ข้อมูลพื้นฐานเพื่อการวางแผน
๑ สภาพทั่วไปของตำบล
ลักษณะทางภูมิศาสตร์
ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพโดยทั่วไปพื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม เหมาะสำหรับทำการเกษตร ทำไร่ ทำนา ไร่นาสวนผสม
การปกครอง
ตำบลทำนบ แบ่งพื้นที่ออกเป็น 7 หมู่บ้าน อยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลทำนบ 6 หมู่บ้าน และมีพื้นที่บางส่วนของหมู่ที่ 1 ตำบลทำนบ ที่อยู่ในเขตเทศบาลเมืองสิงหนคร มีความหนาแน่นเฉลี่ย 232 คน / ตารางกิโลเมตร มีครัวเรือน 996 ครัวเรือน ประชากรชาย 2,128 คน หญิง 2,178 คน รวม 4,306 คน ผู้มีสิทธิเลือกตั้งชาย 1,576 คน หญิง 1,667 คน รวม 3,243 คน ประชาชนส่วนใหญ่ของตำบลทำนบ นับถือศาสนาพุทธ
อาณาเขต
- ทิศตะวันออก จดตำบลชิงโค
- ทิศตะวันตก จดตำบลป่าขาด
- ทิศเหนือ จดตำบลรำแดง
- ทิศใต้ จดตำบลสทิงหม้อ
แผนที่ตำบลทำนบ
๒.๒ ข้อมูลด้านประชากรประชากรทั้งสิ้น 4,306 คน แยกเป็น
ชาย จำนวน 2,128 คน คิด เป็นร้อยละ 49.14 %
หญิง จำนวน 2,178 คน คิดเป็นร้อยละ 50.58 %
ความหนาแน่นเฉลี่ย 232 คน ต่อตารางกิโลเมตร รายละเอียดปรากฏเป็นรายหมู่บ้าน แสดงจำแนกได้ดังต่อไปนี้
หมู่ที่
|
ชื่อหมู่บ้าน
|
จำนวนครัวเรือน
|
จำนวนประชากร (คน)
|
จำนวนครัวเรือนในพื้นที
|
ชาย
|
หญิง
|
รวม
|
เขต อบต.
|
เขตเทศบาล
|
1
|
บ่อสี่กั๊ก
|
117
|
227
|
223
|
450
|
-
|
450
|
2
|
หัวไม้ไผ่
|
97
|
171
|
182
|
353
|
353
|
-
|
3
|
แม่ลาด
|
104
|
137
|
161
|
298
|
298
|
-
|
4
|
บ้านพร้าว
|
262
|
440
|
426
|
866
|
866
|
-
|
5
|
หนองหอย
|
215
|
343
|
413
|
756
|
756
|
-
|
6
|
หัวขี้เหล็ก
|
285
|
412
|
413
|
825
|
825
|
-
|
7
|
ตางหน
|
219
|
398
|
360
|
758
|
758
|
-
|
รวม
|
1,299
|
2,128
|
2,178
|
4,306
|
3,856
|
450
|
พื้นที่ทั้งหมด(ไร่) พื้นที่ถือครอง(ไร่)
หมู่ที่
|
พื้นที่ทั้งหมด (ไร่)
|
พื้นที่ถือครอง (ไร่)
|
1
|
375
|
375
|
2
|
500
|
500
|
3
|
500
|
500
|
4
|
1,200
|
1,200
|
5
|
3,500
|
3,500
|
6
|
3,200
|
3,200
|
7
|
2,500
|
2,500
|
รวม
|
11,775
|
11,775
|
จำนวนประชากรจำแนกตามช่วงอายุ
ช่วงอายุ (ปี)
|
จำนวน (คน)
|
ร้อยละของประชากรทั้งหมด
|
0 – 5 ปี
|
280
|
7
|
6 – 14 ปี
|
436
|
12
|
15 – 39 ปี
|
1,601
|
35
|
40 – 59 ปี
|
1,244
|
28
|
60 – 69 ปี
|
366
|
9
|
70 – 79 ปี
|
240
|
5
|
80 – 89 ปี
|
130
|
3
|
90 ปีขึ้นไป
|
20
|
1
|
รวม
|
4,317
|
100
|
๒.๒ ข้อมูลด้านประชากร
ประเภทความพิการ
|
จำนวนผู้พิการ (คน)
|
คิดเป็นร้อยละ
|
ชาย
|
หญิง
|
รวม
|
- ทางสมอง
|
9
|
6
|
15
|
14.56
|
- ทางสายตา
|
7
|
4
|
11
|
10.68
|
- ทางร่างกาย
|
22
|
19
|
41
|
39.81
|
- พิการซ้ำซ้อน
|
12
|
7
|
19
|
18.45
|
- ทางการได้ยิน
|
4
|
13
|
17
|
16.50
|
รวม
|
54
|
49
|
103
|
100
|
๒.๓ ข้อมูลด้านสังคม
ด้านสังคมและประเพณีและวัฒนธรรมของคนในชุมชน สภาพสังคมของประชาชนส่วนใหญ่อยู่เป็นครอบครัว ชาวบ้านส่วนใหญ่ร้อยละ 80 นับถือศาสนาพุทธ มีวัดประจำหมู่บ้านเป็นสถานที่พิธีกรรมทางศาสนา และเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้านซึ่งทำให้เกิดประเพณีและวัฒนธรรมต่าง ๆ ที่สำคัญดังนี้
1. ประเพณีสงกรานต์ ซึ่งตรงกับวันที่ 13-16 เมษายน ของทุกปี โดยมีประเพณีที่สำคัญคือวันที่ 15
เมษายน มีการรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ เพื่อขอขมาลาโทษในสิ่งที่เคยล่วงเกิน และเป็นการแสดงความเคารพนับถือต่อบุพการี และบรรพบุรุษ เพื่อความเป็นสิริมงคลในชีวิตของลูกหลาน และมีประเพณีอื่น ๆ อีกมากมาย เช่นมีการทำบุญตักบาตร มีการสงน้ำพระ
2. ประเพณีสารทเดือนสิบ เป็นงานบุญประเพณีของคนภาคใต้ของประเทศไทย โดยมีการผสมผสานกับความเชื่อทางพระพุทธศาสนาเข้ามาในภายหลัง โดยมีจุดมุ่งหมายสำคัญเพื่อเป็นการอุทิศส่วนกุศลให้แก่ดวงวิญญาณของบรรพชนและญาติที่ล่วงลับ ซึ่งได้รับการปล่อยตัวมาจากนรกที่ตนต้องจองจำอยู่เนื่องจากผลกรรมที่ตนได้เคยทำไว้ตอนที่ยังมีชีวิตอยู่ โดยจะเริ่มปล่อยตัวจากนรกในทุกวันแรม 1 ค่ำเดือน 10 เพื่อมายังโลกมนุษย์โดยมีจุดประสงค์ในการมาขอส่วนบุญจากลูกหลานญาติพี่น้อง ที่ได้เตรียมการอุทิศไว้ให้เป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อผู้ล่วงลับ หลังจากนั้นก็จะกลับไปยังนรก ในวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10
๒.๔ ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ
อาชีพ
ลักษณะการประกอบอาชีพของราษฎรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการเกษตร ได้แก่ ทำนาและทำสวน การปลูกไม้ผล พืชผัก เช่น ข้าวโพด แตงกวา พริก มะเขือ เป็นอาชีพรองหรืออาชีพเสริม ส่วนการเลี้ยงสัตว์ ได้แก่ การเลี้ยงสุกร เลี้ยงโค เป็ด ไก่ นอกนั้น ก็มีการประกอบอาชีพค้าขาย รับจ้างและรับราชการ รายได้ส่วนใหญ่จึงมาจากภาคการเกษตร แต่เนื่องจากในสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันราคาสินค้าทางการเกษตรมีราคาที่ไม่แน่นอน จึงทำให้ค่าครองชีพสูงขึ้น ซึ่งไม่พอแก่การใช้จ่าย
เข้าชม : 1779 |