เป็นไม้ล้มลุก เช่นเดียวกับ ขิง ข่า มหาหงส์ออกต้นอยู่ใต้ดิน ที่เรียกว่า เหง้า (Rhizome) ลำต้นสูงได้ 1-2 เมตร ลำต้นที่ว่านี้ที่จริงคือลำต้นเทียม ที่แตกตาออกจากเหง้า มีกาบใบห่อหุ้มลำต้น หุ้มต่อๆ กัน จนลำต้นแข็งแรง
ปลายกาบ ใบมีใบเป็นแผ่นใหญ่ปลายแหลม คล้ายข่า มีขนาดตั้งแต่ 5x15 ซ.ม. เห็นเส้นกลางใบชัดเจน เนื้อใบสีเขียวเข้ม ผิวใบเกลี้ยงเรียบ
ดอกขิงแดง ออกเป็นช่อที่ยอด ยอดละ 1 ช่อ รูปช่อดอกมีกลีบหุ้มเกาะกันเป็นวงคล้ายเกล็ด เกาะตั้งแต่โคนช่อถึงปลายช่อ ที่จริงนั่นคือ เป็นกลีบประดับ เรียงซ้อนกันอย่างมีระเบียบ
ภายในช่อดอก มีดอกจริง สีขาวเล็กๆ เวลากลีบประดับ บาน และบานทนอยู่นาน ส่วนดอกอยู่ภายในมีเมล็ดเล็กๆ และกลีบดอกโรยไปก่อนแล้ว
ดอกขิงแดงออกใหม่ เป็นช่อเกาะกลุ่มกัน รูปพนมยาวเรียวแหลมจากโคนสู่ปลาย ต่อมากลีบค่อยๆ บานออก เห็นกลีบ ขยายบานสะพรั่งเป็นพู่กลมยาวจากโคนช่อถึงปลายช่อ ดอกแท้สีขาวซึ่งโรยไปแล้ว และกำลังเกิดชีวิตใหม่ ซึ่งดอกนั้นต่อมาเป็นดอก หรือช่อต้นเล็กๆ ที่เรียกว่า ตะเกียง ช่อต้นซึ่งค่อยโค้งลง ถ้าแตะดินก็จะเจริญเป็นต้นขยายพันธุ์แผ่อาณาเขตออกไป ซึ่งแม้ว่าถ้าปลูกเกิดเองตามธรรมชาติ ขิงแดงนั้นก็จะเกิดต้นใหม่อยู่เรื่อยๆ จนเป็นพุ่มพงหนาทึบได้
การขยายพันธุ์ของขิงแดงวิธีนี้ก็คล้ายๆ กับต้นไอริส ซึ่งเมื่อปลายลำต้นที่แตกต้นเล็ก เมื่อแตะถึงพื้นก็จะเติบโตต่อไป จนมีคำว่า "ต้นไม้เดินได้"
ขิงแดง มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Alpinia purpurata (vielle) ภาษาอังกฤษเรียก Red Ginger อยู่ในวงศ์ ZINGIBERA CEAE ขิงแดงจัดเป็นพืชสมุนไพรให้ประโยชน์ทางยา โดยนำเหง้าสดหรือแห้ง ทุบๆ ต้มกับน้ำกินเป็นการช่วยขับลม เนื่องจากในเหง้ามีน้ำมันหอมระเหยช่วยรักษาโรคได้หลายอย่าง เช่น ขับลมในท้อง ขับน้ำดี ช่วยย่อยไขมัน และช่วยระบบลำไส้
ที่จริงต้นไม้ที่มีเหง้า หรือ Rhizome อยู่ใต้ดิน มีหลายพันธุ์ ต้นคล้ายกัน เพียงแต่ออกดอกและสีสันต่างกัน แต่ก็ล้วนสวยงามทั้งสิ้น ถ้ามีผู้นำมาปลูกเป็นแนว เห็นต่างชนิด เป็นทิวไม่เหมือนกัน ก็คงจะแปลกตา และเลือกนำประโยชน์ไปใช้ได้เมื่อต้องการ
เข้าชม : 605
|