[x] ปิดหน้าต่างนี้
 


ศกร.ตำบลควนรู ยินดีต้อนรับเข้าสู่ เว็บไซต์ สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 087-6326403 หมู่ที่ 4 ตำบลควนรู อำเถอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา 90180 http://sk.nfe.go.th/rtp02
 

 

ข้อมูลพื้นฐาน ของ กศน. ตำบล
ความเป็นมา
               ประวัติศาสตร์ตำบลควนรู แต่เดิมพื้นที่ที่เป็นควนรู อยู่ในเขตตำบลคูหาต่ำ (คูหาใต้ ) อำเภอปากพะยูน    จังหวัดพัทลุง ต่อมาเมื่อทางการจังหวัดสงขลาได้ตั้งกิ่งอำเภอรัตตภูมิ ขึ้น ณ ที่ปากบางภูมี แต่ที่ตั้งอำเภออยู่ในเขตจังหวัดพัทลุง ทางการปกครองจังหวัดสงขลา จึงได้ทำการขอแบ่งเขตการปกครองใหม่ โดยใช้คลองพรุพ้อเป็นเส้นแบ่งเขตแทนคลองภูมี จากนั้นเขตตำบลคูหาต่ำ (คูหาใต้ ) ของจังหวัดพัทลุง จึงมาเป็นเขตการปกครองของสงขลาที่อยู่ในอำเภอรัตตภูมิ ต่อมาเห็นว่า ตำบลคูหาใต้    มีอาณาเขตกว้างเกินไปยากที่จะปกครอง   ทางการจึงมีความเห็นว่าสมควรที่ต้องแยกตำบลคูหาใต้   เลยก็ได้แยกออกเป็น 2 ตำบล คือ ตำบลคูหาใต้ และ ตำบลควนรู   ที่แบ่งแยกมานั้น ได้ใช้ชื่อบ้าน ควนรู เป็นชื่อตำบล โดยมี นายช่วง ปานแก้ว เป็นกำนันในสมัย นั้น ( ข้อมูลได้มาจากนายชิตปานแก้ว และ ผู้อาวุโส )ตามตำนานเล่าขานสืบทอดต่อกันมาจากรุ่นบรรพบุรุษ ตำบลควนรู แต่ก่อนมีทรัพยากรธรรมชาติมากมาย   มีป่าอุดมสมบูรณ์   มีควนตาสีหมาน   เป็นเทือกแนวยาวไปจนถึงควนดินสอ ( ควน หมายถึงภูดินสูง   คล้ายภูเขาแต่ขนาดเล็กกว่า)   ซึ่งอุดมไปด้วยสัตว์ป่านาชนิด แต่สัตว์ที่มีมากที่สุด คือ เม่น   เป็นสัตว์ที่มีขนแหลมรอบตัว   ไว้เพื่อป้องกันอันตรายจากสัตว์อื่นๆ   ซึ่งชาวบ้านนิยมล่าเป็นอาหารเพราะมีเนื้อนุ่ม หวาน ตัวเม่นจะขุดรูเป็นที่อยู่อาศัย การจะจับตัวเม่นตัวเป็น ๆ ค่อนข้างยาก ชาวบ้านจะใช้วิธีการหารูให้เจอ แล้วทำเครื่องหมายไว้รอจนถึงวันพระจึงมาจับ เพราะเม่นเป็นสัตว์จำศีล มันจะนอนอยู่ในรูเฉยๆทำให้จับได้ง่ายขึ้น และเนื่องจากตัวเม่นมีจำนวนมาก ทำให้ควนทั้งควนตลอดแนวจึงเต็มไปด้วยรูเม่น ดังนั้นชาวบ้านจึงนำเอาตั้งเป็นชื่อบ้านว่า “ควนรู” และการดำรงชีวิตชาวบ้านชอบเข้าป่าล่าสัตว์มาทำเป็นอาหารและแบ่งปันกัน    สะท้อนให้เห็นถึงความเอื้ออาทร ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน อันเป็นวัฒนธรรม ประเพณีดั้งเดิมที่ได้สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน
           อีกตำนานหนึ่ง เล่าว่า เมื่อสมัยก่อนบนเทือกควนยาวตั้งแต่ควนตาสีหมานไปจนถึงควนดินสอ   มีต้นไม้ ชนิดหนึ่งชื่อว่า “ไม้ยีรู” มีลักษณะคล้ายต้นหวาย ซึ่งที่โคนต้นมีรูทุกต้น ดังนั้นตลอดทั้งควน จึงมีต้นไม้ที่มีรู ชาวบ้านจึงตั้งชื่อว่า ควนไม้รู และต่อมาก็มีแต่คำว่า ควนรู
           อีกตำนานหนึ่งเล่าว่า ตำบลควนรูมีลักษณะเป็นที่ราบลาดเอียง มีเนินควน (คล้ายภูเขาแต่เล็กกว่า) ทอดเป็นแนวยาวพาดผ่านตำบล   ตามตำนานเล่าว่า บนควนมีเจดีย์และ มีถ้ำเล็ก ๆ ที่มีน้ำไหลออกมาจากถ้ำ   ชาวบ้านเชื่อว่าเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ ใช้รักษาโรคได้ จึงได้เรียกชื่อว่า “ควนรู” สอดคล้องกับบนควนมีต้นไม้ชนิดหนึ่ง ชื่อต้นยีรู (จันกระพ้อ) อยู่เป็นจำนวนมาก ชาวบ้านจึงเรียกว่า “ควนยีรู” แต่เนื่องจากคนใต้ชอบพูดคำสั้นๆ จึงเรียกว่า   “ควนรู”      จากคำบอกเล่าของ คุณตาคล้าย ชูวิจิต ซึ่งได้เล่าให้ นายชิต ปานแก้ว ได้ฟังว่า สมัยที่ประเทศไทยยังปกครองรัฐปัตตานี ซึ่งมีรัฐกลันตัน สตูล ยะลา ไทรบุรี   นราธิวาส เป็นรัฐที่ขึ้นกับหัวเมืองนครศรีธรรมราช นั้น ทางนครศรีธรรมราช ได้มีการหล่อพระเจดีย์ เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ จึงได้มีการบอกบุญไปยังหัวเมืองต่าง   เพื่อนำ แก้ว แหวน เงินทอง ไปบรรจุในพระบรมสารีริกธาตุ   แต่ในสมัยนั้น ถนนหนทาง รถราก็ไม่มี ต้องอาศัยเรือในการเดินทาง ตาสีหมาน เป็นคนมาลายู เชื้อสายไทยพุทธ ได้เป็นหัวหน้าคณะนำพวกพ้องเดินทาง จากรัฐกลันตัน เพื่อนำแก้ว แหวน เงิน ทอง ไปบรรจุใน   พระบรมสารีริกธาตุ   แต่การเดินทางลำบากและ ไกลมาก   ตาสีหมานคิดว่า คงไปไม่ทันการบรรจุพระธาตุแน่นอนแล้ว จึงเดินทางมาจนถึงยอดควน ใน วัน เวลาที่บรรจุพระธาตุ ตาสีหมานจึง ให้บรรดาคณะที่ร่วมเดินทางมา ขุดหลุม แล้วฝัง แก้ว แหวน เงิน ทอง ลงในหลุม ในเวลาที่พร้อมกับที่นครศรีธรรมราชทำพิธี แล้วได้ก่อเจดีย์ ครอบหลุมไว้บนยอดควนและให้ชื่อควนนี้ว่า ควนสีหมาน จนถึงทุกวันนี้ ตาสีหมานนั้น เชื่อกันว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ ใครต้องการปรารถนาสิ่งใด ก็ไปบนบานและประสบความสำเร็จ สิ่งที่ใช้ในการบนบาน คือ การชนไก่ข้าวเปียก พริกเขียวกับเกลือ
ที่ตั้ง
          อาณาเขตตำบลควนรู เป็นตำบลเล็ก ๆ ของอำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา ประชากร ส่วนใหญ่นับถือ ศาสนาพุทธ ประกอบอาชีพการเกษตร คือ ทำนา ทำสวนยางพารา ค้าขาย   รับจ้าง การปกครอง แบ่งการปกครองออกเป็น 9 หมู่บ้าน การปกครองท้องที่ มีกำนันแหนบทองคำ คือ นายศักดิ์ชัย พูลผล การปกครองท้องถิ่น มี นายถั่น จุลนวล เป็นนายกองค์การบริหารส่วนตำบล   และ นายสมนึก   หนูเงิน เป็นประธานสภาองค์การชุมชน การดำเนินงานในการพัฒนาและบริหารตำบลใช้แบบเดินสามขา คือ การทำงานร่วมกันสามฝ่าย คือ ท้องถิ่น (องค์การบริหารส่วนตำบล) ท้องที่ (กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน) สภาองค์กร(หน่วยงาน/ประชาชน ) 
          ตำบลควนรู ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของอำเภอรัตภูมิอยู่ห่างจาก ที่ว่าการอำเภอรัตภูมิประมาณ   10   กิโลเมตร เนื้อที่ ตำบลควนรู มีเนื้อที่ประมาณ 24,394 ไร่ หรือ 44.13 ตารางกิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับตำบลใกล้เคียง ดังนี้
 
 
 
 
 
ทิศเหนือ           ติดต่อกับ        ตำบลโคกทราย        อำเภอป่าบอน       จังหวัดพัทลุง                                          ทิศใต้             ติดต่อกับ        ตำบลกำแพงเพชร    อำเภอรัตภูมิ          จังหวัดสงขลา                              ทิศตะวันออก        ติดต่อกับ       ตำบลรัตภูมิ            อำเภอควนเนียง     จังหวัดสงขลา                                                ทิศตะวันตก      ติดต่อกับ       ตำบลคูหาใต้           อำเภอรัตภูมิ         จังหวัดสงขลา
บทบาทหน้าที่ภารกิจ กศน.ตำบล
กศน.ตำบล เป็นหน่วยงานในสังกัด กศน.อำเภอ มีฐานะเป็นหน่วยจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชนและการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ในชุมชนกศน.ตำบล มีภารกิจที่สำคัญ ดังนี้
1.       จัดการศึกษานอกระบบตั้งแต่ ประฐมวัยจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2.       ส่งเสริมการรู้หนังสือในชุมชน
3.       จัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำอย่างยั่งยืน
4.       พัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน
5.       ดำเนินงานให้สอดคล้องกับการประกันคุณภาพการศึกษา
6.       จัดการศึกษาทางไกลสำหรับกลุ่มผู้สนใจ
7.       พัฒนาระดับความสามารถในการอ่านของประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมาย
8.       พัฒนาห้องสมุด กศน.ตำบล ให้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ตลอดชีวิตในชุมชน
9.       จัดการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างทักษะ กระบวนการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์
10.   พัฒนา กศน.ตำบล ให้เป็นศูนย์กลางการสร้างโอกาสและกระจายโอกาสทางการศึกษาให้กับประชาชนในชุมชน
11.   ดำเนินงานศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนเพื่อเป็นศูนย์กลางในการฝึก พัฒนา สาธิต และสร้างอาชีพของผู้เรียนและชุมชน
12.   สนับสนุนให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมเป็นภาคเครือข่ายในการจัด ส่งเสริม และสนับสนุนการจัดการศึกษาตลอดชีวิตและการจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำอย่างยั่งยืน ให้ครอบคลุมพื้นที่ทุกระดับ
13.   จัดหาผู้มีจิตอาสา ตลอดจนผู้รู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ามาเป็นอาสาสมัคร กศน.
14.   จัดการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ในชุมชน
15.   จดการศึกษานอกระบบและการจัดการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อสนับสนุนโครงการอันเนื่องมาจากโครงการพระราชดำริ
16.   จัดการศึกษานอกระบบและการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย การรู้หนังสือ ภาษา และวัฒนธรรมไทยสำหรับกลุ่มเป้าหมายพิเศษ ได้แก่ ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส
17.   พัฒนาด้านการใช้สื่อและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
18.   บริหารจัดการตำบล และการปฎิบัติงานตามบทบาทภารกิจอย่างมีประสิทธิภาพ
19.   ดำเนินงานตามนโยบายและจุดเน้นสำนักงาน กศน.และงานที่ได้รับมอบหมายอื่นๆ
 
คณะกรรมการ กศน. ตำบล
1. นายศักดิ์ชัย             พูลผล                                          ประธานกรรมการ
2. นายถั่น                 จุลนวล                                    รองประธานกรรมการ
3. พระครูสิริญาณวิมล                                                                       กรรมการ
4. นายวิเชียร              บัวสม                                                   กรรมการ
5. นายธีรวิทย์             จันทรกูล                                               กรรมการ
6. นายมานพ              คงสม                                                   กรรมการ
7. นายสมนึก              หนูเงิน                                                          กรรมการ
8. นายอดิศักดิ์             มาลัย                                                      กรรมการ
9. นายสมมิตร             โปจีน                                                      กรรมการ
20. นางชะอ้อน           เสาแก้ว                                                    กรรมการ
22. นางจันทนา           ศีวิโรจน์                                                กรรมการ
22. นางชินาทิพย์          เกิดสุวรรณ                                                                 กรรมการ
23. นางอารยา            วิรัตน์กุล                                                         กรรมการ
24. นางทัยธัชฐ์            เศรษตรัยวฐงศ์                                            กรรมการ
25. นายธันยากรจันทขวัญ                                                             กรรมการ
26. นางกัลยา             ศิริรักษ์                                                    กรรมการ
27. นางสาววรรณี         ชูศรีเพชร                                               กรรมการ
28. นายวสันติ์             หมาดโหรม                              กรรมการและเลขานุการ
 
อาสาสมัคร กศน. ตำบล
 
2. นางสาวอังศุมาลิน      เกษมุล                                        ประธานกรรมการ
2. นางสาวแพรวรุ่ง        สมบรณ์                                   รองประธานกรรมการ
3. นางสาวปาริชาติ        แก้วสวัสดิ์                                          ฝ่ายเหรัญญิก
6. นางสาวพัชรี            เหาะหาด                                              ฝ่ายปฏิคม
7. นางสาวภควดี          บุญมาก                                                 ฝ่ายวิชาการ
8. นางสาวจินดา          พรหมขวัญ                                          ฝ่ายวิชาการ
9. นางสาวเสาวลักษณ์    คำสุข                                           ฝ่ายประชาสัมพันธ์
20.นายขจรศักดิ์           จันทศรี                                               ฝ่ายประชาสัมพันธ์
22. นายสถาพร           บุญมิ่ง                                                            ฝ่ายกีฬา
22. นายชาญณรงค์        พิศาลสินธ์                                                        ฝ่ายกีฬา
23. นายวิษณุ              รักษาพล                                                ฝ่ายกีฬา
24. นายอุเทน             คงสม                                             ฝ่ายอาคารสถานที่
25. นายมานพ             แก้วจันทร์                                       ฝ่ายอาคารสถานที่
26. นายภาณุวัฒน์        เพชรสีนวน                              กรรมการและเลขานุการ       
 
บุคลากรใน กศน. ตำบล
                   1. นายวสันติ์          หมาดโหรม            ครู กศน.ตำบล
                   2. นางกัลยา          ศิริรักษ์                ครู อาสาสมัคร ฯ
                   3. นางสาววรรณี      ชูศรีเพชร              ครูผู้สอนคนพิการ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
2.1 สภาพทั่วไปของตำบล
          ตำบลควนรู ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของอำเภอรัตภูมิอยู่ห่างจาก ที่ว่าการอำเภอรัตภูมิประมาณ   10   กิโลเมตร ตำบลควนรู มีเนื้อที่ประมาณ 24,394 ไร่ หรือ 44.13 ตารางกิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับตำบลใกล้เคียง ดังนี้
 
ทิศเหนือ           ติดต่อกับ        ตำบลโคกทราย        อำเภอป่าบอน       จังหวัดพัทลุง                                          ทิศใต้             ติดต่อกับ        ตำบลกำแพงเพชร    อำเภอรัตภูมิ          จังหวัดสงขลา                              ทิศตะวันออก        ติดต่อกับ       ตำบลรัตภูมิ            อำเภอควนเนียง     จังหวัดสงขลา                                                ทิศตะวันตก      ติดต่อกับ       ตำบลคูหาใต้           อำเภอรัตภูมิ         จังหวัดสงขลา
สภาพภูมิประเทศ
          มีลักษณะเป็นพื้นที่ราบ ลาดเขาจากทิศใต้ไปทิศเหนือ มีคลองธรรมชาติหลายสาย เช่น คลองนุ้ย   คลองตะเคียน เป็นแนวเขตระหว่างตำบลควนรูกับตำบลคูหาใต้ คลองภูมีเป็นแนวเขตระหว่าง ตำบลควนรูกับตำบลกำแพงเพชร และคลองไสท้อนเป็นแนวเขตระหว่างตำบลควนรูกับตำบลโคกทราย อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง   มีเหมืองใสใหญ่รองรับน้ำจากคลองตะเคียน ไปสู่พื้นที่เพาะปลูก   ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่นา สวนยางพาราและที่อยู่อาศัย
          สภาพภูมิอากาศ
          ลักษณะภูมิอากาศ   อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุดตลอดปี 32.40 องศาเซลเซียส เฉลี่ยต่ำสุดตลอดปี 23.9 องศาเซลเซียสและอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี 26 องศาเซลเซียสความชื้นและปริมาณน้ำฝนความชื้นสัมพัทธ์ มีความสูงเฉลี่ยตลอดปี ประมาณ 78 %เดือนที่มีฝนตกชุก คือเดือนพฤศจิกายนและเดือนธันวาคม มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 2,078.7 มิลลิเมตรต่อปี การระเหย ค่าเฉลี่ยทั้งประมาณ 2,868.5 มิลลิเมตร เดือนที่มีการระเหยสูงสุด คือ เดือนมีนาคม ลมและทิศทางลมพัดผ่านไปทางตะวันออก และทิศตะวันตกเป็นส่วนใหญ่ ลมที่พัดจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 6 เดือน คือตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนเมษายน ความเร็วลมสูงสุดในเดือนมกราคม ฤดู มี 2 ฤดู คือ ฤดูร้อนและฤดูฝน
      
 แหล่งน้ำธรรมชาติ
- คลองนุ้ย                           ตั้งอยู่ที่    หมู่ที่ 7 , 2          
- คลองตะเคียน                     ตั้งอยู่ที่     หมู่ที่ 8 , 3
- คลองชักพระ                      ตั้งอยู่ที่     หมู่ที่ 4, 5, 6
- คลองไสท้อน                       ตั้งอยู่ที่     หมู่ที่ 9 
- คลองหรั่ง                          ตั้งอยู่ที่     หมู่ที่ 8 
- คลองบาก                          ตั้งอยู่ที่    หมู่ที่ 9  
 แหล่งน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้น
- เหมืองต้นโพธิ์                      ตั้งอยู่ที่   หมู่ที่ 2 , 7 , 2  
- เหมืองใสใหญ่                      ตั้งอยู่ที่   หมู่ที่ 8 , 3 , 4 , 5 , 6  
- เหมืองหนองอ้ายงู                ตั้งอยู่ที่   หมู่ที่ 3
, 4 , 5 , 6 
- สระเก็บน้ำบ้านหนองยาง         ตั้งอยู่ที่   หมู่ที่ 4
- สระเก็บน้ำบ้านหนองโอน                  ตั้งอยู่ที่   หมู่ที่ 6                                                                                        - สระเก็บน้ำวัดเก่า                   ตั้งอยู่ที่   หมู่ที่ 5
- สระเก็บน้ำบ้านผลุ้ง                         ตั้งอยู่ที่   หมู่ที่  9
- สระน้ำในลุ่ม                                ตั้งอยู่ที่   หมู่ที่  3
                     - สระน้ำหนองเสาธง                 ตั้งอยู่ที่   หมู่ที่ 6
                   ลักษณะและโครงสร้างธรณีวิทยาตำบลควนรู พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบ ไม่มีภูเขา ควนมีหินจำพวกหินดินดาน หินเซอรัสเป็นชั้น เป็นต้น
ทรัพยากรธรรมชาติและการใช้ทรัพยากร  
          ทรัพยากรดินและการใช้ดินทรัพยากรธรรมชาติมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชากร เพราะประชากรในตำบลควนรูส่วนใหญ่ประกอบอาชีพหลักทางการเกษตร ตำบลควนรู มีพื้นที่ 24,394 ไร่ ใช้ในการทำการเกษตร 25,266 ไร่ ได้แบ่งใช้ประโยชน์ ดังนี้ การทำนา การทำสวนยางพารา และเลี้ยงสัตว์ ทำข้าวนาปี ข้าวนาปรัง พืชฤดูแล้ง 7,950 ไร่ ยางพารา 6,434 ไร่ ไม้ผล 65 ไร่ นอกนั้นเป็นไม้ยืนต้น 
 
          ทรัพยากรน้ำและการใช้น้ำลักษณะเด่นของตำบลควนรู เป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะสมต่อการทำการเกษตร คือ ดินร่วน หรือ ดินร่วนปนทรายเหมาะแก่การ ทำนาปลูกยางพารา ปลูกพืชไร่ ปลูกมะพร้าว เป็นต้นน้ำมีทั้งน้ำผิวดินและน้ำใต้ดิน ซึ่งประชากรส่วนใหญ่จะใช้ประโยชน์ในด้านการเกษตร อุปโภคและบริโภค
          ทรัพยากรป่าไม้ และ การใช้ป่าตำบลควนรูมีป่าสงวน ซึ่งส่วนมากมีประชากรไปจับจอง ทำสวนยางพารา ปลูกบ้านเรือน จะมีป่าไม้ที่เป็นสวนยางบริเวณ หมู่ที่ 2 และ หมู่ที่ 7  หมู่ที่ 2 หมู่ที่ 8  หมู่ที่ 4    
เขตการปกครอง
          การแบ่งเขตการปกครอง
                   ตำบลควนรู แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 9   หมู่บ้าน คือ
                    หมู่ที่ 1   บ้านโคกหาร
                    หมู่ที่ 2   บ้านศาลาคงจันทร์
                    หมู่ที่ 3   บ้านโหล๊ะยาว
                            หมู่ที่ 4   บ้านต้นมะขามเทศ
                    หมู่ที่ 5   บ้านไทรใหญ่
                    หมู่ที่ 6   บ้านหนองเสาธง
                    หมู่ที่ 7   บ้านสี่แยกคูหา
                    หมู่ที่ 8   บ้านโคกค่าย
                    หมู่ที่ 9   บ้านไสท้อน
 
แผนที่ตำบลควนรู
 
 
 
          2.2 ข้อมูลด้านประชากร
                    จำนวนครัวเรือน จำนวนประชากร จำแนกตามเพศ กลุ่มอายุ และศาสนา
-          ข้อมูลประชากรจำแนกตามเพศ/พื้นที่การปกครอง
-          จำนวนประชากรชาย                                        2,934   คน
-          จำนวนประชากรหญิง                                       3,123   คน
 
-          ข้อมูลประชากรจำแนกตามช่วงอายุ  
-          จำนวนประชากรแรกเกิด – 5 ปี                  331     คน
-          จำนวนประชากรช่วงอายุ 6-14 ปี                703     คน
-          จำนวนประชากรช่วงอายุ 15-59 ปี               3,445  คน
-          จำนวนประชากรช่วงอายุ 60 ปีขึ้นไป           1,521   คน
 
-          จำนวนการเกิด                                    53     คน
 
-          จำนวนคนตาย จำแนกตามสาเหตุ
-          สาเหตุการตายจากอุบัติเหตุ                      20     คน
-          สาเหตุการตายจากเจ็บป่วย                       28     คน
-          สาเหตุการตายจากชราภาพ                      36     คน
 
-          จำนวนผู้พิการ จำแนกตามประเภท
-          ทางสมอง                                           38      คน
-          ทางสายตา                                         17      คน
-          ทางร่างกาย                                        62      คน
 
-          การย้ายถิ่น
-          ย้ายออก                                           -         คน
-          ย้ายเข้า                                            -         คน
 
-          ชนกลุ่มน้อย
-          พม่า                                                          -         คน
 
-          การนับถือศาสนา
-          จำนวนประชากรนับถือศาสนาพุทธ               6,057  คน
-          จำนวนประชากรนับถือศาสนาคริสต์              -         คน
-          จำนวนประชากรนับถือศาสนาอิสลาม                  คน
         
        2.3 ข้อมูลด้านสังคม
                     ศาสนสถาน และสถานศึกษาในการอุปถัมภ์
          - ศาสนสถาน                                           5          แห่ง
-  วัดพุทธ/สำนักสงฆ์                                  5          แห่ง
- มัสยิด                                                 -           แห่ง
- ร.ร.ปริยัติธรรม                                        -            แห่ง
-  ร.ร.ที่สอนศาสนาอื่น ๆ                             -            แห่ง    
 
องค์กรชุมชน/ผู้นำชุมชน
-          กรรมการหมู่บ้าน                                  9 /127   กลุ่ม /คน 
-          อสม.                                              9/195    กลุ่ม/คน
-          อาสาสมัคร กศน.                                 2/6        กลุ่ม/คน
-          อาสาพัฒนาชุมชน                                  -           กลุ่ม/คน
 
กลุ่มต่างๆ ในชุมชน
-          กลุ่มกองทุนหมู่บ้าน                                9/976              กลุ่ม/คน
-          กลุ่มออมทรัพย์                                     7/2753   กลุ่ม/คน
-          กลุ่มข้าวซ้อมมือ                                    4/20      กลุ่ม/คน
-          กลุ่มนวดแผนโบราณ                              2           กลุ่ม/คน
-          กลุ่มปุ๋ยชีวภาพ                                     1           กลุ่ม/คน
-          กลุ่มน้ำยางสด                                      1/88       กลุ่ม/คน
 
ปัญหาทางสังคม
-          ยาเสพติด                                         7           ครั้ง  
-          ลักทรัพย์                                           -           ครั้ง
-          การพนัน                                          1          ครั้ง
-          ข่มขืน                                              3           ครั้ง 
-          ปล้นชิงทรัพย์                                      1           ครั้ง
-          ทำร้ายร่างกาย                                     1           ครั้ง
-          ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง                                     4,487    คน
-          สมาชิกวุฒิสภา                                     2,163      คน
-          สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร                          -            คน
-          สมาชิกสภาจังหวัด                                 -            คน
-          สมาชิกสภาเทศบาล                               -           คน
-          ผู้ใหญ่บ้าน.                                         431       คน
 
       
                   ประเพณีท้องถิ่น การละเล่นพื้นบ้าน และภาษาถิ่น
-          ประเพณีท้องถิ่น 
                   - ประเพณีวันว่าง เดือนห้า
     - ประเพณีวันทำบุญเดือนสิบ
     - ประเพณีวันลากพระ
     - ประเพณีสงกรานต์/วันกตัญญู
     - ประเพณีวันเข้าพรรษา
     - ประเพณีเล่นมโนราห์โรงครู
     - ประเพณีไหว้เจ้าที่ ( นา, สวน , บ้าน )
     - ประเพณีวันวิสาขบูชา
     - ประเพณีวันมาฆบูชา
     - ประเพณีวันอาสาฬหบูชา
     - ประเพณีการบวช  การแต่งงาน งานศพ งานขึ้นบ้านใหม่
     - ประเพณีการทอดผ้าป่า
    - ประเพณีการทอดกฐิน    
     - ประเพณีรับเทียมดา
     - ประเพณีทำข้าวสลากภัตต์
 
-          การละเล่นพื้นบ้าน มีการเล่นว่าว
 
-          ภาษาถิ่น ที่นิยมใช้กันคือ ภาษาถิ่นใต้
 
2.4ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ
ข้อมูลการประกอบอาชีพหลัก
                    - ทำนา                                                  740    คน
- ทำสวน                                               1.509 คน
- ค้าขาย                                                          340     คน
- รับจ้าง(โรงงาน)                                       320     คน
- รับจ้าง(อิสระ)                                         316     คน
- รับจ้าง (ด้านการเกษตร)                            356     คน
- รับราชการ                                           91      คน
 
การถือครองที่ดิน
-          มีกรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นของตนเอง                   2,620   ครัวเรือน
-          ไม่มีกรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นของตนเอง                    92   ครัวเรือน
แหล่งประกอบการจำแนกตามประเภท
-          ร้านอาหาร                                         195     แห่ง
-          ร้านเสริมสวย                                      20      แห่ง
-          อู่ซ่อมรถจักรยานยนต์                              17      แห่ง
-          โรงแร/รีสอร์ท                                      7      แห่ง
-          ตลาดสด                                             7      แห่ง
 
สถาบันการเงินแยกตามประเภท
-          กลุ่มน้ำยางสด
-          กองทุนหมู่บ้าน
-          กลุ่มออมทรัพย์
 
กลุ่มทางเศรษฐกิจ
-          ธนาคารข้าว
-          กองทุนพัฒนาหมู่บ้าน
-          กลุ่มออมทรัพย์(เครดิตยูเนียน)
 
สาธารณูปโภค/โทรศัพท์
-          ไฟฟ้า กฟภ.                                       2,103 ครัวเรือน
-          น้ำประปา                                          1,910 ครัวเรือน
-          โทรศัพท์มือถือ                                    8,490 คน
-          โทรศัพท์บ้าน                                      577     ครัวเรือน
 
สิ่งอำนวยความสะดวก
-          วิทยุ                                                376    เครื่อง
-          เครื่องโทรทัศน์                                     3,320   เครื่อง
-           รถยนต์                                            1,705  คัน
-          รถจักรยานยนต์                                    3,631  คัน
-          รถจักรยาน                                         1,000  คัน         
-           เครื่องคอมพิวเตอร์                               1,433 เครื่อง
 
เครื่องมือที่ใช้ในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม
-          รถไถ                                               13     คัน
-          รถอีแต๋น                                                 คัน
-           เครื่องสีข้าว                                        1   เครื่อง
-          เครื่องพ่นยา                                                 86      เครื่อง
-          เครื่องสูบน้ำ                                       209    เครื่อง
 
ธุรกิจการเกษตร (เลี้ยงสัตว์)
-          ฟาร์มไก่ไข่                                               แห่ง
-          ฟาร์มหมู                                                  แห่ง
-          อื่น ๆ ฟาร์มแพะ                                   -        แห่ง
พืชเศรษฐกิจ
-          ยางพารา                                           4,432.50 ไร่
-          นาข้าว                                             3,662.50 ไร่
-          ปาล์ม                                               458     ไร่
ทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น
-          คลองภูมี
-          เหมืองต้นโพธิ์
-          ห้วยทุ่งยูง
-          ห้วยสัก
-          เหมืองพานดิน
-          คลองตะเคียน
-          เหมืองส่งน้ำชลประทาน
-          ห้วยสายหรั่ง
-          เหมืองไส้ใหญ่
 
 
2.5 ข้อมูลด้านการศึกษา
     ระดับการศึกษาของประชาชน
-          ประถมศึกษา                                      2,933 คน
-          มัธยมศึกษาตอนต้น                                826    คน
-          ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช.                631    คน
-          อนุปริญญา (สวส./ปกศ.สูง/พ.ม.)                  376    คน
-          ปริญญาตรี                                         676    คน
-          ปริญญาโท                                         18     คน
 
สถานศึกษาและผู้เรียนในระบบโรงเรียน
-          ก่อนประถมศึกษา                                3        แห่ง
-          ผู้เรียน                                              218     คน
-          ประถมศึกษา                                      3        แห่ง    
-          ผู้เรียน                                             374    คน
-          มัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย   -         แห่ง
-          ผู้เรียน                                             -         คน
 
จำนวนผู้เรียน กศน.
-          ระดับประถมศึกษา                                11      คน 
-          ระดับ มัธยมศึกษาตอนต้น                         55      คน
-          ระดับ มัธยมศึกษาตอนปลาย                     78      คน
 
หน่วยจัดที่เกี่ยวข้องกับการศึกษานอกระบบ
-          กศน.ตำบล                                        1        แห่ง
-          ศรช.                                                -         แห่ง
-          ศูนย์ฝึกอาชีพสตรี                                        แห่ง
 
ภูมิปัญญาในชุมชน
-          นายชิต   ปานแก้ว                                          หมอบีบ หมอนวดแผนโบราณ
-          นายสงวน มุสิกุล                                            นักประพันธ์เพลงเกี่ยวกับวิถี                                                             ชีวิตชนบท
-          นายชม แก้วมโน                                           หมอบีบ
-          นายสมนึก พรหมคณะ                                     พิธีการทางศาสนา
-          นายจิรพัฒน์   บุระชัด                                      พิธีการทางศาสนา
-          นางสุนี แก้วเรือง                                           หมอรักษาเริม
-          นายช้อย ชายแก้ว                                         กลองยาว
-          นายจิตร์ อ่อนรักษ์                                         เกษตรผสมผสาน ก่อสร้าง
-          นางฉ้าย บุญรัตน์                                          ขนมไทย เย็บจาก
 
การเรียนต่อของคนในชุมชน
-          เรียนต่อระดับ ม.ต้น ในระบบโรงเรียน          1,031  คน
-          เรียนต่อระดับ ม.ปลาย ในระบบโรงเรียน        615     คน
-          เรียนต่อ ม.ปลาย กศน.                            74     คน
 
แหล่งการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการอ่าน การเรียนรู้ และร้านขายหนังสือในชุมชน
-          ห้องสมุดประชาชน                                1        แห่ง
-          บ้านหนังสือชุมชน                                 3        แห่ง
-          ห้องสมุดวัด                                        -         แห่ง
-          ร้านขายหนังสือในชุมชน                          -         แห่ง
 
2.6 ข้อมูลด้านสาธารณสุข
     สถานพยาบาลในชุมชน
     - รพ.สต.                                                2        แห่ง
     - คลินิก                                                 2        แห่ง
 
                   บุคลากรที่ทำหน้าที่ส่งเสริมบริการด้านอนามัยชุมชน
                   - อสม.
                   - หมอนวดแผนโบราณ
                   - หมอสมุนไพร
                   - หมอกระดูก
 
 
 
 
 
 
                   โรคที่เป็นกันมาก
-          โรคระบบทางเดินหายใจ
-          โรคระบบกล้ามเนื้อ
-          โรคระบบย่อยอาหาร
-          โรคผิวหนังและเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง
-          โรคติดเชื้อและปรสิต
 
 
          2.7 สรุปสภาพปัญหา ความต้องการ สาเหตุ และแนวทางการแก้ไข / พัฒนาระดับตำบล
                  

สภาพปัญหา/ความต้องการ
สาเหตุ
แนวทาง/แก้ไขพัฒนา
1.ความต้องการด้านโครงสร้างพื้นฐาน
 
 
 
 
1.1 การคมนาคมในหมู่บ้านไม่สะดวก (เป็นหลุมเป็นบ่อ)
1.2 ถนน 1 สายหน้าฝนมีน้ำท่วมขังใช้ได้ไม่สะดวก
1.3 คูระบายน้ำตื้นเขินน้ำไหลไม่สะดวกในช่วงน้ำหลาก
1.4ถนน หน้าฝนมีน้ำท่วมขังใช้ได้ไม่สะดวก
1.1 ก่อสร้างถนนลาดยางภายในหมู่บ้าน
1.2 ซ่อมแซมถนนลาดยางที่ชำรุดให้อยู่ในสภาพที่ได้มาตรฐาน
1.3 ยกระดับถนนภายในหมู่บ้านที่มีน้ำท่วมขังทุกปี
2.ความต้องการด้านเศรษฐกิจ
 
 
 
 
 
 
 
 
2.1 การประกอบอาชีพเสริมมีน้อยและไม่แน่นอน
2.2 สินค้าอุปโภคและบริโภคราคาแพง
2.3 มีการใช้จ่ายฟุ่มเฟือย
2.4 ไม่มีการทำบัญชีรับ – จ่ายครัวเรือน
2.1 มีตลาดกลางซื้อขายผลผลิตในหมู่บ้าน
2.2 ความรู้ด้านวิชาการด้านการเกษตรแบบพึ่งตนเอง
2.4 ส่งเสริมให้ราษฎรมีอาชีพเสริม
2.6 รณรงค์ให้รู้จักลดรายจ่ายที่ฟุ่มเฟือย
2.7 ให้มีร้านค้าชุมชน
2.8 ให้มีการจัดทำบัญชี รับ-จ่ายประจำครัวเรือน
 
สภาพปัญหา/ความต้องการ
สาเหตุ
แนวทาง/แก้ไขพัฒนา
3.ความต้องการด้านสังคม
 
 
 
 
 
 
 
 
3.1 แรงงานต่างด้าวเริ่มมีมากขึ้น
3.2 เยาวชนติดยาเสพติด
3.3 กลุ่มเยาวชนไม่เข้มแข็ง
3.4 มีอบายมุขภายในหมู่บ้าน (การพนัน)
3.1 สังคมสมานฉันท์
3.2 จัดอบรมเยาวชนให้มีอาชีพและจัดหางานให้ทำเพื่อมิให้ยุ่งเกี่ยวยาเสพติด
3.3 จัดให้มีระเบียบข้อตกลงของหมู่บ้าน
3.4 มีการควบคุมแรงงานต่างด้าว
3.6 มีการสนับสนุนอุปกรณ์กีฬาและมีการแข่งขันกีฬาภายในหมู่บ้าน
4.ความต้องการด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
4.1 คุณภาพดินเสื่อม
4.2 แหล่งน้ำธรรมชาติตื้นเขิน
4.3 ไม่มีป่าชุมชนในหมู่บ้าน
4.4 ไม่มีการให้ความรู้และรณรงค์การอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
5.1 จัดการอบรมด้านการปรับปรุงดินให้มีคุณภาพโดยหลักชีวภาพ
5.2 ให้ความรู้ด้านจิตสำนึกในการมีส่วนร่วมของประชาชน
5.3 ส่งเสริมการปลูกไม้โตเร็ว
5.4 ปรับปรุงแหล่งน้ำธรรมชาติ
5.ความต้องการด้านการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
5.1 สมาชิกส่วนใหญ่ไม่เข้าวัด สวดมนต์ ในวันสำคัญทางศาสนา
5.2 ขาดเทคโนโลยีด้านการศึกษาสมัยใหม่
5.3 วัฒนธรรมต่างชาติเข้ามามีบทบาทมากขึ้น
     - แต่งกายไม่สุภาพ
     - แต่งงานตั้งแต่อายุยังน้อย
7.1 ให้มีการเข้าวัดในวันพระและวันสำคัญทางศาสนา
7.2 จัดให้มีวันผู้สูงอายุประจำหมู่บ้าน (แรม 2 ค่ำ เดือน 5 ของทุกปี)
7.3 มีการสืบทอดประเพณีและพิธีกรรมโบราณ (การไหว้เจ้าที่รวม)
7.4 จัดทัศนศึกษาสถานที่แสดง

2.8  สรุปข้อมูลสารสนเทศจากการประเมินผลต่าง ๆ และปัญหาอุปสรรคในรอบปีที่ผ่านมา
 1. สถานศึกษามีการส่งเสริมให้ผู้เรียนมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดีอยู่แล้ว แต่อาจเพิ่มในส่วนของความต่อเนื่องของกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพต่างๆไม่ว่าจะเป็นการเล่นกีฬาทุกวันในช่วงเย็น การเข้าร่วมเต้น
แอโรบิคกับกลุ่มแอโรบิคของชุมชน (หรือจะจัดตั้งเองโดยกลุ่มนักศึกษาก็ยิ่งดี) และปลูกฝังจนกลายเป็นกิจวัตรของผู้เรียนนับเป็นการส่งเสริมสุขภาพอย่างยั่งยืน
          2. สถานศึกษาส่งเสริมให้ผู้เรียนมีคุณธรรมจริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ได้ดีอยู่แล้ว แต่อาเพิ่มเติมในส่วนของกิจกรรมอาสาให้มากขึ้น ให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติได้บ่อยขึ้น และมีระยะเวลาใน การกระทำที่ต่อเนื่องยาวนานเพิ่มขึ้น เหล่านี้จะช่วยให้ผู้เรียนมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์และมีจิตอาสาที่กลายเป็นลักษณะนิสัย
          3. สถานศึกษาได้ส่งเสริมผู้เรียนให้มีความใฝ่รู้ และเรียนรู้อย่างต่อเนื่องได้ดีอยู่แล้ว แต่อาจเพิ่มเติมในเรื่องของพฤติกรรมการอ่านหนังสือของผู้เรียนให้มากขึ้นด้วย ด้านพฤติกรรมการอ่าน ได้แก่การส่งเสริมให้เด็กเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมการอ่านให้มากขึ้น (เช่นจัดหัวข้อกิจกรรม “1สัปดาห์ 1เล่ม 1 บันทึก” เพื่อผู้เรียนจะได้คุ้นเคยกับการอ่านหนังสือมากขึ้น)
          4. สถานศึกษาได้ส่งเสริมผู้เรียนให้คิดเป็น ทำเป็นได้ดีอยู่แล้ว แต่อาจเพิ่มเติมในเรื่องของระยะเวลาในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการคิดให้มีความถี่เพิ่มขึ้น เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดมากขึ้นและจัดอย่างต่อเนื่องซึ่งจะทำให้ผู้เรียนมีความชำนาญในการคิด และคิดได้ดีขึ้นเรื่อยๆ
          5 สถานศึกษาควรจัดกิจกรรมที่เน้นให้นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาสูงขึ้น โดยการจัดกิจกรรมค่ายวิชาการและสอนเสริมให้กับนักศึกษา
          6. สถานศึกษาควรจัดกระบวนการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้ครอบคลุมเนื้อหาแต่ละระดับ
          7. ควรจัดเก็บข้อมูลสถิติของผู้เรียนหลักสูตรต่อเนื่องให้ครบทุกด้าน เช่นจำนวนหลักสูตรที่เรียนต่อคนตลอดปีการศึกษา สถิติการนำความรู้ไปใช้เป็นอาชีพหลัก อาชีพเสริม และงานอดิเรก
          8. ครูควรมีการการติดตามประเมินผู้เรียนตามความเหมาะสม มีการจัดทำสื่อในการบูรณาการ การเรียนการสอนเพิ่มเติมเกี่ยวกับเนื้อหาสาระ
          9. สถานศึกษาได้ดำเนินการพัฒนาประสิทธิภาพของการบริหารจัดการและการพัฒนาสถานศึกษา ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม สถานศึกษาควรเพิ่มกิจกรรมด้านวิชาการโดยเฉพาะการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา เนื่องจากเด็กมีความหลากหลาย จึงควรมีวิธีการสอนที่เน้นการสร้างแรงจูงใจในการเรียน เน้นการมีส่วนร่วมของผู้เรียนจัดกิจกรรมให้มีความหลากหลายเช่นการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ประเด็นเหตุการณ์หรือปัญหาเป็นฐานในการเรียนรู้ (Issue/Problem-based Learning) การเรียนรู้โดยผ่านการสนทนา (Dialogue-based Learning) การเรียนรู้โดยผ่านภาษาพูดหรือเขียน การอธิบาย การเขียนผังความคิด (Mind map) โดยการส่งเสริมให้ครูศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลผู้เรียนเป็นรายบุคคล
          10.สถานศึกษาสามารถดำเนินการพัฒนาประสิทธิผลของระบบการประกันคุณภาพภายในได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะผลจากการตรวจสอบคุณภาพภายในจากต้นสังกัดมีผลประเมินระดับดี
 


เข้าชม : 2790
 
 
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอรัตภูมิ 
กศน.ตำบลควนรู อำเภอรัตภูมิ  จังหวัดสงขลา  โทรศัพท์ 087-6326403

email :nfekanruu@gmail.com
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05