การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพ
๑. การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ เป็นการจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีความรู้ เจตคติ และมีทักษะ ในอาชีพ ตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร ประกอบด้วย ทักษะเกี่ยวกับการปฏิบัติงาน การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศพื้นฐาน การคิดแก้ปัญหา การสื่อสาร และทักษะเกี่ยวกับความปลอดภัยในอาชีพ มีคุณลักษณะที่สำคัญในเรื่องความซื่อสัตย์สุจริต ความคิดเชิงบวก ความมุ่งมั่นในการทำงาน การทำงานร่วมกับผู้อื่น การรักษาสิ่งแวดล้อม และการคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม มากกว่าส่วนตน การจัดกระบวนการเรียนรู้เน้นการปฏิบัติจริง และการเรียนรู้จากวิทยากรหรือผู้รู้ที่ประกอบอาชีพนั้น ๆ
การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ แบ่งเป็น ๒ ระดับ คือ
- ระดับการพัฒนาอาชีพเพื่อการทำมาหากิน
- ระดับการพัฒนาต่อยอดอาชีพเดิม
แนวทางการจัดกิจกรรม
๑. ให้ผู้เรียนวิเคราะห์ตนเอง ตามความสนใจเรียนในอาชีพนั้น ๆ
๒. สถานศึกษาจัดหา หรือพัฒนาหลักสูตรที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน
๓. ผู้สอน วิทยากร วิเคราะห์ผู้เรียนเกี่ยวกับความรู้พื้นฐาน เป้าหมายที่ผู้เรียนต้องการ
๔. ดำเนินการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามหลักสูตร
๕. ประเมินผลการเรียน
๖. ติดตามผลหลังจากจบหลักสูตร
กิจกรรมที่ผ่านมา
วิชาช่างพื้นฐานการเดินสายไฟภายในอาคาร
หลักสูตรต่อยอด ช่างเชื่อม
เข้าชม : 747 |