ผลิตภัณฑ์จากกระจูด พัทลุงกลุ่มผู้ผลิต กลุ่มสตรีผลิตภัณฑ์กระจูด
ประวัติความเป็นมา นานมาแล้ว ตำบลทะเลน้อยมีสภาพเป็นป่าดงดิบ พื้นที่บางแห่งเป็นป่าพรุมีน้ำท่วมขังตลอดปีมีพืชพันธุ์ไม้นานาชนิดเป็น แหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าและเป็นแหล่งปลาน้ำจืดที่สำคัญ ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านการประมงและทำนาเป็นหลัก ในยามว่างมีการจักสานเสื่อที่ทำด้วยกกไว้สำหรับใช้ในครัวเรือน
นางยินดี อรุณรัตน์ สมาชิกกลุ่มสตรีเล่าว่า ภูมิปัญญาในการจักสานนี้ สืบทอดมาตั้งแต่ปู่ ย่า ตา ยาย นับ 100 ปีมาแล้ว แต่ภูมิปัญญาในการจักสานด้วยกระจูดที่เท่าสมารถบันทึกเป็นหลักฐานได้เริ่ม จากครอบครัว 3 พี่น้อง สกุล รักษ์จุล ประกอบด้วยนายกลับ- นางกลั่น นายจับ – นางคล้าย และนายลาภ -นางเลื่อน อพยพมาจากบ้านผาสุกตำบลแหลมตีน อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช มาตั้งรกรากในพื้นที่ตำบลทะเลน้อย พร้อมทั้งนำภูมิปัญญาในการจักสานด้วยกระจูดทำเป็นของใช้ในครัวเรือนเช่น เสื่อ กระสอบนอน กระสอบนั่ง โดยนำกระจูดมาจากตำบลเคร็ง อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราชเนื่องจากของใช้ที่ทำด้วยกระจูดมีความนุ่มและสวยงาม กว่าของที่ทำจากกก ชาวบ้านในตำบลจึงหันมาจักสานกระจูดบ้างซึ่งมักจักสานเป็นเสื่อสำรับปู นั่ง นอน ชาวบ้านเรียกว่า สาด
นอกนี้ยังสานเป็นสอบหนาดใช้เป็นภาชนะใส่ถ่านและใช้สำหรับทารกแรกเกิดนอน และสานเป็นกระสอบนอนเพื่อใช้สำหรับใส่ข้าวสารและข้าวเปลือก เป็นต้น ก ชาวตำบลทะเลน้อยจึงเริ่มเก็บเกี่ยวกระจูดมาจักสาน ซึ่งแหล่งที่มีกระจูดมากที่สุด คือ พรุควนเคร็ง ตำบลเคร็ง อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราชในแต่ละวันจะเห็นเรือถ่อ เรือแจว จากตำบลทะเลน้อยมุ่งหน้าไปตัดกระจูที่พรุควนเคร็งนับร้อยลำ จนกระทั่งชาวตำบลเคร็ง ได้ห้ามตัดกระจูด เพราะทำให้โคนกระจูดเน่าและทำให้ต้นกระจูดตายแต่อนุญาตให้ถอนได้ กำนันสุก ทองพูลเอียด กำนันตำบลพนางตุงในสมัยนั้น ได้ชักชวนชาวบ้านไปขุดหัวกระจูดที่ตำบลเคร็งมาปลูกที่ทะเลน้อย แต่ชาวบ้านก็ยังคงเดินทางไปถอนกระจูดเรื่อยมาเนื่องจากมีปัญหาเรื่องศัตรูพืช ได้แก่นกพริกซึ่งเป็นสัตว์สงวนมักเข้าทำลาย จิกถอนหัวอ่อนของกระจูด และในช่วงหน้าน้ำ น้ำมักท่วมพื้นที่ปลูกกระจูดทำให้หัวกระจูเน่าเปื่อย และตายในที่สุด ต่อมาในปี พ.ศ. 2502 ผู้ใหญ่คง อรุณรัตน์ ผู้ใหญ่ยกนวลแก้ว นายขาว ชูทอง และนายแคล้ว ทองนวล ผู้นำตำบลทะเลน้อย ได้ร่วมกันปลูกกระจูดอย่างจริงจังโดยนำหัวกระจูดจาดควนเคร็ง มาปลูกริมทะเลน้อยโดยรอบ ซึ่งได้ผลค่อนข้างดี ชาวบ้านตำบลทะเลน้อยจึงหันมาจักสานกระจูดเป็นเครื่องใช้ในครัวเรือนกันแทบ ทุกครัวเรือนจนกระทั่งมีการซื้อขายกันทั้งในและนอกหมู่บ้าน ตำบล ทำให้เกิดรายได้เป็นกอบเป็นกำ ชาวบ้านจึงยึดการจักสานกระจูดเป็นอาชีพหลักตั้งแต่นั้นมา
เข้าชม : 392
|