[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 

  

ข่าวประชาสัมพันธ์
วันศิลปินแห่งชาติ

ศุกร์ ที่ 24 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2560


 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์  2528 ประกาศให้ วันที่ 24 กุมภาพันธ์ของทุกปีเป็น”วันศิลปินแห่งชาติ” เพื่อรำลึกถึงวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2310 
 
ผู้ทรงเป็นพระปฐมบรมศิลปินแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ด้วยทรงพระปรีชาสามารถในศิลปกรรมด้านต่าง ๆ หลายสาขา ไม่ว่าจะเป็นด้านกวีนิพนธ์ ด้านประติมากรรม ด้านดนตรี รวมทั้งด้านประติมากรรม
 
ได้ทรงร่วมกับช่างประติมากรรมฝีมือเยี่ยมในสมัยนั้นแกะสลักบานประตูไม้พระวิหาร วัดสุทัศน์เทพวราราม เป็นลายเครือเถารูปป่าหิมพานต์ นับเป็นงานฝีมือชั้นเยี่ยมด้านวรรณกรรม
 
นอกจากนั้น ทรงพระราชนิพนธ์วรรณกรรมไว้จำนวนมากมายหลายเรื่อง เช่น อิเหนา ซึ่งเป็นวรรณคดีที่ได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรในรัชกาลที่ 6 ว่าเป็นยอดของกลอนบทละครรำ นอกจากนี้ ยังทรงพระราชนิพนธ์บทละครนอกไว้ถึง 5 เรื่อง ได้แก่ไกรทอง พระไชยเชษฐ์ คาวี สังข์ทอง และมณีพิชัย
 
ด้วยพระปรีชาสามารถของรัชกาลที่ 2 ในด้านวรรณกรรม ทรงได้รับการยกย่องจากองค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกสาขาวรรณกรรม
 
ปัจจุบัน มีศิลปินสาขาต่าง ๆ มากมาย ที่สร้างผลงานน่าประทับใจ และเป็นประโยชน์ต่อสังคม ด้วยเหตุนี้ ประเทศไทยจึงกำหนดให้มี วันศิลปินแห่งชาติ และจัดให้มีการประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติ "ศิลปินแห่งชาติ" เป็นประจำทุกปี
 
ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้จัดทำโครงการศิลปินแห่งชาติ มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527 เพื่อสรรหา ส่งเสริม สนับสนุน และช่วยเหลือศิลปินผู้สร้างสรรค์ ผลงาน ศิลปะล้ำค่า อันทรงคุณค่าของแผ่นดิน ยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ โดยมีสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติเป็นผู้พิจารณา
 
(14 ธ.ค.59) คณะกรรมการอำนวยการคัดเลือกศิลปินแห่งชาติ มีมติประกาศรายชื่อศิลปินแห่งชาติ ประจำปี 2559 รวม 12 คน ใน 3 สาขา ได้แก่ 1.สาขาทัศนศิลป์ 4 คน ได้แก่ นางคำสอน สระทอง (ประณีตศิลป์-ทอผ้า), นายเดโช บูรณบรรพต (ภาพถ่าย), นางลาวัณย์ อุปอินทร์ (จิตกรรม) และ รศ.เสนอ นิลเดช (สถาปัตยกรรมไทยประเพณี)
 
2.สาขาวรรณศิลป์ 4 คน ได้แก่ นายกิตติศักดิ์ มีสมสืบ, นางชูวงศ์ ฉายะจินดา, นายธัญญา สังขพันธานนท์ และ ศ.พิเศษ เรืองอุไร กุศลาสัย
 
และ 3.สาขาศิลปะการแสดง 4 คน ได้แก่ นายธนิสร์ ศรีกลิ่นดี (ดนตรีไทยสากล), นางบัวเรียว รัตนมณีภรณ์ (การแสดงพื้นบ้าน-ช่างฟ้อน), นายสมบัติ เมทะนี (ภาพยนตร์และละครโทรทัศน์) และนายหะมะ แบลือแบ (มะยะหา) (การแสดงพื้นบ้าน-ดีเกร์ฮูลู)
 
กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) ทำหนังสือกราบบังคมทูลขอพระบรมราชวโรกาสนำศิลปินแห่งชาติทั้ง 12 คน เข้าเฝ้าฯ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รับพระราชทานเข็ม และโล่เชิดชูเกียรติ ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2560 ซึ่งเป็นวันศิลปินแห่งชาติ หรือวันเวลาใดตามแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
 
ศิลปินแห่งชาติทุกคนจะได้รับการดูแลจากรัฐบาล มีเงินเดือน มีการช่วยเหลือให้ และดูแลเมื่อเสียชีวิต ทั้งนี้ ในส่วนของ วธ.จะจัดนิทรรศการเพื่อเผยแพร่ให้ประชาชนได้ทราบเกี่ยวกับศิลปินแห่งชาติแต่ละท่าน
 
อนึ่ง ในวันศิลปินแห่งชาติ ทางราชการยังจัดงานนิทรรศการเกี่ยวกับศิลปินแห่งชาติและศิลปะพื้นบ้านขึ้นทั้งในส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจังหวัดที่มีศิลปินแห่งชาติสังกัดอยู่ โดยให้ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัด และศูนย์วัฒนธรรมอำเภอรับผิดชอบดำเนินการ โดยจัดเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2528
 
สำหรับผู้ที่ได้รับยกย่องเป็นศิลปินแห่งชาติ จะได้รับเงินตอบแทน เดือนละ 20,000 บาท และสามารถเบิกเงินสวัสดิการเพื่อการรักษาพยาบาลได้ตามระเบียบราชการ ไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี รวมทั้งมีค่าช่วยเหลือเมื่อประสบสาธารณภัย และหากเสียชีวิต จะมีค่าช่วยเหลืองานศพ 20,000 บาท ค่าจัดทำหนังสือที่ระลึกไม่เกิน 150,000 บาท


เข้าชม : 366


ข่าวประชาสัมพันธ์ 5 อันดับล่าสุด

      รับสมัครนักศึกษา สกร.อำเภอสะบ้าย้อย 31 / มี.ค. / 2567
      ประกาศรับสมัครนักศึกษาสกร. 31 / ส.ค. / 2566
      กำหนดการสอบปลายภาค 7 / ก.ย. / 2565
      ขอเเสดงความยินดีกับนักศึกษา กศน.อำเภอสะบ้าย้อย 6 / มิ.ย. / 2565
      รับสมัครนักศึกษา กศน 21 / เม.ย. / 2565


 
ศกร.ระดับตำบลจะแหน
บ้านตราย หมู่ที่ 2  ตำบลจะแหน  อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05