[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 

ศกร.ตำบลคูหาใต้ หมู่ที่ 6 ตำบลคูหาใต้ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา 
website : http://sk.nfe.go.th/rtp04  Tel : 081-7282037
 
 

  

ศูนย์การเรียนชุมชน
แหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์ เขาจังโหลน

จันทร์ ที่ 9 เดือน มกราคม พ.ศ.2560


แหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์ เขาจังโหลน

          สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินเนื้อที่ 35 ไร่ 3งาน 50 ตารางวาอาณาเขต ทิศเหนือยาว 9 เส้น ติดต่อกับที่ดินนายชู ทิศใต้ติดที่ดินนายฤทธิ์  ทิศตะวันออก ยาว 7 เส้น ติดกับถนนทางหลวงจังหวัดทิศตะวันตกติดภูเขาจังโหลนพื้นที่ตั้งวัดเป็นเนินสูงอาคารเสนาสนะต่างๆ อุโบสถกว้าง 8 เมตร ยาว 15 เมตร สร้าง พ.ศ. 2484 โครงสร้างคอนกรีตและไม้ ศาลาการเปรียญกว้าง 10 เมตร ยาว 30 เมตร สร้างพ.ศ. 2480 โครงสร้างคอนกรีต กุฏิสงฆ์ จำนวน 3 หลัง โครงสร้างเป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ สำหรับปูชนียวัตถุมีพระประธานในอุโบสถ พระเพลากว้าง 4 ศอก พระประธานในศาลาการเปรียญ พระเพลากว้าง 2 ศอก พระพุทธรูปบนเขาองค์ใหญ่สุด พระเพลากว้าง 2 ศอก ประชาชนนิยมเรียกพ่อท่านสมเด็จเจ้าเฝ้าเขาเจดีย์หน้าอุโบสถ สูง 15 เมตร

          อดีตเจ้าอาวาสวัดจังโหลน เดิมชื่อ แก้ว สระมุณี เป็นบุตรของคุณพ่ออินทร์และคุณแม่ -  สระมุณี เป็นชาวบ้านสวน เกิดเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2446 ตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 6 ปี เถาะ หมู่ที่ 8ตำบลควนรู อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา มีพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน 3 คน คือ นางชื่น นายแก้ว และนายพร้อม เป็นคนสุดท้อง อาชีพทำนา ทำสวน การศึกษา ความรู้เทียบชั้น ป.การศึกษาเบื้องต้นในสมัยนั้นต้องอาศัยวัด นายแก้วเมื่ออายุได้ 15 ปี คุณพ่ออินทร์ ได้พาไปฝากไว้กับอาจารย์หนู ที่วัดจังโหลน นายแก้วเป็นคนที่ขยันหมั่นเพียรในการศึกษาหาความรู้ มีมานะอดทน ประพฤติตนแต่ในทางที่ดี อาจารย์หนูรักมาก เมื่อเรียนหนังสือพออ่านออกเขียนได้ก็บวชเณรให้อยู่ที่วัดจังโหลน     เมื่ออายุ 21 ปี ก็อุปสมบท ชื่อพระแก้ว ภฺททมุณี อุปสมบท ณ พัทสีมาวัดคูหาใน ต. คูหาใต้ อ.รัตภูมิ จ.สงขลา เมื่อวันที่ 11กรกฎาคม 2468 มีพระครูปราการศิลากฤต เป็นองค์อุปัชฌาย์ พระตีบ อมฺมปาโล เป็นกรรมวาจารย์ พระครูรัตนภูมิ คณานุรักษ์ เป็นอนุศาสนาจารย์ อุปสมบทพร้อมกับพระภิกษุหย้ง พระแก้วและพระ หย้ง เมื่ออุปสมบทแล้วก็มาจำพรรษาอยู่ที่วัดจังโหลน ต่อมาพระหย้งก็เดินทางไปศึกษาพระปรยัติธรรมที่วัดบางทิ่ง (อยู่ในเขต ตำบลบางเหรียง กิ่งอำเภอควนเนียง ในปัจจุบัน) ส่วนพระแก้วยังจำพรรษาอยู่ที่วัดจังโหลนกับท่านอาจารย์หนู  ประมาณ 2 ปีเศษ ท่านอาจารย์หนูก็ได้มรณภาพด้วยโรคชา พอทำศพอาจารย์หนูเสร็จ พระแก้วก็เดินทางไปจำพรรษาที่วัดคูหานอกกับท่านอาจารย์แดง เป็นเวลา 5 พรรษา วัดจังโหลนเกือบจะทรุดโทรมลงไปอีก เพราะมีแต่หลวงปู่เพชร จำพรรษาอยู่เพียงรูปเดียว ชาวบ้านเห็นความสำคัญของวัดมากจึงปรึกษากันว่า จะนิมนต์พระแก้วกลับวัดจังโหลน ผู้ที่เป็นต้นคิดคือ ปู่หนู อ่อนอุ่น อดีตผู้ใหญ่บ้านบ้านจังโหลน ปู่มิตร รามเรือง ปู่จันทร์แก้ว ศรีบุญ ปู่หนูแดง พรหมคง และชาวบ้านจังโหลนหลายคน เมื่อท่านกลับมาจำพรรษาที่วัดแล้วท่านก็รับตราตั้งเป็นเจ้าอาวาส ตั้งแต่นั้นมาวัดจังโหลนก็เจริญรุ่งเรืองด้วยธรรมะและวัตถุธรรม มีคนเลื่อมใสศรัทธาต่อเจ้าอาวาสมาขึ้น นำบุตรหลานมาฝากให้เล่าเรียนและอุปมบท เป็นจำนวนมาก ในด้านการศึกษาสมัยนั้นไม่มีโรงเรียนจึงอาศัยเรียนตามวัดในปี พ.ศ.2476 ได้ติดต่อกับกระทรงศึกษาธิการขอเปิดโรงเรียนประชาบาลขึ้นในบริเวณวัด

เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 มีอาจารย์ทิม คงแก้ว ชาวอำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง เป็นอาจารย์คนแรก ก็นับว่าอาจารย์แก้ว ภฺททมุณี เป็นผู้นำทางบ่งบอกชีวิตกับสังคมใหม่ดีขึ้น ถึงแม้ว่าท่านไม่ได้เรียนรู้โทษ แต่ท่านก็มีประสบการณ์ในทางปฏิบัติ ต่อมาในปี พ.ศ. 2476 ท่านได้สร้างศาลาการเปรียญขึ้น1 หลัง กว้าง 16 เมตร ยาว 21 เมตร กึ่งถาวร อุปกรณ์ในการสร้างในสมัยนั้นได้มาด้วยความยากลำบากมาก เพราะการคมนาคมไม่สะดวก ต้องใช้แรงคนในการขนวัสดุก่อสร้าง ด้วยความมานะอดทนของชาวบ้านได้นำผลสำเร็จมาให้ท่านเหมือนคำพังเพยที่ว่า วัดพึ่งบ้าน บ้านพึ่งวัด ผลัดกันช่วย สมแล้วที่ท่านตั้งมั่นอยู่ในความเพียร อันเป็นแหล่งที่ก่อให้เกิดความศรัทาของคนทั่วไป ด้วยความพยายามของท่านและชาวบ้านได้ช่วยกันสร้างศาลาการเปรียญจนเสร็จ นอกจากใช้ประกอบพิธีทางศาสนาแล้ว ยังใช้เป็นอาคารเรียนด้วย สมแล้วที่ท่านรับงานปกครองเป็นเจ้าอาวาส การบริหารงานของท่านนอกจาหลักการพระพุทธศาสนาแล้ว ท่านเห็นว่าการศึกษาเป็นรากฐานสำคัญของชีวิต จึงใช้สถานที่ของวัดให้เป็นสาธารณะประโยชน์

            ก่อนที่โรงเรียนวัดจังโหลนจะแยกตัวออกไป เมื่อก่อนครูอาจารย์ก็ต้องสอนหนังสือให้แก่เด็กอยู่ในบริเวณวัด เช่น ศาลาการเปรียญ ใต้กุฏิ โรงยาวใต้ต้นไม้ ก็นับว่าท่านอาจารย์แก้ว เป็นผู้มีคุณธรรมและมนุษยธรรม เห็นแก่ความเจริญก้าวหน้าของมหาชนทั่วไปไม่ได้ปล่อยเวลาให้สูญไปโดยเปล่าประโยชน์ท่านเดินตามรอยเบื้องยุคลบาทององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า หลังจากนั้น ท่านได้คิดสร้างพระอุโบสถเสร็จท่านก็สร้างพระประธาน ประดิษฐานไว้ในอุโบสถด้วย พระประธานที่สวยงามมาก ขนาดหน้าตักกว้าง 2 เมตร สูง 2 เมตร 10 เซนติเมตร สร้างไว้เป็นพุทธบูชาของคนทั่วไป นับว่าท่านเห็นความสำคัญทางสถาบันศาสนาซึ่งเป็นสถาบันสูงสุดของชาวพุทธประกอบกับท่านเป็นผู้ที่นิส่งเสริม มหาศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองไปตามรอยเบื้องพระยุคลบาท ก็ได้ว่าท่านพระครูเป็นผู้ที่เสียสละและบำเพ็ญตนในพระพุทธศาสนา เพื่อจรรโลงศาสนาไว้ให้ยั่งยืนตลอดไปวัดจังโหลน สร้างขึ้นเป็นวัดนับตั้งแต่ พ.ศ. 2100 รับพระราชทานวิสุงคามสีมา วันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2482 เขตวิสุงคามกว้าง 40 เมตร ยาว 40 เมตร ผูกพัทธสีมา พ.ศ. 2482 เกี่ยวกับการศึกษาทางวัดได้มีการให้ มีการเรียนการสอนพระปริยยธรรมตั้งแต่ พ.ศ. 2488 ขณะนี้มีนักธรรมกว่า 10 รูปเจ้าอาวาส มี 4 รูป คือ รูปที่ 1 พระอธิการหนู รูปที่ 2 พระอธิการเพชร รูปที่ 3 พระอธิการชุม รูปที่ 4 พระครูรัตนภูมิโสภณ ดำรงตำแหน่ง ตั้งแต่ พ.ศ. 2475 ปัจจุบันเจ้าอาวาสของวัดจังโหลน คือ พระสุห์ประเสริฐ ธม.มิโก อายุ 63 พรรษา วิทยฐาน มธ.เอก จำนวนพระภิกษุ 11 รูป ศิษย์วัด 2 คน



เข้าชม : 588


ศูนย์การเรียนชุมชน 5 อันดับล่าสุด

      แหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์ เขาจังโหลน 9 / ม.ค. / 2560
      ศูนย์การเรียนชุมชนเมืองนครราชสีมา(ทดสอบ) 13 / มิ.ย. / 2551
      ศูนย์การเรียชุมชนบ้านโนนเมือง(ทดสอบ) 31 / มี.ค. / 2551


 
   ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอรัตภูมิ
กศน.ตำบลคูหาใต้ หมู่ที่ 6  ตำบลคูหาใต้  อำเภอรัตภูมิ  จังหวัดสงขลา  โทรศัพท์ 074-389174 

โทรสาร 074-389174 
rtpnfe@gmail.com
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05