1.ประวัติความเป็นมาของตำบลบ้านโหนด
จากการได้ถาม นายมูสอ สะหลำเหม อายุ 91 ปี หนึ่งในคนเฒ่าคนแก่ในตำบล บ้านโหนดเป็นชื่อที่เรียกตามสภาพที่เมื่อสมัยก่อนเป็นพื้นที่ ที่มีต้นตาลขึ้นมากมายในเขตพื้นที่อาศัยของชาวบ้านจึงเรียกว่าบ้านโตนดต่อมาจึงกลายเป็นบ้านโหนดจนถึงปัจจุบัน
2.อาณาเขตตำบลบ้านโหนด
ทิศเหนือหมู่ที่ 4 เป็นบ้านนาม่วง ติดกับ ตำบลท่าม่วง อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
ทิศใต้หมู่ที่ 6 เป็นบ้านโหนด ติดกับ ตำบลธารคีรี อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
ทิศตะวันตกหมู่ที่ 3 เป็นบ้านากัน ติดกับ ตำบลเปียน อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
ทิศตะวันออกหมู่ที่ 1 เป็นบ้านกะเช๊ะ ติดกับตำบลช้างไห้ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
3.จำนวนประชากรของตำบล
จำนวนประชาชากรของตำบลโดยรวม ทั้ง 7 หมู่บ้าน ชาย 3,312 คน หญิง 3,368 รวม 6,680 คน
4.สถานที่สำคัญของตำบล
-มัสยิด 4 แห่ง คือ
1.มัสยิดบ้านกะเช๊ะ ตั้งอยู่หมู่ที่ 1
2. มัสยิดบ้านห้วยบอน ตั้งอยู่หมู่ที่ 2
3.มัสยิดบ้านโคกตั้งอยู่หมู่ที่ 5 และ
4.มัสยิดบ้านละโอนตั้งอยู่หมู่ที่ 6
-วัด/สำนักสงฆ์ มี 3 แห่ง คือ
1.วัดบ้านโหนดตั้งอยู่หมู่ที่ 6
1. สำนักสงฆ์บ้านระไมล์ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 ตำบลเปียน ซึ่งติดเขต ม.3 ตำบลบ้านโหนด และ
3.วัดนาม่วงตั้งอยู่หมู่ที่ 4 บ้านนาม่วง
โรงเรียน มี 4 โรง
1.โรงเรียนศาสน์สันติธรรมเป็นโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาตั้งอยู่หมู่ที่ 1 บ้านกะเช๊ะ
2. โรงเรียนบ้านห้วยบอนตั้งอยู่หมู่ที่ 2 บ้านห้วยบอน
3 โรงเรียนชุมชนบ้านนากันตั้งอยู่หมู่ที่ 3 บ้านนากัน
4. โรงเรียนบ้านนาม่วง ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 บ้านนาม่วง
-โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล มี 2 แห่ง
ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 บ้านห้วยบอน
ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 บ้านนากัน
-สถานีตำรวจภูธรตำบลบ้านโหนด
ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 บ้านนากัน
5.การคมนาคมและสาธารณูปโภค
การเดินทางเข้าสู่ตำบลในปัจจุบันเดินทางโดยทางรถยนต์ ซึ่งอยู่ห่างจากอำเภอสะบ้าย้อย ประมาณ 10 กิโลเมตร เดินทางโดยรถยนต์ ใช้เวลาประมาณ 20 นาที ก็จะถึงเขตตำบลบ้านโหนด
6.กลุ่มอาชีพ
ข้อมูลกลุ่มอาชีพมีอาชีพเกี่ยวกับการเกษตรได้แก่ กลุ่มเลี้ยงแพะของบ้านห้วยบอน ตั้งอยู่หมู่ที่ 2
มีนายมะแอ สุหลงเส็น เป็นผู้นำกลุ่ม และชาวบ้านในเขตหมู่ที่ 2จำนวน 20 คนเป็นสมาชิก
มีแพะจำหน่ายให้แก่ชาวบ้านในพื้นที่และนอกพื้นที่
กลุ่มตัดเย็บกระเป๋าจากผ้าบาติก ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 มีสมาชิกจำนวน 30 คน มีนางหนิมาซีเต๊าะ เดหนิ เป็นหัวหน้ากลุ่ม ซึ่งมีวิทยากรนอกพื้นที่ เข้าให้คำแนะนำในการทำกระเป๋าดังกล่าว บุคลากรนอกพื้นที่บริการตัดเย็บเสื้อผ้าสตรีในพื้นที่และนอกพื้นที่ใกล้เคียง
กลุ่มทำขนมซึ่งซึ่งได้รับการฝึกจากสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน ภายใต้โครงการไทยเข้มแข็ง จำนวน 12 คนและรวมกับแม่บ้านที่สนใจเป็นสมาชิกกลุ่ม ภายใต้ความรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโหนดโดยมีบัณฑิตแรงงานเป็นผู้ประสานและกลุ่มประกอบอาหารว่าง (ทำขนม)มีสมาชิกทั้งหมด 16 คนภายใต้ “โครงการไทยเข้มแข็ง”โดยกลุ่มงานอาชีพดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากผู้นำสี่เสาหลักและชาวบ้านในชุมชนได้ไปเรียนรู้ในแต่ละอาชีพและโดยมีบัณฑิตแรงงานเป็นผู้ประสานงาน
7.สหกรณ์ของตำบลได้แก่
-สหกรณ์กลุ่มซื้อน้ำยางของหมู่ที่ 6 บ้านละโอนมีชาวบ้านในหมู่บ้านเกือบทั้งหมดเป็นสมาชิกโดยการเข้าหุ้นคนละไม่ต่ำกว่า 100 บาทโดยมีนายสอเหาะ สนิ เป็นผู้ดำเนินกิจการโดยได้รับค่าจ้างวันละ 250 บาทต่อวันและจะมีการปันผลปีละครั้ง
-สหกรณ์ร้านค้าชุมชนของหมู่ที่ 2 บ้านห้วยบอนชาวบ้านในชุมชนเป็นสมาชิกมีเงินปันผลปีละครั้งเหมือนกัน
-สหกรณ์ออมทรัพย์ของหมู่ที่ 4 บ้านาม่วงชาวบ้านนาม่วงจะมีการฝากเงินหรือผู้ที่มีความประสงค์จะกู้ยืมเงินและจะต้องจ่ายคืนหรือฝากเดือนละครั้งโดยสมาชิกในชุมชนจะเป็นผู้ร่วมกำหนดวันที่แน่นอน
-สหกรณ์เงินฝากสัจจะของหมู่ที่ 3บ้านนากันทุกๆวันที่ 7 ของทุกเดือนจะมีการจ่ายเงินกู้หรือเงินฝากสัจจะโดยอาศัยวัดเป็นสถานที่รวมสมาชิกสัจจะ
8.ธุระกิจขนาดย่อมในตำบล
ธุระกิจขนาดย่อมในชุมชนที่น่าสนใจคือ โรงงานน้ำยางเป็นโรงงานที่ชาวบ้าน หมู่ที่ 7 ได้จัดตั้งขึ้นเพื่อรองรับน้ำยางที่ชาวบ้านนำมาขายและจะขายได้ในราคาที่สูงกว่าพ่อค้าส่วนตัวมาจัดซื้อ
สถานที่ตั้งขอโรงงานตั้งอยู่หมู่ที่ 7 บ้านพรุจามีชาวบ้านในและนอกพื้นที่ใกล้เคียงเป็นสมาชิกและมีเงินปันผลปีละครั้งซึ่งแล้วแต่จำนวนหุ้นที่ชาวบ้านได้เข้าและผลกำไรในแต่ละปี
9.ผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจของตำบลได้แก่
-ต้นพันธุ์สมแขก
-จำปาดะไร้เมล็ดและ
-ยางพารา
10.สถานที่ท่องเที่ยว ได้แก่ น้ำตกพระไม้ไผ่ เป็นธรรมชาติที่มีความสวยงามมากแห่งหนึ่งในตำบลบ้านโหนด
ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 ห่างจากหมู่บ้าน 3 กิโลเมตรโดยประมาณเดินทางโดยรถยนต์หรือจักรยานยนต์
11.โรงแรม ที่พัก ร้านอาหาร
12.โครงสร้างการบริหารขององค์การบริหารส่วนตำบล
สำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบล โทร.074-376222
-นายสับรี หะยีเหาะ นายกอบต.และประธานกรรมการบริหารอบต.
-จ.ส.ต บรรลือ กัลยา ปลัดอบต.
13.สภาพสังคม
ตำบลบ้านโหนดปัจจุบันมีทั้งหมด 7 หมู่บ้านอันได้แก่
บ้านกะเช๊ะ บ้านห้วยบอน บ้านนากัน บ้านนาม่วง บ้านโคก บ้านโหนด และบ้านพรุจา
จะเห็นได้ว่าใน 7 หมู่บ้านมีอยู่ 3 หมู่บ้านคือ บ้านที่มีผู้นับถือศาสนาพุทธ คือ บ้านนากัน บ้านนาม่วง บ้านพรุจา และใช้ภาษาไทยท้องถิ่นในการสื่อสารและส่วนหนึ่งของหมู่ที่ 6 ส่วน บ้านกะเช๊ะ ห้วยบอน บ้านโคกและบ้านละโอน จะนับถือศาสนาอิสลามใช้ภาษามลายูท้องถิ่นในการสื่อสาร ด้วยเหตุนี้ในตำบลบ้านโหนดจะมีวัฒนธรรม ประเพณีที่หลากหลาย ได้แก่
-ประเพณีชักพระ พระเพณีทำบุญเดือน 10 ประเพณีลอยกระทง งานบวช ซึ่งเป็นประเพณีของชาวไทยพุทธ
-การถือศีลอด วันฮารีรายอ การประกอบศาสนกิจทางศาสนา 5 เวลา เป็นกฎข้อบังคับของชาวไทยมุสลิม ตลอดจนการแต่งกายชาวไทยมุสลิมจะมีผ้าคลุมศรีษะเสื้อแขนยาว สำหรับผู้หญิง หมวกกะปิเยาะสำหรับผู้ชาย บางโอกาสจะนุ่งผ้าโสร่งทั้งผู้ชาย ผู้หญิง
ทางด้านการศึกษา
ในตำบลมีโรงเรียนระดับประถม 3 แห่ง คือ
โรงเรียนบ้านห้วยบอน ตั้งอยู่หมู่ที่ 2
โรงเรียนบ้านนากัน ตั้งอยู่หมู่ที่ 3
โรงเรียนบ้านนาม่วง ตั้งอยู่หมู่ที่ 4
โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม 1 แห่ง คือ
โรงเรียนศาสน์สันติธรรม ตั้งอยู่หมู่ที่ 1
ความเชื่อของคนในท้องถิ่นจะมีผู้นำทางศาสนาสำหรับชาวมุสลิมเป็นผู้ให้คำแนะนำในการประกอบพิธีทางศาสนาตลอดจนการ ดูฤกษ์วัน เดือน ปีในการที่จะปฏิบัติงานหรือทำอะไรที่เกี่ยวกับชีวิตประจำวันที่สำคัญ
14.สภาพเศรษฐกิจ
อาชีพของประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางด้านการเกษตร
-ทำนา
-ทำสวนยางพารา
-ทำสวนผลไม้ เช่น ลองกอง ทุเรียน เงาะ จำปาดะ
-เลี้ยงสัตว์ เช่น วัว แพะ หมู ปลาน้ำจืด เช่น ปลาดุก ปลานิล ปลาหมอเทศ และปลาจาระเม็ดนำจืด
รายได้เฉลี่ยต่อปี/ครอบครัว 130,000 บาท
15.สภาพการปกครอง/การเมืองท้องถิ่น
การปกครองท้องถิ่นประกอบด้วย
-สมาชิกสภา อบต. 14 คนคือ ตำบล 2 คน
-พนักงานส่วนตำบล 9 คน
-ลูกจ้างประจำ 1 คน
-พนักงานจ้างตามภารกิจ 1 คน
-พนักงานจ้างทั่วไป 2 คน
สมาชิก อบต.ได้มาจากการเลือกตั้งจากผู้ที่มาใช้สิทธิ์ลงคะแนนโดยเฉลี่ย 82.91 %
16.สภาพแรงงานในตำบล
ประชากรในตำบลส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรทำกันในครัวเรือน
จำนวนประชากรที่มีอายุ ๑-๑๔ ปี มี 1,806 คน
จำนวนประชากรที่มีอายุ 15-60 ปี มี 4,188 คน
จำนวนประชากรที่มีอายุ 61 ปีขึ้นไป มี 686 คน
สภาพประชากรในพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในวัย 15-60 ปี แรงงานต่างด้าวและแรงงานนอกสถานประกอบการมีเป็นส่วนน้อยมากส่วนใหญ่เป็นแรงงานในพื้นที่ไม่ได้ว่างงาน แต่มีรายได้ต่ำเนื่องจากเป็นงานที่ประกอบอาชีพทางการเกษตรอยู่กับครอบครัวเป็นส่วนใหญ่
18.สรุปวิเคราะห์สภาพตำบลที่บัณฑิตอาสาเข้าปฏิบัติงานในหมู่บ้าน
การเข้า-ออกในพื้นที่สะดวกชาวบ้านให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี มีเป็นส่วนน้อยที่ไม่ค่อยให้ความร่วมมือเนื่องจากว่าเขาเหล่านั้นไม่เข้าใจถึงการเข้าไปสำรวจหรือสอบถามเกี่ยวกับเรื่องต่างๆในพื้นที่ประกอบกับเขาไม่ได้ประโยชน์ในการสอบถามของผู้ที่เข้าไปสำรวจ
เข้าชม : 1990 |