวัดขนุนตั้งอยู่ทางทิศเหนือของอำเภอสิงหนครระยะห่างจากที่ว่าการอำเภอสิงหนครประมาณ ๑๑ กิโลเมตร ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลวัดขนุนตั้งอยู่ เลขที่ ๑ หมู่ที่ ๑ ตำบลวัดขนุน ถนนสายสงขลา ระโนด อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา ตำบลวัดขนุนมีเนื้อที่ ๓๓.๕๒ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๒๐,๙๕๐ ไร่ มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้

              ทิศเหนือ ติดตำบลม่วงงาม 
             
ทิศตะวันออก ติดอ่าวไทย 
         
ทิศใต้ ติดตำบลชิงโค 
              
ทิศตะวันตก ติดตำบลรำแดง

๑.  ประวัติความเป็นมาตำบลวัดขนุน

                                จากหลักฐานทางโบราณคดี  คาบสมุทรสทิงพระเกิดจากพัฒนาการ  การทับถมของสันทรายจากทะเลอ่าวไทย  มีอายุไม่น้อยกว่า  ๕,๐๐๐ ปี โดยการตรวจสอบของเปลือกหอยที่ทับถมอยู่ใต้พื้นดิน  ตามกระบวนการวิทยาศาสตร์  มีการตั้งชุมชนโบราณอาศัยอยู่ตลอดแนวคาบสมุทรสทิงพระเป็นชุมชนรอบทะเลสาบสงขลา อาศัยแหล่งน้ำจืดอุปโภคบริโภค  โดยการขุดสระน้ำที่เรียกว่า “พัง” ตำบลวัดขนุนเป็นส่วนหนึ่งของคาบสมุทรสทิงพระ  มีจำนวน ๕  พัง 

                                ชุมชนโบราณริมคลองปะโอ เป็นชุมชนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ริมคลองปะโอ  ตำบลวัดขนุน  ซึ่งเป็นบริเวณทางน้ำเก่า  โดยใช้ลำคลองในการเดินเรือออกทะเลสาบสงขลา   และทะเลอ่าวไทยในการติดต่อกับชุมชนอื่นโดยพบหลักฐานทางโบราณคดี ได้แก่ เครื่องปั้นดินเผา ซึ่งมีแหล่งผลิตเป็นเตาเผา ปัจจุบันเป็นเนินดินชาวบ้านเรียกโคกหม้อ  และโคกไพ ได้ขุดค้นพบเครื่องปั้นดินเผาประเภทต่าง ๆ ตั้งแต่ จานแบน อ่างดินเผา คนโฑ และที่สำคัญคือหม้อกุณฑีที่มีพวยกาและกุณโฑ  อีกทั้งยังพบชิ้นส่วนของเทวรูป  นอกจากนี้  ยังมีแนวสันทรายที่มีสระน้ำขนาดใหญ่ตั้งเรียงรายอยู่หลายแห่ง  บริเวณนี้จึงเหมาะที่จะเป็นท่าจดเรือได้ดีในยุคต้น ๆ  ก่อนการขุดคลองเชื่อมทะเลสาบกับทะเลภายนอก

                                มีการติดต่อ สัมพันธ์กับชุมชนต่าง ๆ  ทั้งในระยะใกล้และไกลมาไม่น้อยกว่า ๒,๐๐๐ – ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว จากการตรวจสอบจากเครื่องปั้นดินเผาที่พบตามแหล่งต่าง ๆ และได้รับอิทธิพลทางด้านศาสนาพราหมณ์ ฮินดู พุทธศาสนามหายานตันตระ จากหลักฐานโบราณวัตถุที่ขุดค้นพบในตำบลวัดขนุน ได้แก่ พระศิวิมหาเทพ (สำริด) ศิลปะสมัยศรีวิชัย พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๓ - ๑๕ ที่บ้านหนองหอย หมู่ที่ ๔ ตำบลวัดขนุน  อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา

                                จากการตรวจสอบการตั้งวัด ในพื้นที่ใกล้เคียงและในตำบลวัดขนุน  ได้แก่ วัดดีหลวงใน ตำบลชิงโค  และวัดขนุน  วัดหนองหอย ซึ่งกรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนพระอุโบสถ เป็นโบราณสถาน สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา  และสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ตำบลวัดขนุน  ก็เป็นชุมชนหนึ่งของชุมชนโบราณบ้านปะโอ  บนคาบสมุทรสทิงพระ  ที่มีความสัมพันธ์และอยู่ในเขตการปกครองของเมืองเก่าสทิงพระ  หรือกรุงสทิงพาราณสี  ก่อนที่จะอยู่ภายใต้การปกครองและเป็นชุมชนที่เป็นส่วนหนึ่งของเมืองสิงขระ หรือสิงขร หรือเมืองสงขลาฝั่งเขาแดงในสมัยกรุงศรีอยุธยา เมืองสงขลาฝั่งแหลมสน ในสมัยกรุงธนบุรี  และเมืองสงขลาฝั่งบ่อยางด้านทิศตะวันออกของทะเลสาบสงขลา  ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นมาจนถึงปัจจุบัน  พัฒนาการเข้าสู่ยุคใหม่ของตำบลวัดขนุน  มีการตั้งบ้านเรือนเป็นหย่อม ๆ มีชื่อเรียกหมู่บ้านตามสภาพธรรมชาติที่เป็นเอกลักษณ์ที่เด่น  หรือประวัติความเป็นมา มีบ้านบ่อปลิง  บ้านหนองหอย  บ้านมะขาม บ้านวัดขนุน บ้านวัดวาส มีการขุดบ่อน้ำดื่มน้ำใช้ร่วมกันของหมู่บ้าน  เช่น บ่อปลิง บ่อไทรทอง  หรือบ่อน้ำในวัด และวัดเป็นศูนย์รวมพัฒนาการอารยธรรมด้านต่าง ๆ ได้แก่  วัดหนองหอย  วัดขนุน   วัดวาส นับถือพุทธศาสนาที่ได้รับอิทธิพลมาจากเมืองสงขลา ประกอบอาชีพแบบยังชีพเรียบง่ายจากการทำนา ปลูกผัก หรือทำน้ำตาลโตนด ซึ่งเห็นได้จากการเก็บข้าวไว้กินปีต่อปี หรือสำรองไว้ยามปีใดที่ผลผลิตไม่เอื้ออำนวย มีการเลี้ยงวัวไว้ใช้ไถนา เลี้ยงหมู เป็ด ไก่ ไว้เป็นอาหาร  สภาพบ้านเรือนโดยทั่วไปยกพื้นใต้ถุนสูงโล่ง  อุปกรณ์การก่อสร้างเป็นเรือนไม้ เสาตั้งบนเสาคอนกรีต  ซึ่งเป็นเสาต่ำ ๆ  หลังคามุงด้วยกระเบื้องดินเผา  เป็นหลังคาทรงไทย  และหลังคาแบบปั้นหยา ตัวเรือน ประกอบด้วย เรือนนอน ระเบียง  นอกชาน  ส่วนเรือนครัว แยกออกไปติดกับระเบียง  หรือนอกชาน  การคมนาคมเดินเท้า  และทางเรือโดยสารโดยใช้คลองรำแดงออกสู่ทะเลสาบ  และทะเลอ่าวไทยในช่วงฤดูลมมรสุมสงบ  ก่อนการคมนาคมทางบกจากถนนดิน  พัฒนาเป็นถนนลูกรัง และลาดยางขยายช่องทางมีชุมชน อิสลามและมัสยิดประจำหมู่บ้าน  บริเวณริมฝั่งทะเลอ่าวไทย  เป็นชุมชนบ้านขนุน   และวัดวาส  ประกอบอาชีพหลักด้านการประมงชายฝั่ง  ก่อนที่จะพัฒนาอารยธรรมด้านต่าง ๆ มาเป็นตำบลวัดขนุนในปัจจุบัน

๒.๒  ข้อมูลด้านประชากร

                ประชากรมีทั้งสิ้น  จำนวน  ๘,๐๒๐  คน   โดยแยกเป็นชาย จำนวน  ๓,๙๗๔ คน  เป็นหญิง  ๔,๐๔๖ คน  มีครัวเรือนรวมทั้งสิ้น  ๒,๓๘๘   ครัวเรือน
โดยมีความหนาแน่นของประชากรโดยเฉลี่ย ๒๓๙ คน ต่อตารางกิโลเมตร

หมู่ที่

ชื่อเรียกหมู่บ้าน

ชื่อผู้ใหญ่บ้าน

ประชากรชาย

ประชากรหญิง

รวม

ประชากร

จำนวนครัวเรือน

บ้านดีหลวง

นางถนอม  ทองธีรภาพ

๕๑๕

๕๑๕

๑,๐๓๐

๓๖๒

บ้านวัดขนุน

นายธงชาติ รอดสงค์

๔๐๐

๔๓๐

๘๓๐

๒๒๗

บ้านมะขาม

นางสมพร  มัชฌิมาภิโร

๔๗๒

๔๘๖

๙๕๘

๒๘๖

บ้านหนองหอย

นายเจริญ  นุ่นเหว่า  (กำนัน)

๓๐๙

๓๔๐

๖๔๙

๑๘๖

บ้านบ่อปริง

นายวิศรุต  ไสยะ

๓๑๒

๓๕๐

๖๖๒

๓๐๒

บ้านขนุน

นายสิทธิศักดิ์  แก้วกาธร

๔๐๘

๔๒๕

๘๓๓

๒๖๖

บ้านชายทะเล

นายหร่อหมาด หวังขะเด

๙๖๕

๘๔๑

๑,๘๐๖

๓๙๖

บ้านวัดวาส

นายอุดม  จูหม๊ะ

๕๙๓

๖๕๙

๑,๒๕๒

๓๖๓

รวมทั้งสิ้น

๓,๙๗๔

๔,๐๔๖

๘,๐๒๐

๒,๓๘๘

  ข้อมูลจากสำนักงานทะเบียน อำเภอ สิงหนคร  ณ วันที่  ๑๑ เดือน กุมภาพันธ์  ๒๕๕๙

 



เข้าชม : 1436
 
 
 ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ตำบลวัดขนุน
ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอสิงหนคร
สำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดสงขลา
โทร 0895967336 email:ksn007rung@hotmail.co.th
 
  
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05