แน่นอนว่าพฤติกรรมของการใช้สมาร์ตโฟน, แท็บเล็ต และอินเตอร์เน็ต ของคนในสังคมปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นเด็กนักเรียน นิสิต นักศึกษา คนทำงาน ไปถึงผู้สูงอายุ มีพฤติกรรมที่มองเห็นได้ว่า การแพร่กระจายนวัตกรรม และการยอมรับนวัตกรรม สามารถเข้าถึงได้ไม่ยาก สะท้อนจาก ผศ.สิงห์ สิงห์ขจร ประธานคณะกรรมการศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์
ส.วิจัยและพัฒนา ม.ราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ได้สำรวจความคิดเห็นการใช้งานจากประชาชนผู้ใช้งาน ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,122 กลุ่ม มีประเด็นน่าสนใจที่ว่า
ส่วนใหญ่มีการใช้งานอินเตอร์เน็ตผ่านมือถือร้อยละ 71.1 ใช้งานอินเตอร์เน็ต 3-4 ชั่วโมงต่อวัน ใช้งานโปรแกรมสนทนา (Chat) อันดับแรก คือ Line ร้อยละ 59.1 รองมา คือ Messenger ร้อยละ 21.7 และ WhatsApp ร้อยละ 7.2 ตามด้วยกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ เชื่อข้อมูลข่าวสารที่ได้รับ สูงถึง 45%
นอกจากนี้ยังมีพฤติกรรมนัดพบและพูดคุยกับคนแปลกหน้าที่ไม่เคยรู้จักมาก่อน ในสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 42.7 และ ร้อยละ 58.7 ตามลำดับ ขนาดสั่งซื้อสินค้าร้อยละ 55.6 แต่ถูกหลอกถึงเกือบร้อยละ 30 ก็เฉย
ก็เลยเป็นห่วงว่า การลดเวลาเรียน ที่หวังให้นักเรียนได้เพิ่มเวลาเรียนรู้นอกห้องเรียน อาจจะได้สิ่งที่กล่าวมา คือ การใช้เวลากับไลน์และกิจกรรมอื่นๆ เป็นของแถมเข้ามาด้วย
เก็บจากผลสำรวจในหัวข้อ "1 วันในชีวิตเด็กไทย" ที่ สสค.ที่ร่วมกับ สพฐ. จัดขึ้นใน ปี"56 ระบุว่า สิ่งแรกที่เด็กส่วนใหญ่ทำหลังตื่นนอนร้อยละ 51.1 ทำคือ การเช็กโทรศัพท์มือถือ ทำสิ่งสุดท้ายก่อนจะนอนที่ ร้อยละ 35 ทำ คือ ใช้โทรศัพท์มือถือเล่น เฟซบุ๊ก (Facebook) และ ไลน์ (Line)
นอกจากนี้ยังพบว่า ตัวเลขเด็กที่ใช้โทรศัพท์มือถือ พุ่งพรวดถึง 2-3 เท่า ใน 1 ปี เพราะมีทุกสิ่งที่เด็กต้องการ ทั้งอินเตอร์เน็ต เฟซบุ๊ก ไลน์ และกล้องถ่ายรูป และพบว่า เด็กร้อยละ 75.7 เล่นโซเชี่ยลเน็ตเวิร์กบ่อยจนถึงประจำ ขณะที่ ร้อยละ 42.5 รู้สึกทนไม่ได้ถ้าอยู่คนเดียวโดยไม่มีโทรศัพท์
ล่าสุด มีผู้ปกครองเล่าให้ฟังว่า ในการประชุมผู้ปกครอง ขอความร่วมมือให้เด็กมีสมาร์ตโฟนเพื่อจะได้คุยไลน์กันในกลุ่ม และครูเองจะได้เอาไว้สื่อสารและสั่งการบ้านได้
ก็เลยฝากมาถึงศธ.จะช่วยจ่ายค่าเครื่องได้ไหม เพราะรุ่น ธรรมดาๆ โหลดแอพฯอะไรๆ ไม่ได้
เข้าชม : 516
|