[x] ปิดหน้าต่างนี้
 

 

กศน.อำเภอสะเดา ยินดีต้อนรับ ที่ตั้งเลขที่ ๙๘ ถนนกาญจนวนิช ตำบลสะเดา อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา ๙๐๑๒๐ โทร.๐-๗๔๔๑-๑๑๓๓ โทรสาร ๐-๗๔๔๖-๐๕๘๕
 

รายละเอียดโครงสร้างหลักสูตรการศึกษานอกระบบ

ระดับการศึกษาขึ้นพื้นฐาน พุทธศักราช 
2551

                  

ที่

สาระการเรียนรู้

จำนวนหน่วยกิต

ประถมศึกษา

มัธยมศึกษาตอนต้น

มัธยมศึกษาตอนปลาย

วิชาบังคับ

วิชาเลือก

วิชาบังคับ

วิชาเลือก

วิชาบังคับ

วิชาเลือ

1

ทักษะการเรียนรู้

5

 

5

 

5

 

2

ความรู้พื้นฐาน

12

 

16

 

20

 

3

การประกอบอาชีพ

8

 

8

 

8

 

4

ทักษะการดำเนินชีวิต

5

 

5

 

5

 

5

การพัฒนาสังคม

6

 

6

 

6

 

รวม

36

12

40

16

44

32

48 หน่วยกิต

56 หน่วยกิต

76 หน่วยกิต

กิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต

200 ชั่วโมง

200 ชั่วโมง

200 ชั่วโมง

 

หมายเหตุ    วิชาเลือกในแต่ละระดับ ผู้เรียนต้องเรียนรู้จากการทำโครงงานจำนวนอย่างน้อย 3 หน่วยกิต

วิธีการจัดการเรียนรู้หลักสูตรการศึกษานอกระบบการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ประกอบด้วย

1.       สาระการเรียนรู้ 5 สาระ คือ ทักษะการเรียนรู้ ความรู้พื้นฐาน การประกอบอาชีพ ทักษะการดำเดินเนินชีวิต และการพัฒนาสังคม

2.       จำนวนหน่วยกิตในแต่ละระดับ ดังนี้

2.1   ระดับประถมศึกษา ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต

แบ่งเป็นวิชาบังคับ 36 หน่วยกิต และวิชาเลือกไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต

2.2   ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ไม่น้อยกว่า 56 หน่วยกิต

แบ่งเป็นวิชาบังคับ 40 หน่วยกิต และวิชาเลือกไม่น้อยกว่า 16 หน่วยกิต

2.3   ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ไม่น้อยกว่า 76 หน่วยกิต

แบ่งเป็นวิชาบังคับ 44 หน่วยกิต และวิชาเลือกไม่น้อยกว่า 32 หน่วยกิต

3.       ผู้เรียนต้องทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับละไม่น้อยกว่า 200 ชั่วโมง

     1.       การเรียนรู้ด้วยตนเอง

2.       การเรียนรู้แบบพบกลุ่ม

 การขอย้ายสถานศึกษา

1.       ให้นักศึกษายื่นคำร้องต่อสถานศึกษาด้วยตนเอง และ เตรียมหลักฐานเอกสารที่ต้องใช้ ดังนี้

1.1   ใบคำร้องขอลาออกจากสถานศึกษา

1.2   สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน

1.3   สำเนาทะเบียนบ้าน

1.4   สำเนาวุฒิการศึกษาเดิม

1.5   รูปถ่ายหน้าตรงขนาด 2 นิ้ว จำนวน 2 รูป ใส่ชุดนักศึกษา ไม่สวมหมวก ไม่สวมแว่นตาดำ ถ่ายไว้ไม่เกิน 6 เดือน ไม่ใช้รูปถ่ายด่วน

1.6   บัตรประจำตัวนักศึกษา

2.       กรณีที่นักศึกษาไม่สามารถยื่นคำร้องได้ด้วยตนเอง ให้ทำหนังสือมอบอำนาจให้ผู้อื่นดำเนินการแทนได้

 

การพ้นสภาพนักศึกษา

1.       สำเร็จการศึกษา

2.       ลาออก

3.       ตาย

4.       ออกตามวินัยว่าด้วยการลงโทษนักศึกษา

5.       ไม่ลงทะเบียนรักษาสภาพนักศึกษาติดต่อกัน 6 ภาคเรียน

6.       ขาดคุณสมบัติการเป็นนักศึกษา ตามระเบียบที่สถานศึกษากำหนด

การยื่นขอจบ

     นักศึกษาที่คาดว่าจะจบ ต้องทำการยื่นแบบฟอร์มขอจบพร้อมหลักฐานการขอจบ ดังต่อไปนี้

1.       สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน

2.       สำเนาทะเบียนบ้าน

3.       สำเนาวุฒิการศึกษาเดิม พร้อมตัวจริง

4.       รูปถ่าย 2 นิ้ว 2 รูป (เท่านั้นแต่งกายชุดนักศึกษา ไม่สวมแว่นตาดำ ไม่สวมหมวก ไม่ใส่เครื่องประดับใด ๆ ทั้งสิ้น ถ่ายไว้ไม่เกิน 6 เดือน ไม่ใช้รูปถ่ายด่วน ไม่ใช้รูปถ่ายสติ๊กเกอร์

5.       สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือสำเนาทะเบียนบ้านของมารดา กรณีมารดาไม่ใช้นามสกุลเดียวกับบิดา

6.       สำเนาเอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่น หนังสือสำคัญการเปลี่ยนชื่อ เปลี่ยนนามสกุล ทะเบียนสมรส หนังสือสำคัญการหย่า (ถ้ามี)

 

การเทียบโอนผลการเรียน

          สถานศึกษาได้จัดให้มีการเทียบโอนผลการเรียนหรือเทียบโอนความรู้และประสบการณ์ของผู้เรียน ให้เป็นส่วนหนึ่งของผลการเรียนตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

 

การวัดและการประเมินผล

1.       การวัดและการประเมินผลรายวิชา

2.       การประเมินกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต

3.       การประเมินคุณธรรม

4.       การประเมินคุณภาพการศึกษานอกระบบระดับชาติ

 

กิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต (กพช.)

          กพช. คือ กิจกรรมการเรียนรู้ที่จัดขึ้นตามเงื่อนไขการจบหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช  2551  เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเอง  ครอบครัว  ชุมชน  สังคม  และกำหนดให้ผู้เรียนทุกระดับการศึกษาต้องเรียนรู้และปฏิบัติกิจกรรมจำนวนไม่น้อยกว่า  200  ชั่วโมง

 

ระเบียบการแต่งกายของนักศึกษา กศน.อำเภอสะเดา

          สุภาพบุรุษ

1.       สวมเสื้อขาวมีปก แขนสั้น หรือ แขนยาว

2.       กางเกงสีดำ หรือ สีน้ำเงิน

3.       รองเท้าหุ้มส้น (ห้ามสวมรองเท้าแตะ)

สุภาพสตรี

1.       สวมเสื้อขาวมีปก แขนสั้น หรือ แขนยาว

2.       กระโปรงสีดำ หรือ น้ำเงิน

3.       รองเท้ารัดส้น (ห้ามสวมรองเท้าแตะ)

การจบหลักสูตร

          ผู้จบการศึกษาตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ในแต่ละระดับการศึกษา ต้องผ่านเกณฑ์การจบหลักสูตร ดังนี้

1.       ผ่านการประเมิน และได้รับการตัดสินผลการเรียนตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด

2.       ผ่านกระบวนการประเมินกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต ไม่น้อยกว่า 200 ชั่วโมง

3.       ผ่านกระบวนการประเมินคุณธรรม

4.       เข้ารับการประเมินคุณภาพการศึกษานอกระบบระดับชาติ

 

 การลงทะเบียนเรียนรายวิชา

1. ระดับประถมศึกษา  ลงทะเบียนเรียนไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต  ให้ลงทะเบียนเรียนได้ภาคเรียนละไม่เกิน  14  หน่วยกิต

2. ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น  ลงทะเบียนเรียนไม่น้อยกว่า 56 หน่วยกิต  ให้ลงทะเบียนเรียนได้ภาคเรียนละไม่เกิน  16  หน่วยกิต

3. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย  ลงทะเบียนเรียนไม่น้อยกว่า 76 หน่วยกิต  ให้ลงทะเบียนเรียนได้ภาคเรียนละไม่เกิน  20  หน่วยกิต

 

ระดับผลการเรียน

          การตัดสินผลการเรียนให้นำคะแนนระหว่างภาคเรียนรวมกับคะแนนปลายภาคเรียนแล้วนำไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด เพื่อให้ค่าระดับผลการเรียนทั้ง ระดับ ดังนี้

1.       ได้คะแนน 80 – 100 ได้เกรด 4         หมายถึง   ดีเยี่ยม

2.      ได้คะแนน 75 - 79   ได้เกรด 3.5      หมายถึง   ดีมาก

3.      ได้คะแนน 70 - 74   ได้เกรด 3         หมายถึง   ดี

4.      ได้คะแนน 65 - 69   ได้เกรด 2.5      หมายถึง   ค่อนข้างดี

5.      ได้คะแนน 60 - 64   ได้เกรด 2         หมายถึง   ปานกลาง

6.      ได้คะแนน 55 - 59   ได้เกรด 1.5      หมายถึง   พอใช้

7.      ได้คะแนน 50 - 54   ได้เกรด 1         หมายถึง   ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำที่กำหนด

8.      ได้คะแนน 0 - 49    ได้เกรด 0         หมายถึง   ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด

ข้อปฏิบัติในการพบกลุ่ม

          ให้นักศึกษาพบกลุ่มทุกสัปดาห์ ตามวัน-เวลา และสถานที่ที่กำหนด การมาพบกลุ่มแต่ละครั้งมีข้อปฏิบัติดังนี้

1.       มาพบกลุ่มตรงเวลาทุกครั้ง หากมีความจำเป็นให้ลาเป็นลายลักษณ์อักษร

2.       ต้องตรวจสุขภาพอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง

3.       ให้เกียรติสถานที่ โดยช่วยกันดูแลทรัพย์สินของทางราชการและสถายที่พบกลุ่ม

4.       ไม่ทะเลาะวิวาท ห้ามพกอาวุธเข้ามาในสถานที่พบกลุ่ม และรักษาไว้ซึ่งความสามัคคีในหมู่คณะ

5.       รักษาความสะอาดอาคารสถานที่อย่างเคร่งครัด ไม่ทิ้งขยะ

6.       ห้ามสูบบุหรี่ในสถานที่ราชการและสถานที่พบกลุ่ม

7.       สนทนาด้วยถ้อยคำสุภาพ เคารพครู-อาจารย์ผู้สอน

8.       แต่งกายสุภาพตามระเบียบที่สถานศึกษากำหนด

9.       ให้นักศึกษาปฏิบัติตามข้อปฏิบัติทุกข้ออย่างเคร่งครัด และเตรียมตัวดังนี้

9.1   ตรวจสอบรายวิชาที่ลงทะเบียนและสถานที่พบกลุ่ม

9.2   เตรียมสื่ออุปกรณ์สำหรับการเรียนให้ครบถ้วน

9.3   ศึกษาเอกสารการเรียน/สื่อการสอนของเนื้อหาวิชาล่วงหน้า

9.4   ทำแบบประเมินก่อนเรียน พร้อมทำกิจกรรมต่าง ๆ

9.5   รวบรวมปัญหาข้อสงสัยต่าง ๆ ไปถามครูผู้สอนในวันพบกลุ่ม

9.6   เข้ารับการทดสอบย่อย ประเมินคุณธรรม จริยธรรม ทุกภาคเรียน

9.7   เข้ารับการประเมินคุณภาพการศึกษาระดับชาติ N-NET

9.8   ให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการเรียน และทำกิจกรรมต่าง ๆ เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

9.9   นักศึกษาแสดงความคิดเห็นแลกเปลี่ยนความรู้กับเพื่อนในชั้นเรียนร่วมกับครูผู้สอน

************************************************************************************************************************

คู่มือนักศึกษา หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

 

แนวคิด 

        กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศให้ใช้หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2551 เป็นหลักสูตรที่มุ่งจัดการศึกษาเพื่อตอบสนองอุดมการณ์การจัดการศึกษาตลอดชีวิต การสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ตามปรัชญา “คิดเป็น” เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตและสังคม มีการบูรณาการอย่างสมดุลระหว่างปัญญาธรรม ศีลธรรม และวัฒนธรรม มุ่งสร้างพื้นฐานการเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชน สังคม และพัฒนาความสามารถเพื่อการทำงานที่มีคุณภาพ โดยให้ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมจัดการศึกษาให้ตรงตามความต้องการของผู้เรียน และสามารถตรวจสอบได้ว่า การศึกษานอกระบบเป็นกระบวนการของการพัฒนาชีวิตและสังคม สามารถพึ่งพาตนเองได้ และรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง เป็นหลักสูตรที่มีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหา ความต้องการของบุคคลที่อยู่นอกระบบโรงเรียน ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ ประสบการณ์จากการทำงาน และการประกอบอาชีพ โดยการกำหนดสาระการเรียนรู้ มาตรฐานการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล ให้ความสำคัญกับการพัฒนากลุ่มเป้าหมายด้านจิตใจให้มีคุณธรรมควบคู่ไปกับการพัฒนาการเรียนรู้ สร้างภูมิคุ้มกัน สามารถจัดการกับองค์ความรู้ ทั้งภูมิปัญญาท้องถิ่นและเทคโนโลยีเพื่อให้ผู้เรียนสามารถปรับตัวอยู่ในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา สร้างภูมิคุ้มกันตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้งคำนึงถึงธรรมชาติการเรียนรู้ของผู้ที่อยู่นอกระบบ และสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง ความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีและการสื่อสาร
 

หลักการ

        หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กำหนดหลักการไว้ดังนี้
        1. เป็นหลักสูตรที่มีโครงสร้างยืดหยุ่นด้านสาระการเรียนรู้ เวลาเรียน และการจัดการเรียนรู้ โดยเน้นการบูรณาการเนื้อหาให้สอดคล้องกับวิถีชีวิต ความแตกต่างของบุคคล ชุมชน และสังคม
        2. ส่งเสริมให้มีการเทียบโอนผลการเรียนจากการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย
        3. ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาและเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยตระหนักว่าผู้เรียนมีความสำคัญ สามารถพัฒนาตนเองได้ตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ
        4. ส่งเสริมให้ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

จุดหมาย

        หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม มีสติปัญญา มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีศักยภาพในการประกอบอาชีพและการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่ต้องการ จึงกำหนดจุดหมายดังต่อไปนี้

        1. มีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่ดีงาม และสามารถอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสันติสุข
        2. มีความรู้พื้นฐานสำหรับการดำรงชีวิตและการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
        3. มีความสามารถในการประกอบสัมมาอาชีพให้สอดคล้องกับความสนใจ ความถนัด และตามทันความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง
        4. มีทักษะการดำเนินชีวิตที่ดี และสามารถจัดการกับชีวิต ชุมชน สังคมได้อย่างมีความสุขตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
        5. มีความเข้าใจประวัติศาสตร์ชาติไทย ภูมิใจในความเป็นไทย โดยเฉพาะภาษา ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี กีฬา ภูมิปัญญาไทย ความเป็นพลเมืองดี ปฏิบัติตนตามหลักธรรมของศาสนายึดมั่นในวิถีชีวิต และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
        6. มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
        7. เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ มีทักษะในการแสวงหาความรู้ สามารถเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ และบูรณาการความรู้มาใช้ในการพัฒนาตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคม
และประเทศชาติ

ระดับการศึกษา

        ระดับการศึกษาแบ่งระดับการศึกษาออกเป็น 3 ระดับ คือ 
        - ระดับประถมศึกษา 
        - ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 
        - ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 
        โดยแต่ละระดับใช้เวลาเรียน 4 ภาคเรียน ยกเว้นกรณีที่มีการเทียบโอน แต่ทั้งนี้ต้องลงทะเบียนเรียนในสถานศึกษาอย่างน้อย 1 ภาคเรียน
 

สาระการเรียนรู้

        สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ประกอบด้วย 5 สาระการเรียนรู้ และ 18 มาตรฐานการเรียนรู้ ดังนี้

1. สาระทักษะการเรียนรู้ ประกอบด้วย 5 มาตรฐาน ดังนี้
        มาตรฐานที่ 1.1 มีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะและเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง
        มาตรฐานที่ 1.2 มีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะและเจตคติที่ดีต่อการใช้แหล่งเรียนรู้
        มาตรฐานที่ 1.3 มีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะและเจตคติที่ดีต่อการจัดการความรู้
        มาตรฐานที่ 1.4 มีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะและเจตคติที่ดีต่อการคิดเป็น
        มาตรฐานที่ 1.5 มีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะและเจตคติที่ดีต่อการวิจัยอย่างง่าย

2. สาระความรู้พื้นฐาน ประกอบด้วย 2 มาตรฐาน ดังนี้
        มาตรฐานที่ 2.1 มีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะพื้นฐานเกี่ยวกับภาษาและการสื่อสาร
        มาตรฐานที่ 2.2 มีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์  วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

3. สาระการประกอบอาชีพ ประกอบด้วย 4 มาตรฐาน ดังนี้
        มาตรฐานที่ 3.1 มีความรู้ ความเข้าใจ และเจตคติที่ดีในงานอาชีพ มองเห็นช่องทาง และตัดสินใจประกอบอาชีพได้ตามความต้องการ และศักยภาพของตนเอง

4. สาระทักษะการดำเนินชีวิต ประกอบด้วย 3 มาตรฐาน ดังนี้
        มาตรฐานที่ 4.1 มีความรู้ ความเข้าใจ เจตคติที่ดีเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 
และสามารถประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสม
        มาตรฐานที่ 4.2 มีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะและเจตคติที่ดีเกี่ยวกับการดูแล ส่งเสริมสุขภาพอนามัย และความปลอดภัยในการดำเนินชีวิต
        มาตรฐานที่ 4.3 มีความรู้ ความเข้าใจ และเจตคติที่ดีเกี่ยวกับศิลปะและ สุนทรียภาพ

5. สาระการพัฒนาสังคม ประกอบด้วย 4 มาตรฐาน ดังนี้
        มาตรฐานที่ 5.1 มีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญเกี่ยวกับภูมิศาสตร์ประวัติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ การเมือง การปกครอง สามารถนำมาปรับใช้ในการดำรงชีวิต
        มาตรฐานที่ 5.2 มีความรู้ ความเข้าใจ เห็นคุณค่า และสืบทอดศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข
        มาตรฐานที่ 5.3 ปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย มีจิตสาธารณะ เพื่อความสงบสุขของสังคม
        มาตรฐานที่ 5.4 มีความรู้ ความเข้าใจ เห็นความสำคัญของหลักการพัฒนา และสามารถพัฒนาตนเอง ครอบครัว ชุมชน/สังคม

หมายเหตุ สาระการเรียนรู้ความรู้พื้นฐาน มาตรฐานที่ 2.1 มีความรู้ความเข้าใจทักษะพื้นฐานเกี่ยวกับภาษาและการสื่อสาร ซึ่งภาษาในมาตรฐานนี้หมายถึง ภาษาไทย และภาษาต่างประเทศ

 

 กศน.อำเภอสะเดา จัดมหกรรมวิชาการ กศน. นักศึกษานำเสนอผลงานทางวิชาการ (โครงงาน)
ณ กศน.อำเภอสะเดา ตำบลสะเดา อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา

  

  
  
  
  
    
  


เข้าชม : 2309
 
 

ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอสะเดา  
98 ถนนกาญจนวนิช ตำบลสะเดา อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา 90120 
โทร. 074-3411133 (ห้องสมุดประชาชนอำเภอสะเดา)
074-411460 (กศน.อำเภอสะเดา)

Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05