[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 
 

  

ข่าวประชาสัมพันธ์
วัดบ้านขาว

ศุกร์ ที่ 31 เดือน มีนาคม พ.ศ.2560


 ประวัติ วัดบ้านขาว

รวบรวมและเรียบเรียง โดย พระมหาชอบ โอภาสี พฤษภาคม 2525 (พระครูกิตติสารธรรมวัฒน์ เรียบเรียง)
สถานะเดิม
วัดบ้านขาว ตั้งอยู่ในชนบทกันดาร มีเนื้อที่ประมาณ 40 ไร่ 3 งาน และมีที่ธรณีสงฆ์ อีกประมาณ 50 ไร่ 2 งาน 15 ตารางวา ตั้งอยู่ในเขตปกครองส่วนภูมิภาคหมู่ที่ 7 ตำบลตะเครียะ อำเภอ ระโนด จังหวัดสงขลา (ในสมัยนั้น) อยู่ห่างจากตัวเมืองสงขลา (ศาลากลาง) ไปทางทิศเหนือประมาณ91กิโลเมตร
อยู่ห่างจากตัวเมืองนครศรีธรรมราชไปทางทิศใต้ประมาณ87กิโลเมตร และอยู่ห่างไกลจากตัวเมืองพัทลุงไปทางทิศตะวันออกเฉียบงเหนือประมาณ54กิโลเมตร ซึ่งนับว่าเป็นวัดที่ตั้งอยู่ในท้องถิ่นที่ห่างไกลจากความเจริญมาก
เขตรอยต่อถึง3จังหวัด เพราะฉะนั้นการพัฒนาทุกอย่างยังเข้าไปไม่ถึง 
ยังล้าหลังและเนิ่นนานเหมือนการถูกลืมเลือน
สถานะปัจจุบัน
วัดบ้านขาวเป็นวัดโบราณเก่าแก่วัดหนึ่งในพุทธจักร ถูกสร้างขึ้นในยุค สมัยใด และใครเป็นผู้สร้าง ไม่ปรากฏในตำนาน แต่ถ้าจะให้สันนิษฐานตามหลักฐานโบราณวัตถุที่ขุดพบในบริเวณวัดและใกล้เคียง เช่นพระพุทธรูปที่ทำจากหินโบราณหน้าตักกว้างประมาณ 15 นิ้ว 2 องค์ ใบสีมา หินบดยา
ตุ่มตีนช้าง วัดเส้นผ่าศูนย์กลางที่ปาก กว้างประมาณ 36 นิ้ว จำนวน 1 ใบ ภายในตุ่มมีปั้นชาถ้วยชามีตัวหนังสือจีนสมัยศรีวิชัย เหมือนกับโบราณวัตถุที่วัดมหาธาตุไชยา จ.สุราษฎร์ธานี น่าจะถูกสร้างขึ้นในสมัยนั้นอย่างแน่นอน ประมาณ พ.ศ. 1300
วัดบ้านขาวเมื่อถูกสร้างขึ้นแล้วคงจะเป็นวัดถูกต้องสมบูรณ์ ตามพุทธจักรและอาณาจักร มีการผูกพัทธสีมาเรียบร้อยแล้ว ในข้อมีหลักฐาน คือใบสีมาธรรมจักรที่ขุดพบเมื่อไม่นานมานี้ ขณะนี้ก็ยังเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดี และคงมีความเจริญรุ่งเรืองพอสมควรมีประชาชนอยู่กันอย่างหนาแน่นเป็นชุมชน
ขนาดใหญ่ไม่่ำต่ำกว่า 1,000 คนขึ้นไป หลักฐานที่พอจะเป็นพยานได้ คือสระนำขนาดใหญ่โตกว้างประมาณ 30 วา ยาวประมาณ 40 วา สามารถที่จะกักเก็บน้ำไว้ให้ประชาชนจำนวนพันใช้สอยบริโภคอย่างเพียงพอในฤดูแล้งเป็นเวลามากกว่า 3 เดือน และหลักฐานอีกอย่างหนึ่ง คือ ซากการตั้งบ้านเรือน
ซึ่งอยู่กลาดเกลื่อนใกล้บ้างไกลบ้างรอบบริเวณวัด จะเป็นเพราะเหตุเกิดสงครามหรือเภทภัยประการใดก็มิสามารถจะทราบได้ที่ทำให้ประชาชนพากันอพยพหลบหนีทิ้งที่นาคราที่อยู่ไปอยู่ที่อื่นจนหมดสิ้นสถานที่นั้นจึงเป็นที่รกร้างว่างเปล่าจากมนุษย์หลายทศวรรษจนกระทั้งประชากรช้างไม่ทราบว่า
อพยพมหาจากไหน เข้าไปถือสิทธิ์อาศัยออกลูกออกหลานเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อย ๆ เป็น หมื่น ๆ เชือก แผ่ขยายอาณาเขตครอบคลุมไปทั่วบริเวณนั้นเป็นเวลาช้านานหลายร้อยปี
พบวัดร้างในดงช้าง
ประมาณพุทธศักราช 2405 ในต้นรัชสมัยรัชกาลที่ 4 ได้มีประชาชนรุ่นแรกจากบ้านโรง ประมาณ 10 คน นำโดยตาขุนทองพี่ของลุงช่วย ประทุมสุวรรณ พากันไปจับจองที่ดินตั้งรกราก ทำมาหากินในบริเวณถิ่นนั้น ต้องต่อสู้กับเจ้าของที่คือฝูงช้างแคระซึ่งมีจำนวนมากมายหลายหมื่นตัว ด้วยความทรหด
อดทนและกลยุทธ์ต่าง ๆ ผลัดกันรับผลัดการรุก จนเกิดตำนานการรู้จักหลบหลีกและอยู่รวมกันฉันท์มิตร
อันว่าช้างแคระนั้น คือช้างพันธุ์เล็ก ตัวเขื่องกว่าควายถึกชอบอาศัยอยู่ตามทุ่งราบชื้นและอุดมด้่วยหญ้าสะเทิ้นบกสะเทิ้นน้ำไม่ได้อาศัยอย฿ตามป่าเขาลำเนาไพรเหมือนช้างป่านหรือช้างชนิดอื่นช้างพันธุ์เล็กหรือช้างแคระนี้ ยังเรียกตามภาษาถิ่นอีกว่า ช้างแกลบหรือช้างขุ้น หรือช้างค่อม ชอบอยู่รวมกัน
เป็นฝูงตามธรรมชาติจะจับมาเลี้ยงไว้ใช้งานไม่ได้ตายหมด สอนยาก มีอยู่เพียงแห่งเดียวเท่านั้นในโลกนี้ เฉพาะท่ตำบลตะเครียะทุ่งระโนดเท่านั้น แต่เป็นที่น่าเสียดายถูกมนุษย์ทำลายจนสูญพันธุ์ไปแล้วเมื่อประมาณ 50 ปีล่วงแล้ว ยังเหลืออยู่ก็แต่กระดูก กราม งา และสถานที่เท่านั้น เช่นคลองช้าง ลานช้าง 
คอกช้าง ทับรก ฯลฯ
ต่อมาได้มีประชาชนจากที่ต่าง ๆ เช่นจากบ้านตะเครียะบ้างบ้านหัวป่าบ้าง บ้านตีนนอบ้าง ไปสมบทกับคนกลุ่มแรกตั้งถิ่นฐานบ้านช่องเพิ่มมากขึ้น ได้พบเนินดินทรายขาวบริเวณกว้างขวางมากและที่ตรงกลางลานกว้างนั้นเป็นเนินสูงประมาณ 1 เมตร มีรูป 4 เหลี่ยมคล้ายฐานโบสถ์ คงเป็นวัดมาก่อน
ชาวบ้านต่างก็ดีใจกันมากและได้ช่วยกันตกแต่งสำรวจสถานที่ ได้พบพระพุทธรูปโลหะอีกหลายองค์ พ่อเฒ่าคนหนึ่งเล่าให้ฟังว่า ได้เห็นพระพุทธรูปไม่น้อยกว่า 3 องค์ ล้มอยู่อยู่จึงได้หยิบขึ้นมาวางไว้บนแผ่นกระดาษ บางองค์น่าจะเป็นทองคำเพราะเห็นมีสีเหลืองสุกใสมาก เป็นที่อัศจรรย์ที่บริเวณสูงคล้ายเนิน
โบสถ์นั้น ช้างมิได้ขึ้นไปเหยียบย่ำทำลายเลยกลับเดินวนรอบเป็นทักขิณาวัตรรักษาไว้เป็นอย่างดี
เมื่อประชาชนเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับก็ตั้งเป็นหมู่บ้านเรียกว่า "บ้านขาว" คงจะถือเอาเนินเดินทรายขาวอันยาวเหยียดเป็นสัญลักษร์ในการตั้งชื่อหมู่บ้าน และถ้่าจะตั้งชื่อว่า บ้านลานช้าง หัตถีคามหรือคชสารนิวาสก็ได้ เพราะสถานที่นั้นเคยเป็นที่อยู่อาศัยของช้างมาก่อน เมื่อมีบ้านก็ต้องมีวัดไว้เป็นที่บำเพ็ญกุศล
เพราะฉะนั้นสำนักสงฆ์วัดบ้านขาวจึงได้เกิดขึ้นในปี พุทธศักราช 2464 ด้วยแรงศรัทธาสามัคคีอันดีงามของชาวบ้านขาว ต่อมาได้มีพระภิกษุสามเณรเข้ามาบวชเรียนจำพรรษา พัฒนาสำนักสงฆ์ให้มั่นคงถาวรเจริญรุ่งเรืองขึ้นโดยลำดับ จนได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อพุทธศักราช 2481 เป็นวัด
สมบรูณถูกต้องตามพระธรรมวินัยในพระพุทธศาสนาทุกประการ
วัดบ้านขาว นอกจากจากเป็นที่บวชเรียนของกุลบุตรพุทธศาสนิกชนผู้สนใจในธรรมวินัยแล้ว ยังเป็นศาสนสถานให้การศึกษาแก่กุลบุตรธิดาในชนบทในยุคต้นที่ยังไม่มีโรงเรียนและเป็นที่สมาทานศีล ฟังธรรม บำเพ็ญกุศล เจริญภาวนาของพุทธบริษัทมาโดยตลอดเวลา ตราบเท่าทุกวันนี้
พระที่เป็นเจ้าอาวาสและรักษาการ
ในสมัยที่ยังเป็นสักนักสงฆ์ ได้มีมีพระภิกษุหลายรูปมาเป็นประธานดำเนินการสร้างเสนาสนะสงฆ์สืบต่อกันมาโดยลำดับจนถึงปัจจุบันนี้ เท่านั้นรวบรวมรายชื่อได้ ดังนี้ 1 พระชู 2 พระมนต์ 3. พระสมุห์หนู อิณมุตโต 4 พระครูโอภาสศีลสังวร (ปฐมเขมงกโร) และ 5. พระครูกิตติสารธรรมวัฒน์ (ปัจจุบัน)
การรวบรวมเรื่องราวความเป็นมาของวัดบ้านขาวจากคนแก่เฒ่าเล่าให้ฟังบ้าง จากการที่ได้เห็นวัตถุโบราณที่ขุดพบบ้าง และจากการที่เคยได้เห็นต้นไม้ต้นใหญ่ ๆ ขนาด 4-5 คนโอบที่มีอยู่ทั่วไปภายในวัด เช่่่นต้นสำโรงอันสูงตระหง่าน ต้นมะขาม ต้นโพธิ์ ต้นหมากเม่าอันแคระแกร็ง เป็นต้นบ้าง เป็นหลักฐานอันยาวนาน
แห่่งการตั้งวัด
การบันทึกร่องรอยประวัติความเป็นมาของวัดบ้านขาวเท่าที่ได้ประสบพบเห็นด้วยตัวเองและได้ยินได้ฟังมานี้ เพียงส่วนน้อยหรือโดยสังเขปเท่านั้นส่วนความวิจิตรพิสดาร สมบรูณ์กว่ายังต้องสืบหาค้นคว้ากันอีกนาน จึงขอฝากความหวังไว้กับท่านผู้รู้ดีเห็นดีมีหลักฐานทั้งหลาย ช่วยกันเพิ่มเติมเสริม
ต่อให้สมบูรณ์ที่สุดเท่าที่จะได้ กลายเป็นวัฒนธรรมพื้นบ้านในที่สุด
การพัฒนาวัดบ้านขาว เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๒๙ โดยมี คุณสุรใจ ศิรินุพงศ์ เป็นผู้ริเริ่มวางศิลาฤกษ์อุโบสถ และสร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๘ และฝังลูกนิมิตผูกพัธสีมา ในปีเดียวกัน 
และเมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๑ พระราชศีลสังวร (ปธ.๔ ผ่อง จิรธมฺโม ปานขาว) ได้เริ่มพัฒนาสร้างกุฏิ ๑ หลัง และต่อมา ท่านได้สร้างศาลาคู่เมรุวัดบ้านขาว และสำเร็จในปี ๒๕๓๖ จากนั้นได้ สร้างศาลาการเปรียญ ศาลาเอนกประสงค์ หอระฆัง กำแพงรอบบริเวณวัด ถนนบริเวณวัดเทคอนกรีตเสริมเหล็ก กุฏิอีก ๕ หลัง และหาพันธ์ไม้มาปลูก จนมีความร่มรื่น จนถึงทุกวันนี้

ประวัติท่านพระครุอินทร์-พระครูจันทร์ วัดบ้านขาว
...เล่าโดยมุขะปาฐะ
สภาพวัดบ้านขาวในปัจจุบัน เริ่มตั้งแต่ฝังลูกนิมิต ผูกพัทธสีมาเมื่อวันที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๔๘ แล้วได้มีการก่อสร้างศาลาเป็นที่ประดิษฐานรูปเหมือนท่านพระครูอินทร์ ท่านพระครูจันทร์ ได้ตั้งนามของท่านว่า “ศาลาอินทร์-จันทร์” และได้ก่อสร้างในพื้นที่เป็นโบสถ์เก่า กว้างยาวเท่าเดิม จึงนับว่าศาลาศักดิ์สิทธิ์ที่ควรแก่การเคารพสักการะบูชาอย่างยิ่ง เพราะว่าท่านพระครูทั้ง ๒ รูป มีประวัติเล่ากันมาก่อนการตั้งวัดบ้านขาวเสียอีก มีประวัติพอสืบค้นได้ดังนี้ เมื่อประชาชนทั้ง ๓ กลุ่ม ได้ไปบุกเบิกจับจองสถานที่ ได้ค้นพบวัดร้าง ๒ วัด คือวัดแรก อยู่ที่โคกข่อย วัดที่สองอยู่ที่วัดบ้านขาว และสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นวัดที่ท่านพระครูทั้ง ๒ รูป เคยอยู่จำพรรษามาช้านาน ได้เดินทางสั่งสอนประชาชนตามหมู่บ้านบริเวณนี้เป็นส่วนใหญ่ วัดโคกข่อยเป็นที่อยู่จำพรรษาของท่านพระครูอินทร์ วัดบ้านขาวเป็นที่อยู่จำพรรษาของท่านพระครูจันทร์ และต่อมาเมื่อประชาชนได้พบก้อนหินสีแดงขนาดใหญ่สูงเท่าตัวคน ที่วัดโคกข่อยจึงให้ชื่อว่าพระครูอินทร์ และได้พบก้อนหินแกรนิตรูปร่างคล้ายพระพุทธรูปโบราณ จึงให้ตั้งชื่อว่า พะครูจันทร์ ได้อัญเชิญไปไว้ที่มุมโบสถ์หลังเก่า ซึ่งเป็นที่สักการบูชาของประชาชนจนมาถึงปัจจุบันนี้
พระครูอินทร์-พระครุจันทร์ ๒คนพี่น้อง มีประวัติเล่าปากต่อปาก ซึ่งเรียกว่ามุขะปาฐะ มาช้านานนับเป็นร้อยปีขึ้นไป น่าจะสมัยรัชกาลที่ ๑ แห่งราชวงศ์จักรี เพราะ ณ ดินแดนรอยต่อ ๓ จังหวัด คือ สงขลา พัทลุง นครศรีธรรมราช ทางทิศพายัพ (ตะวันตกเฉียงเหนือของที่ว่าการอำเภอระโนด และทิศเหนือของทะเลสาบสงขลา) เป็นพื้นที่ราบกว้างใหญ่ไพศาล อุดมไปด้วยพืชพรรณธัญญาหารควรแก่การเพาะปลูก เมื่อคณะบุคคล ๓ กลุ่ม ไปตั้งรกรากครั้งแรกได้สำรวจพื้นที่ได้พบเนินดินเนินทราย ๓ แห่ง ซึ่งอยู่ห่างไกลกันไม่มากนักพอที่เดินไปมาหาสู่กันสะดวก (ประมาณ ๖ กิโลเมตร)
เนินดิน-ทราย เนินแรก อยู่ที่หลาทัน หรือวัดศาลาธรรมในปัจจุบัน
เนินดิน-ทรายที่สอง อยู่ที่โคกขอยหรือโคกข่อยในปัจจุบัน
เนินดิน-ทรายที่สาม อยู่ที่วัดบ้านขาว
คนกลุ่มแรกที่ไปอยู่ได้ยินได้ฟังว่าเป็นวัดครูอินทร์-ครูจันทร์ สองคนพี่น้องบวชเป็นพระและเที่ยวสอนหนังสือให้กับประชาชนถิ่นนั้นเป็นเวลาช้านาน จึงได้นามว่า พระครู หรือพระครูอินทร์-จันทร์ มาโดยตลอดตราบถึงทุกวันนี้ ต่อมาเมื่อชาวบ้านได้พบวัตถุโบราณที่วัดบ้านขาว มีขนาดใหญ่กว่าตัวคน และพบอีกองค์หนึ่งซึ่งมีขนาดเล็กกว่าในเวลาใกล้เคียงกัน จึงได้นำวัตถุโบราณทั้งสององค์ ไปไว้ที่ต้นโพธิ์ (๓ ชั่วคนโอบ) อยู่ด้านหน้าทิศตะวันออกเฉียงเหนือของโบสถ์ เมื่อการสร้างโบสถ์สำเร็จเรียบร้อยแล้ว จึงนำไปไว้ที่มุมโบสถ์ด้านทิศพายัพของพระประธาน ต่อมาเมื่อปี ๒๕๐๐ ผู้เขียนเป็นเจ้านาคเตรียมตัวจะบวชเป็นพระในพระพุทธศาสนา ต่อมาเมื่อนายช่างซึ่งอยู่บ้านปาก จ.พัทลุง ได้ปั้นรูปเหมือนเอาพระพุทธรูปโบราณที่ขุดพบเป็นแกนกลาง เอาปูนซีเมนต์โบกทับ ปั้นเป็นรูปเหมือน และองค์เล็กทำแบบเดียวกัน
การเขียนประวัติความเป็นมาของท่านทั้งสองแบบเล่าต่อกันมา ยังไม่สมบูรณ์ แต่ว่าได้เป็นการนำร่องเพื่อจะได้เพิ่มเติมให้ดีกว่านี้ในครั้งต่อไป ก็จะได้อนุโมทนาเป็นอย่างยิ่ง



เข้าชม : 474


ข่าวประชาสัมพันธ์ 5 อันดับล่าสุด

      ประดิษฐ์ดอกม้จันทน์ 29 / มิ.ย. / 2560
      กิจกรรมรถมินิโบบาย 29 / มิ.ย. / 2560
      กิจกรรมนั่งที่ไหนอ่านที่นั้น 29 / มิ.ย. / 2560
      ผลิตภัณฑ์จากกระจูด 6 / มิ.ย. / 2560
      ปลาดุกร้า 6 / มิ.ย. / 2560


 
กศน.ตำบลบ้านขาว
ตำบลบ้านขาว  อำเภอระโนด  จังหวัดสงขลา   โทรศัพท์ 089-6563354  sonnoo.toy01234@hotmail.co.th
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอระโนด
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05