[x] ปิดหน้าต่างนี้
 

 
 
 
 

  

ความรู้เกี่ยวกับ IT
ทักษะเบื้องต้นในการเล่นฟุตบอล

เสาร์ ที่ 27 เดือน พฤษภาคม พ.ศ.2560

คะแนน vote : 130  

 

ทักษะเบื้องต้นในการเล่นฟุตบอล


แนวคิด


การเล่นกีฬาฟุตบอลให้เกิดประสิทธิภาพ ผู้เล่นต้องเรียนรู้จนเกิดทักษะพื้นฐานหลายด้านอาทิ การเคลื่อนไหวเบื้องต้น การทำความคุ้นเคยกับลูกฟุตบอล การหยุดหรือบังคับลูก ทักษะเหล่านี้มี
ความละเอียดอ่อน และเป็นพื้นฐานสำหรับเทคนิคการเล่นอื่น ๆ ต่อไป ซึ่งต้องอาศัยการฝึกฝนจนชำนาญ และเป็นทักษะที่ต้องการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง


การทรงตัว


การทรงตัวเป็นพื้นฐานเบื้องต้นที่มีความสำคัญในการฝึกกีฬาทุกชนิด เพื่อการเคลื่อนไหวได้อย่างคล่องแคล่วว่องไว สามารถทำให้การเล่นกีฬาเป็นไปอย่างต่อเนื่อง สนุกสนานเร้าใจท่าทางการทรงตัว
ที่ผู้เล่นฟุตบอลควรฝึกหัด มีดังนี้
1. ทำการทรงตัวและจังหวะการใช้เท้าทั้งบนพื้นดินและในอากาศ
2. การถ่ายน้ำหนักตัวไปสู่เท้าหลัก เมื่อมีการครอบครองลูก เตะลูกหรือเลี้ยงลูกฟุตบอล
3. การวิ่งตามแบบของฟุตบอล เช่น วิ่งไปที่มุมสนาม วิ่งหาช่องว่าง วิ่งตัดกันเพื่อหลอกคู่ต่อสู้
4. การวิ่งซิกแซ็ก เพื่อการหลบหลีกเมื่อเลี้ยงหรือครอบครองลูก

imagesCA1IFC02-horz.jpg

(จังหวะการทรงตัวในการเลี้ยงบอลและหลบหลีกคู่ต่อสู้)


การเคลื่อนที่ไปข้างหน้า ถอยหลัง ไปทางซ้าย ไปทางขวา


มีวิธีการฝึกดังนี้
1. ทิ้งน้ำหนักตัวไปสู่ทิศทางที่จะเคลื่อนที่ไป ตาจับอยู่ที่ลูกบอล
2. เคลื่อนเท้าที่อยู่ในทิศทางที่จะเคลื่อนไป นำไปก่อน แล้วจึงเคลื่อนเท้าอีกข้างหนึ่งตามไปโดยเร็ว เช่น ไปทางซ้ายให้ก้าวเท้าซ้ายนำไปก่อน แล้วก้าวเท้าขวาตามไป
3. การใช้ปลายเท้าสัมผัสพื้น ช่วยให้การเคลื่อนไหวรวดเร็วขึ้น


การสร้างความคุ้นเคยกับลูกฟุตบอล


พื้นฐานของการเล่นฟุตบอลที่สำคัญอย่างหนึ่งก็คือ การสร้างความสัมพันธ์หรือความคุ้นเคยกับลูกฟุตบอลเป็นอย่างดี กล่าวคือ การเล่นลูกฟุตบอลต้องสามารถทำได้อย่างที่ตั้งใจไว้ทุกประการ ไม่ว่าจะเป็นการเล่นลูกแบบใดก็ตาม การที่ผู้เล่นคุ้นเคยกับลูกฟุตบอลจะส่งผลให้การครอบครองบอล การเคลื่อนที่ในลักษณะต่างๆ การควบคุมบังคับทิศทางของลูกฟุตบอลเป็นไปด้วยความแม่นยำ ดังนั้น จึงควรให้ผู้เล่นฝึกความคุ้นเคยให้ชินกับลูกฟุตบอลมากที่สุด

วิธีการสร้างความคุ้นเคยกับลูกฟุตบอล
1. วางเท้าบนลูกฟุตบอลแล้วคลึงด้วยฝ่าเท้าไปมาหน้า – หลัง ซ้าย – ขวา โดยให้อยู่กับที่ ให้ทำทั้งเท้าซ้าย-ขวา
2. ทำเหมือนข้อที่ 1 แต่ให้เคลื่อนที่ไปตามทิศทางต่าง ๆ ด้วย
3. ใช้ฝ่าเท้าตบลูกฟุตบอลให้กระดอนขึ้น-ลง โดยใช้เท้าซ้ายหรือขวาสลับกัน
4. วางเท้าด้านในติดกับข้างลูกฟุตบอล ใช้ข้างเท้าด้านในปาดเหนือลูกมาอีกด้านหนึ่งของลูก ตอนนี้ลูกฟุตบอลจะอยู่ข้างเท้าด้านนอก แล้วใช้เท้าด้านนอกปาดลูกกลับไปอีกด้านตามเดิม แล้วให้ฝึกสลับเท้าด้วย
5. งัดลูกฟุตบอลด้วยปลายเท้าให้ลูกลอยขึ้นในอากาศ หยุดลูกด้วยหลังเท้า หรือฝ่าเท้า
6. งัดลูกฟุตบอลด้วยปลายเท้าให้ลูกลอยขึ้นในอากาศ แล้วเดาะลูกด้วยเท้า เข่า หน้าอก ศีรษะ สลับกัน
7. ทำเหมือนข้อ 6 แต่เคลื่อนที่เป็นระยะทางไกล โดยลูกฟุตบอลไม่ตกถึงพื้น


การหยุดหรือบังคับลูกฟุตบอล


การหยุดลูกได้ดีนั้น ทำให้สามารถที่จะบังคับและควบคุมลูกฟุตบอลให้เคลื่อนที่ไปในลักษณะใดก็ได้ตามต้องการ เช่น การเลี้ยง การส่งลูก การยิงประตู ทำให้ทีมเป็นฝ่ายรุก เพื่อโจมตีฝ่ายตรงข้าม
เราสามารถหยุดลูกฟุตบอลด้วยส่วนใดของร่างกายก็ได้ ยกเว้นแขนและมือทั้งสองข้างคำจำกัดความ

การหยุดลูก หมายถึง การบังคับลูกที่มาในลักษณะต่าง ๆ ทั้งบนพื้นดินและในอากาศให้อยู่ในครอบครองของเรา เพื่อจะได้ส่งลูกต่อไปตามความต้องการ
หลักในการหยุดลูกมีอยู่ 3 ประการ คือ
1. จะใช้ส่วนใดของร่างกายในการหยุดลูก
2. การเคลื่อนตัวเข้าสู่ตำแหน่ง เพื่อหยุดลูกที่ลอยมาหรือกลิ้งมากับพื้น
3. ใช้เทคนิคการผ่อนของร่างกาย เพื่อลดแรงปะทะของลูก

การหยุดลูกด้วยฝ่าเท้า ให้พยายามหยุดลูกฟุตบอลเบา ๆ การใช้ฝ่าเท้าหยุดลูก ให้หยุดลูกที่ส่งเรียดมากับพื้น โดยเปิดปลายเท้าขึ้นปะทะลูกไว้ในครอบครองและให้ฝ่าเท้าสัมผัสส่วนบนของลูกพร้อมที่จะเคลื่อนที่ต่อไป

การหยุดลูกด้วยข้างเท้าด้านใน วิธีนี้สามารถใช้หยุดลูกที่ส่งเรียดหรือต่ำ
1. ใช้ในการควบคุมลูกฟุตบอลให้ตกลงสู่พื้นอย่างประณีต ในขณะที่เคลื่อนไปข้างหน้า
2. วางมุมเท้าเพื่อหยุดลูก โดยการบิดลำตัวทางด้านข้างตามแนวที่ลูกลอยมา ใช้ข้างเท้าด้านในสัมผัสตรงกลางลูก เพื่อผ่อนแรงปะทะ
3. การหยุดลูกใช้องค์ประกอบ 3 อย่าง คือ ข้างเท้าด้านใน ข้อเท้า และพื้นสนาม
4. คาดคะเนจังหวะลูกฟุตบอลกระทบกับเท้าและพื้นดินพร้อม ๆ กัน เพื่อการหยุดลูกไว้อย่างมั่นคง

imagesCACLZVRU-horz.jpg

การหยุดลูกด้วยหลังเท้า วิธีนี้ใช้หยุดลูกฟุตบอลที่ลอยมา ให้งอเข่าและยกเท้าขึ้น เพื่อรับลูกที่กำลังจะตกพื้น ให้ลดขาและเท้าเพื่อผ่อนแรงปะทะ ตาจ้องมองดูลูก ใช้ขาข้างใดข้างหนึ่งเป็นหลักและทรงตัวให้มั่นคง

imagesCA2988IS.jpg

การหยุดลูกด้วยหน้าขา
ใช้ในกรณีที่ลูกลอยมาสูงกว่าระดับเอว ใช้หน้าขาหยุดลูกไว้โดยให้งอเข่ารับผ่อนแรง โดยลดต้นขาลงแล้วปล่อยลูกตกลงพื้นอยู่กับเท้าเพื่อครอบครองบอล โดยใช้แขนทั้งสองข้างและขาที่ยืนเป็นหลัก
ช่วยในการทรงตัว

การหยุดลูกด้วยหน้าอก
วิธีนี้ใช้รับลูกที่ลอยมา ให้แยกแขนทั้งสองออก ยืดอกรับลูกแล้วปล่อยลูกลงพื้นอยู่กับเท้า โดยการยืนแยกขาออกเล็กน้อย เพื่อการทรงตัว ขณะที่ลูกปะทะกับหน้าอก ให้ย่อตัวและไหล่ทั้งสองข้าง
เพื่อลดแรงปะทะ

imagesCACPSNIJ-horz.jpg

การหยุดลูกด้วยศีรษะ
ในกรณีที่ลูกฟุตบอลลอยมาสูงเกินกว่าที่จะรับด้วยหน้าอก ให้ใช้น้าผากรับแทน โดยยื่นศีรษะออกไปเพื่อรับลูก เมื่อรับแล้วให้ดึงศีรษะกลับ แล้วปล่อยให้ลูกลงพื้นอยู่กับเท้า

imagesCABCWKP8-horz.jpg

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกีฬาฟุตบอล

มารยาทของนักกีฬาที่ควรปฏิบัติ


การเล่นฟุตบอลก็เหมือนกับการเล่นกีฬาประเภทอื่นๆ ที่ผู้เล่นจำเป็นต้องมีมารยาทในการเล่น เพื่อให้การเล่นดำเนินไปด้วยดี นอกจากนี้ผู้ดูก็ควรมีมารยาทในการดูเช่นเดียวกัน จึงจะทำให้เกิดผลดีต่อการกีฬาอย่างสมบูรณ์


มารยาทของผู้เล่นฟุตบอลที่ดี


1. มีความรักและความสามัคคีในหมู่คณะ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือกัน
2. มีน้ำใจนักกีฬา แสดงการขอโทษเมื่อรู้ว่าตนเองกระทำผิด รู้จักให้อภัยเมื่อเพื่อนผิดพลาดรู้จักแพ้เมื่อตนเองมีความสามารถและฝีมือไม่มากนัก
3. มีความรับผิดชอบในหน้าที่ของตนตามที่ได้รับมอบหมาย
4. ปฏิบัติตามกฎกติกาการเล่นโดยเคร่งครัด
5. เชื่อฟังการตัดสินของผู้ตัดสิน โดยไม่แสดงกิริยาที่ไม่เหมาะสมแก่ผู้ตัดสินในการตัดสินไม่กระทำการใดๆ อันเป็นการยั่วยุหรือกลั่นแกล้งผู้เล่นฝ่ายตรงข้าม
6. มีความอดทน เสียสละ
7. กล้าตัดสินใจ แสดงความคิดเห็น และแสดงออกในสิ่งที่ถูกต้อง
8. มีความสุภาพเรียบร้อย ปฏิบัติตนอยู่ในระเบียบประเพณีที่ดีงาม

pix_lesson_2_1.jpg

(น้ำใจนักกีฬาเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องมี)


มารยาทของผู้ชมที่ดี


1. ไม่กล่าวถ้อยคำหรือแสดงกิริยาเยาะเย้ยถากถางผู้เล่นที่เล่นผิดพลาด
2. แสดงความยินดีแก่ผู้เล่นที่เล่นดี เช่น การปรบมือ เป็นต้น
3. ไม่กระทำตัวเป็นผู้ตัดสินเสียเอง เช่น ตะโกนด่าว่ากรรมการ
4. ไม่เชียร์ในสิ่งที่เป็นการส่อเสียดในทางไม่ดีต่อทีมใดทีมหนึ่ง
5. ไม่กระทำสิ่งใดๆ ที่ทำให้ผู้ตัดสินหรือเจ้าหน้าที่อื่นๆ ปฏิบัติงานไม่สะดวก
6. ไม่กระทำสิ่งใดๆ อันเป็นการกีดขวางการเล่นของผู้เล่น


การบำรุงรักษาอุปกรณ์


อุปกรณ์แยกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ

1. อุปกรณ์ของนักกีฬาฟุตบอล ได้แก่
1.1 รองเท้า ต้องเลือกที่ใส่สบาย มีความยืดหยุ่นดี หลังใช้ให้ทำความสะอาดทุกครั้ง ขัดเงาและใช้หนังสือพิมพ์หรือนุ่นยัดไว้เพื่อให้รองเท้าอยู่ทรงสภาพเดิม
1.2 สนับแข้ง ป้องกันการกระแทกไม่ให้ถูกของมีคมหรือเป็นแผลถลอก
1.3 เสื้อ ให้ใช้ผ้าที่วับเหงื่อได้ดี ผู้รักษาประตูควรสวมเสื้อแขนยาวป้องกันการเกิดแผลถลอกเวลาล้มหรือพุ่งตัวตัวรับลูกฟุตบอล
1.4 กางเกง ควรใช้ผ้าที่ทำจากฝ้ายและสวมใส่สบาย เคลื่อนไหวได้อิสระ
1.5 ถุงมือสำหรับผู้รักษาประตู ป้องกันการลื่นในสภาพสนามแฉะและมีโคลน หลังใช้ต้องทำความสะอาดและผึ่งให้แห้งในที่ร่ม

2. อุปกรณ์ที่ใช้ในการเล่นฟุตบอล
2.1 ลูกฟุตบอล ต้องได้รับการยอมรับจาก F.I.F.A. มีน้ำหนักได้มาตรฐาน 396-453 กรัม หากเปียกน้ำ เปื้อนโคลน ต้องทำความสะอาดและเช็ดให้แห้ง
2.2 ตาข่ายประตู ต้องไม่ขาด หรือมีช่องโหว่ติดตั้งอย่างมั่นคง ใช้แล้วให้เก็บในที่ห่างจากความร้อนและความชื้น
2.3 ป้ายคะแนน และเลขคะแนน ระวังไม่ให้เปียกน้ำ เพื่อป้องกันการผุ เก็บในที่ห่างจากความชื้น เช่นในที่ร่ม หรือห้องเก็บของ
2.4 เสาประตู ต้องหมั่นตรวจสอบเวลาฝึกซ้อมหรือแข่งขันต้องอยู่ในสภาพมั่นคง แข็งแรง
2.5 เข็มปล่อยลมลูกบอล ต้องจัดเตรียมไว้เมื่อเติมลมลูกฟุตบอลมากเกินไปหรือไม่ได้มาตรฐาน
2.6 ธงมุมสนาม ปักไว้ที่มุมสนาม ใช้แล้วนำมาเก็บให้เรียบร้อย และนำไปปักเมื่อต้องการใช้การบำรุงรักษาสุขภาพ

กฎ กติกา ฟุตบอล


80768220px-Football_pitch_metric.jpg

(สนามฟุตบอลและขนาดมาตรฐาน)
กติกาฟุตบอล (อังกฤษ: The Laws of the Game)เป็นกฎและกติกาฟุตบอลสากลที่กำหนดโดยสมาคมฟุตบอล ในปัจจุบันมีทั้งหมด 17 ข้อ ดูแลโดยหน่วยงานไอเอฟเอบี

  • กฎข้อที่ 1: สนามฟุตบอล เป็นสนามหญ้ารูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 100 หลา ยาว 130 หลา และทำเส้นต่างๆ ในสนามเป็นสีขาวมีลักษณะตามภาพ
  • กฎข้อที่ 2: ลูกฟุตบอล เป็นทรงกลม ทำจากหนัง หรือวัสดุอื่นๆ ตามความเหมาะสมที่ไม่เป็นอันตรายต่อผู้เล่น เป็นฟุตบอลเบอร์ 5 มีเส้นรอบวงประมาณ 68-70 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 410-450 กรัม
  • กฎข้อที่ 3: จำนวนผู้เล่นประกอบด้วยทีม 2 ทีม และแต่ละทีมประกอบด้วยผู้เล่นตัวจริงและตัวสำรอง ผู้เล่นตัวจริงจะเป็นผู้เล่นชุดแรกที่ลงสนาม ส่วนผู้เล่นตัวสำรองมีไว้เพื่อสับเปลี่ยนกับผู้เล่นตัวจริงในกรณีที่ผู้เล่น ตัวจริงไม่สามารถเล่นได้หรือกรณีอื่นๆ ตามความเหมาะสมหรือตามแต่ดุลยพินิจของผู้จัดการทีม ผู้เล่นตัวจริงที่ลงสนามต้องมีไม่ต่ำกว่า 7 คน และไม่เกิน 11 คน และหนึ่งในนั้นจะต้องมีผู้เล่นตำแหน่งผู้รักษาประตู 1 คน, ตัวสำรองสามารถมีได้ไม่เกิน 7 คน
  • กฎข้อที่ 4: อุปกรณ์การเล่น ได้แก่ ลูกฟุตบอล (ตามกฏข้อ 2) ใช้สำหรับเล่น 1 ลูก และ เครื่องแบบของนักกีฬาทีมทั้ง 2 ทีมที่ลงแข่งขัน สมาชิกทุกคนในทีมยกเว้นผู้รักษาประตูจะต้องใส่ชุดแข่งขันสีเดียวกัน และทั้ง 2 ทีมจะต้องใส่ชุดแข่งที่มีสีตัดกันอย่างชัดเจน จะใส่ชุดที่มีโทนสีคล้ายกันไม่ได้ (เช่น ทีมหนึ่งใสชุดแข่งสีขาว อีกทีมหนึ่งใส่ชุดแข่งสีเหลือง) ผู้รักษาประตูจะต้องใส่ชุดแข่งที่มีสีไม่ซ้ำกับผู้เล่นทั้ง 2 ทีม และนักกีฬาที่ทำการแข่งขันจะต้องใส่รองเท้า (ในปัจจุบันไม่อนุญาตให้นักกีฬาใช้เท้าเปล่าเล่น) ที่กล่าวมาเป็นอุปกรณ์การเล่นที่ต้องมีในการแข่งขัน ยังมีอุปกรณ์อื่นๆ ที่กติกาไม่บังคับแต่ผู้เล่นมักจะนิยมใช้กัน คือ สนับแข้ง, ถุงมือและหมวกสำหรับผู้รักษาประตู และยังมีอุปกรณ์ปลีกย่อยสำหรับผู้ที่มีปัญหาทางสุขภาพที่สามารถอนุโลมให้ใส่ ในเวลาลงเล่นได้ เช่น แว่นตา (สำหรับผู้ที่ได้รับการผ่าตัดทางตา), หน้ากาก, เฮดเกียร์ เป็นต้น
  • กฎข้อที่ 5: กรรมการ
  • กฎข้อที่ 6: ผู้ช่วยกรรมการ
  • กฎข้อที่ 7: ระยะเวลาการแข่งขัน
  • กฎข้อที่ 8: การเริ่มต้นการแข่งขัน
  • กฎข้อที่ 9: บอลออกนอกสนาม
  • กฎข้อที่ 10: วิธีนับคะแนน
  • กฎข้อที่ 11: การล้ำหน้า

การล้ำหน้า (อังกฤษ: Offside) ในกติกาของฟุตบอล หมายถึง ผู้เล่นที่อยู่ในตำแหน่งล้ำหน้าเมื่อลูกบอลสัมผัส หรือเล่นโดยผู้เล่นคนหนึ่งในทีมของเขา โดยผู้ตัดสินเห็นว่าเขามีส่วนร่วมกับการเล่นอย่างชัดเจน หรือ เกี่ยวข้องกับผู้เล่นฝ่ายตรงข้าม หรือ อาศัยความได้เปรียบจากการอยู่ในตำแหน่งล้ำหน้าขณะนั้น แต่ไม่ถือเป็นการล้ำหน้า ในกรณีที่เตะจากประตู หรือเตะจากมุม หรือการทุ่ม
สำหรับการกระทำผิดจากการล้ำหน้า จะลงโทษ โดยให้ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามได้เตะโทษ โดยอ้อมจากตำแหน่งกระทำผิด

  • กฎข้อที่ 12: ฟาวล์
  • กฎข้อที่ 13: ฟรีคิก
  • กฎข้อที่ 14: ลูกโทษ

การยิงลูกโทษ เป็นการตั้งเตะทำคะแนนในการแข่งขันฟุตบอล โดยลูกฟุตบอลจะอยู่ในตำแหน่งหน้าประตูห่างมาเป็นระยะ 12 หลา (ประมาณ 11 เมตร) โดยมีผู้รักษาประตูคนเดียวเท่านั้นที่อยู่ในตำแหน่งที่ป้องกันได้
ในการแข่งขันฟุตบอลจะมีการยิงลูกโทษสองลักษณะคือ ลักษณะแรกการยิงลูกโทษระหว่างการแข่งขัน เกิดจากที่ผู้เล่นในฝ่ายรับทำฟาล์วผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามภายในเขตประตู โดยผู้ที่ยิงลูกโทษจะมีสิทธิยิงได้หนึ่งครั้งโดยเมื่อยิงเสร็จแล้วจะปล่อย ให้เกมเล่นต่อตามปกติ ในลักษณะที่สองคือการยิงลูกโทษภายหลังจากหมดเวลาการแข่งขัน และทั้งสองฝ่ายมีคะแนนเท่ากัน จะทำการยิงลูกโทษในการตัดสินผู้ชนะ โดยการยิงลูกโทษลักษณะนี้จะ เริ่มต้นโดยผู้ยิงฝ่ายละ 5 คน สลับกันยิงลูกโทษ โดยถ้าไม่สามารถตัดสินกันได้ให้มีการยิงต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าจะได้ผู้ชนะ
การยิงลูกโทษเกิดขึ้นครั้งแรกจากความคิดของผู้รักษาประตูชาวไอร์แลนด์ วิลเลียม แม็คครูม (William McCrum) ในปี พ.ศ. 2433 (ค.ศ. 1890) โดยได้เสนอไอเดียกับ สมาคมฟุตบอลไอร์แลนด์ และได้มีการเสนอความคิดนี้ต่อให้กับ สมาคมฟุตบอลนานาชาติ ซึ่งมีการรับรองเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2434 และมีการ



เข้าชม : 80950


ความรู้เกี่ยวกับ IT 5 อันดับล่าสุด

      โควิดสายพันธุ์ โอไมครอน คืออะไร น่ากลัวแค่ไหน 26 / ธ.ค. / 2564
      สถานการณ์ COVID-19 ในเขตเทศบาลนครสงขลา ประจำวันที่ 31 สิงหาคม 2564 วันนี้ในพื้นที่ตำบลบ่อยาง พบผู้ป 31 / ส.ค. / 2564
      ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤษภาคม 2564 รวม 3,323 ราย จำแนกเป็น ติดเชื้อติดเชื้อใหม่ 2 27 / พ.ค. / 2564
      \"อาการโควิด-19\" แบบเดิม การระบาดระลอกที่ 1 และ 2\" 17 / เม.ย. / 2564
      โรคข้อเข่าเสื่อม 26 / มิ.ย. / 2560


 
ศกร.ระดับตำบลพังลา
Phang La Non-Formal Education
๑๓๕  ถ.กาญจนวนิช  หมู่ที่ ๑ บ้านพังลาตก  ตำบลพังลา  อำเภอสะเดา  จังหวัดสงขลา  ๙๐๑๗๐
website :http://sk.nfe.go.th/sadao06
โทร. ๐๘๑-๐๙๕๓๗๕๒
 (ครูสุ)  Facebook: Suphattra nawayo
 LINE ID : SuphattraSu
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05