ความเป็นมา :
1. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวงมีพื้นที่กว้างใหญ่ สภาพด้านนอกโดยรอบมีหมู่บ้านชุมชนล้อมรอบหลายหมู่บ้าน ราษฎรได้มีการบุกรุกขยายพื้นที่ทำกินเพื่อปลูกพืชไร่ เช่น ลูกเดือย ข้าวโพด มันสำปะหลัง ข้าว เป็นต้น โดยเฉพาะพื้นที่ที่ราษฎรได้บุกรุกขยายพื้นที่ทำกินนั้น เดิมเป็นแหล่งอาหาร แหล่งน้ำ และแหล่งดินโป่งของช้างป่า เมื่อถูกรบกวนจากมนุษย์ และแหล่งอาหารหากินไม่เพียงพอต่อความต้องการของช้างป่า ประกอบกับพื้นที่ที่ราษฎรได้ปลูกไว้ส่วนใหญ่เป็นพืชที่เป็นอาหารช้างป่าได้อย่างดี จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ช้างป่าได้ออกไปหากินนอกเขตฯ และทำความเสียหายต่อพืชไร่ของราษฎรที่ปลูกไว้ได้รับความเดือดร้อน ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาโดยเฉพาะทางด้านทิศตะวันออกและทิศใต้ของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง ซึ่งอยู่ในท้องที่อำเภอวังสะพุง และอำเภอภูหลวง ได้ประสบกบปัญหาช้างป่าได้ออกไปหากินนอกเขตฯ และทำความเสียหายทำลายพืชไร่ของราษฎรที่ปลูกไว้อยาเป็นประจำ โอกาสที่ช้างป่าจะถูกทำร้ายเสียชีวิตจึงมีมาก
2. สำนักราชเลขาธิการ โดยท่านผู้หญิงมนัสนิตย์ วณิกกุล ราชเลขานุการในสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ฝ่ายบริหารงานทั่วไป มีหนังสือที่ รล 0010/1428 ลงวันที่ 9 เมษายน 2542 ถึงอธิบดีกรมป่าไม้ แจ้งว่า ด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ มีพระราชดำริให้ดำเนินการโครงการปลูกพืชอาหารช้าง ในพื้นที่ป่าธรรมชาติภายในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง และเป็นหนทางหนึ่งที่จะช่วยป้องกันไม่ให้ช้างออกไปหากินนอกเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ซึ่งช้างจะออกไปทำความเสียหายให้กับพืชสวน ไร่นา ของชาวบ้านและเป็นเหตุให้ช้างถูกทำร้ายถึงกับชีวิตได้ ดังนั้น เพื่อเป็นการสนองพระราชดำริสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในอันที่จะแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการฟื้นฟูอาหารช้างป่าภูหลวงอันเนื่องมาจากพระราชดำริขึ้น
พื้นที่เป้าหมาย :
การดำเนินการมีเป้าหมายดังนี้
1. พื้นที่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง
2. พื้นที่นอกเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวงที่ได้รับผลกระทบจากช้างป่า รวมพื้นที่โครงการประมาณ 476,000 ไร่
เข้าชม : 264
|